Featured post

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : ทฤษฎีการแก้ตัวกับการฉ้อฉลในการเรียน

ทฤษฎีการแก้ตัวกับการฉ้อฉลในการเรียน

ขอขอบคุณ : รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์
  แก้ไขอ่านเขียนไทยไม่ออก เรียนพิเศษภาษาไทย เรียนอ่านเขียนไทยประถม เรียนพิเศษส่วนตัวภาษาไทย หาที่เรียนภาษาไทย ครูสอนพิเศษภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทย  สอนอ่านภาษาไทย  สอนภาษาไทยเด็ก  สอนภาษาไทย  สอนพิเศษภาษาไทย  เรียนอ่านภาษาไทย  เรียนพิเศษสังคม  เรียนพิเศษภาษาไทย  เรียนพิเศษ ไทย สังคม   รับสอนพิเศษภาษาไทย  ติวภาษาไทย  ครูสอนภาษาไทย  ครูสอนพิเศษภาษาไทย ติวโอเน็ตสังคม ครูเดช O-NETสังคม  ติวO-NETสังคมฟรี หาวิทยากรติวโอเน็ตทฤษฎีการแก้ตัวกับการฉ้อฉลในการเรียน 


ทฤษฎีการแก้ตัว Neutralization theory: Gresham Sykes and David Matza
     คำว่า “ทฤษฎีการแก้ตัว” นั้นมาจากภาษาอังกฤษว่า “Neutralization Theory” คำว่า "การฉ้อฉล" นั้นตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Cheating” ส่วนคำว่า "การฉ้อฉล" กับ คำว่า "กลฉ้อฉล" ในภาษาไทยนั้นมีความแตกต่างกัน ถ้าเป็น “การฉ้อฉล” จะเป็นการกระทำที่แสดงออกมา ส่วน “กลฉ้อฉล” จะเป็นการแสดงเจตนา ซึ่งทั้งสองประการนั้นหมายถึง การไม่ซื่อสัตย์และไม่สุจริตทั้งสิ้น Nicole Zito และ Patrick J. McQuillan แห่ง Boston College ได้ทำการวิจัยเรื่อง “It’s Not My Fault”: Using Neutralization Theory to Understand Cheating by Middle School Students ซึ่งเป็นการศึกษาถึงการใช้ “ทฤษฎีการแก้ตัว” ในการทำความเข้าใจกับการฉ้อฉลในการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนกลางใน สหรัฐอเมริกา ในการศึกษา
นี้ทำให้ทราบถึงการให้เหตุผลและการยอมรับ พฤติกรรมการฉ้อฉลในการเรียน พบว่า เทคนิควิธีให้เหตุผลแก้ตัว 3 ประการจาก 5 ประการที่ทำให้นักเรียนเหล่านั้นใช้แก้ตัวในการมีพฤติกรรมฉ้อฉลในการเรียน ได้แก่ (1) อ้างว่าตกอยู่ในภาวะจำต้องทำ (2) อ้างกล่าวโทษผู้อื่นเลวร้ายกว่า และ (3) อ้างเหตุผลที่ดีกว่ามาหักล้าง โดยมีข้อเสนอแนะจากการวิจัยว่า ควรสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนให้มากขึ้น และสร้างบรรยากาศทางวิชาการให้เห็นคุณค่าในตัวของวิชาความรู้มากกว่าการให้ ได้คะแนนเพื่อเข้าเรียนต่อในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีชื่อเสียง



ทฤษฎีการแก้ตัว Neutralization theory: Gresham Sykes and David Matza
     

Elliot Aronson นักจิตวิทยาได้เขียนไว้ในหนังสือ The Social Animal โดยยกประเด็นคำถามว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่ใช้เหตุผลเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดและให้เสียน้อยที่ สุดตามกำลัง สมรรถนะ และความรู้ที่ตนมีอยู่ หรือเป็นสัตว์ที่หาเหตุผลที่ดีมาอ้างในการทำสิ่งที่ไม่เหมาะสม Sykes and Matza สนับสนุนประเด็นที่สองและได้พัฒนาทฤษฎีที่ใช้อธิบายพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ต่าง ๆ เหล่านั้นในครั้งแรกพวกเขาโต้แย้งความเชื่อที่ว่า วัยรุ่นที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมนั้นเพราะไม่ยึดถือค่านิยมที่เป็นแบบ อย่างจากอดีต หรือถ้ายึดถือก็ยึดถือไว้เพียงเป็นของที่ควรอนุรักษ์ไว้ เช่นไม่ควรโกหก ลักทรัพย์ หรือทำลายชีวิต เป็นต้น พวกเขาเชื่อว่าวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมเนื่องจากได้รับค่านิยมใหม่ ที่ไม่เหมือนค่านิยมเก่า ความเชื่อนั้นดูจะไม่สนับสนุนผลการศึกษาของพวกเขา เพราะในความเป็นจริงแล้ววัยรุ่นเหล่านั้นยังรู้สึกผิดตามค่านิยมแบบเดิมอยู่ เมื่อวัยรุ่นมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมหรือทำความผิด วัยรุ่นเหล่านั้นก็จะหา
เหตุผลมาแก้ตัวในการทำความผิดต่าง ๆ ซึ่งจะมีเหตุผลที่ใช้อยู่ประมาณ สองหรือสามอย่างจาก เหตุผลที่ใช้แก้ตัว 5 ประการที่ Sykes 
and Matza เรียกว่า “เทคนิคที่ใช้แก้ตัว” หรือ “Techniques of Neutralization” ได้แก่
     1. อ้างว่าตกอยู่ในภาวะจำต้องทำ (Denial of responsibility) เช่น ข้อสอบออกความจำมาก จำไม่ไหว 
     2. อ้างว่าไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน (Denial of injury) เช่น ไม่ได้แย่งคะแนนใคร
     3. อ้างว่าเหยื่อสมควรที่จะเป็นเช่นนั้น (Denial of the victim) เช่น ขอลอกดี ๆ ไม่ให้ก็ต้องเอาแบบนี้แหละ
     4. อ้างกล่าวโทษว่ามีผู้อื่นเลวร้ายกว่า (Condemnation of the condemners) เช่น คนอื่นเขาทำกันยิ่งกว่านี้อีก
     5. อ้างเหตุผลดีกว่ามาหักล้าง (Appeal to higher loyalties) เช่น ถ้าไม่ลอกก็สอบตก จบไม่ทันเพื่อน

พฤติกรรมการฉ้อฉล (Cheating)
     การเรียนอย่างไม่ซื่อสัตย์และไม่สุจริตนั้นปรากฏออกมาในรูปของ การลอกการบ้าน การลอกข้อสอบจากเพื่อน การแอบนำเอกสารคำตอบเข้าห้องสอบ และการทุจริตการสอบด้วยวิธีการต่าง รวมถึงการลอกงานผู้อื่นในการทำรายงาน การเอาผลงานผู้อื่นเป็นของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอินเทอร์เน็ต
     จากผลการศึกษาของ McCabe, Trevino and Butterfield (2001) ที่ทำการสำรวจจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน4, 500 คน 
พบ ว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งเคยเอาผลงานของผู้อื่นจากอินเทอร์เน็ตมาเป็นของตน มีจำนวน 74 เปอร์เซ็นต์เคยทุจริตการสอบ และ 97 เปอร์เซ็นต์ เคยลอกการบ้าน และการศึกษาของ Eisenberg (2004) กับนักเรียนมัธยมปลายจำนวนกว่า 3,000 คนที่เป็นนักเรียนได้คะแนนดี พบว่า 80 เปอร์เซ็นต์ยอมรับ
ว่าฉ้อฉล (Cheating) ในการสอบ
     จากรายงานการศึกษาในปี ค.ศ. 2008 ของ Josephson Institute of Ethics ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ตั้งอยู่ที่เมือง Los Angeles 
เปิดเผย ว่า จากการสำรวจนักเรียน มัธยมปลาย 29,760 คน มีจำนวน 64 เปอร์เซ็นต์ยอมรับว่าทุจริตการสอบเมื่อปีที่ผ่านมา (เพิ่มจาก 60 เปอร์เซ็นต์ในปี ค.ศ. 2006) และ 38 เปอร์เซ็นต์รับว่าทุจริตสองครั้งหรือมากกว่า (เพิ่มจาก 35 เปอร์เซ็นต์ในปี ค.ศ. 2006) และ จำนวน 36 เปอร์เซ็นต์รับว่าใช้อินเทอร์เน็ตลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเองในการทำ รายงาน (เพิ่มจาก 33 เปอร์เซ็นต์ในปี ค.ศ. 2006) พฤติกรรมการฉ้อฉล ได้แก่ โกหก (Lying) โกง (Cheating) และขโมย (Stealing)
     สำหรับในประเทศไทย ยังไม่มีการสำรวจและเปิดเผยข้อมูลการฉ้อฉลในการเรียนอย่างเป็นทางการ แต่การฉ้อฉลในการเรียนเชื่อว่ามีอยู่ในสถาบันการศึกษาของไทยในทุกระดับ


การจัดการศึกษาเพื่อขจัดการฉ้อฉล     ระบบการศึกษาของไทยสร้างบรรยากาศของการแข่งขันมาก ทำให้นักเรียน นักศึกษา ต้องขวนขวายหาทางเอาชนะผู้อื่นให้ได้ บรรยากาศเช่นนี้มีตั้งแต่เริ่มต้นของการเรียนในระดับอนุบาล จนถึงจบการศึกษาขั้นสูงก่อนออกไปหางานทำ เมื่อต้องการหางานทำก็ต้องตกอยู่ในภาวะแข่งขันให้ได้งานอีก และเมื่อมีงานแล้วต้องแข่งขันเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพอีก และยังต้องแข่งขันอีกหลาย ๆ อย่างจนกว่าจะสิ้นชีวิตการแข่งขันกันในสถาบันการศึกษานั้นใช้ข้อสอบ การทำรายงาน การสร้างผลงาน รวมทั้งความขยันหมั่นเพียร ซึ่งมีคะแนนเป็นตัวตัดสินแพ้หรือชนะ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสทำคะแนนให้ได้มากกว่าผู้อื่นด้วยวิธีการ ฉ้อฉลย่อมทำให้การฉ้อฉลเกิดขึ้นได้มาก รวมทั้งการไม่เปิดโอกาสให้มีการสอบซ่อม หรือการออกข้อสอบที่ยากเกินไปจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการฉ้อฉลในการสอบมาก ขึ้น มาตรการที่ใช้ลงโทษผู้ทุจริตในการสอบอย่างรุนแรงอาจจะได้ผลในเชิงของการปราม ไม่ให้มีผู้กระทำผิดหรือทุจริตในการสอบ แต่ไม่สามารถขจัดการฉ้อฉลได้อย่างหมดสิ้น 
     การทุจริตการสอบด้วยการลอกข้อสอบไม่มีบัญญัติไว้ว่าเป็นความผิดในประมวล กฎหมายอาญา แม้แต่ในการสอบแข่งขันเพื่อเข้าเรียนต่อในสถาบันการศึกษา ยังไม่สามารถดำเนินคดีในฐานความผิดทุจริตการลอกข้อสอบได้ ต้องหาทางเอาผิดหรือลงโทษด้วยกฎหมาย หรือระเบียบ ข้อบังคับอื่นๆที่มีอยู่ ดังนั้น การลอกข้อสอบ หรือทุจริตการสอบจึงต้องหาทางป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นเท่านั้น  แนวทาง ของการจัดการศึกษาควรดำเนินการตามข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยของ Nicole Zito และ Patrick J. McQuillan ซึ่งได้เสนอไว้ สองประการสำคัญได้แก่
     1. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนให้มากขึ้น การขจัดการฉ้อฉลในสถาบันการศึกษา หรือในห้องเรียนนั้นสามารถทำได้ด้วยสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูและนักเรียน เพราะนักเรียนและครูจะช่วยกันดูแลสอดส่องไม่ให้มีการฉ้อฉลเกิดขึ้น นอกจากนั้นนักเรียนไม่เห็นความจำเป็นต้องมีการฉ้อฉลเพราะสามารถปรึกษาขอคำ แนะนำกับครูผู้สอนในเรื่องการเรียนได้
     2. การสร้างบรรยากาศทางวิชาการให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญในคุณค่าของเนื้อหาวิชา ที่เรียนมากกว่าคะแนนที่ได้ ครูต้องทำหน้าที่สร้างความสมดุลระหว่างคะแนนกับความรู้ เพราะการมีความรู้นั้นเป็นจุดประสงค์หลักของการเรียนการสอน ส่วนการมีคะแนนที่ดีเป็นประโยชน์สำหรับนักเรียนเพื่อการศึกษา
ต่อ ถ้าสามารถจัดการความสมดุลระหว่างคะแนนกับความรู้ได้ นักเรียนไม่มีความจำเป็นต้องฉ้อฉลเพื่อให้ได้คะแนนสูง ๆ 
     นอกจาก 2 ประการดังกล่าวแล้ว การจัดการศึกษาในสถานศึกษานั้น ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีของการไม่ฉ้อฉล ด้วยประการทั้งปวง เพราะครูจะเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับนักเรียน และเมื่อครูเป็นแบบอย่างที่ดีแล้วนักเรียนจะเลียนแบบอย่างที่ดีนั้นและไม่ สามารถหาข้อแก้ตัวที่อ้างกล่าวโทษว่ามีผู้อื่นเลวร้ายกว่าเช่น “ครูเองยังโกงการสอบเลย แล้วจะไม่ให้นักเรียนโกงได้อย่างไร”


ที่มาจาก : vcharkarn.com

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี

กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์

แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1