Featured post

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : ความผิดปกติไม่ใช่อุปสรรคแห่งการเรียน

ความผิดปกติไม่ใช่อุปสรรคแห่งการเรียน

...เกียรตินิยมอันดับ 2 วิศวะคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช่ว่าจะได้มาง่ายๆ แล้วยิ่งเจ้าของเกียรตินิยมใบนี้มีความผิดปกติทางด้านสมองบางส่วน (Asperger Syndrome) ซึ่งมีวุฒิภาวะต่ำกว่าอายุคงไม่ต้องพูดถึงว่าต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะเพียง ใด
          ...เรียกว่า เป็นความผิดปกติที่ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว
          เจ้าของเกียรตินิยมอันดับ 2 แห่งวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในทีนี้มีชื่อว่า "วรากร อึ๊งวิเชียร"
          วรากร เล่าให้ฟังว่า ความผิดปกติของร่างกายยอมมีผลต่อการเรียนรู้บ้าง แต่สามารถขจัดปัญหานั้นออกไปได้ ถ้าเรารัก ชอบ สนใจในสิ่งนั้น อย่างตนสนใจคอมพิวเตอร์เป็นพิเศษ เวลาเรียนคอมพิวเตอร์ผมจึงตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย เก็บเกี่ยวความรู้ที่อาจารย์ถ่ายทอดในชั้นเรียนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อีกทั้งยังกลับมาทบทวนสิ่งที่อาจารย์สอนต่อที่บ้านหรือช่วงไม่มีชั่วโมง เรียน โดยจะค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือ เสิร์ซหาข้อมูลต่างผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยตนเอง
          "ตามธรรมชาติของมนุษย์ถ้าเราชอบสิ่งไหนเป็นพิเศษเรา จะทุ่มเทศึกษาค้นคว้าอย่างสุดตัว อย่างผมสนใจคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สมัยเรียนมัธยม คือนับแต่คุณแม่ซื้อคอมพ์ให้ ผมก็ลองเล่น ระหว่างที่เล่นคอมพ์รู้สึกว่าคอมพ์มีเสน่ห์ มีเรื่องน่าสนใจมากกว่าที่คิด คอมพ์ช่วยคำนวณ สามารถทำกราฟฟิก ทำภาพเคลื่อนไหว นอกจากนี้ยังเขียนโปรแกรมเพื่อการใช้งาน สิ่งเหล่านี้จุดประกายทำให้ผมสนใจศึกษาค้นคว้ามากขึ้น ตอนแรกผมจะซื้อหนังสือมาอ่านและค้นคว้าในห้องสมุด จากนั้นก็นำข้อมูลที่ได้มาลองทำ"
                    "จนกระทั่งมาเรียน ม.ปลาย เริ่มเปลี่ยนมาค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ จากอินเทอร์เน็ตของต่างประเทศเรื่อยมาจนเข้าเรียนต่อในจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย" วรากร เล่าให้ฟังว่า ข้อมูลในอินเทอร์เน็ตจะทันสมัยกว่าหนังสือที่วางจำหน่ายหรือตำราเรียน และทุกวันนี้ผมยังเสาะแสวงหาข้อมูลใหม่จากอินเตอร์เน็ตสม่ำเสมอ เพราะเชื่อว่าจะมีประโยชน์ต่อการศึกษาต่อระดับปริญญาโท รวมถึงสะสมความรู้เหล่านี้ไว้ทำงานในอนาคต
          วรากร อธิบายว่า คนที่จะหาข้อมูลในเน็ตได้ต้องมีพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษ และผมโชคดีกว่าเพื่อนในวัยเดียวกันอีกหลายคนเพราะสมัยเด็กครอบครัวของผม อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาหลายปี ตรงนี้ทำให้พื้นฐานด้านภาษาค่อนข้างแน่น แล้วความรู้ภาษาอังกฤษเป็นใบเบิกทางอย่างดีในการค้นหาข้อมูลใหม่เกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์และอื่นๆ

สร้างระบบควบคุมคอมพ์
          ระหว่างปิดเทอม วรากร ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ด้วยการมาจัดระบบโปรแกรมให้กับโรงเรียนสาธิตประสานมิตร ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่เขาเคยเรียนสมัยเรียนมัธยม
          สุคนธ์ อักษรชู อาจารย์โรงเรียนสาธิตประสานมิตร เล่าให้ฟังว่า วรากร เดินเข้ามาถามว่าต้องการให้ผมช่วยอะไรไหม ตอนนั้นก็ยังนึกไม่ออกมาจะให้ช่วยทำอะไรดี จึงมอบหมายให้ดูแลระบบคอมพ์ซึ่งคิดว่าตรงกับความรู้ที่เขาได้ร่ำเรียนมา แต่อาจารย์ก็พูดเปรยๆ ว่า นักเรียนหลายคนมักจะออกนอกลู่นอกทางระหว่างเรียนคอมพ์ ยกตัวอย่าง ให้เปิดเว็บหนึ่ง นักเรียนกลับไปเปิดอีกเว็บหนึ่ง ทำให้ครูต้องเดินดูนักเรียนว่าแอบเปิดเว็บอื่นหรือเปล่า ทำให้เสียเวลา เมื่อ วรากร ได้ฟังก็บอกว่า

          "ผมเคยเจอเว็บไซต์หนึ่งซึ่งควบคุมการทำงานเครื่อง อื่นๆ ได้ แถมบอกว่าทำไม่ยากหรอกและไม่ต้องลงทุนอีกด้วย"

          "ตอนแรกที่ฟังคิดในใจว่ามีด้วยเหรอ เคยรู้มาว่าต้องซื้ออุปกรณ์มาชุดหนึ่งซึ่งราคาสูงมากเพื่อมาติดตั้งถึงจะควบ คุมคอมพ์เครื่องอื่นๆ ได้ ทางโรงเรียนให้วรากรลองทำ ผลปรากฏว่าเป็นจริงอย่างที่พูด วรากรป้อนโปรแกรมเพื่อควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ในห้องเรียน ทุกเครื่อง ตรงนี้มีประโยชน์ต่อผู้สอนอย่างมาก คือจะรู้ว่านักเรียนคนไหนเปิดเว็บอื่นนอกเหนือจากที่สั่งให้เปิด ผู้สอนสามารถควบคุมกดโปรแกรมควบคุมที่เซ็ตไว้ หน้าจอของนักเรียนจะเปลี่ยนเป็นเว็บที่ผู้สอนต้องการทันที"
          นอกจากเซ็ตโปรแกรมควบคุมการทำงานคอมพิวเตอร์ในห้องเรียนแล้ว วรากร ยังมีโครงการเขียนโปรแกรมการเข้า-ออกห้องเรียนของนักเรียน โดยจะให้นักเรียนรูดบัตรนักเรียนก่อนเข้าห้องและหลังเลิกเรียนวิชานั้นๆ ซึ่งโปรแกรมนี้จะบันทึกข้อมูลเวลาเข้า-ออก วิชาที่เรียน "โปรแกรมนี้อยู่ระหว่างการเขียน หากเขียนเสร็จจะตรวจสอบเป็นรายวิชาเข้า-ออกเวลาเท่าไหร่ ตรงนี้คิดว่าจะช่วยลดปัญหาการเด็กหนีเรียนได้อีกด้วย"
          วิธีการใช้นักเรียนทุกคนจะมีบัตรประจำตัวนักเรียน ก็ให้ใช้บัตรนี้แหละรูดเข้า-ออก คล้ายกับการใช้การ์ดเข้าออกอาคารใหญ่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ที่ให้พนักงานใช้บัตรพนักงานรูด
          อาจารย์สุคนธ์ กล่าวเสริมว่า ถ้าหากวรากรทำเสร็จจะนำร่องที่ห้องคอมพิวเตอร์ก่อนจากนั้นค่อยขยายไปยังห้อง เรียนอื่นๆ จนครบทุกห้อง
          "ทางโรงเรียนเคยมีแผนซื้อเครื่องรูดบัตรมาติดไว้หน้า ห้อง แต่ติดที่ราคาซึ่งแพงมาก ขณะที่อุปกรณ์ของวรากร ทำขึ้นใช้งานได้เหมือนกันทุกอย่างแต่ราคาต่ำกว่ามากๆ จนสามารถพูดซื้อสำเร็จรูป 1 เครื่อง สามารถประดิษฐ์ขึ้นใช้เองได้ 30 เครื่องทีเดียว"
ทุ่มเทเพื่อลูก
          วีรวรรณ อึ๊งวิเชียร แม่น้องวรากร เล่าให้ฟังว่า Asperger Syndrome เป็นความบกพร่องเกี่ยว กับการอยู่ร่วมกับคนอื่น ด้วยเหตุนี้แม่จะพยายามสอนหรือฝึกให้ลูกทำซ้ำเรื่องเดียวกันบ่อยๆ ตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อให้ลูกใช้ชีวิตเหมือนเด็กปกติทั่วไป ซึ่งลูกจะซึบซับโดยอัตโนมัติว่าเวลานี้ควรทำอะไรบ้าง
          ยกตัวอย่างเรื่องเดินออกห้องเรียนขณะที่ที่ครูสอนอยู่ แม่พยายามอธิบายให้ลูกเขาใจว่า การเดินออกมาโดยไม่บอกครูนั้นเสียมารยาทนะ แล้วสอนลูกว่าเวลาเรียนอยู่ในชั้นเรียนอย่าเดินออกมานอกห้องเรียนอีก
          "ที่ผ่านมาแม่จะสอบถามพฤติกรรม ความเคลื่อนไหวกับคุณครูอย่างสม่ำเสมอ พอครูบอกว่าวรากรเดินออกจากห้องเรียนออกไปอ่านหนังสือห้องสมุด หรือไม่ก็ไปนั่งทำโน่นทำนี่อยู่หน้าคอมพ์ โดยเขาจะให้เหตุผลว่าเรื่องที่ครูสอนรู้แล้ว ปัญหานี้แม่จะอธิบายเหตุผลว่าการเดินออกจากห้องเรียนขณะที่ครูสอนอยู่นั้น เสียมารยาทและเป็นการไม่ให้เกียรติคุณครู แล้วควรตั้งใจเรียนในชั่วโมงเรียนด้วย ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยสมัยเด็กพอเขาเริ่มโตคุยกันเข้าใจรู้เรื่องมาก ขึ้นก็ไม่ออกนอกลู่นอกทาง" วีรวรรณ กล่าวทิ้งท้าย

ที่มาจาก : vcharkarn.com

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี

กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์

แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1