Featured post
เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : ข้อความ
- รับลิงก์
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ข้อความ
ในระดับข้อความ นักภาษาศาสตร์ศึกษาวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างประโยคเพื่อพิจารณาว่า อะไรเป็นสิ่งที่บอกให้รู้ว่าประโยคต่างๆนั้นสื่อความเรื่องเดียวกันอยู่ เมื่อพิจารณากลุ่มประโยค ๒ กลุ่มต่อไปนี้ จะเห็นว่ามีความแตกต่างกันในแง่ของความเป็น "เรื่อง" หรือ "ข้อความ"
๑. สมศรีเป็นนักเรียนตัวอย่างของโรงเรียนนี้เธอเป็นเด็กฉลาดและมีความขยันหมั่นเพียร เธอมาโรงเรียนแต่เช้าทุกวัน เมื่อมาถึงเธอจะนั่งอ่านหนังสือ ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนไปแล้ว หรือไม่เธอก็อ่านล่วงหน้าไปก่อนที่อาจารย์จะสอน
๒. สมศรีเป็นนักเรียนตัวอย่างของโรงเรียนนี้สุนัขสองตัววิ่งไล่กันในสนาม ประตูเปิดเวลาแปดนาฬิกา ถ้าฝนตกรถจะติด ที่นี่อาหารราคาไม่แพง มีคนมาสมัครเป็นจำนวนมาก ผู้หญิงคนนั้นสอนภาษาไทย เด็กๆ มาแต่เช้า
ประโยคในกลุ่มที่ ๑ มีความสัมพันธ์กันสื่อความต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกัน
ประโยคในกลุ่มที่ ๒ ไม่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ถึงแม้จะมีหลายประโยคก็ไม่ได้สื่อความเป็นเรื่อง หรือเป็นข้อความ
นักภาษาศาสตร์กล่าวว่า สิ่งที่บอกให้รู้ว่าประโยคต่างๆ มีความสัมพันธ์กันและสื่อข้อความเป็นเรื่องเดียวกัน ประการหนึ่งคือ การอ้างอิงถึงกันและกัน ซึ่งส่วนมากแล้วประโยคที่ตามหลังมักจะอ้างอิงถึงประโยคที่นำมาก่อน ดังในประโยคกลุ่มที่ ๑ คำว่า "เธอ" ในประโยคที่ตามมาล้วนอ้างอิงถึง "สมศรี" ในประโยคแรกทั้งสิ้น "เธอ"ทำให้ผู้อ่าน (ผู้รับสาร) ทราบได้ว่าข้อความในประโยคต่างๆ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ "สมศรี" คำว่าโรงเรียน" ก็มีใช้ ๒ ครั้งเป็นการย้ำบอกว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับ "โรงเรียน" นอกจากนี้คำว่า "นักเรียน" "โรงเรียน" "หนังสือ" "อาจารย์" "อ่าน""สอน" ก็ล้วนเป็นคำที่มีความสัมพันธ์กันในแง่ที่ว่าเป็นกลุ่มคำที่มักใช้ในบริบทของการเรียนการสอนในโรงเรียน และที่สำคัญมีคำเชื่อมความ "และ" "หรือไม่" บอกให้รู้ว่าข้อความในประโยคต่างๆ เหล่านี้เชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องกัน
ส่วนประโยคในกลุ่มที่ ๒ ไม่มีคำสรรพนามที่จะใช้อ้างอิงถึงคำนามในประโยคที่นำมาและไม่มีคำเชื่อมความระหว่างประโยค ทั้งคำศัพท์ที่ใช้ก็ไม่มีความสัมพันธ์กัน ประโยคทั้งหมดจึงไม่มีข้อความที่เกี่ยวเนื่องกัน และไม่สามารถสื่อความเป็นเรื่องได้
แรกทีเดียว "ภาษาศาสตร์" เป็นการศึกษาวิเคราะห์ถึงธรรมชาติและองค์ประกอบต่างๆ ของภาษาดังได้กล่าวมาแล้วนี้ แต่ต่อมานักภาษาศาสตร์ได้ขยายวงการศึกษาออกไป เนื่องจากนักภาษาศาสตร์สังเกตเห็นว่า คนในสังคมเดียวกันใช้ภาษาต่างกัน และคนๆ เดียวกันก็ใช้ภาษามากมายหลายแบบ หลายลีลา แตกต่างกันไปตามบริบท และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร ในที่สุดการศึกษาถึงความแตกต่างของภาษาในสังคมเดียวกันก็ได้กลายเป็นภาษาศาสตร์แขนงใหม่ที่เรียกว่าภาษาศาสตร์เชิงสังคม (Sociolinguistics)ส่วนการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของภาษานั้นมีมานานแล้ว แต่ภายหลังเมื่อเกิดมีทฤษฎีทางภาษาศาสตร์ขึ้น ผู้ที่ศึกษาถึงวิวัฒนาการของภาษาก็ได้นำทฤษฎีภาษาศาสตร์ไปใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลง และเรียกการศึกษาแขนงนี้ว่าภาษาศาสตร์เชิงประวัติ (Historical linguistics)การศึกษาถึงพัฒนาการการเรียนรู้ภาษาของเด็กและการเรียนภาษาที่สอง ในปัจจุบันนับเป็นส่วนหนึ่งของภาษาศาสตร์เชิงจิตวิทยา (Psycholinguistics)ภาษาศาสตร์แขนงต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีวิธีการศึกษาวิเคราะห์ภาษาและการตั้งคำถามที่แตกต่างกันไปวิธีการศึกษาวิเคราะห์ภาษาในด้านเสียง คำประโยคและข้อความ ของนักภาษาศาสตร์ที่ยกตัวอย่างมานี้ก็แตกต่างไปจากวิธีการของนักภาษากลุ่มอื่น เช่นอาจารย์ภาษาไทย ทั้งนี้เป็นเพราะนักภาษาศาสตร์ตั้งคำถามที่แตกต่างไป โดยทั่วไปนักภาษาศาสตร์มักศึกษาวิเคราะห์ภาษาเพื่อหาคำตอบให้กับคำถามที่ว่า "มนุษย์เรียนรู้ภาษาได้อย่างไร?" "มนุษย์ใช้และเข้าใจภาษาอย่างไร? " ต่างจากอาจารย์ภาษาไทยซึ่งมักจะถามว่า "ใช้ภาษาอย่างไรจึงจะถูกต้องเหมาะสม?"
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่า นักภาษาศาสตร์ (linguist) คือผู้ที่ศึกษาและวิเคราะห์ภาษาอย่างเป็นระบบ โดยใช้ทฤษฎีทางภาษา ผู้ที่เป็นนักภาษาศาสตร์จึงเป็นผู้ที่รู้ทฤษฎีทางภาษา และสามารถวิเคราะห์ภาษาใดๆ ก็ได้โดยไม่ต้องเป็นผู้ที่สามารถพูดภาษานั้นๆ ได้ และนักภาษาศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่รู้หลายภาษา ต่างจากผู้ที่สามารถพูดได้หลายๆ ภาษา (polyglot) ซึ่งอาจไม่รู้ทฤษฎีภาษา และไม่สามารถวิเคราะห์ภาษาตามแนวของภาษาศาสตร์ได้
๑. สมศรีเป็นนักเรียนตัวอย่างของโรงเรียนนี้เธอเป็นเด็กฉลาดและมีความขยันหมั่นเพียร เธอมาโรงเรียนแต่เช้าทุกวัน เมื่อมาถึงเธอจะนั่งอ่านหนังสือ ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนไปแล้ว หรือไม่เธอก็อ่านล่วงหน้าไปก่อนที่อาจารย์จะสอน
๒. สมศรีเป็นนักเรียนตัวอย่างของโรงเรียนนี้สุนัขสองตัววิ่งไล่กันในสนาม ประตูเปิดเวลาแปดนาฬิกา ถ้าฝนตกรถจะติด ที่นี่อาหารราคาไม่แพง มีคนมาสมัครเป็นจำนวนมาก ผู้หญิงคนนั้นสอนภาษาไทย เด็กๆ มาแต่เช้า
ประโยคในกลุ่มที่ ๑ มีความสัมพันธ์กันสื่อความต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกัน
ประโยคในกลุ่มที่ ๒ ไม่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ถึงแม้จะมีหลายประโยคก็ไม่ได้สื่อความเป็นเรื่อง หรือเป็นข้อความ
นักภาษาศาสตร์กล่าวว่า สิ่งที่บอกให้รู้ว่าประโยคต่างๆ มีความสัมพันธ์กันและสื่อข้อความเป็นเรื่องเดียวกัน ประการหนึ่งคือ การอ้างอิงถึงกันและกัน ซึ่งส่วนมากแล้วประโยคที่ตามหลังมักจะอ้างอิงถึงประโยคที่นำมาก่อน ดังในประโยคกลุ่มที่ ๑ คำว่า "เธอ" ในประโยคที่ตามมาล้วนอ้างอิงถึง "สมศรี" ในประโยคแรกทั้งสิ้น "เธอ"ทำให้ผู้อ่าน (ผู้รับสาร) ทราบได้ว่าข้อความในประโยคต่างๆ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ "สมศรี" คำว่าโรงเรียน" ก็มีใช้ ๒ ครั้งเป็นการย้ำบอกว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับ "โรงเรียน" นอกจากนี้คำว่า "นักเรียน" "โรงเรียน" "หนังสือ" "อาจารย์" "อ่าน""สอน" ก็ล้วนเป็นคำที่มีความสัมพันธ์กันในแง่ที่ว่าเป็นกลุ่มคำที่มักใช้ในบริบทของการเรียนการสอนในโรงเรียน และที่สำคัญมีคำเชื่อมความ "และ" "หรือไม่" บอกให้รู้ว่าข้อความในประโยคต่างๆ เหล่านี้เชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องกัน
ส่วนประโยคในกลุ่มที่ ๒ ไม่มีคำสรรพนามที่จะใช้อ้างอิงถึงคำนามในประโยคที่นำมาและไม่มีคำเชื่อมความระหว่างประโยค ทั้งคำศัพท์ที่ใช้ก็ไม่มีความสัมพันธ์กัน ประโยคทั้งหมดจึงไม่มีข้อความที่เกี่ยวเนื่องกัน และไม่สามารถสื่อความเป็นเรื่องได้
แรกทีเดียว "ภาษาศาสตร์" เป็นการศึกษาวิเคราะห์ถึงธรรมชาติและองค์ประกอบต่างๆ ของภาษาดังได้กล่าวมาแล้วนี้ แต่ต่อมานักภาษาศาสตร์ได้ขยายวงการศึกษาออกไป เนื่องจากนักภาษาศาสตร์สังเกตเห็นว่า คนในสังคมเดียวกันใช้ภาษาต่างกัน และคนๆ เดียวกันก็ใช้ภาษามากมายหลายแบบ หลายลีลา แตกต่างกันไปตามบริบท และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร ในที่สุดการศึกษาถึงความแตกต่างของภาษาในสังคมเดียวกันก็ได้กลายเป็นภาษาศาสตร์แขนงใหม่ที่เรียกว่าภาษาศาสตร์เชิงสังคม (Sociolinguistics)ส่วนการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของภาษานั้นมีมานานแล้ว แต่ภายหลังเมื่อเกิดมีทฤษฎีทางภาษาศาสตร์ขึ้น ผู้ที่ศึกษาถึงวิวัฒนาการของภาษาก็ได้นำทฤษฎีภาษาศาสตร์ไปใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลง และเรียกการศึกษาแขนงนี้ว่าภาษาศาสตร์เชิงประวัติ (Historical linguistics)การศึกษาถึงพัฒนาการการเรียนรู้ภาษาของเด็กและการเรียนภาษาที่สอง ในปัจจุบันนับเป็นส่วนหนึ่งของภาษาศาสตร์เชิงจิตวิทยา (Psycholinguistics)ภาษาศาสตร์แขนงต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีวิธีการศึกษาวิเคราะห์ภาษาและการตั้งคำถามที่แตกต่างกันไปวิธีการศึกษาวิเคราะห์ภาษาในด้านเสียง คำประโยคและข้อความ ของนักภาษาศาสตร์ที่ยกตัวอย่างมานี้ก็แตกต่างไปจากวิธีการของนักภาษากลุ่มอื่น เช่นอาจารย์ภาษาไทย ทั้งนี้เป็นเพราะนักภาษาศาสตร์ตั้งคำถามที่แตกต่างไป โดยทั่วไปนักภาษาศาสตร์มักศึกษาวิเคราะห์ภาษาเพื่อหาคำตอบให้กับคำถามที่ว่า "มนุษย์เรียนรู้ภาษาได้อย่างไร?" "มนุษย์ใช้และเข้าใจภาษาอย่างไร? " ต่างจากอาจารย์ภาษาไทยซึ่งมักจะถามว่า "ใช้ภาษาอย่างไรจึงจะถูกต้องเหมาะสม?"
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่า นักภาษาศาสตร์ (linguist) คือผู้ที่ศึกษาและวิเคราะห์ภาษาอย่างเป็นระบบ โดยใช้ทฤษฎีทางภาษา ผู้ที่เป็นนักภาษาศาสตร์จึงเป็นผู้ที่รู้ทฤษฎีทางภาษา และสามารถวิเคราะห์ภาษาใดๆ ก็ได้โดยไม่ต้องเป็นผู้ที่สามารถพูดภาษานั้นๆ ได้ และนักภาษาศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่รู้หลายภาษา ต่างจากผู้ที่สามารถพูดได้หลายๆ ภาษา (polyglot) ซึ่งอาจไม่รู้ทฤษฎีภาษา และไม่สามารถวิเคราะห์ภาษาตามแนวของภาษาศาสตร์ได้
ขอบคุณที่มา สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 22
- รับลิงก์
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี สวัสดีครับทุกท่าน ปัญหาการอ่านเขียนไม่คล่องของเด็กและเยาวชนของเรานับวันยิ่งมีปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น เรื่อย ๆ จนน่ากลัว การแก้ไขปัญหาภาษาไทยนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ของหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการศึกษาเสียแล้วครับ เมื่อหลายท่าน ทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ มีความเห็นตรงกันว่า จะปล่อยปะละเลยต่อปัญหานี้ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่ดี วันนี้ ครูเดชจึงได้นำไฟล์ตำราเรียน ที่แสนจะวิเศษ และผมเองกล้าการันตรีว่า หากนักเรียน หรือ ผู้ที่มีปัญหาภาษาไทย ได้ตั้งใจอ่าน ตั้งใจทำความเข้าใจ จะสามารถพัฒนาภาษาไทยไปได้อย่างดีเยี่ยมเลยครับ "มานะ มานี" นอกจากจะเป็นตำราภาษาไทย ที่คนที่มีอายุหลายท่านได้สัมผัสเรียนรู้ในวิชาภาษาไทยมาแล้ว ท่านจะทราบว่าตำราเรียนเล่มนี้ ไม่ได้มีแต่ความรู้ภาษาไทย อย่างเดียวไม่ หากแต่มีความน่าสนุก น่าสนใจ และความตื้นเต้น กลวิธีนี้เองล่ะครับ ที่ผมเห็นว่า เป็นอุบายล่อให้เด็กสนใจตำราเรียนได้เป็นอย่างดี ความสนุก ความเพลิดเพลิน เมื่อนักเรียนอ่านจบเล่ม ตัวละครก็จบชั้นเดียวกัน เมื่อเลื่อนชั้น นักเรี
แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1
แจกฟรี แบบฝึกหัดภาษาไทยใช่ควบคู่กับตำรามานะมานี ป. 1 คลิกที่ลิงก์เพื่อดาวน์โหลดครับ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 1-5 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 6-10 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 11-15 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 16-20 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 21-25 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 26-30 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 31-35 อยู่ในขณะจัดทำ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 36-40 อยู่ในขณะจัดทำ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยที่ออสเตรเลีย หาครูสอนภาษาไทยที่ญี่ปุ่น หาครูสอนภาษาไทยที่เวียดนาม หาครูสอนภาษาไทยที่อเมริกา หาครูสอนภาษาไทยที่เยอรมัน หาครูสอนภาษาไทยที่ฝรั่งเศส Learn Thai with native speakers. หาครูสอนภาษาไทยอ่านเขียน สอนอ่านหนังสือภาษาไทย สอนอ่านเขียน ลูกอ่านภาษาไทยไม่ออก หาครูแก้ไขภาษาไทย สถาบันสอนภาษาไทย โรงเรียนสอนภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทยนานาชาติ หาครูสอนภาษาไทยลูกครึ่ง หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนพิเศษ ห
กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์
ให้ติวเตอร์ใช้เขตพื้นที่เหล่านี้ เพื่อระบุพื้นที่ที่ท่านสามารถเดินทางไปสอนได้สะดวกครับ ศูนย์จะแจ้งงานให้ท่านทราบตามพื้นที่การเดินทางที่ท่านสะดวกครับ โปรดแจ้งตามความสะดวกจริง เพื่อความรวดเร็วในการรับงานสอนนะครับ 1.กลุ่มกรุงเทพกลาง ประกอบด้วย เขตพระนคร ดุสิต ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ดินแดง ห้วยขวาง พญาไท ราชเทวี และวังทองหลาง 2.กลุ่มกรุงเทพใต้ ประกอบด้วย เขตปทุมวัน บางรัก สาทร บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย วัฒนา พระโขนง สวนหลวง และบางนา 3. กลุ่มกรุงเทพเหนือ ประกอบด้วย เขตจตุจักร บางซื่อ ลาดพร้าว หลักสี่ ดอนเมือง สายไหม และบางเขน 4.กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ประกอบด้วย เขตบางกะปิ สะพานสูง บึงกุ่ม คันนายาว ลาดกระบัง มีนบุรี หนองจอก คลองสามวาและประเวศ 5.กลุ่มกรุงธนเหนือ ประกอบด้วย เขตธนบุรี คลองสาน จอมทอง บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย บางพลัด ตลิ่งชันและทวีวัฒนา 6.กลุ่มกรุงธนใต้ ประกอบด้วย เขตภาษีเจริญ บางแค หนองแขม บางขุนเทียน บางบอน ราษฎร์บูรณะและทุ่งครุ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยท