Featured post
การกลับชาติมาเกิดของกระดานชนวน??
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
การกลับชาติมาเกิดของกระดานชนวน??
คนรุ่นเก่าๆ อายุราว 55 ปีขึ้นไปผมคิดว่าส่วนใหญ่น่าจะเคยใช้หรือรู้จักกระดานชนวนเป็นอย่างดี เพราะถือได้ว่าเป็นเครื่องมือ หรืออุปกรณ์การศึกษาที่ทันสมัยที่สุดของคนสมัยนั้น ไม่ว่าจะขีดเขียน ฝึกบวกลบ อะไรก็ตาม ก็ต้องพึ่งพาเจ้ากระดานชนวนอันนั้นเป็นหลัก
กระดานชนวนนั้นทำจากไม้กระดานกว้างประมาณ 1 คืบ ยาวประมาณ 2-3 ศอก หนาราว 2 กระเบียด (นึกไม่ออก ก็ประมาณๆ เอานะครับว่าขนาดไหน) ด้านที่ใช้เขียนหนังสือ จะมีการใช้กบไสเพื่อให้เรียบ เพื่อความสะดวกในการเขียน เสร็จแล้วทาด้วย เขม่าหม้อ กับน้ำข้าว แล้ว ผึ่งแดดให้แห้ง เมื่อจะลบตัวหนังสือ ที่เขียนด้วยดินสอขาว ใช้น้ำลบทำให้ กระดานเปียก ฉะนั้นหลังจากลบแล้วจะต้องหยุด ตากกระดานให้แห้งเสียก่อน แล้วจึงเรียนต่อไป จึงเป็นช่องให้เด็กที่ขี้เกียจเรียน แกล้งเอาน้ำ มาลบให้มากๆ เพื่อให้กระดานแห้งช้า
กระดานชนวน อีกชนิดหนึ่ง สำหรับนักเรียนชั้น 3 (ข้อมูลนี้ได้จากเรื่องราวของพระยาศรีสุนทรโวหารได้บันทึกเอาไว้) ซึ่งจะเป็นกระดานชนวนที่ทำด้วย ไม้ทองหลาง หรือไม้งิ้ว โดยทำให้เป็นแผ่นกระดาน กว้างศอก ยาวศอกคืบ ที่ต้องใช้ไม้ดังกล่าว ก็เพื่อจะให้ ทารัก ติดแน่นดี (ขี้รัก ผสม ขี้เถ้าใบตองแห้ง เรียกว่า สมุก ทาให้เป็นสีดำ) ต่อจากนั้น ใช้ผงกระเบื้องถ้วยที่ป่นละเอียด คลุกกับน้ำรัก ทาฉาบอีกครั้งหนึ่ง ให้เรียบเสมอกัน แล้วขัดเงาด้วยหิน หรือเมล็ดสะบ้า เมื่อเรียบร้อยดีแล้ว ก็ทำกรอบ
ส่วนดินสอที่ใช้เขียนกับกระดานชนวนนั้นก็ใช้ดินสอพอง โดยนำเอาดินสอพองแช่น้ำให้เปียก หรือโขลกให้แหลก พรมน้ำพอให้ปั้นได้ ทำเป็นแท่ง ขนาดหัวแม่มือ ยาวไม่เกินคืบ ด้วยเหตุที่ ดินสอพองถูกน้ำแล้วเหนียว จึงต้องคั้นน้ำใบตำลึง พรมที่กระดาน สำหรับปั้นดินสอเสียก่อน ไม่เช่นนั้น ดินสอพองก็จะเหนียว ติดมือ ปั้นยาก เสร็จแล้วตากให้แห้ง ก็ใช้เขียนได้
กระดานชนวนนั้นทำจากไม้กระดานกว้างประมาณ 1 คืบ ยาวประมาณ 2-3 ศอก หนาราว 2 กระเบียด (นึกไม่ออก ก็ประมาณๆ เอานะครับว่าขนาดไหน) ด้านที่ใช้เขียนหนังสือ จะมีการใช้กบไสเพื่อให้เรียบ เพื่อความสะดวกในการเขียน เสร็จแล้วทาด้วย เขม่าหม้อ กับน้ำข้าว แล้ว ผึ่งแดดให้แห้ง เมื่อจะลบตัวหนังสือ ที่เขียนด้วยดินสอขาว ใช้น้ำลบทำให้ กระดานเปียก ฉะนั้นหลังจากลบแล้วจะต้องหยุด ตากกระดานให้แห้งเสียก่อน แล้วจึงเรียนต่อไป จึงเป็นช่องให้เด็กที่ขี้เกียจเรียน แกล้งเอาน้ำ มาลบให้มากๆ เพื่อให้กระดานแห้งช้า
กระดานชนวน อีกชนิดหนึ่ง สำหรับนักเรียนชั้น 3 (ข้อมูลนี้ได้จากเรื่องราวของพระยาศรีสุนทรโวหารได้บันทึกเอาไว้) ซึ่งจะเป็นกระดานชนวนที่ทำด้วย ไม้ทองหลาง หรือไม้งิ้ว โดยทำให้เป็นแผ่นกระดาน กว้างศอก ยาวศอกคืบ ที่ต้องใช้ไม้ดังกล่าว ก็เพื่อจะให้ ทารัก ติดแน่นดี (ขี้รัก ผสม ขี้เถ้าใบตองแห้ง เรียกว่า สมุก ทาให้เป็นสีดำ) ต่อจากนั้น ใช้ผงกระเบื้องถ้วยที่ป่นละเอียด คลุกกับน้ำรัก ทาฉาบอีกครั้งหนึ่ง ให้เรียบเสมอกัน แล้วขัดเงาด้วยหิน หรือเมล็ดสะบ้า เมื่อเรียบร้อยดีแล้ว ก็ทำกรอบ
ส่วนดินสอที่ใช้เขียนกับกระดานชนวนนั้นก็ใช้ดินสอพอง โดยนำเอาดินสอพองแช่น้ำให้เปียก หรือโขลกให้แหลก พรมน้ำพอให้ปั้นได้ ทำเป็นแท่ง ขนาดหัวแม่มือ ยาวไม่เกินคืบ ด้วยเหตุที่ ดินสอพองถูกน้ำแล้วเหนียว จึงต้องคั้นน้ำใบตำลึง พรมที่กระดาน สำหรับปั้นดินสอเสียก่อน ไม่เช่นนั้น ดินสอพองก็จะเหนียว ติดมือ ปั้นยาก เสร็จแล้วตากให้แห้ง ก็ใช้เขียนได้
กระดานชนวนโบราณของไทยๆ
สำหรับตัวผมเองนั้นโชคดีที่ได้เกินเป็นคนรุ่นใหม่(มากๆ) เพราะพอเข้าโรงเรียนชั้นประถมปีที่ 1 ก็เป็นยุคที่กระดานชนวนเพิ่งเลิกใช้ไปหมาดๆ (คิดดูรุ่นใหม่แค่ไหน ... 555) ซึ่งถ้าเกิดเร็วกว่านี้นิดเดียวต้องเป็นรุ่นโบราณชัวร์เลย.... เอิ๊กๆๆ
หลังจากหมดยุคของกระดานชนวนผมก็คิดว่า นี่เป็นรุ่นที่ทันสมัยแล้ว โดยใช้ดินสอ กระดาษ สมุด และหนังสือ ที่มีเทคโนโลยีการพิมพ์รุ่นใหม่ และมีการพัฒนาเทคโนโลยีในเรื่องของเครื่องพิมพ์และกระดาษต่างๆ กันอย่างต่อเนื่อง... เผลอไปแค่ไม่กี่สิบปี เจ้ากระดานชนวนมันกลับมาอีกแล้ว???
พอมาถึงรุ่นลูก ที่ไหนได้เจ้ากระดานชนวนมันฟื้นคืนชีพกลับมาใหม่ (เหมือนเจ้าเฟอร์บี้ยังไง ยังงั้นเลย) ซึ่งการกลับมาคราวนี้ของกระดานชนวน มันพกเอาความทันสมัย และเทคโนโลยีที่เรียกได้ว่าเป็นนวตกรรมของอุปกรณ์หรือเครื่องมือการศึกษากันเลยทีเดียว และการกลับมาครั้งนี้มันพร้อมกับความสามารถอื่นๆ ที่สุดยอดเช่น การติดต่อสื่อสารผ่านระบบ Wifi ทำให้สามารถเชื่มต่อกับอินเตอร์เน็ต ซึ่งสามารถสื่อสารกับคนทั้งโลกได้อย่างสบาย พร้อมกับชื่อใหม่ที่แสนจะหรูว่า "Tablet" หรือ "iPad" แล้วแต่ค่ายผู้ผลิตเขาจะเรียก
หลังจากหมดยุคของกระดานชนวนผมก็คิดว่า นี่เป็นรุ่นที่ทันสมัยแล้ว โดยใช้ดินสอ กระดาษ สมุด และหนังสือ ที่มีเทคโนโลยีการพิมพ์รุ่นใหม่ และมีการพัฒนาเทคโนโลยีในเรื่องของเครื่องพิมพ์และกระดาษต่างๆ กันอย่างต่อเนื่อง... เผลอไปแค่ไม่กี่สิบปี เจ้ากระดานชนวนมันกลับมาอีกแล้ว???
พอมาถึงรุ่นลูก ที่ไหนได้เจ้ากระดานชนวนมันฟื้นคืนชีพกลับมาใหม่ (เหมือนเจ้าเฟอร์บี้ยังไง ยังงั้นเลย) ซึ่งการกลับมาคราวนี้ของกระดานชนวน มันพกเอาความทันสมัย และเทคโนโลยีที่เรียกได้ว่าเป็นนวตกรรมของอุปกรณ์หรือเครื่องมือการศึกษากันเลยทีเดียว และการกลับมาครั้งนี้มันพร้อมกับความสามารถอื่นๆ ที่สุดยอดเช่น การติดต่อสื่อสารผ่านระบบ Wifi ทำให้สามารถเชื่มต่อกับอินเตอร์เน็ต ซึ่งสามารถสื่อสารกับคนทั้งโลกได้อย่างสบาย พร้อมกับชื่อใหม่ที่แสนจะหรูว่า "Tablet" หรือ "iPad" แล้วแต่ค่ายผู้ผลิตเขาจะเรียก
กระดานชนวนรุ่นใหม่ กลับชาติมาเกิด
ถ้าเราสังเกตรูปร่างของเจ้า Tablet หรือ IPad ดีๆ จะเห็นว่า ต้นแบบมันคือ กระดานชนวนของเรานั่นเอง (เอาฮานะครับ อย่าคิดมาก) ไม่แน่นะครับ คนที่คิดค้น Tablet หรือ iPad คนแรก น่าจะได้แรงบันดาลใจจากกระดานชนวนของไทยเรานี่แหละครับ ....5555
โดย ThaiBizCenter.com
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี สวัสดีครับทุกท่าน ปัญหาการอ่านเขียนไม่คล่องของเด็กและเยาวชนของเรานับวันยิ่งมีปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น เรื่อย ๆ จนน่ากลัว การแก้ไขปัญหาภาษาไทยนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ของหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการศึกษาเสียแล้วครับ เมื่อหลายท่าน ทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ มีความเห็นตรงกันว่า จะปล่อยปะละเลยต่อปัญหานี้ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่ดี วันนี้ ครูเดชจึงได้นำไฟล์ตำราเรียน ที่แสนจะวิเศษ และผมเองกล้าการันตรีว่า หากนักเรียน หรือ ผู้ที่มีปัญหาภาษาไทย ได้ตั้งใจอ่าน ตั้งใจทำความเข้าใจ จะสามารถพัฒนาภาษาไทยไปได้อย่างดีเยี่ยมเลยครับ "มานะ มานี" นอกจากจะเป็นตำราภาษาไทย ที่คนที่มีอายุหลายท่านได้สัมผัสเรียนรู้ในวิชาภาษาไทยมาแล้ว ท่านจะทราบว่าตำราเรียนเล่มนี้ ไม่ได้มีแต่ความรู้ภาษาไทย อย่างเดียวไม่ หากแต่มีความน่าสนุก น่าสนใจ และความตื้นเต้น กลวิธีนี้เองล่ะครับ ที่ผมเห็นว่า เป็นอุบายล่อให้เด็กสนใจตำราเรียนได้เป็นอย่างดี ความสนุก ความเพลิดเพลิน เมื่อนักเรียนอ่านจบเล่ม ตัวละครก็จบชั้นเดียวกัน เมื่อเลื่อนชั้น นักเรี...
แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1
แจกฟรี แบบฝึกหัดภาษาไทยใช่ควบคู่กับตำรามานะมานี ป. 1 คลิกที่ลิงก์เพื่อดาวน์โหลดครับ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 1-5 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 6-10 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 11-15 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 16-20 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 21-25 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 26-30 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 31-35 อยู่ในขณะจัดทำ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 36-40 อยู่ในขณะจัดทำ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยที่ออสเตรเลีย หาครูสอนภาษาไทยที่ญี่ปุ่น หาครูสอนภาษาไทยที่เวียดนาม หาครูสอนภาษาไทยที่อเมริกา หาครูสอนภาษาไทยที่เยอรมัน หาครูสอนภาษาไทยที่ฝรั่งเศส Learn Thai with native speakers. หาครูสอนภาษาไทยอ่านเขียน สอนอ่านหนังสือภาษาไทย สอนอ่านเขียน ลูกอ่านภาษาไทยไม่ออก หาครูแก้ไขภาษาไทย สถาบันสอนภาษาไทย โรงเรียนสอนภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทยนานาชาติ หาครูสอนภาษาไทยลูกครึ่ง หาครูสอ...
กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์
ให้ติวเตอร์ใช้เขตพื้นที่เหล่านี้ เพื่อระบุพื้นที่ที่ท่านสามารถเดินทางไปสอนได้สะดวกครับ ศูนย์จะแจ้งงานให้ท่านทราบตามพื้นที่การเดินทางที่ท่านสะดวกครับ โปรดแจ้งตามความสะดวกจริง เพื่อความรวดเร็วในการรับงานสอนนะครับ 1.กลุ่มกรุงเทพกลาง ประกอบด้วย เขตพระนคร ดุสิต ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ดินแดง ห้วยขวาง พญาไท ราชเทวี และวังทองหลาง 2.กลุ่มกรุงเทพใต้ ประกอบด้วย เขตปทุมวัน บางรัก สาทร บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย วัฒนา พระโขนง สวนหลวง และบางนา 3. กลุ่มกรุงเทพเหนือ ประกอบด้วย เขตจตุจักร บางซื่อ ลาดพร้าว หลักสี่ ดอนเมือง สายไหม และบางเขน 4.กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ประกอบด้วย เขตบางกะปิ สะพานสูง บึงกุ่ม คันนายาว ลาดกระบัง มีนบุรี หนองจอก คลองสามวาและประเวศ 5.กลุ่มกรุงธนเหนือ ประกอบด้วย เขตธนบุรี คลองสาน จอมทอง บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย บางพลัด ตลิ่งชันและทวีวัฒนา 6.กลุ่มกรุงธนใต้ ประกอบด้วย เขตภาษีเจริญ บางแค หนองแขม บางขุนเทียน บางบอน ราษฎร์บูรณะและทุ่งครุ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หา...