Featured post
เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม :การสร้างเครือข่ายในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
การสร้างเครือข่ายในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
การพัฒนาด้านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรต่างๆในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดย นายไพฑูรย์ พงศะบุตร
หลักการสำคัญอย่างหนึ่งของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คือ จะต้องมีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในทุกระดับระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน กับผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวและชุมชนในท้องถิ่น ฉะนั้น การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรต่างๆจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการร่วมมือของชุมชนในท้องถิ่น เป็นสิ่งที่จะขาดเสียมิได้
ในปัจจุบันมีรูปแบบของการท่องเที่ยว เชิงนิเวศที่ให้นักท่องเที่ยวมีโอกาสได้สัมผัส และเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนในท้องถิ่น โดยการพานักท่องเที่ยวไปเยือนหรือพักแรมในหมู่บ้าน ได้เห็นการประกอบอาชีพและการสร้างผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่น เช่น การพาไปชมโรงงานผลิตสินค้าประเภทหัตถกรรมหรือผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อของท้องถิ่น การพาไปชมสวนผลไม้ โดยจะได้รับการต้อนรับจาก เจ้าของสวนโดยตรง และสามารถเก็บผลไม้รับประทานได้เองตามใจชอบ และการพาไปชมพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นนั้นๆ
วิธีหนึ่งที่จะให้นักท่องเที่ยวได้มีความใกล้ชิดกับวิถีชีวิตของชุมชนในท้องถิ่นคือ การพักแรมในบ้านของชุมชน ที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า โฮมสเตย์ (homestay) อันที่จริงแล้วการให้แขกมาพักแรมที่บ้านเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่คนไทยปฏิบัติกันมาช้านานแล้ว แต่ส่วนใหญ่จำกัดอยู่เฉพาะใน หมู่เพื่อนฝูงและวงศาคณาญาติ การให้นักท่องเที่ยวซึ่งเป็นคนแปลกหน้ามาพักอยู่ในบ้าน จึงเป็นสิ่งแปลกใหม่ แต่ก็คงจะปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมของคนไทย ซึ่งมีความเป็นมิตรไมตรีเป็นพื้นฐานอยู่แล้วได้ไม่ยากนัก ขณะนี้มีสมาคมและกลุ่มบุคคลต่างๆพยายาม สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดที่พักแรม ในบ้านของชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวบางแห่งแล้ว และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีทั้งจาก นักท่องเที่ยว และจากชุมชนในท้องถิ่นนั้นๆ
ตามหลักการของการพักแรมในบ้านของชุมชน นักท่องเที่ยวต้องพร้อมที่จะพักอยู่ในบ้าน ซึ่งจัดสิ่งอำนวยความสะดวกไว้ให้เท่าที่จำเป็น ไม่หรูหราหรือสะดวกสบายเท่ากับการพักในโรงแรมชั้นดี แต่จะได้สัมผัสกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนนั้นอย่างแท้จริง อันเป็นการเรียนรู้ทางด้านสังคมและวัฒนธรรมจากประสบการณ์ในการท่องเที่ยวโดยตรง ส่วนเจ้าของบ้านที่จัดให้นักท่องเที่ยวพักแรมอยู่กับตน ถึงแม้จะ มีรายได้จากการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวเป็นการตอบแทน แต่ก็ต้องไม่มุ่งหวังผลประโยชน์ในเชิงธุรกิจมากเกินไป จนทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความรู้สึกว่าถูกเอารัดเอาเปรียบ และไม่ไว้วางใจ พร้อมกันนั้นก็ต้องระมัดระวังดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่ นักท่องเที่ยวด้วย เพื่อให้นักท่องเที่ยวพักแรม อยู่ด้วยความมั่นใจ และประทับใจในความเป็นมิตรไมตรีของคนในท้องถิ่น
โดยสรุป กล่าวได้ว่า ในปัจจุบันการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นการท่องเที่ยวในรูปแบบหนึ่งซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประเทศ ต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย และจากการที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้พุทธศักราช ๒๕๔๕ หรือคริสต์ศักราช ๒๐๐๒ เป็นปีสากลแห่งการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (International Year of Ecotourism) ย่อมแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการท่องเที่ยวประเภทนี้ในวงการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ของโลกอย่างเด่นชัด
ขอขคุณที่มา : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 27
ในปัจจุบันมีรูปแบบของการท่องเที่ยว เชิงนิเวศที่ให้นักท่องเที่ยวมีโอกาสได้สัมผัส และเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนในท้องถิ่น โดยการพานักท่องเที่ยวไปเยือนหรือพักแรมในหมู่บ้าน ได้เห็นการประกอบอาชีพและการสร้างผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่น เช่น การพาไปชมโรงงานผลิตสินค้าประเภทหัตถกรรมหรือผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อของท้องถิ่น การพาไปชมสวนผลไม้ โดยจะได้รับการต้อนรับจาก เจ้าของสวนโดยตรง และสามารถเก็บผลไม้รับประทานได้เองตามใจชอบ และการพาไปชมพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นนั้นๆ
วิธีหนึ่งที่จะให้นักท่องเที่ยวได้มีความใกล้ชิดกับวิถีชีวิตของชุมชนในท้องถิ่นคือ การพักแรมในบ้านของชุมชน ที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า โฮมสเตย์ (homestay) อันที่จริงแล้วการให้แขกมาพักแรมที่บ้านเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่คนไทยปฏิบัติกันมาช้านานแล้ว แต่ส่วนใหญ่จำกัดอยู่เฉพาะใน หมู่เพื่อนฝูงและวงศาคณาญาติ การให้นักท่องเที่ยวซึ่งเป็นคนแปลกหน้ามาพักอยู่ในบ้าน จึงเป็นสิ่งแปลกใหม่ แต่ก็คงจะปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมของคนไทย ซึ่งมีความเป็นมิตรไมตรีเป็นพื้นฐานอยู่แล้วได้ไม่ยากนัก ขณะนี้มีสมาคมและกลุ่มบุคคลต่างๆพยายาม สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดที่พักแรม ในบ้านของชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวบางแห่งแล้ว และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีทั้งจาก นักท่องเที่ยว และจากชุมชนในท้องถิ่นนั้นๆ
ตามหลักการของการพักแรมในบ้านของชุมชน นักท่องเที่ยวต้องพร้อมที่จะพักอยู่ในบ้าน ซึ่งจัดสิ่งอำนวยความสะดวกไว้ให้เท่าที่จำเป็น ไม่หรูหราหรือสะดวกสบายเท่ากับการพักในโรงแรมชั้นดี แต่จะได้สัมผัสกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนนั้นอย่างแท้จริง อันเป็นการเรียนรู้ทางด้านสังคมและวัฒนธรรมจากประสบการณ์ในการท่องเที่ยวโดยตรง ส่วนเจ้าของบ้านที่จัดให้นักท่องเที่ยวพักแรมอยู่กับตน ถึงแม้จะ มีรายได้จากการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวเป็นการตอบแทน แต่ก็ต้องไม่มุ่งหวังผลประโยชน์ในเชิงธุรกิจมากเกินไป จนทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความรู้สึกว่าถูกเอารัดเอาเปรียบ และไม่ไว้วางใจ พร้อมกันนั้นก็ต้องระมัดระวังดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่ นักท่องเที่ยวด้วย เพื่อให้นักท่องเที่ยวพักแรม อยู่ด้วยความมั่นใจ และประทับใจในความเป็นมิตรไมตรีของคนในท้องถิ่น
โดยสรุป กล่าวได้ว่า ในปัจจุบันการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นการท่องเที่ยวในรูปแบบหนึ่งซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประเทศ ต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย และจากการที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้พุทธศักราช ๒๕๔๕ หรือคริสต์ศักราช ๒๐๐๒ เป็นปีสากลแห่งการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (International Year of Ecotourism) ย่อมแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการท่องเที่ยวประเภทนี้ในวงการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ของโลกอย่างเด่นชัด
ขอขคุณที่มา : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 27
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี สวัสดีครับทุกท่าน ปัญหาการอ่านเขียนไม่คล่องของเด็กและเยาวชนของเรานับวันยิ่งมีปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น เรื่อย ๆ จนน่ากลัว การแก้ไขปัญหาภาษาไทยนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ของหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการศึกษาเสียแล้วครับ เมื่อหลายท่าน ทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ มีความเห็นตรงกันว่า จะปล่อยปะละเลยต่อปัญหานี้ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่ดี วันนี้ ครูเดชจึงได้นำไฟล์ตำราเรียน ที่แสนจะวิเศษ และผมเองกล้าการันตรีว่า หากนักเรียน หรือ ผู้ที่มีปัญหาภาษาไทย ได้ตั้งใจอ่าน ตั้งใจทำความเข้าใจ จะสามารถพัฒนาภาษาไทยไปได้อย่างดีเยี่ยมเลยครับ "มานะ มานี" นอกจากจะเป็นตำราภาษาไทย ที่คนที่มีอายุหลายท่านได้สัมผัสเรียนรู้ในวิชาภาษาไทยมาแล้ว ท่านจะทราบว่าตำราเรียนเล่มนี้ ไม่ได้มีแต่ความรู้ภาษาไทย อย่างเดียวไม่ หากแต่มีความน่าสนุก น่าสนใจ และความตื้นเต้น กลวิธีนี้เองล่ะครับ ที่ผมเห็นว่า เป็นอุบายล่อให้เด็กสนใจตำราเรียนได้เป็นอย่างดี ความสนุก ความเพลิดเพลิน เมื่อนักเรียนอ่านจบเล่ม ตัวละครก็จบชั้นเดียวกัน เมื่อเลื่อนชั้น นักเรี...
แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1
แจกฟรี แบบฝึกหัดภาษาไทยใช่ควบคู่กับตำรามานะมานี ป. 1 คลิกที่ลิงก์เพื่อดาวน์โหลดครับ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 1-5 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 6-10 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 11-15 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 16-20 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 21-25 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 26-30 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 31-35 อยู่ในขณะจัดทำ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 36-40 อยู่ในขณะจัดทำ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยที่ออสเตรเลีย หาครูสอนภาษาไทยที่ญี่ปุ่น หาครูสอนภาษาไทยที่เวียดนาม หาครูสอนภาษาไทยที่อเมริกา หาครูสอนภาษาไทยที่เยอรมัน หาครูสอนภาษาไทยที่ฝรั่งเศส Learn Thai with native speakers. หาครูสอนภาษาไทยอ่านเขียน สอนอ่านหนังสือภาษาไทย สอนอ่านเขียน ลูกอ่านภาษาไทยไม่ออก หาครูแก้ไขภาษาไทย สถาบันสอนภาษาไทย โรงเรียนสอนภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทยนานาชาติ หาครูสอนภาษาไทยลูกครึ่ง หาครูสอ...
กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์
ให้ติวเตอร์ใช้เขตพื้นที่เหล่านี้ เพื่อระบุพื้นที่ที่ท่านสามารถเดินทางไปสอนได้สะดวกครับ ศูนย์จะแจ้งงานให้ท่านทราบตามพื้นที่การเดินทางที่ท่านสะดวกครับ โปรดแจ้งตามความสะดวกจริง เพื่อความรวดเร็วในการรับงานสอนนะครับ 1.กลุ่มกรุงเทพกลาง ประกอบด้วย เขตพระนคร ดุสิต ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ดินแดง ห้วยขวาง พญาไท ราชเทวี และวังทองหลาง 2.กลุ่มกรุงเทพใต้ ประกอบด้วย เขตปทุมวัน บางรัก สาทร บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย วัฒนา พระโขนง สวนหลวง และบางนา 3. กลุ่มกรุงเทพเหนือ ประกอบด้วย เขตจตุจักร บางซื่อ ลาดพร้าว หลักสี่ ดอนเมือง สายไหม และบางเขน 4.กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ประกอบด้วย เขตบางกะปิ สะพานสูง บึงกุ่ม คันนายาว ลาดกระบัง มีนบุรี หนองจอก คลองสามวาและประเวศ 5.กลุ่มกรุงธนเหนือ ประกอบด้วย เขตธนบุรี คลองสาน จอมทอง บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย บางพลัด ตลิ่งชันและทวีวัฒนา 6.กลุ่มกรุงธนใต้ ประกอบด้วย เขตภาษีเจริญ บางแค หนองแขม บางขุนเทียน บางบอน ราษฎร์บูรณะและทุ่งครุ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หา...