Featured post

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : พวงมโหตร

พวงมโหตร
พวงมโหตร(พวง-มะ-โหด)คำที่หลายๆคนไม่ทราบความหมายไม่เคยได้ยินทั้งๆที่อาจเคยผ่านตามาบ้างแ
ล้วก็ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. ๒๕๕๔ อธิบายว่าเป็นพวงอุบะซึ่งห้อยประดับอยู่ที่คันดาลฉัตรทำด้วยผ้าตาดทองส่วนคันดาลฉัตรคือคันฉัตรที่มีรูปเป็นมุมฉาก2ทบอย่างลูกดาล เพื่อปักให้ฉัตรอยู่ตรงเศียรพระพุทธรูป
พวงมโหตรมีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่นตามแต่ละถิ่น เช่น   แพร่,น่าน,เชียงใหม่เรียกตุงไส้หมู  นครสวรรค์ ระยอง เรียก พวงเต่ารั้ง    เลย อุดร เรียก พวงมาลัย   เพชรบุรี เรียก พวงมโหตร
ประเพณีการจัดสร้างพวงมะโหตร
มะโหตรหมายถึงดอกไม้    พวงมะโหตรหมายถึงพวงดอกไม้สดและแห้งที่ชาวบ้านจัดสร้างขึ้นเพื่อใช้ตกแต่งศาลการเปรียญระหว่างการเทศน์พระมาลัยและเทศน์มหาชาติในเทศกาลออกพรรษาพวงมะโหตรมีลักษณะเป็นดอกไม้ที่ปักกันเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นจะห่างกันประมาณ  ๕๐ ๗๐  เซนติเมตรจำนวน ชั้นมีอุบะดอกไม้แห้งหรืออุบะนก ปลา ฯลฯหรือกระดาษสายรุ่งสีต่างๆ  ห้อยไว้ที่ปลายก้านของดอกไม้แต่ละดอกเพื่อให้ชั้นของดอกไม้ต่อเนื่องกันลงมาเป็นพวงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๕๐๒๐๐เซนติเมตรที่โคนของก้านดอกไม้แต่ละดอกจะผูกของกินของใช้ เช่น ขนมแห้ง ปากกา สมุด ดินสอไว้ด้วย
 พวงมะโหตรได้จัดสร้างกันมาอย่างต่อเนื่องนานกว่า ๕๐ ปี การสร้างพวงมะโหตรจะเริ่มสร้างในวันขึ้น ๑๔  ค่ำภาคเช้าก่อนออกพรรษา วันใช้เวลาสร้างประมาณ-ชั่วโมงโดยใช้เชือกไนลอนแขวนที่ขื่อของศาลาจนครบทั้ง ชั้นและจะถวายพวงมะโหตรในวันออกพรรษาเช้าวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ทำบุญตักบาตรถวายพวงมะโหตรและมีเทศน์มหาชาติการสร้างพวงมะโหตรนี้ชาวบ้านเชื่อกันว่าได้บุญกุศลมากมายมหาศาลเพราะนอกจากจะได้ร่วมฉลองเทศน์มหาชาติถึง๑๓  กัณฑ์และช่วยกันหาข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นถวายให้แก่วัดแล้ว ยังช่วยสร้างความสามัคคีให้แก่คนในหมู่บ้านเดียวกันและหมู่บ้านใกล้เคียงเป็นสื่อกลางให้หนุ่มสาวได้ทำความรู้จักคุ้นเคยและสนิทสนมกัน ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมการขับร้องเพลงพื้นบ้านและการเล่นเพลงรำวง ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดจากการประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่นได้อีกทางหนึ่ง
พวงมโหตร(พวง-มะ-โหด)คำที่หลายๆคนไม่ทราบความหมายไม่เคยได้ยินทั้งๆที่อาจเคยผ่านตามาบ้างแล้วก็ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. ๒๕๕๔ อธิบายว่าเป็นพวงอุบะซึ่งห้อยประดับอยู่ที่คันดาลฉัตรทำด้วยผ้าตาดทองส่วนคันดาลฉัตรคือคันฉัตรที่มีรูปเป็นมุมฉาก2ทบอย่างลูกดาล เพื่อปักให้ฉัตรอยู่ตรงเศียรพระพุทธรูป
พวงมโหตรมีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่นตามแต่ละถิ่น เช่น   แพร่,น่าน,เชียงใหม่เรียกตุงไส้หมู  นครสวรรค์ ระยอง เรียก พวงเต่ารั้ง    เลย อุดร เรียก พวงมาลัย   เพชรบุรี เรียก พวงมโหตร


ประเพณีการจัดสร้างพวงมะโหตร
มะโหตรหมายถึงดอกไม้    พวงมะโหตรหมายถึงพวงดอกไม้สดและแห้งที่ชาวบ้านจัดสร้างขึ้นเพื่อใช้ตกแต่งศาลการเปรียญระหว่างการเทศน์พระมาลัยและเทศน์มหาชาติในเทศกาลออกพรรษาพวงมะโหตรมีลักษณะเป็นดอกไม้ที่ปักกันเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นจะห่างกันประมาณ  ๕๐ ๗๐  เซนติเมตรจำนวน ชั้นมีอุบะดอกไม้แห้งหรืออุบะนก ปลา ฯลฯหรือกระดาษสายรุ่งสีต่างๆ  ห้อยไว้ที่ปลายก้านของดอกไม้แต่ละดอกเพื่อให้ชั้นของดอกไม้ต่อเนื่องกันลงมาเป็นพวงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๕๐๒๐๐เซนติเมตรที่โคนของก้านดอกไม้แต่ละดอกจะผูกของกินของใช้ เช่น ขนมแห้ง ปากกา สมุด ดินสอไว้ด้วย

 พวงมะโหตรได้จัดสร้างกันมาอย่างต่อเนื่องนานกว่า ๕๐ ปี การสร้างพวงมะโหตรจะเริ่มสร้างในวันขึ้น ๑๔  ค่ำภาคเช้าก่อนออกพรรษา วันใช้เวลาสร้างประมาณ-ชั่วโมงโดยใช้เชือกไนลอนแขวนที่ขื่อของศาลาจนครบทั้ง ชั้นและจะถวายพวงมะโหตรในวันออกพรรษาเช้าวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ทำบุญตักบาตรถวายพวงมะโหตรและมีเทศน์มหาชาติการสร้างพวงมะโหตรนี้ชาวบ้านเชื่อกันว่าได้บุญกุศลมากมายมหาศาลเพราะนอกจากจะได้ร่วมฉลองเทศน์มหาชาติถึง๑๓  กัณฑ์และช่วยกันหาข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นถวายให้แก่วัดแล้ว ยังช่วยสร้างความสามัคคีให้แก่คนในหมู่บ้านเดียวกันและหมู่บ้านใกล้เคียงเป็นสื่อกลางให้หนุ่มสาวได้ทำความรู้จักคุ้นเคยและสนิทสนมกัน ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมการขับร้องเพลงพื้นบ้านและการเล่นเพลงรำวง ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดจากการประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่นได้อีกทางหนึ่ง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี

แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1

กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์