Featured post
เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : ประโยค
- รับลิงก์
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ประโยค
ในระดับประโยค นักภาษาศาสตร์ศึกษาถึงโครงสร้างของวลีและประโยค ซึ่งเกิดจากการที่นำคำมาเรียงต่อกันเป็นลำดับ จากซ้ายไปขวา ถ้าเราพิจารณาประโยคต่อไปนี้ก็จะเห็นได้ว่า การนำคำมาเรียงกันเป็นประโยคนั้นมีกฎเกณฑ์ กล่าวคือมิใช่คำใดจะอยู่ในตำแหน่งใดก็ได้ และถ้าไม่เรียงตามกฎเกณฑ์ก็จะไม่เป็นประโยค เช่น
/ แจ๋วใส่เสื้อสีเขียวตัวนี้ทุกวันพุธ
/ ทุกวันพุธ แจ๋วใส่เสื้อสีเขียวตัวนี้
/ เสื้อสีเขียวตัวนี้ แจ๋วใส่ทุกวันพุธ
X แจ๋วตัวนี้ เสื้อทุกใส่สีเขียววันพุธ
X ทุกแจ๋ว เสื้อวันพุธใส่สีเขียวนี้ตัว
x วันพุธทุกสีเขียวใส่ตัวนี้เสื้อแจ๋ว
x เสื้อแจ๋วนี้ทุกวันพุธตัวสีเขียวใส่
ถ้าวิเคราะห์รายละเอียดต่อไปอีกก็จะเห็นว่าถ้าไม่เรียงคำตามกฎเกณฑ์จะได้สิ่งที่ไม่เป็นประโยค ไม่สื่อความ มากกว่าสิ่งที่เป็นประโยคและสื่อความได้ และเมื่อพิจารณาจากข้อมูลประโยคที่ถูกต้อง นักภาษาศาสตร์ก็ตั้งสมมติฐานว่าคำในภาษานั้นแตกต่างกัน แยกได้เป็นประเภทต่างๆ (นาม สรรพนาม กริยา...) แต่ละประเภทมีลักษณะและหน้าที่แตกต่างกัน และคำที่อยู่ในประโยคเดียวกันมีความสัมพันธ์มากน้อยไม่เท่ากันเป็นต้นว่า "สีเขียว" สัมพันธ์ใกล้ชิดกับ "เสื้อ"มากกว่าสัมพันธ์กับคำว่า "ใส่" "ทุก" สัมพันธ์กับ "วันพุธ" มากกว่าคำอื่นๆ ในประโยค ซึ่งแสดงว่าคำในประโยคเดียวกันเกาะกันเป็นกลุ่มๆตามความสัมพันธ์หรือที่เรียกกันว่า "วลี" และกลุ่มคำเหล่านี้ก็แยกเป็นประเภทต่างๆ ได้เช่นเดียวกับคำ (นามวลี กริยาวลี บุพบทวลี...) ในแง่ของความสัมพันธ์ของคำและกลุ่มคำในประโยค เมื่อพิจารณาในรายละเอียด จะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์เหล่านี้มิได้อยู่ในระดับเดียวกัน (จากซ้ายขวา) ทั้งหมด แต่สูงต่ำลดหลั่นกัน ดังเช่น
นักภาษาศาสตร์ใช้วิธีแยกแยะคำในประโยคออกมาเป็นกลุ่มในลักษณะนี้ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของกลุ่มคำ และระดับของความสัมพันธ์ว่าอยู่ระดับเดียวกันหรือไม่
ในแง่ของการเรียงคำ นักภาษาศาสตร์ได้ศึกษาประโยคในภาษาต่างๆ และสรุปว่า การเรียงคำในประโยคของภาษาต่างๆ ในโลก มี ๒ แบบใหญ่ๆ คือ การวางคำกริยาไว้หน้ากรรม และการวางคำกริยาไว้หลังกรรม หรือ กริยา+กรรม และกรรม+กริยา ตัวอย่างเช่น ภาษาไทย ภาษาเขมรภาษาเวียดนาม ภาษาอังกฤษ โดยทั่วไปวางคำกริยาไว้หน้ากรรม ส่วนภาษาพม่า ภาษาญี่ปุ่นภาษาฮินดี โดยทั่วไปวางกรรมไว้หน้ากริยาหรือกริยาไว้ท้ายประโยค เช่น ภาษาพม่า เรียงคำดังนี้"อูถิ่น-ซองจดหมาย-ซื้อ" "เขา-ตลาด-ไป" และการเรียงคำ ๒ แบบนี้ผูกพันกับการเรียงคำอื่นๆ ด้วยเป็นต้นว่า คำวิเศษณ์อยู่หน้าหรือหลังคำนาม คำบุพบทอยู่หน้าหรือหลังคำนาม คำเปรียบเทียบอยู่หน้าหรือหลังคำเปรียบ เช่น ภาษาไทยวางคำเปรียบเทียบไว้หลังคำวิเศษณ์ เช่น ใหญ่กว่า ดีกว่าแต่ภาษาพม่าเรียงคำเป็น กว่าใหญ่ กว่าดี หรือภาษาอังกฤษเรียงคำขยายไว้หน้าคำนาม เช่น ใหญ่บ้าน ดีเด็ก แต่ภาษาไทยเรียงแบบตรงข้าม เช่นบ้านใหญ่ เด็กดี เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภาษาทุกภาษาเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและสภาพแวดล้อมประกอบกับผู้พูดภาษาต่างกันมีโอกาสได้หยิบยืมภาษาของกันและกันด้วย จึงทำให้ภาษาโดยทั่วไปมีลักษณะผสม คือ ภาษาหนึ่งอาจวางกรรมไว้หน้ากริยา แต่อาจวางคำขยายไว้หลังคำนามก็ได้เช่น ภาษาไทยอาจเรียงประโยคแบบ "ประธาน-กรรม-กริยา" คือ มันน่ะ ข้าวกินแล้ว
/ แจ๋วใส่เสื้อสีเขียวตัวนี้ทุกวันพุธ
/ ทุกวันพุธ แจ๋วใส่เสื้อสีเขียวตัวนี้
/ เสื้อสีเขียวตัวนี้ แจ๋วใส่ทุกวันพุธ
X แจ๋วตัวนี้ เสื้อทุกใส่สีเขียววันพุธ
X ทุกแจ๋ว เสื้อวันพุธใส่สีเขียวนี้ตัว
x วันพุธทุกสีเขียวใส่ตัวนี้เสื้อแจ๋ว
x เสื้อแจ๋วนี้ทุกวันพุธตัวสีเขียวใส่
ถ้าวิเคราะห์รายละเอียดต่อไปอีกก็จะเห็นว่าถ้าไม่เรียงคำตามกฎเกณฑ์จะได้สิ่งที่ไม่เป็นประโยค ไม่สื่อความ มากกว่าสิ่งที่เป็นประโยคและสื่อความได้ และเมื่อพิจารณาจากข้อมูลประโยคที่ถูกต้อง นักภาษาศาสตร์ก็ตั้งสมมติฐานว่าคำในภาษานั้นแตกต่างกัน แยกได้เป็นประเภทต่างๆ (นาม สรรพนาม กริยา...) แต่ละประเภทมีลักษณะและหน้าที่แตกต่างกัน และคำที่อยู่ในประโยคเดียวกันมีความสัมพันธ์มากน้อยไม่เท่ากันเป็นต้นว่า "สีเขียว" สัมพันธ์ใกล้ชิดกับ "เสื้อ"มากกว่าสัมพันธ์กับคำว่า "ใส่" "ทุก" สัมพันธ์กับ "วันพุธ" มากกว่าคำอื่นๆ ในประโยค ซึ่งแสดงว่าคำในประโยคเดียวกันเกาะกันเป็นกลุ่มๆตามความสัมพันธ์หรือที่เรียกกันว่า "วลี" และกลุ่มคำเหล่านี้ก็แยกเป็นประเภทต่างๆ ได้เช่นเดียวกับคำ (นามวลี กริยาวลี บุพบทวลี...) ในแง่ของความสัมพันธ์ของคำและกลุ่มคำในประโยค เมื่อพิจารณาในรายละเอียด จะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์เหล่านี้มิได้อยู่ในระดับเดียวกัน (จากซ้ายขวา) ทั้งหมด แต่สูงต่ำลดหลั่นกัน ดังเช่น
นักภาษาศาสตร์ใช้วิธีแยกแยะคำในประโยคออกมาเป็นกลุ่มในลักษณะนี้ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของกลุ่มคำ และระดับของความสัมพันธ์ว่าอยู่ระดับเดียวกันหรือไม่
ในแง่ของการเรียงคำ นักภาษาศาสตร์ได้ศึกษาประโยคในภาษาต่างๆ และสรุปว่า การเรียงคำในประโยคของภาษาต่างๆ ในโลก มี ๒ แบบใหญ่ๆ คือ การวางคำกริยาไว้หน้ากรรม และการวางคำกริยาไว้หลังกรรม หรือ กริยา+กรรม และกรรม+กริยา ตัวอย่างเช่น ภาษาไทย ภาษาเขมรภาษาเวียดนาม ภาษาอังกฤษ โดยทั่วไปวางคำกริยาไว้หน้ากรรม ส่วนภาษาพม่า ภาษาญี่ปุ่นภาษาฮินดี โดยทั่วไปวางกรรมไว้หน้ากริยาหรือกริยาไว้ท้ายประโยค เช่น ภาษาพม่า เรียงคำดังนี้"อูถิ่น-ซองจดหมาย-ซื้อ" "เขา-ตลาด-ไป" และการเรียงคำ ๒ แบบนี้ผูกพันกับการเรียงคำอื่นๆ ด้วยเป็นต้นว่า คำวิเศษณ์อยู่หน้าหรือหลังคำนาม คำบุพบทอยู่หน้าหรือหลังคำนาม คำเปรียบเทียบอยู่หน้าหรือหลังคำเปรียบ เช่น ภาษาไทยวางคำเปรียบเทียบไว้หลังคำวิเศษณ์ เช่น ใหญ่กว่า ดีกว่าแต่ภาษาพม่าเรียงคำเป็น กว่าใหญ่ กว่าดี หรือภาษาอังกฤษเรียงคำขยายไว้หน้าคำนาม เช่น ใหญ่บ้าน ดีเด็ก แต่ภาษาไทยเรียงแบบตรงข้าม เช่นบ้านใหญ่ เด็กดี เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภาษาทุกภาษาเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและสภาพแวดล้อมประกอบกับผู้พูดภาษาต่างกันมีโอกาสได้หยิบยืมภาษาของกันและกันด้วย จึงทำให้ภาษาโดยทั่วไปมีลักษณะผสม คือ ภาษาหนึ่งอาจวางกรรมไว้หน้ากริยา แต่อาจวางคำขยายไว้หลังคำนามก็ได้เช่น ภาษาไทยอาจเรียงประโยคแบบ "ประธาน-กรรม-กริยา" คือ มันน่ะ ข้าวกินแล้ว
ขอบคุณที่มา สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 22
- รับลิงก์
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี สวัสดีครับทุกท่าน ปัญหาการอ่านเขียนไม่คล่องของเด็กและเยาวชนของเรานับวันยิ่งมีปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น เรื่อย ๆ จนน่ากลัว การแก้ไขปัญหาภาษาไทยนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ของหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการศึกษาเสียแล้วครับ เมื่อหลายท่าน ทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ มีความเห็นตรงกันว่า จะปล่อยปะละเลยต่อปัญหานี้ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่ดี วันนี้ ครูเดชจึงได้นำไฟล์ตำราเรียน ที่แสนจะวิเศษ และผมเองกล้าการันตรีว่า หากนักเรียน หรือ ผู้ที่มีปัญหาภาษาไทย ได้ตั้งใจอ่าน ตั้งใจทำความเข้าใจ จะสามารถพัฒนาภาษาไทยไปได้อย่างดีเยี่ยมเลยครับ "มานะ มานี" นอกจากจะเป็นตำราภาษาไทย ที่คนที่มีอายุหลายท่านได้สัมผัสเรียนรู้ในวิชาภาษาไทยมาแล้ว ท่านจะทราบว่าตำราเรียนเล่มนี้ ไม่ได้มีแต่ความรู้ภาษาไทย อย่างเดียวไม่ หากแต่มีความน่าสนุก น่าสนใจ และความตื้นเต้น กลวิธีนี้เองล่ะครับ ที่ผมเห็นว่า เป็นอุบายล่อให้เด็กสนใจตำราเรียนได้เป็นอย่างดี ความสนุก ความเพลิดเพลิน เมื่อนักเรียนอ่านจบเล่ม ตัวละครก็จบชั้นเดียวกัน เมื่อเลื่อนชั้น นักเรี
แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1
แจกฟรี แบบฝึกหัดภาษาไทยใช่ควบคู่กับตำรามานะมานี ป. 1 คลิกที่ลิงก์เพื่อดาวน์โหลดครับ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 1-5 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 6-10 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 11-15 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 16-20 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 21-25 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 26-30 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 31-35 อยู่ในขณะจัดทำ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 36-40 อยู่ในขณะจัดทำ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยที่ออสเตรเลีย หาครูสอนภาษาไทยที่ญี่ปุ่น หาครูสอนภาษาไทยที่เวียดนาม หาครูสอนภาษาไทยที่อเมริกา หาครูสอนภาษาไทยที่เยอรมัน หาครูสอนภาษาไทยที่ฝรั่งเศส Learn Thai with native speakers. หาครูสอนภาษาไทยอ่านเขียน สอนอ่านหนังสือภาษาไทย สอนอ่านเขียน ลูกอ่านภาษาไทยไม่ออก หาครูแก้ไขภาษาไทย สถาบันสอนภาษาไทย โรงเรียนสอนภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทยนานาชาติ หาครูสอนภาษาไทยลูกครึ่ง หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนพิเศษ ห
กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์
ให้ติวเตอร์ใช้เขตพื้นที่เหล่านี้ เพื่อระบุพื้นที่ที่ท่านสามารถเดินทางไปสอนได้สะดวกครับ ศูนย์จะแจ้งงานให้ท่านทราบตามพื้นที่การเดินทางที่ท่านสะดวกครับ โปรดแจ้งตามความสะดวกจริง เพื่อความรวดเร็วในการรับงานสอนนะครับ 1.กลุ่มกรุงเทพกลาง ประกอบด้วย เขตพระนคร ดุสิต ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ดินแดง ห้วยขวาง พญาไท ราชเทวี และวังทองหลาง 2.กลุ่มกรุงเทพใต้ ประกอบด้วย เขตปทุมวัน บางรัก สาทร บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย วัฒนา พระโขนง สวนหลวง และบางนา 3. กลุ่มกรุงเทพเหนือ ประกอบด้วย เขตจตุจักร บางซื่อ ลาดพร้าว หลักสี่ ดอนเมือง สายไหม และบางเขน 4.กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ประกอบด้วย เขตบางกะปิ สะพานสูง บึงกุ่ม คันนายาว ลาดกระบัง มีนบุรี หนองจอก คลองสามวาและประเวศ 5.กลุ่มกรุงธนเหนือ ประกอบด้วย เขตธนบุรี คลองสาน จอมทอง บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย บางพลัด ตลิ่งชันและทวีวัฒนา 6.กลุ่มกรุงธนใต้ ประกอบด้วย เขตภาษีเจริญ บางแค หนองแขม บางขุนเทียน บางบอน ราษฎร์บูรณะและทุ่งครุ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยท