Featured post

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : รู้ก่อนสอบ Admission

รู้ก่อนสอบ Admission

Admission ที่ เราเรียกกันติดปาก จริงๆก็คือ ระบบกลางการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (CentraI University Admissions System : CUAS) ที่ใช้ทำการคัดเลือกบุคคล (น้องๆนักเรียน) เข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา เริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 แทนการสอบเอ็นทรานซ์ในสมัยก่อนนั่นเอง

ปัจจุบัน การสอบ Admission ปีการศึกษา 2553 นี้ ได้มีเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปอีก ในปี้นี้องค์ประกอบหลักๆที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครเข้า ศึกษาในมหาวิทยาลัย มีดังนี้


1) GPAX 6 ภาคเรียน

20 %

2) O-NET (8 กลุ่มสาระ)

30 %

3) GAT

10-50 %

4) PAT

0-40 %

รวม

100 %

GPAX ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร  มัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
คือ คะแนนเฉลี่ยระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ใช้ในระบบแอดมิชชั่น GPAX จะคิดค่าเฉลี่ยรวมของทุกภาคเรียนครั้งเดียวตั้งแต่ม.4-6 โดยไม่แบ่งเป็นเทอมหรือภาคการศึกษา ไม่ได้คิดผลการเรียนเฉลี่ยเป็นรายวิชา คิดผลการเรียนของทุกวิชาพร้อมกัน


O-NET

(Ordinary National Educational Test) เป็นการสอบวัดความความรู้ขั้นพื้นฐานใน 6 ภาคการศึกษาของนักเรียน ชั้น ป.3 ป.6 ม.3 และ ม.6 ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ประกอบด้วย 8 กลุ่มวิชา สำหรับผู้ที่จะจบ 1 ช่วงชั้น เท่านั้น ผู้เข้าสอบจึงหมายถึง นักเรียน ชั้น ป.3 ป. ม.3 และ ม.6 วิธีการ นักเรียนไม่ต้องสมัคร ทุกคนมีสิทธิ์สอบ ไม่เสียค่าใช้จ่าย โรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการ


GAT

(General Aptitude Test) หรือความถนัดทั่วไป  คือ การวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ แยกได้ 2 ส่วน

           ส่วนที่ 1 คือ ความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และแก้โจทย์ปัญหา 50%

           ส่วนที่ 2 คือ ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ 50%


PAT

(Professional and Academic Aptitude Test) หรือความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ คือ ความรู้ที่เป็นพื้นฐานที่จะเรียนต่อในวิชาชีพนั้น ๆ กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้นๆ ประสบความสำเร็จ มี 7 ประเภท คือ


PAT 1 ได้แก่ ความถนัดทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
 
           1. ความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์ พีชคณิต เรขาคณิต Calculus สถิติ ฯลฯ

           2. ความถนัดในการเรียนคณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ เช่น การคิดแบบนักคณิตศาสตร์ การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ การอ่านเรื่องทางคณิตศาสตร์แล้วเข้าใจแก้ปัญหาตามกระบวนการคณิตศาสตร์ เป็นต้น



PAT 2 ได้แก่ ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
 
           1. ความรู้ในทางวิทยาศาสตร์ที่จะเรียนในคณะวิทยาศาสตร์และคณะอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้ เช่น ความรู้ในเรื่องเคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ earth science, ICT เป็นต้น

           2. ความถนัดในการเรียนวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยประสบผลสำเร็จ เช่น การคิดแบนักวิทยาศาสตร์ การแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ



PAT 3 ได้แก่ ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
 
           1. ความรู้พื้นฐานที่จะเรียนต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์สำเร็จ เช่น ความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เป็นต้น

           2. ความถนัดในการเรียนวิศวกรรมในมหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จ เช่น การคิดแบบวิศวกร การแก้ปัญหาทางวิศวกรรม เป็นต้น



PAT 4 ได้แก่ ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
 
           1. ความรู้พื้นฐานที่จะเรียนต่อในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สำเร็จ เช่น ความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปกรรม ฯลฯ

           2. ความถนัดในการเรียนในคณะสถาปัตย์ในมหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จ เช่น การมองเห็นภาพ 3 มิติในใจ และการออกแบบ ฯลฯ



PAT 5 ได้แก่ ความถนัดทางครู ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
 
           1. ความรู้พื้นฐานที่จะเรียนต่อในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์สำเร็จ เช่น ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ฯลฯ

           2. ความถนัดในการเรียนในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์สำเร็จ หรือแววในการจะเป็นครู เช่น ความสามารถในการแสวงหาความรู้ ทักษะสื่อสารรู้เรื่อง ฯลฯ



PAT 6 ได้แก่ ความถนัดทางศิลปะ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
 
           1. ความรู้ในทฤษฎีทัศนศิลป์ นาฏศิลป์ ดนตรี และความรู้อื่นที่เป็นพื้นฐานที่จะเรียนในคณะศิลปกรรมหรือที่เกี่ยวข้อง ประสบความสำเร็จ

           2. ความถนัดในการเรียนศิลปะ เช่น ความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ



PAT 7 ได้แก่ ความถนัดในการเรียนภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
 
           1. ความรู้เรื่องไวยากรณ์ หลักภาษา วรรณกรรม วรรณคดี ฯลฯ

           2. ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน สรุป ย่อความขยายความ สังเคราะห์ วิเคราะห์ ฯลฯ


PAT 7 มี 6 ภาษา คือ

           ก) ภาษาฝรั่งเศส

           ข) ภาษาเยอรมัน

           ค) ภาษาญี่ปุ่น

           ง) ภาษาจีน

           จ) ภาษาบาลี

           ฉ) ภาษาอาหรับ
สรุป คือ GAT เป็นการสอบที่ไม่ยึดติดกับความรู้ในวิชา แต่เป็นการวัดความสามารถในการเรียนที่ได้รับการฝึกฝนมา แล้วดึงทักษะต่างๆ มาใช้ในการสอบ ส่วน PAT เป็นการสอบที่เน้นความรู้  ความตั้งใจในเรียนในชั้นเรียน การทบทวน ความรู้ที่ใช้สอบจึงเป็นความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในห้องเรียน


อ้างอิง    สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา  (www.cuas.or.th) 
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ  (www.niets.or.th)
วิชาการดอทคอม ( www.vchakarn.com)

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี

แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1

กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์