Featured post

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : ปราสาทผึ้ง ศิลปะงานช่าง ในศาสนา

ปราสาทผึ้ง  ศิลปะงานช่าง ในศาสนา
ความเป็นมา

ที่มาของปราสาทผึ้งก็คือ ระหว่างที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษา ณ ปารักขิตวัน ใกล้บ้านปาริไลยยกะ (ป่าเลไลยก์) ในพรรษาที่ ๙ โดยช้างปาริไลยกะกับลิงเป็นผู้อุปัฏฐาก ไม่มีมนุษย์อยู่เลย ตลอด ๓ เดือน ช้างจัดน้ำ และผลไม้ถวาย ลิงนำรวงผึ้งมาถวาย เมื่อพระองค์ทรงรับแล้วก็เสวย ลิงเห็นก็ดีใจมาก ขึ้นไปจับกิ่งไม้เขย่ากิ่งไม้หักตกลงมา ตอกไม้เสียบอกลิงตายไปเกิดเป็นเทพบุตรวิมาน
ครั้นถึงวันออกพรรษา พระพุทธเจ้าเสด็จสู่เมืองโกสัมพี ช้างคิดถึงพระพุทธเจ้ามาก หัวใจแตกตาย ไปเกิดเป็นเทพบุตรในวิมาน พระพุทธเจ้าทรงนึกถึงความดีของช้าง และลิง ที่เฝ้าอุปัฏฐากตลอดพรรษา 3 เดือน จึงทรงนำเอาผึ้งรวงมาเป็นดอกไม้ประดับในโครงปราสาท เป็นปราสาทที่เกิดขึ้นในจินตนาการของผู้ที่มารับ ระหว่างเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

อาจารย์ประสิทธิ์ คะเลรัมย์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เล่าว่า การทำปราสาทผึ้งในอีสาน นิยมทำกันมาแต่โบราณ ด้วยเหตุผลหรือคติที่ว่า เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อตั้งความปรารถนาไว้ หากเกิดในภพมนุษย์ขอให้มีปราสาทราชมณเฑียรอาศัยอยู่ด้วยความมั่งมีศรีสุข ถ้าเกิดในสวรรค์ขอ ให้มีปราสาทสวยงาม มีนางฟ้าแวดล้อมเป็นบริวาร เพื่อรวมพลังสามัคคีทำบุญทำกุศลร่วมกัน พบปะ สนทนากันฉันพี่น้อง เพื่อเป็นการประกาศหลักศีลธรรม ทำบุญทำกุศล

ลักษณะการทำปราสาทผึ้ง ตั้งแต่โบราณ ถึงปัจจุบัน (พอสังเขป)
ในอดีตการทำปราสาทผึ้งโบราณ เรียกว่า 'ต้นผึ้ง' หรือ 'ต้นเผิ่ง' ทำ โดยเอากาบของต้นกล้วยมาทำเป็นโครงจากนั้นก็ทำเอาดอกผึ้ง ที่ชาวบ้านจะนำขี้ผึ้งใส่ถ้วยหรือขัน ลงลอยในน้ำร้อนที่ตั้งไฟอ่อน ๆ ให้ขี้ผึ้งละลาย แล้วใช้ผลมะละกอดิบ มาปอกเปลือกตรงส่วนก้น ให้มีความเว้าคล้ายกลีบดอกไม้ จุ่มลงในขี้ผึ้งที่ละลายแล้ว ก่อนยกลงจุ่มในน้ำเย็น ดอกผึ้งก็จะหลุดล่อนออกมา ซึ่งทำได้หลายสีสัน โดยใช้ขี้ผึ้งสีต่างๆ กัน เช่น ขาว เหลืองอ่อน เหลืองเข้ม เหลืองแสด ฯลฯ เอาดอกผึ้งไปตกแต่งปราสาท ก็จะใช้ไม้กลัดเสียบดอกบานไม่รู้โรย วางลงตรงกลางดอกผึ้งเป็นเหมือนเกสรดอกไม้ รูปทรงของปราสาทผึ้งโบราณจะสร้าง ขึ้นจากโครงไม้ไผ่ ตกแต่งด้วยหยวกกล้วยที่แทงเป็นลวดลายหรือ รูปทรงต่าง ๆ เช่น ทรงตะลุ่ม ทรงหอมียอดประดับหลังคา ทรงสิมหรืออุโบสถแบบอีสาน เป็นต้น
ต่อมามีการคิดริเริ่มทำปราสาทผึ้งประยุกต์เริ่มขึ้นครั้งแรกที่ วัดแจ้งแสงอรุณโดยมีพระมหาปราสาท หรือพระที่นั่งบางปะอิน เป็นต้นแบบ โครงสร้างของปราสาทผึ้งประยุกต์ ทำขึ้นด้วยไม้ แล้วหล่อขี้ผึ้งเป็นลวดลายต่างๆ ที่สวยงาม นำไปปะติดลงใน โครงปราสาท ทำให้เกิดความสวยงามในด้านศิลปะต่างจากเดิม สร้างความตื่นตาตื่นใจแกผู้ร่วมงาน นับแต่นั้นเป็นต้นมา จึงเป็นมีการริเริ่มที่จะมีการทำและประกวดแข่งขันปราสาทผึ้งประยุกต์ขึ้นมา โดยให้แต่ละคุ้มวัดทำส่งเข้าประกวด มีทุนสนับสนุน จากทางผู้จัดงานส่วนหนึ่ง และได้รับจากส่วนราชการหรือประชาชนอีกส่วนหนึ่ง

นอกจากนี้ยังแบ่งรูปแบบของงานช่างปราสาทผึ้งเป็นยุคสมัยได้ดังนี้
ยุคต้นผึ้ง-หอผึ้ง
ชาวอีสานในบางท้องถิ่นที่เชื่อกันว่า การทาต้นผึ้ง ดอกผึ้ง ทำเพื่อเป็นพุทธบูชาให้กุศลแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ดังนั้นเมื่อมีญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงในหมู่บ้านถึงแก่วายชนม์ลงจึงพากันไปช่วยงานศพ (งานเฮือนดี) เท่าที่จะช่วยงานได้ ดังมีคากล่าวว่า "ผู้หญิงห่อข้าวต้ม ตัดตอก บีบข้าวปุ้น ผู้ชายหักหอผึ้ง" คาว่า หักหอผึ้ง ก็คือ การหักตอกทาต้นผึ้งนั่นเอง กล่าวกันว่าในการไปช่วยงานศพ หรืองานบุญแจกข้าวนั้นผู้ชายจะต้องนำพร้าติดตัวมาด้วย ทั้งนี้เพราะใช้ทางานทุกอย่างนับแต่ ถากไม้ตัดฟืนและจักตอกทาต้นผึ้ง หอผึ้งต้นผึ้ง ทาจากต้นกล้วยขนาดเล็ก ตัดให้ยาวพอสมควร แต่งลำต้น ก้านทาขาหยั่งสามขาให้ยึดต้นกล้วยเข้าไว้เพื่อตั้งได้ จากนั้นจะนาขี้ผึ้งมาเคี่ยวให้หลอม เหลวเพื่อใส่ลงในแม่พิมพ์ แม่พิมพ์ทาจากผลไม้ เช่น ผลสิมลี (สิมพี ส้มพอดี โพธิสะเล)
 นอกจากนี้ยังอาจให้ผลมะละกอขนาดเล็ก คว้านภายในแต่งให้เป็นดอกเป็นแฉกตามต้องการ จากนั้นก็นามาพิมพ์จุ่มขี้ผึ้งแล้วยกขึ้น นาไปแช่น้ำ ขี้ผึ้งจะหลุดออกจากพิมพ์เป็น ดอกดวงตามแบบแม่พิมพ์ การถวายหอผึ้ง แก่ภิกษุสงฆ์ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ว่าจะทาหอผึ้งจานวนกี่หอ บางแห่งลูกหลานผู้ตายก็จะทำเป็นของตนเอง คนละ ๑ หอ บางแห่งถือว่าจะต้องช่วยกันทำถวายพระสงฆ์ให้ครบทุกวัดที่นิมนต์มาสวดมนต์เย็นการฉลองหอผึ้งหลังจากสวดมนต์เย็น มีเทศนาให้เกิดบุญกุศล แล้วมีการฉลองสนุกสนานรื่นเริง วันรุ่งเช้าจึงถวายอาหารพระสงฆ์ แล้วถวายหอผึ้งเป็นเสร็จพิธี จะเห็นว่า ประเพณีแห่ต้นผึ้งดังกล่าว เป็นเรื่องราวที่มีคติความเชื่อมาจากงานบุญแจกข้าวโดยเฉพาะ แต่ต่อมาประเพณีดัง กล่าวได้ถูกจัดขึ้นให้ใหญ่โต ในกลุ่มชาวเมืองสกลนครที่มีคุ้มวัดต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้ - ไกล วัดพระธาตุเชิงชุมด้วยเหตุหลายประการ
ยุคปราสาทผึ้งทรงหอ
ปราสาทผึ้งทรงหอเล็ก ๆ มี ๒ รูปแบบ คือ ทรงหอมียอดประดับหลังคาและปราสาททรงสิม หรือศาลพระภูมิ ที่มีขนาดเตี้ย ป้อมกว่าชนิดแรก แต่ไม่มีหลังคาเรียงขึ้นเป็นยอดปราสาทชนิดหลังนี้พบเห็นในสกลนคร เมื่อไม่นานมานี้ ปราสาททรงหอมียอดประดับหลังคาแหลมสูง ปราสาทผึ้งแบบนี้ได้พัฒนาการทา โครง ให้เป็นโครงไม้ โดยใช้ไม้เนื้ออ่อนทาเป็น๔ เสา ทาสีหรือพันด้วยกระดาษสี เครื่องบนทา เป็นหลังคาคล้ายหมากแต่งหน้าจั่วด้วยหยวกกล้วย ประดับดอกผึ้ง ปลายสุดหลังคามีไม้ไผ่เหลาให้ แหลมประดับหยวกกล้วยติดดอกผึ้งลดหลั่นขนาดตาม ลำดับ
 แม้ชาวอีสานจะเรียก "ต้นผึ้ง" แต่รูปทรงที่ทาขึ้นก็เป็นทรงปราสาทดังปรากฏในพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพกล่าวไว้เมื่อเสด็จ มาถึงพระธาตุพนม เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๔๕๐  ว่า "มีราษฎรตำบลใกล้เคียงพากันมา หามากต่อมาก เหมือนอย่างมีนักขัตฤกษ์สาหรับปี และตระเตรียมกันแห่ปราสาทผึ้ง และจุดดอกไม้เพลิง ให้อนุโมทนาด้วยเวลาบ่าย 4 โมงาษฎรแห่ปราสาท ผึ้งและบ้องไฟเป็นกระบวนใหญ่เข้าประตูชานชาลา พระเจดีย์ด้านตะวันตก แห่ประทักษิณองค์พระธาตุ สามรอบกระบวนแห่นั้น คือ ผู้ชายและเด็กเดินข้าง หน้าหมู่หนึ่ง แล้วมีพิณพาทย์ต่อไปถึงบุษบก แล้วมีรถบ้องไฟ ต่อมามีปราสาทผึ้ง คือ แตกหยวกกล้วยเป็นรูปทรงปราสาทแล้วมีดอกไม้ ทำด้วยขี้ผึ้งเป็นเครื่องประดับ มีพิณพาทย์ ฆ้องกลอง แวดล้อมแห่มาและมีชาย หญิง เดินตามเป็น ตอน ๆ กันหลายหมู่และมีกระจาดประดับประดาอย่าง กระจาดผ้าป่า ห้อยด้วยไส้เทียนและไหมเข็ด เมื่อ กระบวน แห่เวียนครบสามรอบแล้วได้นำปราสาทผึ้ง ไปตั้งถวายพระมหาธาตุ ราษฎรก็ยังนั่งประชุมกัน เป็นหมู่ ๆ ในลานพระมหาธาตุ คอยข้าพระพุทธ เจ้าจุดเทียนนมัสการ แล้วรับศีลด้วยกันพระสงฆ์ มีพระครูวิโรจน์รัตโนบลเป็นประธานเจริญพระพุทธ มนต์ เวลาค่าม มีการเดินเทียนและจุดบ้องไฟ ดอกไม้พุ่ม และมีเทศน์กัณฑ์หนึ่ง
" ปราสาทผึ้งทรงสิมหรือทรงศาลพระภูมิ ปราสาทผึ้งทรงนี้ ลดความสูงลงไม่สูง เท่าชนิดแรก หลังคาเปลี่ยนไป มีเจ้าจั่ว สี่ด้านคล้ายเป็นทรงจัตุรมุขเหมือนสิมของวิหารทั่ว ไป สันนิษฐานว่า ปราสาทชนิดนี้จะออกแบบตามลักษณะ ของสิมพื้นบ้านในภาค อีสาน การประดับตกแต่ง ยังใช้วิธีการแทงหยวกประดับป้านลม ช่อฟ้าใบระกา พร้อมดอกผึ้งตัดหยวกตามส่วนต่าง ๆ ทั้งส่วน บน และส่วนล่าง เช่น เสาฐาน ภายในตัวประสาท นอกจากนี้ยังวางเครื่องธรรมทานภายในปราสาท ช่างพื้นบ้านบางรายแทงกาบกล้วย เป็นพระธรรมจักร ประดับดอกผึ้งติดไว้แทนสัญลักษณ์พุทธศาสนา

ยุคปราสาทผึ้งเรือนยอด
พระมหาวารีย์ กล่าวใน "ประวัติการทาปราสาทผึ้ง" ตอนหนึ่งสรุปความว่าแต่เดิมเมื่อมีชุมชนเกิดขึ้น รอบ ๆ วัดพระธาตุเชิงชุม ประชาชนบางตำบล เช่น ตำบลงิ้วด่อน ได้รับหน้าที่เป็นผู้รักษาปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุเชิงชุม ที่เรียกว่า "ข้าพระธาตุ" ครัวเหล่านี้ไม่ต้องเสียเงินส่วนให้หลวง ต่อมาพระเถระผู้เป็นเจ้าคณะตำบลงิ้วดอนมีลูกศิษย์และประชาชนในตำบลใกล้เคียงเลื่อมใสมากขึ้น จึงได้ชักชวนเจ้าอาวาสและประชาชนที่อยู่ในตำบลใกล้เคียง คือ ตำบลดงชน ตำบลดงมะไฟ ตำบลห้วยยาง ตำบลโดนหอม ตำบลบึงทะวาย ตำบลเต่างอย เข้ามาร่วมเป็นข้าพระธาตุด้วย และแม้ว่าในเวลาต่อมาได้มีการยกเลิกหมู่บ้านข้าพระธาตุให้ทุกคนเสียภาษีแก่ท้องถิ่นแล้วก็ตาม แต่ชาวบ้านรอบนอก ๆ ก็ยังมีประเพณีทาบุญถวายพระธาตุในช่วงข้างขึ้น เดือน ๑๑ ของทุกปี ในช่วงวันขึ้น ๑ ค่า ถึงวันขึ้น ๑๓ ค่า เป็นช่วงนาข้าวเม่าและต้นผึ้งมาถวายองค์พระธาตุเชิงชุม โดยมีความหมายถึงการขอลาองค์พระธาตุไปอยู่ในนาเก็บเกี่ยวข้าว ลักษณะรูปทรงปราสาทเรือนยอด รูปแบบปราสาทผึ้งที่ทาด้วยไม้ไผ่เหลาเป็นเส้น หรืออาจทาด้วยโครงไม้ระแนงมีดอกผึ้งประดับตามกาบกล้วย
ซึ่งใช้ศิลปะการ แทงหยวกได้เปลี่ยนไปจากเดิมในราว พ.ศ. ๒๔๙๖ โดยคณะกรรมการจัดงานประกวดปราสาทผึ้งเทศบาลสกลนคร เห็นว่าไม่ สามารถพัฒนารูปแบบลวดลายองค์ประกอบให้วิจิตรพิสดารได้จึงได้เปลี่ยนเป็นการทาปราสาทผึ้งโดยทาปราสาทเป็นโครงไม้ เป็นทรง ปราสาทจัตุรมุขมีเรือนยอดเรียวหรือที่เรียกวา "กุฎาคาร" ตัวอาคารทั้งสี่ด้านต่อเป็นมุขยื่นออกไปมีขนาดเท่ากัน บางแห่งสร้าง ปราสาท ๓ หลัง ติดกัน นอกจากนี้ยังเน้นความประณีต ในการตกแต่งลวดลายการทาปราสาทผึ้งโดยทาปราสาทเป็นโครงไม้ เป็นทรงปราสาทจัตุรมุขมีเรือนยอดเรียว หรือที่เรียกว่า "กุฎาคาร" ตัวอาคารทั้งสี่ด้านต่อเป็นมุขยื่นออกไปมีขนาดเท่ากัน บางแห่ง สร้างปราสาท ๓ หลังติดกัน นอกจากนี้ยังเน้นความประณีต ในการตกแต่ง ลวดลาย

การทำปราสาทผึ้ง ชาวคุ้มวัดต่างๆ ร่วมกับข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน บริจาคเงินตามศรัทธาทำปราสาท ในตอนกลางคืนของวันขึ้น ๑๓  ค่ำ ก่อนวันทำการ ขบวนปราสาทผึ้งชาวคุ้มต่างๆ จะนำปราสาทผึ้งของตนที่ตกแต่งอย่างสวยงาม ประดับโคมไฟหลากสี มาตั้งประกวดแข่งขันกัน ณ สนามมิ่งเมืองเพื่อให้ประชาชนได้ชมความสวยงามอย่างใกล้ชิด
ส่วนเทศกาลปราสาทผึ้ง กำหนดเอาวันเทศกาลออกพรรษาเป็นวันจัดงาน วันแรกแข่งเรือ วันที่สองแห่ปราสาทผึ้ง วันที่สามทำบุญออกพรรษา กลางคืนมีการสมโภชตามสมควร ในวันออกพรรษา หลังจากที่ได้มีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้าเรียบร้อยแล้ว ก็จะเริ่มจัดขบวนแห่ปราสาทผึ้ง มีปราสาทผึ้งและเทพีนั่งอยู่บนรถขบวน มีการฟ้อนรำของชาวบ้านและเหล่าสาวงาม เหล่าผู้เฒ่าผู้แก่และคนหนุ่มสาวชาวคุ้มต่างๆ จะร่วมเดินในขบวน ถือธูปเทียนแห่รอบพระธาตุเชิงชุม ทำใจให้เป็นสมาธิถวายเป็นพุทธบูชา

นอกจากจะเห็นความยิ่งใหญ่ของขบวนแห่ประสาทผึ้งที่สวยงานตระการตาแล้ว ยังจะได้ชมการแสดงรำหางนกยูง การแสดงมวยไทยโบราณ การแสดงชนเผ่าย้อ ชนเผ่าลาว ชนเผ่าภูไท ชนเผ่าโย้ย กระเลิง เผ่าโล้ ซึ่งแต่ละเผ่าจะมีเอกลักษณ์ของตัวเอง และจะหาดูไม่ได้ง่ายๆ แล้วในปัจจุบัน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี

แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1

กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์