Featured post

เรียนภาษาไทยออนไลน์ : ระบบประกันคุณภาพทางการศึกษา ถึงเวลาทบทวนวิธีการแล้วหรือยัง?

ระบบประกันคุณภาพทางการศึกษา ถึงเวลาทบทวนวิธีการแล้วหรือยัง?

นพดล ปกรณ์นิมิตดี

ในช่วงระยะเวลาเดือนสองเดือนที่ผ่านมา ข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องการประกันคุณภาพทางการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบอุดมศึกษา มีทิศทางและปฏิกิริยาอันสอดคล้องเป็นไปในทางลบเป็นส่วนใหญ่ ประเด็นใจความสำคัญมุ่งไปที่การตั้งคำถามถึงประโยชน์และประสิทธิภาพในการประกันคุณภาพทางการศึกษา หรือที่แวดวงอาจารย์จะเรียกว่า SAR นี่แหละครับ

สิ่งที่ปรากฏใน Facebook ในเพจที่ว่าด้วยอาจารย์ทั่วประเทศไทยไม่เห็นด้วยกับระบบประกันคุณภาพ น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ชี้ชัดถึงความขุ่นข้องหมองใจกับภาระที่เกิดขึ้นกับคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ในหลายสถาบันที่อาจารย์ทั้งถูกบังคับหรือด้วยภาระหน้าที่ ในอันต้องเข้ามามีส่วนจัดทำงานเอกสารมากมายตามระบบประกันคุณภาพ อันอุดมไปด้วยตัวบ่งชี้สารพัดหลากหลายที่ถูกคิดขึ้นโดยที่ผู้คิดบางท่านคิดให้คนอื่นทำ แต่ตัวเองไม่ได้ทำ จนอาจลืมคิดไปว่า หากตนเองจะต้องมีหน้าที่มารับภาระทำ จะทำได้ทั้งหมดจริงหรือไม่

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา 

มาตรา 47 บัญญัติว่า "ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง"

แม้จะไม่เห็นด้วยกับระบบประกันคุณภาพการศึกษา แต่เมื่อกฎหมายการศึกษาแห่งชาติบัญญัติไว้ให้มี และต้องทำ ก็ยากยิ่งที่จะปฏิเสธต่อการคงอยู่ของระบบประกันคุณภาพการศึกษา

ฉะนั้น หากมีข้อเสนอที่ไม่ต้องการให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษา ก็มีหนทางเดียวคือ ต้องเสนอยกเลิกมาตรา 47 นี้ซะ หรือปฏิรูป พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติเสียใหม่ทั้งฉบับ

กระบวนการและวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ที่กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาต้องมีการประเมินตนเองตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประกันคุณภาพ โดยมีคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในอันประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกส่วนหนึ่ง แม้ในภาพรวมดูแล้วเป็นสิ่งดีเพื่อการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน แต่ปัญหาที่แท้จริงคือ ผู้ดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามระบบประกันคุณภาพการศึกษา คืออาจารย์ผู้น้อยในระดับล่างๆ รวมถึงผู้บริหารในระดับคณะ

ภาระของคณาจารย์ โดยส่วนใหญ่ต้องไม่ลืมว่าคนเหล่านี้ภาระหน้าที่หลักคือการสอน การเตรียมการสอน การศึกษาค้นคว้าวิจัยอย่างสม่ำเสมอ บางสถาบันให้ผู้บริหารระดับรองคณบดีหรือผู้ช่วยคณบดีทำ คณาจารย์ผู้น้อยก็ร้องเพลงสบายๆ ไป อาจไม่มีปัญหา แต่บางสถาบันอุดมศึกษาไม่ว่ารัฐหรือเอกชน จะมอบภาระทั้งหมดให้คณาจารย์ลูกภาค ลูกคณะ ช่วยกันทำ หลายสถาบันมิได้จ้างเจ้าหน้าที่มากมายเหมือนมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ ปัญหา SAR จึงถูกหมักและถมเข้าใส่อาจารย์ผู้น้อย

ฉะนั้น หากใครบอกอาชีพอาจารย์สบาย อาจจะไม่จริงซะแล้วกระมังในยุค 2015

ปัญหาในแง่พฤติกรรมส่วนตัวของอาจารย์บางคนจึงเกิดขึ้น การผลักภาระ การพยายามหลีกเลี่ยงการทำ SAR จึงเกิดขึ้นกับคณาจารย์จำนวนหนึ่ง บางท่านแม้จะจบการศึกษาระดับขั้นสูงสุดแล้ว ก็พยายามพูดว่าตนเองไม่รู้เรื่อง SAR ขอฉลาดบางเรื่อง แต่ยอมโง่เรื่อง SAR เพื่อที่จะไม่อยากจัดทำเอกสารอันมีมากมาย ผลักภาระให้อาจารย์หรือเจ้าหน้าที่ที่อาวุโสน้อยกว่าทำไป คุณประโยชน์บางข้อของการประกันคุณภาพการศึกษา จึงอาจเป็นเพียงการสร้างครูบาอาจารย์ที่เห็นแก่ตัวบางคนให้กับวงการศึกษาไทยโดยทางอ้อมก็เป็นได้

วิธีการตรวจประเมินที่ให้สถาบันจัดทำเอกสารทั้งหมดให้สมบูรณ์ เตรียมรอหน่วยงานรัฐแห่งหนึ่งมาตรวจ จึงไม่ต่างอะไรกับการผลักภาระให้ผู้ถูกตรวจทำเอกสารทั้งหมดไว้เพื่อรอให้คนตรวจมาตรวจเฉยๆ คนตรวจ (หน่วยงาน.....ที่อยู่เบื้องหลัง SAR) จะได้สบายใช่หรือไม่ หากมองในมุมกลับ ทำไมไม่ให้สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ทำ เพียงแค่จัดเตรียมเอกสารแนบท้ายตัวเล่มตรวจจริง ทำไมหน่วยงานที่อยากมีอำนาจในการตรวจประกันคุณภาพไม่เป็นผู้จัดทำเสียเอง ด้วยเหตุที่หน่วยงานนั้นๆ ยังต้องการทำหน้าที่กำกับ ดูแล หรือกำกับควบคุมอยู่ใช่หรือไม่

มิฉะนั้น มันก็ไม่ต่างอะไรกับการที่อาจารย์คนหนึ่งให้เด็กทำข้อสอบเสร็จ แล้วก็ให้นักศึกษาผลัดกันตรวจและรวมคะแนนให้ แล้วอาจารย์ก็นั่งรอคะแนน อาจารย์ที่ทำแบบนี้เรายังรู้สึกไม่ค่อยดีเลย แล้วนี่หน่วยงานรัฐกลับทำเสียเอง มันคืออะไร จะอ้างไม่มีงบประมาณกระนั้นหรือครับ

ท้ายสุดนี้ ทุกสถาบันอุดมศึกษาต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการอยู่แล้ว แค่บังคับให้ทุกสถาบันทำให้ได้ คุณภาพอุดมศึกษาไทยก็ดีขึ้นได้แน่นอน อยากเพิ่มอะไร ก็แก้ไขเพิ่มเติมในมาตรฐานการอุดมศึกษา แต่วิธีการประเมินคุณภาพการศึกษาในรูปแบบปัจจุบัน จะทำให้ได้คุณภาพการศึกษาที่ดีขึ้นหรือไม่ 10 กว่าปี กับกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ คงมีคำตอบในใจของใครหลายคนแล้ว

ถึงเวลาคิดใหม่ ทำใหม่ เพื่ออุดมศึกษาไทยกันได้แล้วหรือยังครับ

ภาพ http://www.kroobannok.com/news_pic/p93096480828.jpg


เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยที่ออสเตรเลีย หาครูสอนภาษาไทยที่ญี่ปุ่น หาครูสอนภาษาไทยที่เวียดนาม หาครูสอนภาษาไทยที่อเมริกา หาครูสอนภาษาไทยที่เยอรมัน หาครูสอนภาษาไทยที่ฝรั่งเศส  Learn Thai with native speakers. หาครูสอนภาษาไทยอ่านเขียน สอนอ่านหนังสือภาษาไทย สอนอ่านเขียน ลูกอ่านภาษาไทยไม่ออก หาครูแก้ไขภาษาไทย สถาบันสอนภาษาไทย โรงเรียนสอนภาษาไทย  หาครูสอนภาษาไทยนานาชาติ  หาครูสอนภาษาไทยลูกครึ่ง หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์  หาครูสอนพิเศษ หาครูสอนพิเศษภาษาไทย หลักสูตรออนไลน์  รับสอนพิเศษภาษาไทย  สถาบันสอนภาษาไทย    โรงเรียนสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ  เรียนออนไลน์  สมัครเรียนออนไลน์  เรียนพิเศษภาษาไทย  สอน พิเศษ ภาษา ไทย  สอนภาษาไทย  ครูสอนภาษาไทย  สอนภาษาไทยเด็ก  หาครูสอนภาษาไทย  เรียน ออนไลน์ ป 1  เรียน ออนไลน์ ป 2   เรียน ออนไลน์ ป 3    เรียน ออนไลน์ ป 4   เรียน ออนไลน์ ป5  เรียน ออนไลน์ ป6  เว็บเรียนออนไลน์  เรียนรู้ภาษาไทย  บทเรียนออนไลน์  เรียนภาษาไทยที่ไหนดี  เรียนภาษาไทยออนไลน์  เรียน พิเศษ ภาษา ไทย ที่ไหน ดี  สอนภาษาไทยออนไลน์  สอนพิเศษภาษาไทย ประถม ราคา  อ่าน ภาษา ไทย    สอนพิเศษภาษาไทย อนุบาล    หลักสูตรเรียนออนไลน์   ชุด เริ่ม หัด อ่าน ภาษา ไทย  ฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษา ไทย  สอน เด็ก เตรียม ขึ้น ป 1  สอน เด็ก เตรียม ขึ้น ป2  สอน เด็ก เตรียม ขึ้น ป3 สอน เด็ก เตรียม ขึ้น ป4 สอน เด็ก เตรียม ขึ้น ป5 สอน เด็ก เตรียม ขึ้น ป6 หัด เขียน ภาษา ไทย เรียน ออนไลน์ อนุบาล 3  สอน พิเศษ ภาษา ไทย ประถม

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี

กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์

แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1