Featured post

ผลงานด้านคติชนวิทยา



ชื่อโครงการวิจัย
กรณีศึกษาความเข้าใจ ของคนไทยในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่ได้รับชมการถ่ายทอดสดพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ พระศพ ณ ท้องสนามหลวง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ถึงปัจจุบัน
ชื่อผู้วิจัย                                นายสุรเดช  ภาพันธ์
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา   
                ความตายเป็นสิ่งที่มนุษย์ตั้งแต่ครั้งโบราณกาลจนถึงปัจจุบันต่างเกรงกลัว  และไม่ประสงค์ให้เกิดขึ้นไม่ว่าจะกับตนเองหรือผู้เป็นที่รัก กระนั้นทุกคนล้วนทราบดีว่าไม่อาจจะหนีจากความจริงนี้ได้ มนุษย์จึงได้กำหนดจารีตประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความตายนี้ขึ้นมา เพื่อสรรเสริญและไว้อาลัยแด่ผู้จากไป
                ตั้งแต่ครั้งโบราณกาล เมื่อมนุษย์ผู้หนึ่งสิ้นลมหายใจไป มักจะนำไปฝังพร้อมทั้งวางสิ่งของเครื่องใช้ เช่น ขวานหินและอาหารใส่ภาชนะวางไว้กับศพ (รักไทย สิงห์สถิตห์. ๒๕๓๐. การศึกษาการพระราชพิธีพระบรมศพ ณ ท้องสนามหลวงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์.ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยศิลปากร.กรุงเทพฯ) ขนบธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับศพจึงมีการพัฒนาและเพิ่มมากขึ้นตามความเจริญและชาญฉลาดของมนุษย์  มนุษย์ตั้งแต่สมัยโบราณกาลล้วนมีความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับความตาย และความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับภพชาติที่มีหลังความตาย ดังจะเห็นได้จากลัทธิความเชื่อที่ปรากฏในการฝังข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ รวมถึงอาหารลงไปในหลุมฝังศพ
                รากฐานแห่งวัฒนธรรมประเพณีและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับความตายและโลกหลังความตาย ผลักดันมนุษย์ให้ตอบความต้องการทางจิตวิญญาณและสนองตอบซึ่งความต้องการปกป้องทางจิตใจทั้งกับผู้ที่ล่วงลับและผู้ที่มีชีวิต อารยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความตายจึงผูกเกี่ยวอยู่กับทุก ๆ อารยธรรมรวมทั้งอารยธรรมไทย   การพระราชพิธีต่าง ๆ สร้างขึ้นมาเพื่อส่งเสริมฐานอำนาจแห่งพระมหากษัตราธิราชเจ้า และเมื่อผู้ทำคุณาประการแก่ประเทศชาติเช่นองค์พระมหากษัตริย์สวรรคตลง พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระบรมศพจึงเกิดขึ้นและมีความซับซ้อนยากแก่การเข้าใจ
                ข้อซับซ้อนที่ยากแก่การเข้าใจของผู้คนทั่วไป ทำให้เกิดข้อกังขาที่ว่าเหตุใดพระราชพิธีที่เกี่ยวข้องกับพระ-บรมศพ พระศพ จึงมีขั้นตอนประเพณีที่ยุ่งยาก สับสนและวุ่นวาย อีกทั้งมีข้อมูลการบันทึกที่หลากหลาย  ให้การไว้ไม่ตรงกัน ยากแก่การศึกษาและนำมาเป็นแบบแผน  จากบันทึกที่เกี่ยวข้องกับพระราชพิธีพระบรมศพ พระศพ ในสมัยอยุธยา มีการบันทึกการพระราชพิธีนี้ไว้อย่างน้อยมาก คงเป็นเพราะบุคคลทั่วไป หรือผู้ที่เชี่ยวชาญในการพระ-

ราชพิธียังคงมีอยู่ และไม่เห็นว่าจะมีความสำคัญอย่างไรที่จะต้องจดบันทึก หรืออนุมานได้อีกทางหนึ่งว่า การพระราชพิธีนี้เป็นงานอวมงคล มิสมควรที่นำเอามาศึกษาหรือกล่าวขาน ซึ่งอาจจะเป็นการแช่งให้พระมหากษัตริย์เจ้าพระองค์ที่ครองราชย์อยู่ก็เป็นได้
                ด้วยมูลปัญหาที่เกี่ยวกับการพระราชพิธีพระบรมศพ พระศพนี้ ล่วงเลยมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อต้นแผ่นดิน (รัชกาลที่ ๑-๔) การพระราชพิธีนี้ยังคงธรรมปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับที่กระทำกันในสมัยอยุธยา อนุมานว่าคงเพราะมีข้าแผ่นดินที่แล้วมากพอจึงมีการกระทำพระราชพิธีตามแบบโบราณ แต่ครั้งสิ้นแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ นับว่าเป็นช่วงรอยต่อใหม่แห่งการพระราชพิธีพระบรมศพ ไม่ว่าจะเป็นการเชิญพระบรมศพเข้าสู่พระมหาราชวังในยามค่ำ และการยกเลิกจารีตอื่น ๆ ที่ขัดต่อการพัฒนาชาติไปสู่ความเป็นอารยะ หรือตัดลัทธิประเพณีที่เห็นว่าสมควรตัดเพราะอารยชาติตะวันตกจะมองว่าคนไทยป่าเถื่อน  และที่สำคัญที่สุดคือการปรับเปลี่ยนพระเมรุมาศให้คงเหลือแต่พระเมรุมาศองค์ใน ตัดพระเมรุมาศองค์ใหญ่ที่สร้างครอบพระเมรุมาศพระราชทานเพลิง และพระเมรุทิศออก เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณแผ่นดินดังพระราชกระแสรับสั่งก่อนสวรรคต
                เรื่อยมาตั้งแต่การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชพิธีพระบรมศพ พระศพ ได้ต่างปรับเปลี่ยนไปตามกระแสพระราชนิยมและความสะดวกแก่การจัดพระราชพิธี มีการตัดธรรมเนียมบางประการออกเพื่อความทันสมัยและสะดวกและรวดเร็วต่อการประกอบพระราชพิธี  การพระราชพิธีพระบรมศพ พระศพ ได้ถึงจุดหักเหสู่การะพระราชพิธีพระบรมศพ พระศพ ยุคสมัยใหม่ คือ หลังงานพระราชพิธีพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ สวรรคต  ได้มีการยกเลิกการทรงพระโกศของพระบรมศพ พระศพ ซึ่งเป็นไปตามพระราชกระแสรับสั่งของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในรัชกาลที่ ๙ พระองค์ปฏิเสธที่จะทรงพระบรมโกศ อันเนื่องจากการได้ร่วมทอดพระเนตรในการสุกำพระบรมศพและทรงพระศพในพระบรมโกศของพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ที่ค่อนข้างเป็นไปด้วยความลำบาก จึงมีพระราชประสงค์ให้ทรงพระหีบเมื่อสวรรคต นับตั้งแต่นั้นมาการพระราชพิธีพระบรมศพ พระศพ ก็ได้เปลี่ยนรูปแบบทั้งพระบรมศพ พระศพ ทั้งเจ้านาย ขุนนาย ผู้มีบรรดาศักดิ์ และผู้ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและได้รับพระราชโกศ เปลี่ยนแปลงไปเป็นการตั้งโกศเพื่อประดับพระเกียรติยศ  เกียรติ และนำพระบรมศพ พระศพ ศพ นั้น ๆ บรรจุในพระหีบ หีบ  เข้าฉากหลังที่ตั้งโกศพระราชทานแทน ในสมัยหลัง ๆ ต่อมาจึงมีผู้ได้รับพระราชทานโกศน้อยท่านนักที่บรรจุลงในโกศตามแบบอย่างโบราณ


ครั้งสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เสด็จสวรรคต การพระราชพิธีนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง คือพระศพของพระองค์ท่านได้กลับมาทรงพระโกศ ดังพระประสงค์ที่จะทำตามอย่างโบราณราชประเพณีเดิม
ด้วยความเป็นมาดังที่กล่าวมานี้ จึงจะเห็นได้ว่า แม้การพระราชพิธีพระบรมศพ พระศพ จะเป็นงานอวมงคล และไม่เป็นที่พูดถึงกันนัก แต่ด้วย ในการพระราชพิธีนี้มีข้อปฏิบัติที่มีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกัน และงานวิทยานิพนธ์ซึ่งเป็นผลงานวิจัยที่กระผมนำมาต่อยอดนั้นก็เห็นว่าไม่ทันต่อสมัยที่ล่วงมาเนินนาน เห็นว่าจำเป็นที่จะต้องทำการวิจัยใหม่ ให้ทันต่อสมัยและการเปลี่ยนแปลงแห่งการพระราชพิธี และเพื่อเป็นองค์ความรู้ที่ละเอียดแสดงถึงความเปลี่ยนแปลง และการคงอยู่ของพระราชพิธีโบราณที่อาจจะเปลี่ยนผันไปแต่ยังคงความหมายเช่นดังเดิม งานวิจัยช่วยให้ผู้ใคร่ศึกษาเรียนรู้ได้รับทราบรายละเอียดและประวัติความเป็นมาพร้อมทั้งการเปลี่ยนแปลงจารีตประเพณีที่สืบเนื่องต่อกันอยู่เสมอ และยังเป็นการอนุรักษ์ความรู้ทั้งทางงานช่างและคติชนวิทยาของบรรพชนไทยได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งงานวิจัยนี้จะยังแสดงให้ผู้สนใจได้ทราบถึงความรู้ ความเข้า ทัศนะของประชาชนชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ในเมืองหลวง ว่ามีความเข้าใจต่อการพระราชพิธีนี้มากน้อยเพียงใด เพื่อจะได้ปรับปรุงระบบการให้ความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนการอนุรักษ์พร้อมการพัฒนา ขององค์ความรู้การพระราชพิธีนี้

วัตถุประสงค์การวิจัย
                การวิจัยเรื่องการศึกษาเปรียบเทียบการพระราชพิธีพระบรมศพ พระศพ               ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ พุทธศักราช ๒๕๒๘ ถึงปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้
๑.      ศึกษา ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติของคนไทยในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่ได้รับชมการถ่ายทอดสดพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ พระศพ ณ ท้องสนามหลวง
๒.    ศึกษาความเป็นมาแห่งการพระราชพิธีพระบรมศพ พระศพ ที่เกี่ยวข้องกับคติความเชื่อ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี  
๓.     ศึกษาการจัดริ้วกระบวนพระราชอิสริยยศ อัญเชิญพระบรมศพ พระศพ เพื่อการออกพระเมรุ และศึกษาการเปลี่ยนแปลงของการจัดริ้วกระบวนพระราชอิสริยยศ
๔.     ศึกษาการจัดสร้างพระเมรุมาศ พระเมรุ ตามคติความเชื่อ และรูปแบบ พร้อมการศึกษาการเปลี่ยนแปลงไปของการจัดสร้างพระเมรุมาศ พระเมรุ ทั้งคติความเชื่อและรูปแบบงานช่าง เพื่อศึกษากรณีความเข้าใจ

ของคนไทยในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่ได้รับชมการถ่ายทอดสดพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ พระศพ ณ ท้องสนามหลวง
๕.     การศึกษารูปแบบการถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระศพ เพื่อศึกษากรณีความเข้าใจของคนไทยในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่ได้รับชมการถ่ายทอดสดพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ พระศพ ณ ท้องสนามหลวง
๖.      ศึกษาการเปลี่ยนแปลงไปของการทรงพระบรมศพ พระศพ ในโกศ และการทรงพระบรมศพ พระศพ ในพระหีบ  เพื่อศึกษากรณีความเข้าใจของคนไทยในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่ได้รับชมการถ่ายทอดสดพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ พระศพ ณ ท้องสนามหลวง
๗.     ศึกษารูปแบบพระราชพิธีพระบรมศพ พระศพ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามพระราชนิยม เพื่อศึกษากรณีความเข้าใจของคนไทยในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่ได้รับชมการถ่ายทอดสดพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ พระศพ ณ ท้องสนามหลวง

สมมุติฐานการวิจัย
๑.              ประชากรที่ทำศึกษาไม่มี ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติจากการ ที่ได้รับชมการถ่ายทอดสดพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ พระศพ ณ ท้องสนามหลวง
๒.    ประชากรที่ทำศึกษาไม่มีความสนใจศึกษาความเป็นมาแห่งการพระราชพิธีพระบรมศพ พระศพ ที่เกี่ยวข้องกับคติความเชื่อ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี  
๓.     ประชากรที่ทำศึกษาไม่มีความสนใจศึกษาการจัดริ้วกระบวนพระราชอิสริยยศ อัญเชิญพระบรมศพ พระศพ เพื่อการออกพระเมรุ และศึกษาการเปลี่ยนแปลงของการจัดริ้วกระบวนพระราชอิสริยยศ
๔.     ประชากรที่ทำศึกษาไม่มีความสนใจศึกษาการจัดสร้างพระเมรุมาศ พระเมรุ ตามคติความเชื่อ และรูปแบบ พร้อมการศึกษาการเปลี่ยนแปลงไปของการจัดสร้างพระเมรุมาศ พระเมรุ ทั้งคติความเชื่อและรูปแบบงานช่าง เพื่อศึกษากรณีความเข้าใจของคนไทยในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่ได้รับชมการถ่ายทอดสดพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ พระศพ ณ ท้องสนามหลวง
๕.     ประชากรที่ทำศึกษาไม่มีความสนใจศึกษารูปแบบการถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระศพ ที่ได้รับชมการถ่ายทอดสดพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ พระศพ ณ ท้องสนามหลวง


๖.      ประชากรที่ทำศึกษาไม่มีความสนใจศึกษาการเปลี่ยนแปลงไปของการทรงพระบรมศพ พระศพ ในโกศ และการทรงพระบรมศพ พระศพ ในพระหีบ  ที่ได้รับชมการถ่ายทอดสดพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ พระศพ ณ ท้องสนามหลวง
๗.     ประชากรที่ทำศึกษาไม่มีความสนใจศึกษารูปแบบพระราชพิธีพระบรมศพ พระศพ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามพระราชนิยม ที่ได้รับชมการถ่ายทอดสดพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ พระศพ ณ ท้องสนามหลวง

ขอบเขตของการศึกษา
ทำการศึกษาการพระราชพิธีพระบรมศพ พระศพ ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๒๘ จึงถึงปัจจุบัน ของราชวงศ์จักรีมุ่งศึกษารายละเอียดของพระราชพิธี การศึกษาการเปลี่ยนแปลงไปของการพระราชพิธี และรื้อฟื้นจารีตโบราณ โดยศึกษาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของการพระราชพิธี และศึกษาขั้นตอนการพระราชพิธีให้ถูกต้องตามขัตติยราชประเพณี  เพื่อศึกษากรณีความเข้าใจของคนไทยในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่ได้รับชมการถ่ายทอดสดพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ พระศพ ณ ท้องสนามหลวง

นิยามศัพท์เฉพาะ
                กรณีศึกษาความเข้าใจ ของคนไทยในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่ได้รับชมการถ่ายทอดสดพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ พระศพ ณ ท้องสนามหลวง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ถึงปัจจุบัน   เป็นคำที่ให้ความหมายถึงการศึกษาเฉพาะกลุ่มบุคคลที่สนใจ ในงานวิจัยนี้สนใจศึกษากลุ่มคนไทย อายุ 15-70 ปี ทุกเพศ ที่มีอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร (ไม่คำนึงถึงทะเบียนบ้านของผู้ตอบแบบสอบถาม) ที่ได้มีโอกาสชมการถ่ายทอดสดพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ พระศพ ณ ท้องสนามหลวง ทั้งที่ได้เข้าร่วมในพระราชพิธี และชมอยู่ที่บ้าน โดยไม่คำนึงถึงระดับการศึกษา เพื่อสะท้อนปัญหาความรู้ ความเข้าใจ ของประชาชนคนไทยที่มีต่อขนบธรรมเนียมดั้งเดิมของไทย
                คนไทยในกรุงเทพมหานคร    เป็นคำที่ให้ความหมายถึง ประชาชนชาวไทย ไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา ลัทธิความเชื่อ อายุ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ สถานะ ไม่คำนึงถึงสถานที่ภูมิลำเนาดั้งเดิม ว่าอยู่ ณ กรุงเทพมหานครหรือไม่  โดยการจัดแบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด 500 คน

                พระราชพิธีพระบรมศพ พระศพ     เป็นคำที่ให้ความหมายครอบคลุมทั้งพระมหากษัตริย์ เจ้านายชั้นเจ้าฟ้า หม่อมราชวงศ์ลงมา ขุนนางผู้ได้รับพระราชทานอิสริยยศ สตรีผู้มีบรรดาศักดิ์ ผู้มีบรรดาศักดิ์ แต่ทั้งนี้มุ่งศึกษาการพระราชพิธีหลวงที่จัดขึ้นเฉพาะพระเมรุท้องสนามหลวงเท่านั้น แต่ให้ความหมายครอบคลุมเพื่อแสดงถึงความเปลี่ยนแปลงไปของการพระราชพิธี หรือพิธีของผู้วายชนม์
                พระเมรุมาศใหญ่      เป็นคำที่ให้ความหมายถึงอาตารทรงปราสาทสูง ที่สร้างครอบองค์พระเมรุมาศที่ใช้สำหรับพระราชทานเพลิง สร้างครั้งสุดท้ายเมื่อครั้งงานออกพระเมรุพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     -          รัชกาลที่ ๔
                พระเมรุมาศพระราชทานเพลิง ,พระเมรุมาศองค์ใน  เป็นคำที่ให้ความหมายถึงพระเมรุองค์ในที่มีขนาดเล็กใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระจิตกาธาร (เชิงตะกอนที่เผาศพ) โดยสมัยโบราณมีพระเมรุมาศองค์ใหญ่ครอบอยู่ ยกเลิกเมื่อสมัยงานพระเมรุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๕
                เครื่องสุกำ      เป็นคำที่ให้ความหมายถึง เครื่องขาวสำหรับแต่งศพ โดยใช้การคลุมรอบองค์พระบรมศพ พระศพ ให้ปลายผ้าขาวอยู่ที่พระเศียรมัดด้วยด้ายให้เป็นหกแฉก เมื่อสุกำเสร็จเชิญพระบรมศพ พระศพ ทรงพระโกศ และจะมีการเปลื้องเครื่องสุกำก่อนงานออกำพระเมรุ   สมัยโบราณมีการถวายรูด และถวายพระเพลิงพระบุพโพ

                ถวายรูด       เป็นคำที่ให้ความหมายถึง การพระราชพิธีที่เจ้าพนักงานในพระบรมมหาราชวังที่รับหน้าที่จะเชิญพระโกศทรงพระบรมศพ พระศพ แล้วเปลื้องเครื่องสุกำ ถวายรูด คือรูดเนื้อพระวรกายที่แห้งออกจากพระบรมอัฐิ พระอัฐิ เพื่อนำไปประกอบพระราชพิธีออกพระเมรุ ยกเลิกเมื่อการรูดเมื่อมีการพัฒนาทางการแพทย์ในการรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อย
                ถวายพระเพลิงพระบุพโพ   เป็นคำที่ให้ความหมายถึง การถวายพระเพลิงน้ำเหลือง น้ำหนอง อันที่จะสามารถส่งกลิ่นได้โดยใช้พระเมรุผ้าขาวถวายพระเพลิงที่วัดหลวง หรือตามสถานที่ที่กำหนด โดยทำพร้อมกันกับการเปลื้องเครื่องสุกำก่อนงานออกพระเมรุ
                กงเต็กหลวง    เป็นคำที่ให้ความหมายถึง  การประกอบพิธีตามคติความเชื่อทางพุทธศาสนา นิกายมหายานหรือจีนนิกาย เพื่อถวายพระราชกุศล โดยมีการเผาเครื่องกระดาษสมมุติส่งเพื่อบรรณาการ ด้วยสำนึกในพระมหา


กรุณาธิคุณ อนึ่งพิธีนี้มูลนิธิของชาวจีนมักจะจัดทูลถวายเป็นพระราชกุศล โดยมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างจากพิธีกงเต็กทั่ว ๆ ไป
               
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
                การวิจัยเรื่องการศึกษาการพระราชพิธีพระบรมศพ พระศพ ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๒๘ จึงถึงปัจจุบัน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑.      เป็นการขยายขอบเขตความรู้ในสาขาไทยศึกษา หมวดคติชนวิทยา ให้กว้างวขว้างและเป็นความรู้ที่ประชาชนมีความเข้าใจและทราบซึ่ง
๒.    ทำให้ทราบถึงความเป็นมาที่เกี่ยวเนื่องกับพระราชพิธีพระบรมศพ พระศพ ของกษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง ตามแบบขัตติยราชประเพณี
๓.     ทำให้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงของการพระราชพิธีพระบรมศพ พระศพ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๘ จนถึงปัจจุบัน
๔.     ทำให้ทราบถึงคติความเชื่อต่าง ๆ ในพระราชพิธีที่ส่งผลและมีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของพระราชพิธี การมีอิทธิทางคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนา พราหมณ์ และคติความเชื่อทางจีนนิกาย
๕.     ทำให้ประชาชนชาวไทยตระหนักและรับรู้ถึงการพระราชพิธี พร้อมทั้งซาบซึ้งถึงความเป็นอารยชาติและร่วมอนุรักษ์ไว้ซึ่งแบบอย่างแห่งวัฒนธรรมมิให้เสื่อมสูญ
๖.      เป็นแหล่งข้อมูลใหม่ที่รวบรวมประวัติความเป็นมา ขนบการปฏิบัติการพระราชพิธี และการเปลี่ยนแปลงไปแห่งการพระราชพิธี
๗.     ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมประเพณี จารีตของชาติที่ยังคงมีปฏิบัติอย่างเป็นแบบแผนเพียงชาติเดียวในโลก
๘.     เพื่อบรรยายให้ทราบสาเหตุของความเสื่อมหรือมูลความเจริญแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติไทย เพื่อชี้แนวทางการอนุรักษ์ที่ได้ผล 




-------------------------------------------------------------------


รายงาน “เอกลักษณ์ไทยในภาษา”
เสนอ รศ. ดร. นิตยา  กาญจนะวรรณ
หัวเรื่อง เอกลักษณ์ไทยในภาษา “ความกตัญญูรู้คุณ และการยกย่องผู้มีอาวุโส เอกลักษณ์ไทยที่ปรากฏในภาษา ”
โดย นาย สุรเดช  ภาพันธ์   รหัสนักศึกษา ๕๖๑๒๒๒๐๑๖๗  นักศึกษาระดับปริญญาโท  คณะมนุษยศาสตร์             สาขาไทยศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง    
บทคัดย่อ
                ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์อย่า
งหนึ่งของชาติที่แสดงออกถึงความเป็นอารยะ ทั้งในด้านวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม วิถีการใช้ชีวิต และอุปนิสัย   โดยเฉพาะในด้านอุปนิสัยแล้ว ภาษามีอิทธิพลสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะมนุษย์ใช้ภาษา และภาษาก็ได้รับการถ่ายทอดออกมาจากความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ ผ่านการพูด เขียน อ่าน และสัญลักษณ์ จึงมิอาจจะกล่าวได้ว่าความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์จะไม่ใช่ตัวแปรที่สำคัญของภาษา
                คนไทยมีคตินิยมหรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างหนึ่งก็ว่าได้ นั้นก็คือ ความกตัญญูรู้คุณ
บทความเอกลักษณ์ไทยในภาษา  “ความกตัญญูรู้คุณ และการยกย่องผู้มีอาวุโส เอกลักษณ์ไทยที่ปรากฏในภาษา ” (ใจความสำคัญ)
                “ ค่านิยมคนไทย   คนไทยยึดความกตัญญูรู้คุณเป็นสำคัญ เพราะลักษณะของสังคมไทยนั้นเป็นลักษณะแบบสังคมแบบแนวตั้ง คือให้ความสำคัญกับความอาวุโส เป็นสำคัญ แม้ว่าในบางครั้งจะไม่ไดเป็นดังที่แสดงออกมาก็ตาม เช่นการนับถือหรือเคารพผู้ใหญ่จากอำนาจบารมี เป็นต้น
ความหมายของคำว่า “กตัญญู”
[กะตัน-] น. (ผู้) รู้อุปการะที่ท่านทําให้, (ผู้) รู้คุณท่าน, เป็นคําคู่กันกับ กตเวที. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทําแล้ว + ญู ว่า ผู้รู้].
(ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมอิเล็กทรอนิค  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ :ราชบัณฑิตยสถาน.๒๕๔๒ )

                ความกตัญญูรู้คุณ หากจะกล่าวว่าเป็นสิ่งที่สังคมไทยต้องการให้มีนั้น อาจจะกล่าวได้ว่าอาจจะเป็นจริงอยู่ เพราะทุกสังคมล้วนต้องการให้สังคมของตนเป็นสังคมที่ดีด้วยหลักคุณธรรม ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกใจที่ทุกสังคมล้วนต้องการให้ผู้คนปฏิบัติตามสิ่งที่ตนเองต้องการ หรือความคาดหวัง แต่ความคาดหวังในเรื่องความกตัญญูรู้คุณ ในสังคมไทยน่าจะไม่ใช่เรื่องที่ต้องการให้เป็น หรือริเริ่มให้เป็นแล้ว แต่เป็นสิ่งหนึ่งที่ทุกคนต้องมี ไม่ใช่เพียงแต่คนไทยเท่านั้น ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเกือบทั้งหมดนี้ก็ล้วนมีคุณธรรมนี้เป็นสำคัญเช่นเดียวกัน คุณธรรมเรื่องกตัญญูรู้คุณจึงเข้ามาเกี่ยวพันในภาษา เพื่อให้การอธิบายความเป็นเอกลักษณ์ไทยในภาษาได้ชัดเจน จึงได้ยกประโยค วลี ถ้อยคำ อื่น ๆ มาประกอบเพื่อให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นว่าค่านิยมของไทยนิยมความกตัญญูรู้คุณอย่างแท้จริง
                ก่อนจะกล่าวถึงเอกลักษณ์ไทยในภาษาในหัวเรื่องความกตัญญูรู้คุณของสังคมไทยนั้น ใคร่ขอยกถ้อยความที่ปรากฏใน หนังสือ “ค่านิยมในสำนวนไทย ของ เพ็ญแข วัจนสุนทร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน ๒๕๒๒”  ในบทนำ ดังนี้
“.... เมื่อวิเคราะห์ดูให้ถ่องแท้จะเห็นว่าในสำนวน สุภาษิตและคำพังเพยของไทยเรานั้นเป็นเครื่องมือชี้หรือบ่งบอก หรือแนะให้คนในสังคมเกิดความเชื่อตามได้เป็นอย่างมาก จึงพอสรุปได้ว่าคำสอนก็ดี คำกล่าวซ้ำซากของผู้ใหญ่ก็ดี หรือข้อความที่ได้ยินได้ฟังมาในสถานการณ์ต่าง ๆ กันในประสบการณ์ของคน จะเป็นเครื่อง “ก่อ” หรือ “สร้าง” ทัศนคติ เจตนคติ ความเชื่อ จุดหมายปลายทาง ความรู้สึก ความสนใจ ความปรารถนาและอุดมคติในชีวิตและที่สุด กลายเป็นค่านิยมของคนในสังคมได้”
จากถ้อยความที่ยกมานี้ ท่านจะเห็นชัดเจนว่า หากเราพึงจะศึกษาเอกลักษณ์ไทยในภาษาสิ่งที่ควรจะศึกษาโดยที่จะขาดเสียไม่ได้นั้นก็คือการพิจารณาดูเสียก่อนว่า ความกตัญญูรู้คุณ ที่ปรากฏในภาษา นั้น มีใน คำสุภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย บ้างหรือไม่ เพราะกลุ่มคำทางภาษาเหล่านี้เองที่เป็นตัวกำหนดค่านิยม หรือความ “เป็น” ของคนในสังคม  ผู้ศึกษาจึงได้ศึกษาค้นคว้าจาก หนังสือ “ภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย” ของราชบัณฑิตยสถาน พบคำที่มีความหมายถึงความกตัญญูรู้ ดังนี้

ข้าเก่าเต่าเลี้ยง       น.คนเก่าคนแก่, คนที่อยู่ด้วยกันในฐานะรับใช้มานาน 
(ราชบัณฑิตยสถาน. ภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ :ราชบัณฑิตยสถาน.๒๕๕๑ หน้า ๑๐)
อธิบาย   แม้ว่าสำนวนนี้จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับความกตัญญูรู้คุณ โดยตรง แต่หากได้ตีความวิเคราะห์แล้ว อาจจะอนุมานได้ใจความว่า สำนวนนี้เป็นการกล่าวยกย่องผู้ที่ได้รับใช้เจ้านายคนนั้นมาเนินนาน เป็นการกล่าวทำนองสรรเสริญ เพราะคนใช้คนนี้มีคุณ เป็นคนเก่าคนแก่ที่ควรแก่การเคารพของคนใช้คนอื่น ๆ และเมื่อพิจารณาตีความลงไปอีกจะพบว่า การใช้สำนวนนี้ยังกล่าวเป็นทำนองว่า ควรรู้คุณคนเก่าคนแก่ แม้ว่าคนเก่าคนแก่นั้นจะอยู่ในฐานะคนรับใช้ก็ตาม
                ข้าวก้นบาตร        น. อาหารเหลือจากพระฉันแล้วที่ศิษย์ได้อาศัยกิน
(ราชบัณฑิตยสถาน. ภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ :ราชบัณฑิตยสถาน.๒๕๕๑ หน้า ๑๑)
อธิบาย   สำนวนนี้อาจจะพอคุ้นเคยกันบ้าง เพราะวัดยังมีบทบาทในสังคมไทยอยู่ และวัดยังเป็นที่พึ่งพาสำหรับคนที่ตกระกำลำบาก  แม้ว่าสำนวนนี้จะไม่ได้กล่าวโดยตรง แต่หากได้กล่าวถึง หรือหากมีผู้กล่าวถึงสำนวนนี้กับเรา มักจะเป็นในลักษณะการสำนึกบุญคุณ เช่น “ที่โตมานี้ได้เพราะข้าวก้นบาตร”   คือผู้พูดกล่าวมีนัยสำคัญว่า หากไม่มีข้าวก้นบาตรของวัดก็ไม่มีตนเองในวันนี้ เป็นการกล่าวด้วยความสำนึกในบุญคุณ หรืออาจอนุมานว่าเป็นการกตัญญูรู้คุณต่อสิ่งที่เลี้ยงดูตนเองมา และสำนวนนี้ไม่เคยปรากฏว่ามีความหมายในทางลบเท่าใดนัก แต่กระนั้นก็อาจจะพอได้ยินอยู่บ้างเป็นแนวกระแนะกระแหน่ ว่าผู้ที่กินข้าวก้นบาตรเป็นคนที่จน โดยมักจะปรากฏในการกล่าวถึงคุณสมบัติของชายหนุ่มที่หมายหญิงที่เป็นที่รักที่มีฐานะความเป็นอยู่ดีกว่าตน

                ข้าวแดงแกงร้อน                                 น. บุญคุณ
(ราชบัณฑิตยสถาน. ภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ :ราชบัณฑิตยสถาน.๒๕๕๑ หน้า ๑๑)
อธิบาย    สำนวนนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าค่านิยมของไทยนิยมความกตัญญูรู้คุณ และด้วยเหตุที่ความกตัญญูรู้คุณเป็นหนึ่งในคุณธรรมที่สำคัญที่สังคมไทยต้องการให้เกิดขึ้น จึงเกิดเป็นถ้อยความสำนวนแบบสองลักษณะคือ การพูดกล่าวเพื่อให้ปฏิบัติตาม และอีกหนึ่งคือ การกระทบกระทั่งให้ผู้ฟังรู้สึก เช่นสำนวนที่ยกมานี้ คือข้าวแดงแกงร้อน เพราะโดยลักษณะการใช้สำนวนนี้แล้ว เป็นในลักษณะของการกระทบกระทั่งให้ผู้ฟังรู้สึกว่าตนต้องสำนึกหรือระลึกถึงบุญคุณของผู้ที่เลี้ยงดู หรือนัยหนึ่งคือกล่าวให้รู้ว่าควรกตัญญูต่อผู้ที่มีพระคุณ

สำนวนที่ยกย่องผู้อาวุโส
               
                เดินตามหลังผู้ใหญ่ หมาไม่กัด                      ก. ประพฤติตามอย่างผู้ใหญ่ย่อมปลอดภัย
(ราชบัณฑิตยสถาน. ภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ :ราชบัณฑิตยสถาน.๒๕๕๑ หน้า ๓๐)
                ขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายาย     ถ้าไม่ใช่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ของตนก็ไม่ควรไว้วางใจ,ทำนอง
                                                                         เดียวกันกับภาษิตที่ว่า อย่าไว้ใจทางอย่างวางใจคน จะจนใจเอง
(ราชบัณฑิตยสถาน. ภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ :ราชบัณฑิตยสถาน.๒๕๕๑ หน้า ๑๒)


                ทั้งนี้เมื่อกล่าวถึงความกตัญญูรู้คุณ สิ่งหนึ่งที่จะไม่กล่าวถึงเสียไม่ได้ คือสาเหตุที่เราจะต้องกตัญญูรู้คุณต่อผู้อาวุโสกว่า  ซึ่งมีแสดงในสำนวนไทย คือ
                อาบน้ำร้อนมากก่อน            ก เกิดก่อนมีประสบการณ์มากกว่า
(ราชบัณฑิตยสถาน. ภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ :ราชบัณฑิตยสถาน.๒๕๕๑ หน้า ๑๐๘)
                จากสำนวนที่ยกขึ้นมานี้ เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่เราควรจะเชื่อฟังผู้หลักผู้ใหญ่และมีความกตัญญูต่อผู้อาวุโสกว่า เพราะที่ท่านบอกกล่าวตักเตือนล้วนเป็นข้อความที่ปรารถนาดี เพราท่านผ่านพ้นประสบการณ์ต่าง ๆ มาก่อน  การกตัญญูรู้คุณในบ้างครั้ง อาจจะดูไม่สมเหตุสมผลเท่าที่ควร แต่ด้วยที่สภาพสังคมไทยที่เป็นรูปแบบแบแนวตั้ง ที่เคารพนับถือที่ความเป็นผู้ใหญ่ผู้น้อย หรือระบบอุปถัมภ์นั้นเองที่เรามักจะให้ความสำคัญและยกย่องผู้มีอาวุโส การที่ใช้สำนวน “อาบน้ำร้อนมากก่อนนั้น” ก็เห็นว่าจะเป็นการกล่าวเพื่อแสดงว่าตนเกิดก่อน ต้องมีความเคารพยำเกรง และควรรู้คุณในสิ่งที่บอกกล่าวตักเตือน เป็นต้น
                แม้สำนวนนี้จะไม่ใช่สำนวนที่กล่าวถึงความกตัญญูรู้คุณ แต่ก็มีส่วนที่เข้าไปผูกกับความกตัญญูอยู่ไม่น้อย นอกจากสำนวนที่เป็นเป็นเหตุและผลที่ผู้อาวุโสกล่าวหรือใช้กันบ่อยนั้นยังมีกลุ่มสำนวนอีกประเภทหนึ่งที่กล่าวถึงความอกตัญญู อันเป็นหนทางแห่งความเสื่อมอีกด้วย  แม้จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่ไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่า สำนวนประเภทนี้ไม่ได้เกิดจากความที่คาดหวังให้ผู้คนในสังคมมีคุณธรรม “ความกตัญญู” แต่ไม่อาจจะสามารถสร้างหรือทำให้ทุกคนในสังคมเป็นคนที่กตัญญูได้     ดั้งนั้นหากมองในมุมกลับกัน สังคมไทยมีลักษณะของงค่านิยมความกตัญญูแบบเหรียญสองด้าน คือมุมหนึ่งมีความกตัญญูเป็นหลักและอีกมุมหนึ่งมีความอกตัญญูเป็นส่วนประกอบ แต่กระนั้น ภาษาก็แสดงออกมาว่า ความอกตัญญู เป็นเรื่องราวเลวร้าย และนำผลเสียมากกว่า อาจจะคล้ายกับเป็นคำสอน แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า คำสอน หรือภาษาสอน ก็เป็นส่วนหนึ่งในภาษาไทย การมองเพียงว่าอันใดคือเอกลักษณ์ไทยที่พึงต้องการให้มี และเอกลักษณ์ไทยที่เป็นของไทยจริง ๆ ก็เป็นการมองมุมแคบไป เพราะบางครั้งคำสอนหรือภาษา สำนวนสอนนั้น อาจมีเรื่องจริงที่ปรากฏก่อนแล้วก็ย่อมเป็นได้

                ศิษย์คิดล้างครู                    น. ศิษย์เนรคุณที่มุ่งคิดจะทำลายล้างครูบาอาจารย์
                ศิษย์นอกครู                         น. ศิษย์ที่ประพฤติไม่ตรงตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์, โดยปริยายหมายถึง                
                                                              ผู้ที่ประพฤติไม่ตรงตามแบบฉบับที่นิยมกันมา

(ราชบัณฑิตยสถาน. ภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ :ราชบัณฑิตยสถาน.๒๕๕๑ หน้า ๘๓)


สำนวนที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
                เป็นศิษย์อย่าคิดล้างครู
                อายครูห่อนรู้วิชา
                เป็นผู้น้อยค่อยก้มประนมกร
                กิ่งก้อยหัวแม่มือ (โบราณ)
                กับผู้น้อยคอยเผื่อแผ่   กับผู้แก่คอยนบน้อม
(เพ็ญแข วัจนสุนทร, ค่านิยมในสำนวนไทย . มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน: ๒๕๒๒)




กตัญญู เอกลักษณ์ไทยในภาษาที่ปรากฏในภาษาวรรณกรรม วรรณคดี และอื่น ๆ
                ความกตัญญู ในโคลงโลกนิติ   ฉบับ สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร
                                คุณแม่หนาหนักเพี้ยง         พสุธา
                คุณบิดรดุจอา-                                      กาศกว้าง
                คุณพี่พ่างศิขรา                                     เมรุมาศ
                คุณพระอาจารย์อ้าง                             อาจสู้สาคร
สอนให้มีความกตัญญู
                โคลงโลกนิติสอนให้ระลึกถึงพระคุณของบิดามารดาและครู โดยกล่าวเปรียบพระคุณของมารดานั้นยิ่งใหญ่เปรียบได้กับแผ่นดิน พระคุณของบิดาเล่าก็กว้างขวางเปรียบได้กับอากาศ พระคุณของพี่นั้นสูงเท่ากับยอดเข้าพระสุเมรุ และพระคุณของครูบาอาจารย์ก็ล้ำลึกเปรียบได้กับน้ำในแม่น้ำทั้งหลาย
(ถอดจากบทความเกริ่นนำ  กระทรวงศึกษาธิการ,วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑,กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.๒๕๕๔  (บทที่ ๒  โคลงโลกนิติ   หน้า ๓๗ )

เอกลักษณ์ไทยในเรื่องความกตัญญูรู้คุณและยกย่องผู้อาวุโส ที่ปรากฏเป็นถ้อยคำสำนวนภาษาในกาพย์พระไชยสุริยา
                ในสมัยโบราณเวลาจะทำกาพย์สอนนั้น จะมีธรรมเนียมที่ว่าต้องยกหรืออ้างเอาคุณครูบาอาจารย์ บิดามารดาเป็นหลัก แม้จะกล่าวว่าไม่ใช่สิ่งที่สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ไทยทางภาษาโดยตรงแต่ก็มีนัยยะที่ซ่อนอยู่คือการที่คนไทยเป็นผู้ที่มีความเคารพอ่อนน้อมและระลึกคุณของผู้มีพระคุณอยู่เสมอ เช่นในวรรคเริ่มของกาพย์พระไชยสุริยาที่กล่าวว่า
ยานี ๑๑
                สะธุสะจะขอไหว้                                                พระศรีไตรีสรณา
                พ่อแม่แลครูบา                                     เทวดาในราศี ....
บทเพลงที่แสดงออกซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ของไทยในเรื่องความกตัญญูรู้คุณและการยกย่องผู้อาวุโส


กตัญญู
พงษ์สิทธิ์ คำภีร์
Emดนตรี 4 Bars..3...4... พ่อแม่บอก ไปอยู่ กับเขา  พี่ จะพา ไปทำงาน  เป็นอยู่ สบาย ทุกอย่าง  ไม่เดือด ไม่ร้อน อันใด  ขึ้น ปีใหม่ พี่จะ มารับ  เอาหนู กับน้อง อีกคน  ไม่พูด ไม่บ่น เชื่อฟัง ทุกอย่าง  เป็นลูก ที่ดี ประเสริฐ
แล้ว วันหนึ่ง ก็รู้ ทุกอย่าง  นายหน้า เขามา จ่ายเงิน  มัดจำ สัญญา เซ็นชื่อ ไว้ว่า  แม่พ่อ ขายหนู ให้เขา
ดนตรี 3 Bars..1...
2...3 เหมือนสาย ฟ้าฟาด  ลงกลาง ดวงใจ  พ่อแม่ ทำไม ทำได้ อย่างนี้  ส่ง ลูกไป ให้ลง นรก  แลก กับความ สบาย ทางกาย  กตัญญู หนูรู้ ว่าควร แค่ไหน  ให้หนู เกิดมา ทำไม  จะเลี้ยง ดู เหมือนวัว  เหมือนควาย หรือไง  เกิด มารับ ใช้-งาน
เหมือนสาย ฟ้าฟาด  ลงกลาง ดวงใจ   พ่อแม่ ทำไม ทำได้ อย่างนี้  ส่ง ลูกไป ให้ลง นรก  แลก กับความ สบาย ทางกาย  กตัญญู หนูรู้ ว่าควร แค่ไหน  ให้หนู เกิดมา ทำไม  จะเลี้ยง ดู เหมือนวัว  เหมือนควาย หรือไง  เกิด มารับ ใช้-งาน   กตัญญู คุณครู ท่านสอน  ท่องจำ ไว้จน ขึ้นใจ  บุญคุณ อันใด ออกลูก มาขาย  เอาความ สบาย ใส่ตัว  พ่อแม่จํา ลูกจะ รับใช้  จงอยู่ สบาย กันเถิด
ชาติหน้า ถ้ามี อย่าให้ กำเนิด
อย่าเกิด มาเจอ กันอีก เลย






เพลงพระคุณที่สาม
ประพันธ์เนื้อร้องและทำนองโดย : สุเทพ โชคตระกู
ครูบาอาจารย์ที่ท่านประทานความรู้มาให้
อบรมจิตใจให้รู้ผิดชอบชั่วดี
ก่อนจะนอนสวดมนต์อ้อนวอนทุกที
ขอกุศลบุญบารมีส่งเสริมครูนี้ให้ร่มเย็น
ครูมีบุญคุณจึงขอเทิดทูนเอาไว้เหนือเกล้า
ท่านสั่งสอนเราอบรมให้เราไม่เว้น
ท่านอุทิศไม่คิดถึงความยากเย็น
สอนจนรู้จัดเจนเฝ้าเน้นเฝ้าแนะมิได้อำพราง
พระคุณที่สามงดงามแจ่มใส
แต่ว่าใครหนอใครเปรียบเปรยครูไว้ว่าเป็นเรือจ้าง
พลาดจากความจริงยิ่งคิดยิ่งเห็นว่าผิดทาง
มีใครไหนบ้างแนะนำแนวทางอย่างครู
บุญเคยทำมาแต่ปางใดๆเรายกให้ท่าน
ตั้งใจกราบกรานระลึกคุณท่านกตัญญู
โรคและภัยอย่าได้แผ้วพานคุณครู
ขอกุศลผลบุญค้ำชูให้ครูเป็นสุขชั่วนิรันดร
(ให้ครูเป็นสุขชั่วนิรันดร)

บทสรุป
                ความกตัญญูรู้คุณ เป็นหนึ่งในศีลธรรมจรรยาที่สังคมในซีกโลกตะวันออกเห็นว่ามีความสำคัญและทุกคนต้องยึดถือ สังคมจึงแสดงออกซึ่งสิ่งที่คาดหวังออกมาในรูปแบบของสุภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย และบทเพลง หรือแม้กระทั่งถ้อยคำที่ปรากฏในบทนิพนธ์ต่าง ๆ การจะมองว่าสิ่งใดคือเอกลักษณ์ของชนชาตินั้น ๆ ย่อมต้องพิจารณามองถึงภาษาด้วยเป็นตัวหลักเพราะภาษาเป็นสิ่งที่สะท้อนออกมาซึ่งความคิด ทัศนคติของมนุษย์ในชนชาตินั้น  ๆ ดังจะเห็นได้จากการที่ศึกษาเรื่องราวความเป็นเอกลักษณ์ของไทยที่ปรากฏในภาษา  ในเรื่องความกตัญญูรู้คุณ อันปรากฏในสำนวนไทยหลายคำ อาทิ  เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด  ข้าวแดงแกงร้อน เป็นต้น นอกจากนี้ด้วยที่สังคมไทย วัฒนธรรมของไทยเป็นลักษณะแบบแนวตั้งหรือลักษณะแบบระบบอุปถัมภ์ สังคมไทยจึงให้ความสำคัญกับการเคารพผู้อาวุโส เป็นหลัก ดังปรากฏในสำนวนหลายคำ อาทิ  เป็นผู้น้อยค่อยก้มประนมกร  , กับผู้น้อยคอยเผื่อแผ่   กับผู้แก่คอยนบน้อม   เป็นต้น
                นอกจากนั้นแล้ว สังคมไทย ยังมีค่านิยมสั่งสอนให้เห็นโทษของความเห็นผิดไม่ยึดถือหรือปฏิบัติในความกตัญญูรู้คุณ ดังที่ปรากฏในหลายสำนวน อาทิ  เป็นศิษย์อย่าคิดล้างครู  , อายครูห่อนรู้วิชา  เป็นต้น  และหากกล่าวถึงภาษาแล้ว ไม่กล่าวถึงอิทธิพลทางภาษาที่ปรากฏในบทนิพนธ์และบทเพลงก็เห็นว่ายังไม่ครอบคลุมนัก ดังนั้นในบทนิพนธ์ต่าง ๆของไทยก็มีสำนวนถ้อยคำที่กล่าวถึงความกตัญญูรู้คุณ และยกย่องผู้อาวุโส ให้เห็น เช่นในบทเริ่มของกาพย์พระไชยสุริยา ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่จะกล่าวยกอ้างเอาคุณของบิดามารดาและครูบาอาจารย์เป็นหลัก ก่อนจะเข้าเนื้อหา ซึ่งเป็นอีกเอกลักษณ์หนึ่งที่แสดงออกถึงความรู้คุณหรือสำนึกรู้คุณอยู่ตลอดเวลา และยังมีบทเพลงที่แต่งขึ้นมาจากแรงบันดาลใจเรื่องความกตัญญู คือ เพลงกตัญญู  พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์  และพระคุณที่สาม ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า หากสังคมไทยไม่มีเอกลักษณ์ข้อคุณธรรมที่ว่าด้วยความกตัญญูเป็นหัวใจสำคัญแล้ว ก็คงไม่ปรากฏถ้วยความสำนวนหลากหลายแห่ง ที่ได้รับอิทธิพลทางภาษา ดังที่ปรากฏ
                เรื่องความกตัญญูรู้คุรและเคารพผู้อาวุโสหรือการยกย่องผู้อาวุโส นั้น ดังที่กล่าวมาหาได้เกิดขึ้นเฉพาะในสังคมไทย หรือจะเรียกว่าเป็นเอกลักษณ์ไทยแต่เพียงชนชาติเดียวไม่ หากแต่ความกตัญญูรู้คุณและยกย่องผู้อาวุโส เป็นเอกลักษณ์ร่วมของชนชาติในภูมิภาคเอเชียเกือบทั้งหมด ผิดแปลกที่เอกลักษณ์ของไทย นั้นยกย่องและให้ความสำคัญของความกตัญญูเป็นสำคัญ โดยผูกพัวเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของผู้คนทั้งทางตรงและทางอ้อม และหนึ่งในนั้นคือการปรากฏมาของอิทธิพลทางภาษา ที่สะท้อนแง่มุมทางสังคมให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์และค่านิยมของคนไทยที่ให้ความสำคัญของความกตัญญูรู้คุณและยกย่องผู้อาวุโส



บรรณานุกรมอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ,วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑,กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.๒๕๕๔  (บทที่ ๒  โคลงโลกนิติ   หน้า ๓๗ )
ทองย้อย แสงสินชัย,โคลงโลกนิติ : ฉบับถอดความ ,กรุงเทพฯ : สหธรรมิก, ๒๕๓๙.
เพ็ญแข วัจนสุนทร, ค่านิยมในสำนวนไทย  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน : ๒๕๒๒ 
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมอิเล็กทรอนิค  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ :ราชบัณฑิตยสถาน.๒๕๔๒
ราชบัณฑิตยสถาน. ภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ :ราชบัณฑิตยสถาน.๒๕๕๑






แก้ไขอ่านเขียนไทยไม่ออก เรียนพิเศษภาษาไทย เรียนอ่านเขียนไทยประถม เรียนพิเศษส่วนตัวภาษาไทย หาที่เรียนภาษาไทย ครูสอนพิเศษภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทย  สอนอ่านภาษาไทย  สอนภาษาไทยเด็ก  สอนภาษาไทย  สอนพิเศษภาษาไทย  เรียนอ่านภาษาไทย  เรียนพิเศษสังคม  เรียนพิเศษภาษาไทย  เรียนพิเศษ ไทย สังคม   รับสอนพิเศษภาษาไทย  ติวภาษาไทย  ครูสอนภาษาไทย  ครูสอนพิเศษภาษาไทย ติวโอเน็ตสังคม แก้ไขอ่านเขียนไทยไม่ออก เรียนพิเศษภาษาไทย เรียนอ่านเขียนไทยประถม เรียนพิเศษส่วนตัวภาษาไทย หาที่เรียนภาษาไทย ครูสอนพิเศษภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทย  สอนอ่านภาษาไทย  สอนภาษาไทยเด็ก  สอนภาษาไทย  สอนพิเศษภาษาไทย  เรียนอ่านภาษาไทย  เรียนพิเศษสังคม  เรียนพิเศษภาษาไทย  เรียนพิเศษ ไทย สังคม   รับสอนพิเศษภาษาไทย  ติวภาษาไทย  ครูสอนภาษาไทย  ครูสอนพิเศษภาษาไทย ติวโอเน็ตสังคม แก้ไขอ่านเขียนไทยไม่ออก เรียนพิเศษภาษาไทย เรียนอ่านเขียนไทยประถม เรียนพิเศษส่วนตัวภาษาไทย หาที่เรียนภาษาไทย ครูสอนพิเศษภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทย  สอนอ่านภาษาไทย  สอนภาษาไทยเด็ก  สอนภาษาไทย  สอนพิเศษภาษาไทย  เรียนอ่านภาษาไทย  เรียนพิเศษสังคม  เรียนพิเศษภาษาไทย  เรียนพิเศษ ไทย สังคม   รับสอนพิเศษภาษาไทย  ติวภาษาไทย  ครูสอนภาษาไทย  ครูสอนพิเศษภาษาไทย ติวโอเน็ตสังคม 

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี

กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์

แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1