Featured post

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : มารักการอ่านกันเถอะ

ส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน



             กระทรวงศึกษาธิการได้ทำการสำรวจการอ่านของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในปี 2549 โดยเฉลี่ยแล้วเด็กอ่านหนังสือรวม 360 บรรทัดต่อวันต่อตน หรือ 17 หน้าต่อวันต่อคน หรือ 9 เล่มต่อเดือนต่อคน และเข้ายืมหนังสือห้องสมุดเฉลี่ย 7 ครั้งต่อเดือนต่อคน กระทรวงศึกษาธิการจึงมีความตั้งใจที่จะส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โดยจัดงานมหกรรมนักอ่านในช่วงเดือนมิถุนายน 2550 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอิมแพค เมืองทองธานี 

แก้ไขอ่านเขียนไทยไม่ออก เรียนพิเศษภาษาไทย เรียนอ่านเขียนไทยประถม เรียนพิเศษส่วนตัวภาษาไทย หาที่เรียนภาษาไทย ครูสอนพิเศษภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทย  สอนอ่านภาษาไทย  สอนภาษาไทยเด็ก  สอนภาษาไทย  สอนพิเศษภาษาไทย  เรียนอ่านภาษาไทย  เรียนพิเศษสังคม  เรียนพิเศษภาษาไทย  เรียนพิเศษ ไทย สังคม   รับสอนพิเศษภาษาไทย  ติวภาษาไทย  ครูสอนภาษาไทย  ครูสอนพิเศษภาษาไทย ติวโอเน็ตสังคม ครูเดช O-NETสังคม  ติวO-NETสังคมฟรี หาวิทยากรติวโอเน็ต
           

             การสร้างนิสัยรักการอ่านของเด็กไทยเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมอย่างต่อเนื่องไม่ควรอาศัยเพียงการจัดงานมหกรรมนักอ่าน หรือสัปดาห์หนังสือเท่านั้น แม้ว่าการจัดงานในลักษณะดังกล่าวจะมีส่วนช่วยกระตุ้นการอ่านหนังสือได้ในระดับหนึ่งก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบสามารถดึงดูดความสนใจของเด็กไทยด้วยการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบหลากหลาย ทั้งในรูปแบบหลากหลาย ทั้งในแบบภาพ/ตัวอักษรนิ่งและแบบเคลื่อนไหว 

            การอ่านฝึกการคิดจินตนาการ การอ่านเป็นการสื่อภาษาด้วยตัวหนังสือทำให้ต้องมีการแปลเป็นภาพ เป็นการบริหารสมอง เพราะต้องมีการใช้ความคิด จินตนาการ ตามสิ่งที่ผู้เขียนได้สื่อออกมา อันจะช่วยก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ต่อสิ่งที่ได้อ่าน 

            การอ่านฝึกการคิดอย่างมีระบบ การอ่านเป็นการเรียนรู้คำต่างๆ ทำให้มีการจัดระเบียบความคิด และการพัฒนาความคิดอย่างมีระบบ มีเหตุมีผล การอ่านจะช่วยให้เด็กมีระบบความคิดที่ดี ซึ่งจะส่งผลดีทั้งในด้านการสื่อสารของเด็ก เด็กจะสามารถถ่ายทอดความคิดด้านการพูดและการเขียนออกมาได้อย่างเป็นระบบ และในด้านการกระทำที่เป็นระบบระเบียบ 

            การอ่านฝึกสมาธิ การอ่านช่วยให้เด็กจดจ่ออยู่กับตัวหนังสือได้เป็นเวลานานซึ่งจะช่วยฝึกให้เด็กมีสมาธิและมีความอดทนในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 

            การอ่านฝึกทักษะการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น เด็กจำเป็นต้องได้รับความรู้จากการอ่านเพื่อเพิ่มพูนความารู้ให้ลึกซึ้งสมกับวัยที่เติบโตขึ้น เนื่องจากการอ่านยังคงเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ที่ทรงพลัง ข้อมูลความรู้ที่เก็บอยู่ในรู)ตัวอักษรนั้น ยังคงเป็นรูปแบบเดียวที่มีจำนวนมากที่สุด และลึกซึ้งมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือตำราต่างๆ นับเป็นแหล่งขุนทรัพย์ทางปัญญาที่ยิ่งใหญ่ในการพัฒนาตนเอง 

            ในสมัยที่เทคโนโลยีมีอิทธิพลดึงดูดเด็กๆ ได้มากกว่าการอ่านหนังสือ เช่น รายงานโทรทัศน์ เกมคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีดังกล่าวได้เข้าสู่ทุกหลังคาเรือน กระทรวงศึกษาธิการจึงไม่ควรเป็นผู้ที่ทำการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านแต่เพียงผู้เดียว แต่ควรร่วมมือกับสถานบันศึกษา และสถาบันครอบครัวด้วย เนื่องจากทั้ง 2 สถาบันมีความใกล้ชิดเด็กมากที่สุด 

            ผมจึงขอนำเสนอแนวทางสำหรับการศึกษาและครอบครัว ที่จะสามารถเปลี่ยนใจเด็กให้มีนิสัยรักการอ่านมากขึ้น ได้แก่ 

            ค้นหาสาเหตุที่เด็กไม่ชอบอ่านหนังสือ 

            โรงเรียนและพ่อแม่ผู้ปกครองควรค้นหาว่า เหตุใดเด็กจึงไม่ชอบอ่านหนังสือ เพื่อที่จะสามารถเข้าใจในตัวเด็ก และแก้ปัญญาได้ถูกต้อง โดยอาจใช้วิธีการสังเกต เด็กในระหว่างที่อยู่โรงเรียน หรือในระหว่างอยู่ที่บ้าน โดยสังเกตว่าเด็กมักใช้เวลาหมดไปกับการทำอะไร สังเกตดูการอ่านของเด็กว่ามีปัญหาหรือไม่ รวมถึงสังเกตสภาพแวดล้อมทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านว่ามีผลต่อการอ่านของเด็กหรือไม่ อาทิ 

            เด็กมีปัญหาการอ่านหรือไม่ ระหว่างที่เด็กเรียนในโรงเรียน ครูผู้สอนอาจให้เด็กอ่านหนังสือให้เพื่อนฟัง หรือให้เด็กเขียนแสดงความคิดเห็นสั้นๆ เพื่อสังเกตว่าเด็กมีทักษะการอ่านและการเขียนดีเพียงใด และในระหว่างที่อยู่ที่บ้าน พ่อแม่ควรสละเวลาเพื่อมานั่งดูเด็กทำการบ้าน หรือให้เด็กอ่านหนังสือให้ฟัง หากพบว่าเด็กสะกดคำใดไม่ถูก ไม่สามารถอ่านบางคำได้ ควรรีบแก้ไขโดยด่วน ในโรงเรียนอาจจัดช่วงพิเศษสำหรับเด็กที่ปัญหาการอ่านและการเขียนเพื่อสอนเด็กเพิ่มเติม ที่บ้านพ่อแม่อาจให้เวลาในการสอนลูกเพิ่มเติม หรือจ้างครูพิเศษมาสอน 

            เด็กสมาธิสั้นหรือไม่ เด็กที่มีสมาธิสั้นเป็นเด็กที่ไม่สามารถจดจำทำสิ่งใดได้นานๆ เปลี่ยนพฤติกรรมบ่อย ทำให้ไม่สามารถจดจ่อกับการอ่านหนังสือได้ ครูผู้สอนและพ่อแม่ควรสังเกตว่าการที่เด็กสมาธิสั้นมาจากสาเหตุใด หากเกิดจากมีสิ่งที่รบกวนระหว่างที่เด็กเรียน เช่น เสียงดัง อ่านหนังสือในห้องที่มีสิ่งดึงดูดความสนใจ เป็นต้น หรือหากพบว่าการที่เด็กสมาธิสั้นนั้นเกิดจากอาการออทิสติกควรรีบนำไปพบแพทย์ 

            เด็กติดสื่อเทคโนโลยีมากน้อยเพียงใด ครูผู้สอนและพ่อแม่ผู้ปกครองควรสอบถามเด็กโดยตรงว่า หากให้เลือกระหว่างการอ่านหนังสือกับการดูโททัศน์ เล่นเกม แซต หรือ MSN กับเพื่อน จะเลือกทำอะไรก่อนเป็นอันดับแรก ทั้งนี้ก็เพื่อสำรวจดูว่าเด็กให้ความสำคัญกับการอ่านหนังสือมากน้อยเพียงใด หากมีแนวโน้มว่าเด็กเลือกอ่านหนังสือเป็นอันดับรองลงมา หรืออันดับสุดท้าย นั่นแสดงว่าเด็กอาจมีปัญหาในการอ่าน 

            สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมหรือไม่ 
ครูผู้สอนและพ่อแม่ผู้ปกครองควรสังเกตว่าสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนหรือที่บ้านมีผลทำให้เด็กไม่อยากอ่านหนังสือหรือไม่ เช่น ห้องสมุดโรงเรียนมืด เหม็นอับ เด็กนักเรียนคุยกันในห้องสมุด เด็กต้องทำการบ้าน/อ่านหนังสืออยู่ห้องเดียวกับห้องดูโทรทัศน์ หรือภายในบ้านมีคนพลุกพล่านตลอดเวลา เป็นต้น เพื่อนำมาปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการอ่านหนังสือของเด็ก

            แก้ปัญหาด้วยความรักและความเข้าใจ 


            ไม่ว่าเด็กจะชอบอ่านหนังสือหรือไม่ก็ตาม การแก้ไขปัญหาควรเริ่มต้นที่ความรักความเข้าใจ และตามมาด้วยความตั้งใจที่จะช่วยเหลือ ครูผู้สอนและพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ควรตำหนิ ต่อว่า หรือเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่นๆ ข่มขู่ หรือลงโทษ เพราะนอกจะไม่ช่วยให้เด็กรักการอ่านแล้ว ยังอาจเป็นการเร่งให้เขายิ่งเกลียดการอ่านมากขึ้น ครูผู้สอนและพ่อแม่ผู้ปกครองจึงควรทำสิ่งต่อไปนี้ 

            เปิดอกคุยกันกับเด็กถึงปัญหาการอ่าน ครูผู้สอนและพ่อแม่ผู้ปกครองควรพูดคุยกับเด็ก เพื่อเปลี่ยนความคิดของเด็กให้เห็นความสำคัญของการอ่าน โดยในระหว่างการพูดคุยควรทำให้เด็กสัมผัสถึงความรักและความปรารถนาดีต่อเขา ไม่ใช่เรียกมาเพื่อต่อว่า อาจเริ่มต้นโดยการถามเด็กว่าเหตุใดจึงไม่ชอบอ่านหนังสือ จากนั้นเราจึงค่อยๆ สื่อสารให้เด็กเห็นความสำคัญของการอ่านที่จะมีผลดีต่อชีวิตของเขาในอนาคต โดยอาจถามถึงเป้าหมายในอนาคตว่าเขาอยากเป็นอะไร และชี้ให้เขาเห็นว่า การที่เขาจะไปสู่เป้าหมายได้นั้นเขาจำเป็นต้องรักการอ่าน ที่สำคัญควรให้กำลังใจ และเชื่อมั่นว่าเด็กทำได้ เพื่อให้เด็กเห็นคุณค่าในตัวเองและมีกำลังใจที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง 

            เปิดโอกาสให้เด็กหาแนวทางที่ช่วยส่งเสริมการอ่าน
 เมื่อเด็กเริ่มเห็นคุณค่าของการอ่านแล้ว ครูผู้สอนและพ่อแม่ผู้ปกครองควรเปิดโอกาสให้เด็กหาวิธีการที่จะช่วยพัฒนาทักษะการอ่านของตนให้ดีขึ้น เช่น ให้เด็กเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดห้องสมุดหรือห้องอ่านหนังสือภายในบ้านที่เหมาะสมต่อการอ่านหนังสือในรูปแบบที่เด็กชอบ สอนให้เด็กตั้งเวลาสำหรับการอ่านอย่างเจาะจงในแต่ละวัน 

            ปรับปรุงรูปแบบและให้รางวัลจูงใจ การเปลี่ยนให้เด็กรักการอ่านนั้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา เด็กอาจเบื่อหน่ายและอาจอยากกลับมาเป็นเหมือนเดิม ดังนั้นครูผู้สอนและพ่อแม่ผู้ปกครองควรปรับเปลี่ยนหรือหาวิธีการใหม่ๆ ที่จะส่งเสริมการอ่านของเด็กอยู่เสมอ เพื่อให้เด็กไม่รู้สึกเบื่อหน่าย
โดย : ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
ขอบคุณที่มา : การศึกษาวันนี้ ปีที่ 7 ฉบับที่334

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี

กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์

แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1