Featured post
เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : ความเป็นมาของคณะรัฐมนตรี
- รับลิงก์
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ความเป็นมาของคณะรัฐมนตรี
ความเป็นมาของคณะรัฐมนตรี โดย นายวิษณุ เครืองาม
คณะรัฐมนตรีมีที่มาจากระบบที่ปรึกษา พระมหากษัตริย์อังกฤษในสมัยโบราณซึ่งเรียกว่า คณะองคมนตรี (Privy Council) พระมหากษัตริย์อังกฤษทรงแต่งตั้งที่ปรึกษาเหล่านี้ตามพระราชอัธยาศัย เพื่อช่วยวางนโยบายในการปกครองประเทศ แต่เนื่องจาก คณะองคมนตรีหรือที่ปรึกษามักมาจากขุนนาง ตระกูลสำคัญที่มีอำนาจในแผ่นดิน บางครั้งก็มีการแก่งแย่งแข่งขันกันเองในหมู่ที่ปรึกษา หรือบางครั้งก็ขัดแย้งกับพระมหากษัตริย์ คณะองคมนตรีและพระมหากษัตริย์จึงมักมีเรื่องบาดหมางกันอยู่เสมอ จนกระทั่งพระ-มหากษัตริย์บางพระองค์ไม่ทรงปรึกษาหารือ กับคณะองคมนตรี ครั้นถึงคริสต์ศตวรรษ ที่ ๑๘ ความขัดแย้งมีมากขึ้น จนพระ- มหากษัตริย์บางพระองค์ทรงหันไปปรึกษากับองคมนตรีที่ไว้วางพระทัยเพียงบางคน ครั้นสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ (Queen Anne) สวรรคตใน ค.ศ. ๑๗๑๔ เจ้าชายจอร์จ ซึ่งเป็นเจ้าเยอรมันราชวงศ์แฮโนเวอร์ ได้เสด็จ มาปกครองอังกฤษตามคำกราบทูลเชิญของคณะขุนนาง เพราะอังกฤษขาดสมาชิกพระ- ราชวงศ์สายตรงที่จะครองราชย์ได้ ในขณะที่พระราชวงศ์อื่นก็มีผู้ตั้งข้อรังเกียจต่างๆ ไปหมด เจ้าชายจอร์จเป็นเชื้อสายพระญาติที่พอจะครองราชสมบัติอังกฤษได้ จึงอภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าจอร์จที่ ๑ (King George I) แห่งอังกฤษ แต่พระองค์ไม่ทรงเอาพระทัยใส่ ในกิจการบ้านเมืองของอังกฤษ อีกทั้งไม่ทรง สันทัดภาษาอังกฤษด้วย เป็นเหตุให้พระองค์ไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินได้อย่าง ราบรื่น ทำให้บทบาทของคณะองคมนตรีลดลงไปด้วย ทั้งนี้เพราะนอกจากจะเคย ขุ่นข้องหมองใจกับกษัตริย์พระองค์ก่อนๆอยู่แล้ว ก็ยังจะมีกษัตริย์เชื้อสายเยอรมัน ที่ตรัสภาษาอังกฤษไม่ได้ และไม่สนพระทัยที่ จะปกครองบ้านเมืองมาเป็นประมุขอีกด้วย ในระยะนี้เองที่คณะเสนาบดีหรือคณะรัฐมนตรี ซึ่งแต่เดิมเคยบริหารประเทศภายใต้อำนาจ ของพระมหากษัตริย์และคณะองคมนตรี กลับกลายเป็นผู้ถือครองอำนาจในการบริหาร ราชการแผ่นดินแทน โดยในระยะแรกๆ พระเจ้าจอร์จที่ ๑ ก็เสด็จออกประชุมว่าราชการ ร่วมกับคณะเสนาบดีด้วย แต่เนื่องจาก ตรัสภาษาอังกฤษไม่ได้ จึงเป็นโอกาสให้ เซอร์รอเบิร์ต วอลโพล (Sir Robert Walpole) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งมีความสามารถช่วยให้อังกฤษผ่านพ้นวิกฤติทาง การเงินได้ และพอจะกราบบังคมทูลเป็นภาษา เยอรมันผสมภาษาละตินได้บ้าง เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างมาก จนได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีหมายเลข ๑ (Prime Minister) ของอังกฤษ ซึ่งอีกหลายปีต่อมาตำแหน่งนี้เรียกว่า "นายกรัฐมนตรี" และเป็นที่รู้จักในระบบการเมืองของประเทศต่างๆเกือบทั่วโลก
หลังจากสมัยของวอลโพลแล้ว ระบบนี้ได้พัฒนาต่อไปอีกมาก จนกระทั่งสภา ผู้แทนราษฎรของอังกฤษเห็นว่าตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งสำคัญที่จะให้พระ- มหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัยไม่ได้อีกแล้ว หากแต่ต้องได้รับความยินยอม จากสภาผู้แทนราษฎรเสียก่อน ผู้ที่จะได้รับความยินยอมได้ต้องเป็นผู้ที่มีชื่อเสียง และ มีความสัมพันธ์กับสภาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเป็นหัวหน้าพรรคที่มีเสียงมากที่สุดในสภาผู้แทน ราษฎร หรือมิฉะนั้นก็ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดจากการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น
ในประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีที่มาจากคณะเสนาบดีในอดีต สมัยสุโขทัยยัง ไม่ปรากฏว่ามีคณะบุคคลช่วยในการปกครอง หรือไม่ ปรากฏแต่หลักฐานในศิลาจารึก หลักที่ ๑ ว่า มีการปกครองแบบพ่อปกครอง ลูก และให้ราษฎรช่วยกัน "ถือบ้านถือเมือง" ครั้นถึงสมัยอยุธยาจึงเริ่มมีการตั้งตำแหน่งจตุสดมภ์ ๔ ตำแหน่ง คือ เวียง วัง คลัง นา มีเสนาบดีเป็นหัวหน้ารับผิดชอบแต่ละฝ่าย และมีสมุหนายกและสมุหพระกลาโหมเป็นหัวหน้าเสนาบดีสูงขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง แต่บทบาทเน้นหนักไปในทางการเป็นแม่ทัพใหญ่ และรับผิดชอบดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้เป็นสำคัญ จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรับปรุง และจัดระเบียบการปกครองบ้านเมืองใหม่ โดยทรงจัดตั้งกระทรวงต่างๆขึ้น มีเสนาบดีเป็นหัวหน้ากระทรวง มีปลัดทูลฉลองเป็นผู้กลั่นกรองเรื่องและช่วยราชการภายในกระทรวง มีการประชุมเสนาบดีในทำนองการประชุมคณะรัฐมนตรี แต่ไม่มีหัวหน้าคณะเสนาบดีในทำนองนายกรัฐมนตรี เพราะในการประชุมคณะเสนาบดี พระมหากษัตริย์ประทับเป็นประธานเอง หรือมิฉะนั้นก็ให้ที่ประชุมเลือกประธานเป็นครั้งคราว การบริหาร ราชการแผ่นดินโดยระบบคณะเสนาบดีได้ดำเนินมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จ- พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีการจัดตั้งคณะองคมนตรีสภา ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาในการปกครองและการออกกฎหมายทำนอง เดียวกับรัฐสภา และมีการจัดตั้งเสนาบดีสภาเป็นที่ประชุมปรึกษาของเสนาบดีทั้งหลาย การบริหารราชการแผ่นดินในอดีตก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงเป็นเรื่องของพระมหากษัตริย์โดยตรง การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งก็ดี การกำหนดนโยบาย ในการบริหารก็ดี การควบคุมการบริหารก็ดี เป็นเรื่องตามพระราชอัธยาศัย
เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้ว พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามฉบับชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ อันเป็น รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวฉบับแรกได้กำหนด ให้มีคณะบุคคลขึ้นคณะหนึ่ง มีจำนวน ๑๕ คน ทำหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินเรียกว่า "คณะกรรมการราษฎร" ผู้เป็นหัวหน้าเรียกว่า "ประธานกรรมการราษฎร" ผู้ทำหน้าที่นี้คนแรก คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) ต่อมาเมื่อประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรก คือ ฉบับ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้ว ตำแหน่งเหล่านี้เรียกใหม่ว่า "คณะรัฐมนตรี" "รัฐมนตรี" และ "นายกรัฐมนตรี" จนถึงบัดนี้
หลังจากสมัยของวอลโพลแล้ว ระบบนี้ได้พัฒนาต่อไปอีกมาก จนกระทั่งสภา ผู้แทนราษฎรของอังกฤษเห็นว่าตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งสำคัญที่จะให้พระ- มหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัยไม่ได้อีกแล้ว หากแต่ต้องได้รับความยินยอม จากสภาผู้แทนราษฎรเสียก่อน ผู้ที่จะได้รับความยินยอมได้ต้องเป็นผู้ที่มีชื่อเสียง และ มีความสัมพันธ์กับสภาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเป็นหัวหน้าพรรคที่มีเสียงมากที่สุดในสภาผู้แทน ราษฎร หรือมิฉะนั้นก็ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดจากการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น
ในประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีที่มาจากคณะเสนาบดีในอดีต สมัยสุโขทัยยัง ไม่ปรากฏว่ามีคณะบุคคลช่วยในการปกครอง หรือไม่ ปรากฏแต่หลักฐานในศิลาจารึก หลักที่ ๑ ว่า มีการปกครองแบบพ่อปกครอง ลูก และให้ราษฎรช่วยกัน "ถือบ้านถือเมือง" ครั้นถึงสมัยอยุธยาจึงเริ่มมีการตั้งตำแหน่งจตุสดมภ์ ๔ ตำแหน่ง คือ เวียง วัง คลัง นา มีเสนาบดีเป็นหัวหน้ารับผิดชอบแต่ละฝ่าย และมีสมุหนายกและสมุหพระกลาโหมเป็นหัวหน้าเสนาบดีสูงขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง แต่บทบาทเน้นหนักไปในทางการเป็นแม่ทัพใหญ่ และรับผิดชอบดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้เป็นสำคัญ จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรับปรุง และจัดระเบียบการปกครองบ้านเมืองใหม่ โดยทรงจัดตั้งกระทรวงต่างๆขึ้น มีเสนาบดีเป็นหัวหน้ากระทรวง มีปลัดทูลฉลองเป็นผู้กลั่นกรองเรื่องและช่วยราชการภายในกระทรวง มีการประชุมเสนาบดีในทำนองการประชุมคณะรัฐมนตรี แต่ไม่มีหัวหน้าคณะเสนาบดีในทำนองนายกรัฐมนตรี เพราะในการประชุมคณะเสนาบดี พระมหากษัตริย์ประทับเป็นประธานเอง หรือมิฉะนั้นก็ให้ที่ประชุมเลือกประธานเป็นครั้งคราว การบริหาร ราชการแผ่นดินโดยระบบคณะเสนาบดีได้ดำเนินมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จ- พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีการจัดตั้งคณะองคมนตรีสภา ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาในการปกครองและการออกกฎหมายทำนอง เดียวกับรัฐสภา และมีการจัดตั้งเสนาบดีสภาเป็นที่ประชุมปรึกษาของเสนาบดีทั้งหลาย การบริหารราชการแผ่นดินในอดีตก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงเป็นเรื่องของพระมหากษัตริย์โดยตรง การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งก็ดี การกำหนดนโยบาย ในการบริหารก็ดี การควบคุมการบริหารก็ดี เป็นเรื่องตามพระราชอัธยาศัย
เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้ว พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามฉบับชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ อันเป็น รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวฉบับแรกได้กำหนด ให้มีคณะบุคคลขึ้นคณะหนึ่ง มีจำนวน ๑๕ คน ทำหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินเรียกว่า "คณะกรรมการราษฎร" ผู้เป็นหัวหน้าเรียกว่า "ประธานกรรมการราษฎร" ผู้ทำหน้าที่นี้คนแรก คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) ต่อมาเมื่อประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรก คือ ฉบับ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้ว ตำแหน่งเหล่านี้เรียกใหม่ว่า "คณะรัฐมนตรี" "รัฐมนตรี" และ "นายกรัฐมนตรี" จนถึงบัดนี้
ขอบคุณที่มา : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 27
- รับลิงก์
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี สวัสดีครับทุกท่าน ปัญหาการอ่านเขียนไม่คล่องของเด็กและเยาวชนของเรานับวันยิ่งมีปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น เรื่อย ๆ จนน่ากลัว การแก้ไขปัญหาภาษาไทยนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ของหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการศึกษาเสียแล้วครับ เมื่อหลายท่าน ทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ มีความเห็นตรงกันว่า จะปล่อยปะละเลยต่อปัญหานี้ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่ดี วันนี้ ครูเดชจึงได้นำไฟล์ตำราเรียน ที่แสนจะวิเศษ และผมเองกล้าการันตรีว่า หากนักเรียน หรือ ผู้ที่มีปัญหาภาษาไทย ได้ตั้งใจอ่าน ตั้งใจทำความเข้าใจ จะสามารถพัฒนาภาษาไทยไปได้อย่างดีเยี่ยมเลยครับ "มานะ มานี" นอกจากจะเป็นตำราภาษาไทย ที่คนที่มีอายุหลายท่านได้สัมผัสเรียนรู้ในวิชาภาษาไทยมาแล้ว ท่านจะทราบว่าตำราเรียนเล่มนี้ ไม่ได้มีแต่ความรู้ภาษาไทย อย่างเดียวไม่ หากแต่มีความน่าสนุก น่าสนใจ และความตื้นเต้น กลวิธีนี้เองล่ะครับ ที่ผมเห็นว่า เป็นอุบายล่อให้เด็กสนใจตำราเรียนได้เป็นอย่างดี ความสนุก ความเพลิดเพลิน เมื่อนักเรียนอ่านจบเล่ม ตัวละครก็จบชั้นเดียวกัน เมื่อเลื่อนชั้น นักเรี
แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1
แจกฟรี แบบฝึกหัดภาษาไทยใช่ควบคู่กับตำรามานะมานี ป. 1 คลิกที่ลิงก์เพื่อดาวน์โหลดครับ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 1-5 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 6-10 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 11-15 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 16-20 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 21-25 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 26-30 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 31-35 อยู่ในขณะจัดทำ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 36-40 อยู่ในขณะจัดทำ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยที่ออสเตรเลีย หาครูสอนภาษาไทยที่ญี่ปุ่น หาครูสอนภาษาไทยที่เวียดนาม หาครูสอนภาษาไทยที่อเมริกา หาครูสอนภาษาไทยที่เยอรมัน หาครูสอนภาษาไทยที่ฝรั่งเศส Learn Thai with native speakers. หาครูสอนภาษาไทยอ่านเขียน สอนอ่านหนังสือภาษาไทย สอนอ่านเขียน ลูกอ่านภาษาไทยไม่ออก หาครูแก้ไขภาษาไทย สถาบันสอนภาษาไทย โรงเรียนสอนภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทยนานาชาติ หาครูสอนภาษาไทยลูกครึ่ง หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนพิเศษ ห
กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์
ให้ติวเตอร์ใช้เขตพื้นที่เหล่านี้ เพื่อระบุพื้นที่ที่ท่านสามารถเดินทางไปสอนได้สะดวกครับ ศูนย์จะแจ้งงานให้ท่านทราบตามพื้นที่การเดินทางที่ท่านสะดวกครับ โปรดแจ้งตามความสะดวกจริง เพื่อความรวดเร็วในการรับงานสอนนะครับ 1.กลุ่มกรุงเทพกลาง ประกอบด้วย เขตพระนคร ดุสิต ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ดินแดง ห้วยขวาง พญาไท ราชเทวี และวังทองหลาง 2.กลุ่มกรุงเทพใต้ ประกอบด้วย เขตปทุมวัน บางรัก สาทร บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย วัฒนา พระโขนง สวนหลวง และบางนา 3. กลุ่มกรุงเทพเหนือ ประกอบด้วย เขตจตุจักร บางซื่อ ลาดพร้าว หลักสี่ ดอนเมือง สายไหม และบางเขน 4.กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ประกอบด้วย เขตบางกะปิ สะพานสูง บึงกุ่ม คันนายาว ลาดกระบัง มีนบุรี หนองจอก คลองสามวาและประเวศ 5.กลุ่มกรุงธนเหนือ ประกอบด้วย เขตธนบุรี คลองสาน จอมทอง บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย บางพลัด ตลิ่งชันและทวีวัฒนา 6.กลุ่มกรุงธนใต้ ประกอบด้วย เขตภาษีเจริญ บางแค หนองแขม บางขุนเทียน บางบอน ราษฎร์บูรณะและทุ่งครุ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยท