Featured post

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : รู้จักมณฑลซินเจียงและชาวอุยกูร์

รู้จักมณฑลซินเจียงและชาวอุยกูร์

แก้ไขอ่านเขียนไทยไม่ออก เรียนพิเศษภาษาไทย เรียนอ่านเขียนไทยประถม เรียนพิเศษส่วนตัวภาษาไทย หาที่เรียนภาษาไทย ครูสอนพิเศษภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทย  สอนอ่านภาษาไทย  สอนภาษาไทยเด็ก  สอนภาษาไทย  สอนพิเศษภาษาไทย  เรียนอ่านภาษาไทย  เรียนพิเศษสังคม  เรียนพิเศษภาษาไทย  เรียนพิเศษ ไทย สังคม   รับสอนพิเศษภาษาไทย  ติวภาษาไทย  ครูสอนภาษาไทย  ครูสอนพิเศษภาษาไทย ติวโอเน็ตสังคม ครูเดช O-NETสังคม  ติวO-NETสังคมฟรี หาวิทยากรติวโอเน็ต
การปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลจีนกับชาวอุยกูร์ในมณฑลซินเจียง ถือเป็นเหตุการณ์จลาจลที่มีความรุนแรงมากที่สุดของประเทศจีนนับแต่เหตุการณ์ปราบปรามนักศึกษาที่จัตุรัสเทียนอันเหมินเป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าคนส่วนใหญ่จะยังไม่รู้จักมณฑลซินเจียงและชาวอุยกูร์มากนัก

หลังจากเพิ่งครบรอบสองทศวรรษของเหตุการณ์ปราบปรามนักศึกษาที่จัตุรัสเทียนอันเหมินเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เหตุการณ์การจลาจลที่รุนแรงที่สุดในรอบ 20 ปีก็บังเกิดขึ้นอีกครั้งในประเทศจีนเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ณ เมืองอูรุมชี/อุรุมฉี เมืองเอกของมณฑลซินเจียง ทางตะวันตกของจีน

เหตุการณ์ความวุ่นวายเริ่มต้นขึ้นเมื่อชาวอุยกูร์/อุ้ยเก๋อราว 1,000-3,000 คน มาชุมนุมกันอย่างสงบที่เมืองเอกของมณฑลซินเจียง เพื่อประท้วงเรียกร้องให้ทางการจีนสอบสวนหาตัวผู้อยู่เบื้องหลังเหตุปะทะกันระหว่างคนงานชาวอุยกูร์กับคนงานชาวฮั่น ณ โรงงานแห่งหนึ่งเมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา จนส่งผลให้มีคนงานชาวอุยกูร์เสียชีวิต 2 คน ทั้งนี้ก่อนหน้าเหตุการณ์ดังกล่าว ได้เกิดข่าวลือว่า มีหญิงสาวชาวฮั่น 2 คน ถูกข่มขืนโดยชายชาวอุยกูร์ในโรงงาน

แต่การชุมนุมอย่างสงบก็บานปลายกลายเป็นเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งใหญ่ โดยทางการจีนอ้างว่าผู้ชุมนุมชาวอุยกูร์เป็นฝ่ายสร้างความวุ่นวาย ทำลายทรัพย์สมบัติสาธารณะ รวมทั้งจุดไฟเผารถยนต์บนท้องถนน ขณะที่กลุ่มผู้ประท้วงชาวอุยกูร์ก็เห็นว่า ความรุนแรงดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นมาจากการใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมโดยทางการจีน ล่าสุดรายงานข่าวแจ้งว่ามีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นจำนวน 156 คน และผู้มีบาดเจ็บ 828 คน

อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ณ เมืองอูรุมชี ไม่ได้บังเกิดขึ้นมาโดยบังเอิญหรือฉับพลันทันใด ชนิดที่ไร้ต้นสายปลายเหตุ ทว่าปมปัญหาเกี่ยวกับชาวอุยกูร์ในมณฑลซินเจียงนั้นดำรงคงอยู่มาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่จีนผนวกรวมดินแดนดังกล่าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเลยด้วยซ้ำไป

ดังนั้น การมาทำความรู้จักกับมณฑลซินเจียงและชาวอุยกูร์ จึงน่าจะทำให้เราเข้าใจถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเมืองอูรุมชีได้ดียิ่งขึ้น

มณฑลซินเจียงเป็นพรมแดนที่กั้นระหว่างดินแดนเอเชียกลางกับประเทศจีน มณฑลแห่งนี้มีขนาดใหญ่เป็น 3 เท่าของประเทศฝรั่งเศส ในประวัติศาสตร์แล้ว   ซินเจียงถือเป็นจุดนัดพบสำคัญทางการค้าและวัฒนธรรม เนื่องจากเคยเป็นพื้นที่หยุดพักผู้คนและสินค้าของ "เส้นทางสายไหม" ส่งผลให้ดินแดนแห่งนี้ได้รับมรดกตกทอดทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นอย่างยิ่ง

กลุ่มชนพื้นเมืองของมณฑลซินเจียงคือ ชาว "อุยกูร์" ซึ่งเป็นกลุ่มคนมุสลิมที่มีลักษณะชาติพันธุ์ ภาษา และวัฒนธรรม เป็นพวกเติร์ก อันแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากชาวฮั่นที่เป็นผู้ปกครองและเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ที่ครอบครองดินแดนส่วนที่เหลือของจีน การดำรงอยู่ของชาวอุยกูร์นี่เองที่ทำให้  ซินเจียงกลายเป็นมณฑลเดียวของประเทศจีนที่มีชาวมุสลิมเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่

ซินเจียงถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจีนตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังจากพรรคคอมมิวนิสต์สามารถเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศจีนได้สำเร็จในปี พ.ศ.2492 (ค.ศ.1949)  มณฑลซินเจียงก็มีสถานะเป็น "เขตปกครองตนเอง" ของสาธารณรัฐประชาชนจีน

ในมุมมองของรัฐบาลกลางพรรคคอมมิวนิสต์ที่ปักกิ่ง ซินเจียงถือเป็นส่วนหนึ่งของจีนตลอดมา โดยรัฐบาลได้มองข้ามความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่ใหญ่โตมหาศาล อันเกิดขึ้นจากการที่มณฑลแห่งนี้ได้หลอมรวมตนเองเข้ากับดินแดนเอเชียกลางและรัฐต่าง ๆ ของชาวเติร์กมาโดยตลอด และจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ชาวอุยกูร์ส่วนใหญ่ในซินเจียงก็ยังรู้สึกว่าพวกเขามีความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมกับชาวเติร์กทางด้านตะวันตก มากกว่ารัฐบาลกลางที่ปักกิ่งทางด้านตะวันออก

แต่รัฐบาลกลางของจีนก็พยายามกลืนกลายชาวอุยกูร์ในมณฑลซินเจียง ด้วยนโยบายการส่งชาวฮั่นจำนวนมากเข้าไปอยู่อาศัยในมณฑลดังกล่าว  จากที่ในปี พ.ศ.2496 (ค.ศ.1953) มีชาวฮั่นอยู่ในซินเจียงเพียง 5 แสนคน แต่ในปี พ.ศ.2543 (ค.ศ.2000) กลับมีชาวฮั่นในมณฑลแห่งนี้เพิ่มมากขึ้นเป็น 7.5 ล้านคน หรือถือเป็นร้อยละ 42 ของประชากรจำนวน 18 ล้านคนในมณฑล นอกจากนั้นชาวฮั่นยังกลายเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของเมืองอูรุมชี เมืองเอกของเขตปกครองตนเองซินเจียง เสียด้วย
กลุ่มชนพื้นเมืองชาวอุยกูร์ไม่พอใจที่ผู้อพยพชาวฮั่นได้เข้ามาแย่งงานในอุตสาหกรรมน้ำมัน ปิโตรเคมี และในหน่วยงานรัฐบาล ซึ่งควรเป็นแหล่งรายได้สำคัญของพวกตน ขณะที่ชาวฮั่นก็มองว่าพวกอุยกูร์เป็นคนเกียจคร้าน และไม่รู้จักสำนึกบุญคุณที่รัฐบาลกลางของจีนที่ปักกิ่งนำความทันสมัยและความเจริญรุ่งเรืองมาสู่มณฑลซินเจียง

และยิ่งชาวฮั่นในซินเจียงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเท่าใด ชาวอุยกูร์ก็ยิ่งพยายามขับเน้นอัตลักษณ์ของตนเองมากขึ้น ส่งผลให้เยาวชนชาวอุยกูร์รุ่นหลังเคร่งครัดในหลักการของศาสนาอิสลามยิ่งกว่าคนรุ่นพ่อแม่ นอกจากนี้พวกเขายังหันมาเรียนภาษาอารบิกกันมากขึ้น ซึ่งนี่อาจถือเป็นการประกาศว่าอัตลักษณ์ของชาวอุยกูร์นั้นมีความผิดแผกแตกต่างไปจากอัตลักษณ์ของชาวจีนฮั่นตั้งแต่ในระดับรากฐาน

แม้ชาวอุยกูร์ในเมืองเอกของมณฑลซินเจียงอย่างอูรุมชี อาจจะเริ่มมีวิถีชีวิตประจำวันคล้อยตามแบบชาวฮั่นอันเป็นคนกลุ่มใหญ่ของเมือง และหันมาหาเรื่องราวทางโลกย์ในสังคมสมัยใหม่มากขึ้น แต่สำหรับเมืองบริเวณชายแดนที่อยู่ติดกับดินแดนเอเชียกลางแล้ว รัฐบาลกลางของจีนยังต้องจัดส่งกำลังทหารเข้าไปควบคุมกิจกรรมทางการเมืองและบรรดาอิหม่ามในมัสยิดต่าง ๆ ของเมืองเหล่านั้นอย่างเข้มงวดกวดขัน เนื่องจากรัฐบาลเห็นว่าตนเองกำลังเผชิญหน้าอยู่กับขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่เติบโตมากขึ้น  จนมีผู้ขนานนามว่าซินเจียงถือเป็นทิเบตอีกแห่งหนึ่งของจีน

ทั้งนี้ กิจกรรมทางการเมืองในการแบ่งแยกดินแดนของชาวอุยกูร์ในมณฑลซินเจียงได้ถูกปลุกเร้าขึ้นในคริสต์ทศวรรษที่ 1990 เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลาย และรัฐมุสลิมเก่าแก่ทั้งหลายในเอเชียกลางได้มีโอกาสแยกตัวออกมาเป็นรัฐอิสระที่มีเอกราชเป็นของตนเอง เช่น คาซักสถาน คีร์กิสถาน และอุซเบกิสถาน เป็นต้น ชาวอุยกูร์จึงเกิดความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะแยกตนเองออกมาเป็นรัฐอิสระในนาม "อุยกูริสถาน" หรือ "เตอร์กิสถานตะวันออก" บ้าง อย่างไรก็ตามรัฐบาลจีนได้พยายามใช้มาตรการทางด้านเศรษฐกิจและการทูตอันชาญฉลาดมาหน่วงเหนี่ยวไม่ให้รัฐอิสระในเอเชียกลางต่าง ๆ ช่วยเหลือซินเจียงในการแยกตัวออกเป็นอิสระ กระทั่งขบวนการแบ่งแยกดินแดนในมณฑลแห่งนี้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของตนเองได้อย่างยากลำบากในที่สุด

ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกลางของจีนกับชาวอุยกูร์ในมณฑลซินเจียงคงไม่ได้จบสิ้นลงในเร็ววัน อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ดังกล่าวแสดงให้เราเห็นถึงปัญหาสำคัญของ "รัฐ-ชาติ" ในโลกสมัยใหม่ ที่ยากจะดำรงความเป็นเอกพันธุ์เอาไว้ได้ เมื่อโลกใบนี้ล้วนเต็มไปด้วยผู้คน วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ความทรงจำ และ "ชาติ" อันหลากหลาย ชนิดที่ไม่มีผู้มีอำนาจรายใดสามารถควบคุมหรือลดค่าความหลากหลายดังกล่าวให้กลายเป็นความเป็นอันหนึ่งอันเดียวได้อย่างง่ายดาย กระทั่งอาจมีเพียงการพยายามทำความเข้าใจในความแตกต่างหลากหลายเท่านั้นที่จะช่วยให้ผู้คนบนโลกใบนี้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความทุกข์น้อยลง




ขอบคุณที่มา : มติชนออนไลน์

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี

กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์

แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1