Featured post

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : โคมลอย (ภูมิปัญญาการคานวณช่องลม)

โคมลอย    (ภูมิปัญญาการคานวณช่องลม)

โคมลอยล้านนา นิยมเล่นกันในเดือนยี่ เพราะบรรยากาศยามนี้น่ารื่นรมย์ปลอดโปร่งท้องฟ้าสีครามสดใส เมื่อปล่อยโคมลอย จะเห็นได้ชัดดูงดงาม สมัยก่อน การปล่อยโคมลอยทำเพื่อเป็นพุทธบูชาหรือปล่อยเคราะห์กรรมลำบากตามที่โบราณเชื่อกัน
การทำโคมลอย ต้องคิดรูปแบบก่อนว่าจะทำรูปแบบใด เช่นรูปแบบสี่เหลี่ยมหรือรูปแบบกลม เมื่อได้รูปแบบแล้วก็นำกระดาษมาตัดตามรูปแบบ เสร็จแล้วทำปากสำหรับใส่ควัน การทำปากหรือช่องลม ต้องวัดเอาความกว้างเส้นผ่าศูนย์กลางของโคมลอยได้เท่าใดแบ่งเป็นแปดส่วน เสร็จแล้วนำความยาวที่ได้จำนวนหนึ่งในแปดนั้นมาเป็นความกว้างหรือปากช่องลม เช่นวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ ๘ เมตร ก็ทำปากโคมลอยเพียง ๑เมตร เป็นต้น
เมื่อเจาะปากโคมลอยแล้ว ตัดกระดาษมาทำกรอบริมปากโคมให้หนาเหมาะสำหรับถือและแขวนลูกเล่นเมื่อปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เมื่อได้ตัวโคมลอยแล้ว บางคนจะทำห่วงไว้บนโคมลอย โดยการนำเอาเศษกระดาษที่เหลือมาฟั่นเป็นเส้นยาว แล้วใช้กาวติดกับด้านหัว เพื่อเป็นบ่วงใช้ไม้สอดดึงให้สูงขึ้นในขณะที่ใช้ควันรม แต่บางคนก็ไม่ทำหู ต่อไปก็จะเตรียมเชื้อเพลิงเพื่อนำมาเผา



เอาควันรมพยุงให้โคมลอยขึ้น การทำเชื้อเพลิงสมัยก่อนจะใช้ชัน ต่อมามีนํ้ามัน ก็ใช้นํ้ามันบ้าง โดยมากจะใช้นํ้ามันเครื่องที่ใช้แล้ว หรือวัสดุที่พอหาได้ในท้องถิ่น
ขั้นตอนการปล่อยโคมลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า การปล่อยโคมลอยเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ช่างอาจทำแตกต่างกันไป เช่น บางคนวางโคมลอยแล้วยกปากขึ้นรอรับเอาควันไฟ อีกคนพัดให้ควันเข้าสู่ลำตัว แต่บางคนเอาไม้แค่ (คบเพลิง) หิ้วโคมลอยสูงขึ้นให้ปากโคมอยู่เหนือกองไฟแล้วพัดให้ควันเข้าสู่ลำตัวโคมลอยก็มี อย่างไรก็ตามที่ทำเหมือนกับคือ มีไม้แค่ (คบเพลิง) จุดเข้ารมควันเข้าสู่ลำตัวโคมลอย
จำนวนคนที่ร่วมกันปล่อย ต้องมีหลายคน แต่ละคนมีหน้าที่ต่างกัน เช่น บางคนถือปากโคมลอยรอรับควันไฟ บางคนพัดให้ควันเข้าสู่ตัวโคมลอย บางคนถือด้านข้างพยุงขึ้น บางคนเตรียมผูกมัดลูกเล่นก่อนที่จะปล่อยโคมให้ลอยขึ้นฟ้า ขณะที่โคมลอยทะยานขึ้นฟ้า พร้อมกับเสียงปรบมือในความสำเร็จ ขณะเดียวกีนเสียงประทัดจะถูกจุดทันที ดังตูมตามสนั่นตามหลังโคมลอย ทุกคนต่างแหงานมองด้วยความยิ้มแย้ม มีความปีติยิ่งนัก

โคมลอยมีบทบาทในวิถีชีวิตคนล้านนาอย่างมากมาย      เช่น
- ด้านความเชื่อ มีการปล่อยโคมลอยเพื่อเป็นพุทธบูชา
ปล่อยเคราะห์เสนียดจัญไร จนเกิดเป็นประเพณีวัฒนธรรมในชุมชน
- ด้านศิลปะ เป็นการแสดงออกของความคิดสร้างสรรค์
ในรูปแบบต่างๆ ให้มีวิวัฒนาการตามสมัย โดยมีวัสดุลูกเล่นมากขึ้นกว่าโคมลอยสมัยก่อนๆ
- ด้านสังคม ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มคน ร่วมกันทำงาน
ร่วมมือกันสร้างสรรค์ ร่วมคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทำให้มีผลงานเกิดขึ้นในสังคม
- ด้านการศึกษา การทำโคมลอยไม่มีตำราแน่นอน ตายตัว
แต่เป็นการกล่อมเกลาทางสังคม เลียนแบบต่อกันมา รุ่นแล้วรุ่นเล่า ขณะเดียวกันคนรุ่นต่อมาก็ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีงามขึ้น
- ด้านการประชาสัมพันธ์ ในการเปิดห้างร้าน พิธีการ

ต่างๆ มักมีผู้นิยมทำโคมลอย แล้วติดแผ่นป้ายพิธีปล่อยขึ้นไปด้วย เมื่อโคมลอยตกลงมา ก็ทำให้ผู้อื่นเก็บป้ายไปอ่าน บอกเล่าต่อๆ กันไป

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี

แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1

กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์