Featured post

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : โคมล้านนา ศิลปะงานช่าง ในศาสนา

โคมล้านนา  ศิลปะงานช่าง ในศาสนา
ความเป็นมา
โคมไฟล้านนา หรือโกมล้านนา เป็นงานหัตถกรรมพื้นเมืองจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดต่อกันมาและได้ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นเพื่ออนุรักษ์ให้คงอยู่สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันในภาคเหนือ ด้วยเหตุที่การดำรงชีวิตของคนล้านนาผูกพันกับศาสนา การสร้างผลงานทางศิลปะจึงมีแรงบันดาลใจจากความศรัทธา ปัจจุบันชาวล้านนานิยมนำมาใช้ในงานพิธีกรรมต่างๆ โดยเฉพาะในงานประเพณียี่เป็ง หรือ ประเพณีลอยกระทง นิยมจุดโคมค้าง หรือโคมที่ติดแขวนไว้บนที่สูง ทำด้วยไม้ไผ่และกระดาษสร้างเป็นโคมทรงกลมหักมุมเรียกว่า "โคมรังมดส้ม" ใช้ประดับตกแต่งมีเทียนและประทีปเพื่อเป็นการสักการะบูชาพระพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง (ยี่เป็งล้านนา) และเชื่อว่าเป็นการบวงสรวงพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ ซึ่งถือว่าเมื่อได้กระทำเช่นนี้แล้ว แสงประทีปจากโคมจะช่วงส่งประกายให้การดำเนินชีวิตเจริญรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุข ชาวล้านนาจึงนิยมปล่อยโคมไฟขึ้นฟ้าและจุดประทีปตามบ้านเรือนในปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้โคมไฟมาทำเป็นเครื่องประดับตามอาคารบ้านเรือน และสถานที่ต่าง ๆ เพื่อความสวยงาม อีกทั้งยังช่วยสืบสานและอนุรักษ์เอกลักษณ์งานหัตถกรรมโคมล้านนาให้คงอยู่สืบ


โคมล้านนาประเภทต่าง ๆ และงานช่างในการทำโคมล้านนา
โกมผัด หรือ โคมหมุน  (ภูมิปัญญาการใช้แรงดันอากาศ)


 โกมผัด หรือ โคมหมุน เป็นโคมที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยชาวไทยล้านนา หรือทางสิบ
สองปันนาได้หนีอพยพเข้ามาในภาคเหนือ เป็นพวกลื้อ มอญ ซึ่งได้นำประเพณีการทำโคมผัดเข้ามา เวลามีงานประจำปีหรืองานตามวัด ก็ได้ทำโคมผัดตั้งไว้ให้คนดูแทนหนัง ซึ่งสมัยก่อนยังไม่มีภาพยนตร์ โคมผัดจึงคล้ายหนังตะลุง มีลักษณะทรงกระบอกกว้าง 12 นิ้ว ยาว 30 นิ้ว หุ้มด้วยกระดาษสาหรือกระดาษสีขาว โคมนี้สามารถหมุนได้ ทางภาคกลางจึงเรียกว่า "โคมเวียน" ด้านในจะมีไม้หรือด้ายโยงเข้ามาแกนกลาง ซึ่งทำเป็นมุมแหลมดังหัวจรวด ใส่ไว้ในก้นถ้วยหรือภาชนะที่มีร่องกลมพอเหมาะเพื่อให้โคมผัดหมุนไปรอบ ๆ ด้วยแรงเทียน เมื่อจุดเทียนซึ่งติดตั้งไว้กลางโคมความร้อนจากเปลวเทียนจะไปกระทบแถบกระดาษและผลักให้ส่วนที่เป็นโครงครอบนั้นให้หมุนจะทำให้เห็นเงาปรากฏเป็นรูปต่าง ๆ เวียนไปรอบ ๆ ซึ่งนับเป็นนิทรรศการในลักษณะของโบราณอย่างง่าย ๆ สำหรับในปัจจุบัน โคมผัดได้มีการประยุกต์ใช้แรงหมุนจากแรงเทียนมาใช้เป็นแรงจากมอเตอร์ไฟฟ้าแทน เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และง่ายต่อการเก็บรักษา
การทำโคมผัดสะหล่า (ช่าง) จะหาไม้ไผ่ที่เหนียว เช่น ไผ่บง ไผ่สีสุก ไผ่ซาง ฯลฯ อย่างใดอย่างหนึ่งมาจักเป็นตอกกว้างประมาณ 1 เซนติเมตรยาวประมาณ 30 เซนติเมตร พยายามเหลาให้บางที่สุด จำนวน 12-14 เส้น แล้วแต่สะหล่าจะทำ หลังจากนั้นในสมัยก่อนจำใช้ใบลานมาเหลาเป็นเส้นตามความยาวของซี่ที่ทำไว้ แต่ให้ความกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร มาติดซี่ไม้ให้แนบสนิททุกอันเตรียมไว้ (ตัวในลานนี้เองจะเป็นเสมือนใบพัดที่ต้ามลมให้โกมผัดหมุน แต่ปัจจุบันจะใช้แผ่นฟลอยด์ที่ทนความร้อนแทนใบลาน)
เมื่อได้ซี่ไม้แล้ว ต่อไปจะหาไม้ที่มีนํ้าหนักเบา เช่น ไม้ปอ ไม้สา ไม้งิ้ว (นุ่น) มาเป็นหัวโกมผัด โดยการเหลาให้กลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7 เซนติเมตรทำตรงกลางให้ป่องออกมาคล้ายหัวจ้อง (ร่ม) ตรงกลางป่องนี้เองเจาะรูเท่ากับขนาดของซี่ไม้เพื่อนำซี่ไม้มาสอดติด การเจาะรูดังกล่าวต้องให้เอียงประมาณ 45 องศาทุกรู เสร็จแล้วนำเส้นตอกที่ติดใบลานมาสอดติดกาวให้หัวซี่ไม้ติดกับรูหัวโกมผัดให้แน่นทุกซี่โดยรอบ ก็จะได้โครงหัวโกมผัดมีลักษณะคล้ายหัวจ้อง (ร่ม) ต่อไปทำสายร้อยผูกดึง
การทำสายร้อยผูกดึง คือ การที่นำด้ายเหนียวมาผูกซี่ไม้แต่ละซี่ให้ห่างกันตามความต้องการหรือความเหมาะสม เพื่อให้ไม้ซี่ดึงกันและกันคล้ายเฝือก จุดที่จะร้อยคือตรงกลางซี่โดยรอบและสุดท้ายอหรือปลายซี่โดยรอบ ก็จะโครงหัวโกมผัดลงตอกตะปูให้แน่น
ต่อไปนำหัวโครงโกมผัดลองวางบนเสา เพื่อจะทำวงด้านล่างและโครงด้านข้าง โดยการวัดขอบวงบนได้เท่าใด นำมาเป็นขนาดวงล่าง แล้วงนำไม้ตอกมาขดเป็นวงตามขนาดวงบนแล้ววางที่พื้นเพื่อสานด้ายและเสาคํ้า
การทำเสาคํ้าจะนำเส้นตอกยาวเท่ากับความสูงของวงบนและวงล่าง เส้นตอกดังกล่าวจะเหลาให้บางเบาจำนวน๖ เส้นนำมาผูกเชื่อมวงบนและล่าง เป็นระยะห่างเท่าหันโดยรอก ก็จะได้โครงโคมผัดมีลักษณะด้านบนเป็นซี่ไม้ ด้านข้างเป็นซี่ไม้ เส้นด้านล่างมีปากเป็นวงกลม เสร็จแล้วนำด้ายเหนียวมาขึงจากข้างลงมาผูกขอบด้านล่างย้อนสลับขึ้นไปเป็นฟันปลาโดยรอบ ให้เป็นรูปทรงกระบอก ทดลองหมุนโครงซี่ไม้เมื่อเที่ยงตรงดีแล้วต่อไปก็ทำเข็ม
การทำเข็มสมัยก่อนจะใช้ไม้แข็ง เช่นไม้เกล็ด หรือเขาสัตว์มาเหลาแต่ปัจจุบันมีเหล็ก หรือเข็มหมุด จึงใช้เหล็กแทนไม้ โดยการตัดเหล็กหรือเข็มหมุดยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ฝังไว้ตรงจุดศูนย์กลางแกนหัวโครงให้แน่น แล้วทดลองนำมาวางบนหัวเสา โดยให้เข็มอยู่บนศูนย์กลางหัวเสาให้มากที่สุด ทดลองหมุนเบาๆ เมื่อได้ที่แล้วจึงทำหม้อง (หลุมเล็ก) ฝังวัสดุที่มีลักษณะลื่นไหล เรียกว่าตั๋วมื่น (ตัวลื่น) สมัยโบราณตัวลื่นจะทำด้วยแผ่นหินเล็กๆนำมาฝนให้หน้าเรียบ ต่อมาเปลี่ยนเป็นเศษเครื่องปั้นดินเผาที่มีผิวเป็นมัน ต่อมา เมื่อมีขวดหรือแก้ว จะใช้เศษขวด เศษแก้วมาทำเป็นตัวมื่น โดยการทุบให้เป็นแผ่นกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งเซ็น นำมาฝังในรูหัวเสาเพื่อรองรับเข็ม เมื่อฝังตัวมื่นแล้วต่อไปทดลองนำหัวโกมผัดมาวาง โดยให้ปลายเข็มวางบนตัวมื่น ลองใช้มือหมุนดูว่าคล่องตัวหรือไม่ เมื่อได้ที่แล้วต่อไปทำตัวละคร
การทำตัวละคร แต่ก่อนนิยมทำรูปตั๋วเปิ้ง (รูปสัตว์ตามปีต่างๆ) จนครบ ๑๒ปี ตั้งแต่รูปหนู วัว ไปจนถึงรูปหมู เพื่อแสดงว่าในแต่ละรอบ ๑๒ ปีนั้นมีอะไรบ้าง โกมจะผัดหมุนเวียนให้เห็น
ความเป็นไปอายุขัยของคนเราย่อมหมุนเคลื่อนไหวอย่างไม่หยุดยั้ง จนกระทั่งวันตาย บางคนทำเป็นรูม้าวิ่ง ชาวนากำลังไถนาบ้าง เป็นรูปนกบินบ้าง เป็นรูปเสือไล่กวางบ้าง
วิธีการทำตัวละคร
สะหล่าจะตัดกระดาษให้เป็นรูปที่ต้องการ แล้วนำมาติดกับโครงเส้นด้ายด้านข้างของโคมผัดเพื่อบังแสงไฝสะท้อนเงานออกมาติดฉากวงกลมล้อมตัวโกมผัด บางคนก็ทำเป็นกล่องสี่เหลี่ยม แต่ในที่นี้จะขอพูดถึงแบบวงกลมเท่านั้
การทำฉากรับเงาภาพแบบวงกลม สะหล่าจะวัดด้านนอกของตัวโกมผัดออกมาประมาณ ๑๐ นิ้ว นำเส้นตอกมาม้วนเป็นวงกลมสองวง ตามขนาดที่วัดไว้แล้ว ตัดไม้ขนาดกว้าง ๑  เซนติเมตร สูงเท่ากับตัวกลมผัดืหรือสูงกว่าเล็กน้อยเพื่อตกแต่งก็แล้วแต่สะหล่า ตัดไม้ดังกล่าวจำนวน อัน มาทำเป็นโครงข้าง ผูกเป็นเสาเชื่อมวงกลมไม้ด้านบนและล่าง โดยให้เสาห่างมีระยะเท่าๆ กัน ก็จะได้โครงฉากไม้ทรงกระบอก ทดลองวางคร่อมตัวโคมผัดดู เมื่อเห็นว่าโครงฉากโคมผัดได้ที่แล้วนำกระดาษสาสีขาวแผ่นบางมาติดโดยรอบตัวโครงฉากให้ทั่ว ก็จะได้ฉากวงกลมล้อมรอบตัวโคมผัด
เมื่อทำเสร็จเรียบร้อยทุกขั้นตอนแล้ว ก็จะเป็นการจุดไฟทดลองโคมให้ผัด โดยการจุดเทียนเล่มขนาดเท่าหัวแม่มือวางไว้ใกล้ๆ เสาภายในโคมผัด เมื่ออากาศภายในโคมผัดร้อน จะลอยตัวขึ้น อากาศรอบ ๆ จะพัดเข้าหา ปะทะกับซี่โครงด้านบนให้โคมหมุน ขณะที่โคมหมุนแสงไฟจากเทียนจะส่องเอาภาพต่างๆ ที่เคลื่อนไหว เช่นเสือไล่กวาง ม้าวิ่ง เป็นต้น


โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี

แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1

กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์