Featured post

เทคนิคการสอบสัมภาษณ์ ADMISSIONS

เทคนิคการสอบสัมภาษณ์ ADMISSIONS

จากการที่น้อง ๆ หลายคนมีความกังวลใจในเรื่องการสอบสัมภาษณ์เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดม ศึกษาเป็นอย่างมาก ท่านอาจารย์วิริยะ จึงได้มาช่วยแนะนำเคล็ดลับการสอบสัมภาษณ์ให้ผ่านดังนี้ครับ
การสอบสัมภาษณ์นั้นมีอยู่ หลายส่วน เช่น การสอบสัมภาษณ์เพื่อเข้าทำงานหรือการสอบสัมภาษณ์เพื่อเข้ารับตรงของแต่ละ มหาวิทยาลัย ก็จะมีความแตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นสิ่งที่ท่านอาจารย์จะมาพูดในวันนี้ก็คือ เฉพาะนักเรียนที่สอบผ่านแอดมิชชั่นส์แล้วเตรียมตัวเข้าสอบสัมภาษณ์และตรวจ ร่างกาย เพื่อให้เข้าใจตรงกันก่อน ไม่เกี่ยวกับการสอบตรง รับตรง หรือสัมภาษณ์ในส่วนอื่น ๆ
อันดับแรกอยากให้ทุกคนที่มี รายชื่อจากการประกาศผลแอดมิชชั่นส์ ไม่ต้องกังวล ส่วนหนึ่งสบายใจได้ เพราะเกือบ 100% มหาวิทยาลัยเขาจะรับเอาไว้ทั้งหมด จึงไม่ต้องกังวลใจอะไรมาก แล้วประเด็นไหนที่เราจะโดนคัดออก ต้องระวัง
  1. ไม่ผ่านคุณสมบัติ ประเด็นนี้จะพบมากที่สุด เช่น พยาบาลบางแห่ง ส่วนสูงต้องเกิน 150 เซ็นติเมตรขึ้นไป หรือ 155 เซ็นติเมตรขึ้นไป แล้วเราสูงไม่ถึงหรือบางสาขาวิชากำหนดว่า ตาต้องไม่บอดสี (แต่เราตาบอดสี) อันนี้เมื่อถึงวันสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย เราไม่ผ่านแน่ เพราะฉะนั้นสิ่งแรกสุด คือเราต้องรู้ก่อนว่า คุณสมบัติในแต่ละสาขา นั้นเป็นอย่างไร ซึ่งที่จริงแล้วตรงนี้นักเรียนควรต้องรู้ก่อนสมัครแล้ว เพราะสมัครติดเข้าไปแล้วจะมาแก้ภายหลังไม่ได้ ซึ่งก็หวังว่าจะไม่เกิดกรณีเช่นนี้กับน้อง ๆ หล่ะกัน
  2. ไม่ผิดปกติหรือวิกล จริต ซึ่งตรงนี้ถ้าผ่านเกณฑ์คุณสมบัติดังกล่าวมาแล้ว โอกาสจะติดก็มีมาก ๆ เพราะการสัมภาษณ์ของอาจารย์ เขาจะดูว่า ไม่ผิดปกติ ไม่วิกลจริต เพราะฉะนั้นเวลาตอบสัมภาษณ์ ก็ขอให้ตอบด้วยสติ ไม่ต้องตื่นเต้น เช่น ถามชื่อ ก็ไม่ต้องนั่งนึกให้นานหรือถามว่าบ้านอยู่ไหน ก็ไม่ต้องนึกให้นานเกินไป เพราะส่วนใหญ่ต้องการคนที่สุขภาพจิตสมบูรณ์ ดังนั้นแนวคำถามที่ไม่ต้องคิด ก็อย่าไปคิดมันมาก ตอบไปตามธรรมชาติ ส่วนคำถามที่ให้ออกความคิดเห็น ก็ไม่ต้องกังวล ก็ออกความคิดเห็นไปตามที่เรามีความคิดเห็น ไม่ต้องแกล้งตอบเพื่อให้ดูดี หรือแกล้งตอบในข้อมูลไม่จริง เพราะเขาไม่คัดเราออกแน่ ๆ 
  3. อาการสุภาพ อันนี้สำคัญและนอกจากการตอบคำถามแบบชัดถ้อย ชัดคำ ไม่ต้องยาว ไม่ต้องเครียดแล้วการแต่งกายชุดนักเรียนหรือชุดนักศึกษา ก็จะดูสุภาพที่สุดแล้ว เพราะอาจารย์ท่านหนึ่งก็จะต้องสัมภาษณ์เด็กหลายคน บางคนโดนคำถามนิดเดียวก็เสร็จไม่ต้องกังวล บางคนตอบเพลิน ๆ ก็ไม่ต้องกังวล เพราะถ้าไม่มีอะไรผิดปกติ ที่บอกมาทุกคนผ่านแน่นอน
สุดท้ายฝากเอาไว้ด้วยครับ ว่า ผู้สัมภาษณ์เรา ส่วนใหญ่แล้วก็คือ ท่านอาจารย์ที่ปรึกษาเราทั้งนั้น เพราะฉะนั้นเป็นโอกาสที่ดี ที่เราจะได้รู้จักกับคณะครู อาจารย์ ที่อนาคตเขาจะต้องมาเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาเรานั่นเอง ส่วนอื่น ๆ เช่น การรู้จักมหาวิทยาลัย สาขาวิชาหรืออาคาร-ห้อง ที่จะต้องไปสัมภาษณ์ ก็คือ สิ่งที่ผู้สมัครต้องรู้ก่อนล่วงหน้า ส่วนเอกสาร เช่น บัตรประชาชนของเรา สำเนาสำเนาบัตรประชาชนผู้ปกครอง ใบรับรองแพทย์ ผลการเรียน รวมถึงรูปภาพที่ต้องพกติดตัวไปด้วย สุดท้ายก็ขออวยพรให้ทุกคนโชคดีครับ
โดย อ.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก : เอ็ดดูโซน และ วิชาการดอทคอม

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี

กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์

แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1