Featured post
เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : เคล็ดลับเรียนเก่ง
- รับลิงก์
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ขอบคุณข้อมูล โดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
ปัจจุบันผลการเรียนกลายเป็นตัวชี้อนาคตของเด็กแต่ละคน ว่าจะได้เข้าเรียนต่อที่ไหน ทำให้ทั้งผู้ปกครองและเด็ก ๆ ต่างขวนขวายหาความรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะการมุ่งหาสถาบันติวเตอร์ที่มีเปอร์เซ็นต์เด็กสอบเข้าได้ตามสถานศึกษาชื่อดังได้มากที่สุด วันนี้ ทีมงานกระปุกได้นำแนะเคล็ดลับเรียนเก่งด้วยวิธีง่าย ๆ ไม่จำเป็นต้องพึ่งติวเตอร์เพียงอย่างเดียว ขอแค่น้อง ๆ นำเคล็ดลับไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง รับประกันว่า ผลการเรียนเทอมนี้ต้องออกมาไม่น้อยหน้าเพื่อน ๆ ที่ไปเรียนกวดวิชาเป็นแน่
เคล็ดลับการเตรียมตัวก่อนเข้าห้องเรียน
1. ให้น้อง ๆ นำตำราเรียนที่จะใช้ในเทอมนี้มาเปิดอ่านบทเรียนก่อนเข้าชั้นเรียน และจดประเด็นที่สำคัญของเนื้อหาแต่ละบทเรียน รวมถึงการจดข้อสงสัย เพื่อนำมาซักถามอาจารย์ในชั่วโมงเรียน
2. การสร้างสมาธิระหว่างเรียน สิ่งสำคัญ คือ ต้องนั่งให้ห่างจากเพื่อนที่ชอบชวนคุย วิทยุ และโทรทัศน์ ซึ่งอาจรบกวนสมาธิของเราได้ และต้องพยายามจูงใจตัวเองว่า เราสามารถเรียนได้ดีในวิชานั้น ๆ เพื่อให้เกิดความสนใจในเรื่องที่กำลังเรียนอยู่
3. เวลาเรียนเราอาจเปลี่ยนการจดคำบรรยายตามที่อาจารย์ผู้สอนบอกทุกคำพูด เปลี่ยนมาเป็นการทำแผนภูมิ หรือวาดภาพอธิบายเนื้อหาแบบง่าย ๆ
4. หลังเลิกเรียน ต้องหมั่นทดสอบตัวเองเป็นระยะ ๆ ว่าสามารถจำความคิดหลักที่เพิ่งฟังจากการบรรยายในชั้นเรียนหรือจากหนังสือที่เพิ่งอ่านได้หรือไม่
5. การทำแผ่นการ์ดช่วยจำ โดยการทำการ์ดขนาดเล็ก ๆ ที่สามารถจดบันทึกสั้น ๆ ไว้ในนั้น สำหรับใช้ทบทวนความจำในช่วงเวลาว่าง ๆ เช่น ขณะเดินทางไปโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย หรือช่วงรับประทานอาหารกลางวัน
6. การทำสมุดบันทึกประจำวัน เพื่อให้รู้ว่าเรามีเรียน มีสอบในช่วงเวลาไหน ทั้งยังสามารถแทรกเวลาการทำรายงาน หรืออ่านหนังสือเข้าไปตรวจด้วย ซึ่งในการทำบันทึกประจำวันจะทำให้เราตื่นตัวอยู่เสมอ
วิธีการจดบันทึกแบบง่าย ๆ
1. ให้ทำสัญลักษณ์รูปวงกลม หรือสี่เหลี่ยม เพื่อเน้นจุดที่เป็นประเด็นสำคัญของเนื้อหา หรือจะให้ปากกาสีมาขีดเน้นประโยคที่สำคัญก็ได้ โดยอาจใช้สัญลักษณ์หรือปากกาหลาย ๆ สี เพื่อแบ่งระดับความสำคัญของเนื้อหานั้น ๆ ด้วยก็ได้
2. เมื่ออาจารย์ในแต่ละวิชา ให้การบ้านมาก็ควรรีบทำให้เสร็จภายในกำหนดเวลา เพราะหากเรามีข้อสงสัยก็สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากในห้องสมุด หรือแหล่งข้อมูลอื่น ๆ
3. การจดจำข้อมูลที่เรียนรู้มาเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจไม่เกี่ยวข้องกันนั้น เราควรใช้วิธีการเชื่อมโยงสิ่งที่ต้องจำกับสถานที่ที่เรารู้จักดี เช่น ในห้องนอนคุณอาจใช้ความนึกคิดติดตารางธาตุยี่สิบตัวแรกไว้ในสถานที่ที่แตกต่างกัน จากนั้นก็พยายามจำข้อมูลเหล่านั้นด้วยการใช้ความนึกคิดเคลื่อนไปรอบสถานที่นั้น ๆ เช่น เตียงนอน ขั้นบันไดแต่ละขั้น หลังประตู ใต้หมอน และอื่น ๆ
เคล็ดลับการทำข้อสอบที่ควรรู้
1. ให้พยายามทบทวนการเรียนอย่างสม่ำเสมอจนเป็นกิจวัตรประจำวัน เพื่อไม่ให้ร่างกายและสมองต้องล้าจากการอ่านหนังสือสอบภายในคืนเดียว
2. ในบางวิชานั้น อาจารย์ที่คุมสอบอาจอนุญาตให้อ่านคำถามทั้งหมดก่อนลงมือทำ ขอให้อ่านข้อสอบและเลือกว่าข้อไหนง่ายที่สุด ก็ให้ทำข้อนั้นก่อน เนื่องจากเป็นข้อที่เราสามารถตอบได้เป็นอันดับแรก ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาในการทำข้อสอบ
3. การวางแผนเรื่องเวลาที่ใช้ในการทำข้อสอบ โดยต้องปรับให้เหมาะสมกับจำนวนคะแนนที่คำถามกำหนดให้สำหรับคำถามย่อยในแต่ละข้อ โดยทั่วไปควรใช้เวลากับข้อที่มีคะแนนมากที่สุดให้นานที่สุด สำหรับคำถามอัตนัยที่ให้คะแนนสองคะแนน ควรตอบสองประเด็น เป็นการเผื่อหนึ่งคะแนนสำหรับการเดา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
telelearning.ntc.or.th
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
ปัจจุบันผลการเรียนกลายเป็นตัวชี้อนาคตของเด็กแต่ละคน ว่าจะได้เข้าเรียนต่อที่ไหน ทำให้ทั้งผู้ปกครองและเด็ก ๆ ต่างขวนขวายหาความรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะการมุ่งหาสถาบันติวเตอร์ที่มีเปอร์เซ็นต์เด็กสอบเข้าได้ตามสถานศึกษาชื่อดังได้มากที่สุด วันนี้ ทีมงานกระปุกได้นำแนะเคล็ดลับเรียนเก่งด้วยวิธีง่าย ๆ ไม่จำเป็นต้องพึ่งติวเตอร์เพียงอย่างเดียว ขอแค่น้อง ๆ นำเคล็ดลับไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง รับประกันว่า ผลการเรียนเทอมนี้ต้องออกมาไม่น้อยหน้าเพื่อน ๆ ที่ไปเรียนกวดวิชาเป็นแน่
เคล็ดลับการเตรียมตัวก่อนเข้าห้องเรียน
1. ให้น้อง ๆ นำตำราเรียนที่จะใช้ในเทอมนี้มาเปิดอ่านบทเรียนก่อนเข้าชั้นเรียน และจดประเด็นที่สำคัญของเนื้อหาแต่ละบทเรียน รวมถึงการจดข้อสงสัย เพื่อนำมาซักถามอาจารย์ในชั่วโมงเรียน
2. การสร้างสมาธิระหว่างเรียน สิ่งสำคัญ คือ ต้องนั่งให้ห่างจากเพื่อนที่ชอบชวนคุย วิทยุ และโทรทัศน์ ซึ่งอาจรบกวนสมาธิของเราได้ และต้องพยายามจูงใจตัวเองว่า เราสามารถเรียนได้ดีในวิชานั้น ๆ เพื่อให้เกิดความสนใจในเรื่องที่กำลังเรียนอยู่
3. เวลาเรียนเราอาจเปลี่ยนการจดคำบรรยายตามที่อาจารย์ผู้สอนบอกทุกคำพูด เปลี่ยนมาเป็นการทำแผนภูมิ หรือวาดภาพอธิบายเนื้อหาแบบง่าย ๆ
4. หลังเลิกเรียน ต้องหมั่นทดสอบตัวเองเป็นระยะ ๆ ว่าสามารถจำความคิดหลักที่เพิ่งฟังจากการบรรยายในชั้นเรียนหรือจากหนังสือที่เพิ่งอ่านได้หรือไม่
5. การทำแผ่นการ์ดช่วยจำ โดยการทำการ์ดขนาดเล็ก ๆ ที่สามารถจดบันทึกสั้น ๆ ไว้ในนั้น สำหรับใช้ทบทวนความจำในช่วงเวลาว่าง ๆ เช่น ขณะเดินทางไปโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย หรือช่วงรับประทานอาหารกลางวัน
6. การทำสมุดบันทึกประจำวัน เพื่อให้รู้ว่าเรามีเรียน มีสอบในช่วงเวลาไหน ทั้งยังสามารถแทรกเวลาการทำรายงาน หรืออ่านหนังสือเข้าไปตรวจด้วย ซึ่งในการทำบันทึกประจำวันจะทำให้เราตื่นตัวอยู่เสมอ
วิธีการจดบันทึกแบบง่าย ๆ
1. ให้ทำสัญลักษณ์รูปวงกลม หรือสี่เหลี่ยม เพื่อเน้นจุดที่เป็นประเด็นสำคัญของเนื้อหา หรือจะให้ปากกาสีมาขีดเน้นประโยคที่สำคัญก็ได้ โดยอาจใช้สัญลักษณ์หรือปากกาหลาย ๆ สี เพื่อแบ่งระดับความสำคัญของเนื้อหานั้น ๆ ด้วยก็ได้
2. เมื่ออาจารย์ในแต่ละวิชา ให้การบ้านมาก็ควรรีบทำให้เสร็จภายในกำหนดเวลา เพราะหากเรามีข้อสงสัยก็สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากในห้องสมุด หรือแหล่งข้อมูลอื่น ๆ
3. การจดจำข้อมูลที่เรียนรู้มาเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจไม่เกี่ยวข้องกันนั้น เราควรใช้วิธีการเชื่อมโยงสิ่งที่ต้องจำกับสถานที่ที่เรารู้จักดี เช่น ในห้องนอนคุณอาจใช้ความนึกคิดติดตารางธาตุยี่สิบตัวแรกไว้ในสถานที่ที่แตกต่างกัน จากนั้นก็พยายามจำข้อมูลเหล่านั้นด้วยการใช้ความนึกคิดเคลื่อนไปรอบสถานที่นั้น ๆ เช่น เตียงนอน ขั้นบันไดแต่ละขั้น หลังประตู ใต้หมอน และอื่น ๆ
เคล็ดลับการทำข้อสอบที่ควรรู้
1. ให้พยายามทบทวนการเรียนอย่างสม่ำเสมอจนเป็นกิจวัตรประจำวัน เพื่อไม่ให้ร่างกายและสมองต้องล้าจากการอ่านหนังสือสอบภายในคืนเดียว
2. ในบางวิชานั้น อาจารย์ที่คุมสอบอาจอนุญาตให้อ่านคำถามทั้งหมดก่อนลงมือทำ ขอให้อ่านข้อสอบและเลือกว่าข้อไหนง่ายที่สุด ก็ให้ทำข้อนั้นก่อน เนื่องจากเป็นข้อที่เราสามารถตอบได้เป็นอันดับแรก ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาในการทำข้อสอบ
3. การวางแผนเรื่องเวลาที่ใช้ในการทำข้อสอบ โดยต้องปรับให้เหมาะสมกับจำนวนคะแนนที่คำถามกำหนดให้สำหรับคำถามย่อยในแต่ละข้อ โดยทั่วไปควรใช้เวลากับข้อที่มีคะแนนมากที่สุดให้นานที่สุด สำหรับคำถามอัตนัยที่ให้คะแนนสองคะแนน ควรตอบสองประเด็น เป็นการเผื่อหนึ่งคะแนนสำหรับการเดา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
telelearning.ntc.or.th
- รับลิงก์
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี สวัสดีครับทุกท่าน ปัญหาการอ่านเขียนไม่คล่องของเด็กและเยาวชนของเรานับวันยิ่งมีปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น เรื่อย ๆ จนน่ากลัว การแก้ไขปัญหาภาษาไทยนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ของหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการศึกษาเสียแล้วครับ เมื่อหลายท่าน ทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ มีความเห็นตรงกันว่า จะปล่อยปะละเลยต่อปัญหานี้ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่ดี วันนี้ ครูเดชจึงได้นำไฟล์ตำราเรียน ที่แสนจะวิเศษ และผมเองกล้าการันตรีว่า หากนักเรียน หรือ ผู้ที่มีปัญหาภาษาไทย ได้ตั้งใจอ่าน ตั้งใจทำความเข้าใจ จะสามารถพัฒนาภาษาไทยไปได้อย่างดีเยี่ยมเลยครับ "มานะ มานี" นอกจากจะเป็นตำราภาษาไทย ที่คนที่มีอายุหลายท่านได้สัมผัสเรียนรู้ในวิชาภาษาไทยมาแล้ว ท่านจะทราบว่าตำราเรียนเล่มนี้ ไม่ได้มีแต่ความรู้ภาษาไทย อย่างเดียวไม่ หากแต่มีความน่าสนุก น่าสนใจ และความตื้นเต้น กลวิธีนี้เองล่ะครับ ที่ผมเห็นว่า เป็นอุบายล่อให้เด็กสนใจตำราเรียนได้เป็นอย่างดี ความสนุก ความเพลิดเพลิน เมื่อนักเรียนอ่านจบเล่ม ตัวละครก็จบชั้นเดียวกัน เมื่อเลื่อนชั้น นักเรี
แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1
แจกฟรี แบบฝึกหัดภาษาไทยใช่ควบคู่กับตำรามานะมานี ป. 1 คลิกที่ลิงก์เพื่อดาวน์โหลดครับ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 1-5 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 6-10 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 11-15 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 16-20 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 21-25 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 26-30 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 31-35 อยู่ในขณะจัดทำ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 36-40 อยู่ในขณะจัดทำ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยที่ออสเตรเลีย หาครูสอนภาษาไทยที่ญี่ปุ่น หาครูสอนภาษาไทยที่เวียดนาม หาครูสอนภาษาไทยที่อเมริกา หาครูสอนภาษาไทยที่เยอรมัน หาครูสอนภาษาไทยที่ฝรั่งเศส Learn Thai with native speakers. หาครูสอนภาษาไทยอ่านเขียน สอนอ่านหนังสือภาษาไทย สอนอ่านเขียน ลูกอ่านภาษาไทยไม่ออก หาครูแก้ไขภาษาไทย สถาบันสอนภาษาไทย โรงเรียนสอนภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทยนานาชาติ หาครูสอนภาษาไทยลูกครึ่ง หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนพิเศษ ห
กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์
ให้ติวเตอร์ใช้เขตพื้นที่เหล่านี้ เพื่อระบุพื้นที่ที่ท่านสามารถเดินทางไปสอนได้สะดวกครับ ศูนย์จะแจ้งงานให้ท่านทราบตามพื้นที่การเดินทางที่ท่านสะดวกครับ โปรดแจ้งตามความสะดวกจริง เพื่อความรวดเร็วในการรับงานสอนนะครับ 1.กลุ่มกรุงเทพกลาง ประกอบด้วย เขตพระนคร ดุสิต ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ดินแดง ห้วยขวาง พญาไท ราชเทวี และวังทองหลาง 2.กลุ่มกรุงเทพใต้ ประกอบด้วย เขตปทุมวัน บางรัก สาทร บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย วัฒนา พระโขนง สวนหลวง และบางนา 3. กลุ่มกรุงเทพเหนือ ประกอบด้วย เขตจตุจักร บางซื่อ ลาดพร้าว หลักสี่ ดอนเมือง สายไหม และบางเขน 4.กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ประกอบด้วย เขตบางกะปิ สะพานสูง บึงกุ่ม คันนายาว ลาดกระบัง มีนบุรี หนองจอก คลองสามวาและประเวศ 5.กลุ่มกรุงธนเหนือ ประกอบด้วย เขตธนบุรี คลองสาน จอมทอง บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย บางพลัด ตลิ่งชันและทวีวัฒนา 6.กลุ่มกรุงธนใต้ ประกอบด้วย เขตภาษีเจริญ บางแค หนองแขม บางขุนเทียน บางบอน ราษฎร์บูรณะและทุ่งครุ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยท