Featured post

เบอร์มิวดา สามเหลี่ยมปริศนา

เบอร์มิวดา สามเหลี่ยมปริศนา

ความลี้ลับของสามเหลี่ยมเบอร์มิว ดา ยังคงเป็นปริศนาที่ต้องหา  คำตอบ เรือหลายลำต้องอับปางและสาบสูญไปตลอดกาล เครื่องบินที่บินผ่านน่านฟ้าในแถบนั้นจู่ ๆ ก็หายไปจากจอเรดาร์  สามเหลี่ยมนี้มีจุดยอดอยู่ที่เปอร์โตริโก ไมอามี และเบอร์มิวดา
  
ด้วยอุปกรณ์สมัยใหม่อย่างโซนาร์แบบกวาดด้านข้าง และการสำรวจด้วยดาวเทียม แผนที่สามมิติกำลังถูกสร้างขึ้น และทำให้เราสามารถสืบค้นสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาจากก้นทะเล ใต้ท้องทะเลที่อยู่รอบ ๆ เบอร์มิวดาดูเหมือนภูเขาไฟสงบสูงเท่ากับภูเขาเซนต์เฮเลนก่อนการระเบิดในปี ค.ศ. 1980 มันตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว จากจุดเหนือสุดของสามเหลี่ยมลงมาทางใต้และข้ามที่ราบเวิ้งว้างที่กว้างเท่า กับรัฐอลาสกา ปกคลุมไปด้วยเลนและตะกอน
  
เหวมหาสมุทรที่ลึกกว่า 8 กิโลเมตร นี่คือศูนย์กลางแผ่นดินไหวของสามเหลี่ยมแห่งนี้ ใต้สุดของสามเหลี่ยมคือเปอร์โตริโก เรือหรือเครื่องบินใด ๆ ก็ตามที่จมลงในบริเวณนี้จะไม่มีทางหาเจอ ทางด้านตะวันตกตามแนวหมู่เกาะแคริบเบียน ที่ตั้งตระหง่านเหมือนที่ราบสูงทางตะวันตกเฉียงใต้ก็คือหน้าผาเบลค หน้าผาสูงชันที่สุดในสามเหลี่ยมแห่งนี้ มันสูงเกือบ 20 เท่าของตึกเอ็มไพร์สเตท และเป็นไหล่ทวีป ทรายที่ค่อย ๆ ลาดลงเป็นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตรถูกแบ่งครึ่งด้วยกระแสน้ำกัลฟ์สตรีมที่ไหล เชี่ยว
  
ไม่นานมานี้ซากอับปางของเรือปริศนาลำหนึ่งถูกค้นพบห่างจากไมอามีเพียง 320 กิโลเมตร โซนาร์บ่งบอกว่ามันอาจมีขนาดเทียบเคียงกับเรือยูเอสเอส ไซคลอปส์ หนึ่งในการหายไปที่ดังที่สุด ซากอับปางนี้อยู่ลึกราว 300 ฟุต นักดำน้ำวัดขนาดและค้นหาเครื่องหมาย ต่าง ๆ จนพบแร่โลหะหลอมละลายซึ่งบ่งบอกว่าเคยมีไฟไหม้อย่างรุนแรง และปืนดาดฟ้าเรือแบบกระบอกเดี่ยวซึ่งติดตั้งอยู่ที่ท้ายเรือ
  
ปืนที่พบนี้เองเป็นหลักฐานที่บ่งบอกว่านี่ไม่ใช่ไซคลอปส์อย่างที่คิดไว้ แต่มันอาจเป็นเรือ อุมตาตา เรือสินค้าอังกฤษสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งตกเป็นเหยื่อเรืออูของเยอรมนีที่นอกชายฝั่งไมอามีในปี ค.ศ. 1942 และเป็นที่ทราบกันว่าเรือลำนี้กำลังบรรทุกแร่โลหะช่วงเวลาที่มันจมหายไป แต่เรืออุมตาตาถูกยิงจมห่างจากจุดนี้หลายร้อยกิโลเมตร แล้วซากอับปางนี้มาอยู่ที่นี่ได้อย่างไร
  
ความลับอย่างหนึ่งของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา นั่นคืออสูรร้ายของทะเลซึ่งรู้จักกันในนาม “กระแสน้ำกัลฟ์สตรีม” วังน้ำวนมหึมาซึ่งไหลวนทั่วทั้งมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือและไหลเร็วที่สุด คือหนึ่งในพลังธรรมชาติที่รุนแรงที่สุด จึงเป็นไปได้ว่าก่อนที่เรืออุมตาตาจะจมลงใต้คลื่นกระแสน้ำกัลฟ์สตรีมที่ไหล เชี่ยวได้ลากเรือหนัก 8,000 ตัน ลำนี้ไป 320 กิโลเมตร ก่อนที่จะปล่อยให้มันจมลงสู่ก้นทะเลในสามเหลี่ยม เบอร์มิวดา
  
ตำแหน่งสุดท้ายของเรือ 250 ลำ ที่หายไปในสามเหลี่ยมแห่งนี้ เกือบหนึ่งในสามอยู่ในเส้นทางของกัลฟ์สตรีม พลังนี้ทำให้อุบัติเหตุกลายเป็นปริศนาโดยการเคลื่อนย้ายซากอับปางไปก่อนที่ จะมีคนหาเจอ และหลอกให้เชื่อว่าสามเหลี่ยมนี้เป็นของจริง แต่มันก็ยังไม่สามารถอธิบายการหายไป  ทั้งหมดได้
  
พลังอย่างหนึ่งที่ทั้งเร็วและรุนแรงพอ  ที่จะทำลายเรือก่อนที่คนบนเรือจะทำอะไรได้ ก็คือคลื่นยักษ์ คลื่นที่ใหญ่กว่าคลื่นทั่วไปถึงสิบเท่า และโผล่มาแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยและลากเรือจมลงไปภายในชั่วอึดใจ ในปี ค.ศ. 1984 เรือที่มีเสากระโดงสามต้นชื่อมาร์เกซ กำลังแล่นออก   จากเบอร์มิวดาแล้วก็โดนซัดด้วยคลื่นแปลกประหลาดที่แรงและใหญ่จนเหลือเชื่อ ภายใน 45 วินาที เรือขนาด 120 ฟุต และลูกเรือ 19 จาก 28 คน ก็จมหายไป
  
แต่คลื่นยักษ์ก็ไม่อาจไขปริศนาทั้งหมดได้ เพราะไม่สามารถอธิบายได้ว่าเครื่องบิน 150 ลำ หายไปได้อย่างไร คำถามนี้หลอกหลอนผู้สืบหาความจริงมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 เมื่อเครื่องบินทิ้งระเบิดตอร์ปิโดของกองทัพเรือ 5 ลำ พร้อมกับเครื่องบินที่ไปช่วยเหลือหายไป
  
ภารกิจของพวกเขาคือบินตรงไปทางตะวันออก 198 กิโลเมตร ทิ้งตอร์ปิโดจำลอง แล้วก็กลับบ้าน ระยะเวลาการบินทั้งหมดควรจะเกิน 2 ชั่วโมงเพียงเล็กน้อย และน่าจะกลับมาถึงก่อนมืดไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง แต่พวกเขาไม่ได้กลับมา ไม่มีใครรอดชีวิต ไม่มีพยานเห็นเหตุ การณ์ แต่บันทึกการถอดเทปวิทยุสื่อสารยัง สับสน เที่ยวบินนี้บินซิกแซ็กไปทั่วมหาสมุทรเพราะอุปกรณ์นำทางล้มเหลว
  
ฐานที่ฟอร์ทลอเดอร์เดลบังเอิญได้ยินการติดต่อวิทยุ นักบินอีกคนหนึ่งบอกว่าครูการบิน เรือโทซีซี เทย์เลอร์ พาพวกเขาออกนอกเส้นทาง 1 ชั่วโมงหลังจากที่เข้าใจว่าเที่ยวบินที่   19 ตก เรือบรรทุกเครื่องบินยูเอสเอส โซโล มอนส์รายงานการจับภาพเรดาร์นอกชายฝั่งรัฐฟลอริดา หลังจากนั้น 60 นาที สถานีเรดาร์ก็ตรวจพบเที่ยวบินนิรนามเหนือแผ่นดิน ไม่เคยมีการระบุตัวตนของเครื่องบินกลุ่มนั้น และดูเหมือนเที่ยวบินนี้จะยังคงบินต่อไปทางตะวันตกแล้วจึงตก ตรงกันข้ามกับรายงานของกองทัพเรือ ไม่ใช่ตกในทะเล แต่ตกในหนองบึงทางใต้ของจอร์เจีย
  
อาจไม่มีใครรอดจากเที่ยวบินที่ 19 และกลับมาไขปริศนาว่าตกลงแล้วเป็นเพราะอะไร แต่เที่ยวบินที่ประสบเหตุในบริเวณเดียวกันหลังจากนั้นเกือบ 25 ปี กลับให้ข้อมูลใหม่ที่น่าสนใจ บรูซ เกอร์นอน นักบินผู้มีประสบการณ์ ยืนยันว่าเขารอดชีวิตมาจากการเผชิญหน้ากับสามเหลี่ยมนี้อย่างแปลกประหลาด เมื่อเขาและผู้โดยสาร 2 คนกำลังบินกลับจากบาฮามาสไปยังฟลอริดาในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1970
  
ไม่นานสภาพอากาศ หมอกบาง ๆ ก็เปลี่ยนเป็นเกรี้ยวกราด ห่างจากไมอามี 160 กิโลเมตร พายุฝนเกรี้ยวกราดก่อตัวขึ้นเหนือกระแสน้ำกัลฟ์สตรีม ทำให้เกอร์นอนต้องบินอ้อมพายุ แต่พายุฝนฟ้าคะนองล้อมกรอบเขา เขาพยายามหนีไปหาท้องฟ้าที่ปลอดโปร่ง และเจอช่องว่างเล็ก ๆ ตรงหน้าซึ่งดูเหมือนอุโมงค์ พอเกอร์นอนเข้าไปในอุโมงค์ในพายุฝนฟ้าคะนอง   เมฆก็เริ่มหมุนวนรอบ ๆ เครื่องบิน
  
ประสบการณ์บิน 15 ปีคือผู้ช่วยที่ดีที่สุด ณ เวลานั้น ในที่สุดเกอร์นอนก็ฝ่าออกไปถึงท้องฟ้าที่ปลอดโปร่งและปลอดภัย แต่มีบาง อย่างผิดปกติ จะเพราะอะไรก็ไม่ทราบได้แต่ตอนนั้นเขาอยู่เหนือเมืองไมอามีแล้ว หมายความว่าเขาเดินทาง 160 กิโลเมตรภายใน 3 นาที หรือ 3,186 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ขอบคุณที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี

แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1

กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์