Featured post
เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : แผนพัฒนาประเทศ
- รับลิงก์
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
แผนพัฒนาประเทศ
แนวคิดในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยเริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ สืบเนื่องจากคณะราษฏรซึ่งเป็นแกนนำในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ประกาศหลัก ๖ ประการ ซึ่งมีเรื่องเกี่ยวกับการรักษาเอกภาพทางเศรษฐกิจ และการสร้างความสุขสมบูรณ์ของราษฏรในทางเศรษฐกิจ โดยจะจัดให้มีการวางเค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ต่อมาหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) ได้ดำเนินการยกร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจขึ้นโดยได้มีการระบุถึงการกำหนดให้มีการวางแผนเศรษฐกิจแห่งชาติ พร้อมทั้งได้ยกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการประกอบเศรษฐกิจ ซึ่งเสนอให้มีสภา (หน่วยงาน) เพื่อทำหน้าที่ในการจัดทำแผนเศรษฐกิจแห่งชาติด้วย อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่าสถานการณ์ในขณะนั้นยังไม่เอื้ออำนวย ทำให้ยังไม่มีการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ ซึ่งมีประชากรรวมกันประมาณ ๒ ใน ๓ ของประชากรโลก ประสบปัญหาความยากจนและความล้าหลังทางเศรษฐกิจ ประกอบกับเกิดปัญหาข้อขัดแย้งทางการเมืองระหว่างค่ายเสรีนิยมกับค่ายสังคมนิยม ประเทศต่างๆ เกิดความตื่นตัวที่จะพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น ประเทศไทยเองก็ตระหนักถึงความจำเป็นในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดสรรงบประมาณเพื่อ ปรับปรุงการคมนาคมขนส่ง การชลประทาน การศึกษา ฯลฯ มากยิ่งขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้ตั้งสภาเศรษฐกิจแห่งชาติขึ้น เพื่อทำหน้าที่วิเคราะห์วิจัยเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจ และเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาทางการเงินการคลัง และทางเศรษฐกิจโดยทั่วไป พร้อมทั้งได้จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการทำผังเศรษฐกิจของประเทศซึ่งเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ธนาคารโลกซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะช่วยทำการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ได้จัดส่งคณะสำรวจเศรษฐกิจ เข้ามาช่วยศึกษาข้อมูลและศึกษาวิจัยเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยคำเชิญของรัฐบาลไทยในขณะนั้น คณะผู้เชี่ยวชาญร่วมกับทางคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยได้จัดทำรายงาน A Public Development Program for Thailand ต่อมามีการแปลเป็นฉบับภาษาไทยซื่อว่าโครงการพัฒนาของรัฐบาลสำหรับประเทศไทยโดยได้มีการเสนอข้อมูลวิเคราะห์ถึงสภาพ ปัญหาและแนวทางในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเห็นว่าควรเน้นการแข่งขันเสรี ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ รัฐบาลได้ดำเนินการ ออกพระราชบัญญัติพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติและตั้งสำนักงานสภาเศรษฐกิจแห่งชาติขึ้น เพื่อทำหน้าที่วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ หลังจากนั้นจึงได้มีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๐๔ - ๒๕๐๖ - ๒๕๐๙) เป็นฉบับแรก และได้ดำเนินการวางแผนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งอยู่ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) โดยในแต่ละแผนมีลักษณะและสาระสำคัญแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ สถานการณ์ในขณะนั้น ปรากฏว่า การพัฒนาของประเทศไทยในระยะที่ผ่านมา มีทั้งส่วนที่ประสบผลสำเร็จและส่วนที่ยังเป็นปัญหา ซึ่งจะได้กล่าวถึงในตอนต่อไป
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ ซึ่งมีประชากรรวมกันประมาณ ๒ ใน ๓ ของประชากรโลก ประสบปัญหาความยากจนและความล้าหลังทางเศรษฐกิจ ประกอบกับเกิดปัญหาข้อขัดแย้งทางการเมืองระหว่างค่ายเสรีนิยมกับค่ายสังคมนิยม ประเทศต่างๆ เกิดความตื่นตัวที่จะพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น ประเทศไทยเองก็ตระหนักถึงความจำเป็นในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดสรรงบประมาณเพื่อ ปรับปรุงการคมนาคมขนส่ง การชลประทาน การศึกษา ฯลฯ มากยิ่งขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้ตั้งสภาเศรษฐกิจแห่งชาติขึ้น เพื่อทำหน้าที่วิเคราะห์วิจัยเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจ และเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาทางการเงินการคลัง และทางเศรษฐกิจโดยทั่วไป พร้อมทั้งได้จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการทำผังเศรษฐกิจของประเทศซึ่งเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ธนาคารโลกซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะช่วยทำการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ได้จัดส่งคณะสำรวจเศรษฐกิจ เข้ามาช่วยศึกษาข้อมูลและศึกษาวิจัยเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยคำเชิญของรัฐบาลไทยในขณะนั้น คณะผู้เชี่ยวชาญร่วมกับทางคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยได้จัดทำรายงาน A Public Development Program for Thailand ต่อมามีการแปลเป็นฉบับภาษาไทยซื่อว่าโครงการพัฒนาของรัฐบาลสำหรับประเทศไทยโดยได้มีการเสนอข้อมูลวิเคราะห์ถึงสภาพ ปัญหาและแนวทางในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเห็นว่าควรเน้นการแข่งขันเสรี ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ รัฐบาลได้ดำเนินการ ออกพระราชบัญญัติพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติและตั้งสำนักงานสภาเศรษฐกิจแห่งชาติขึ้น เพื่อทำหน้าที่วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ หลังจากนั้นจึงได้มีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๐๔ - ๒๕๐๖ - ๒๕๐๙) เป็นฉบับแรก และได้ดำเนินการวางแผนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งอยู่ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) โดยในแต่ละแผนมีลักษณะและสาระสำคัญแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ สถานการณ์ในขณะนั้น ปรากฏว่า การพัฒนาของประเทศไทยในระยะที่ผ่านมา มีทั้งส่วนที่ประสบผลสำเร็จและส่วนที่ยังเป็นปัญหา ซึ่งจะได้กล่าวถึงในตอนต่อไป
ในช่วงก่อนที่จะมีการประกาศใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑ (ก่อน พ.ศ. ๒๕๐๓) ปรากฏว่าประเทศ ไทยมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ทั้งด้านป่าไม้ แหล่งน้ำ แร่ธาติ ฯลฯ หรืออยู่ในสภาพที่เรียกว่าในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ปัญหาสังคมยังมีไม่มากนัก เพราะผู้คนยังมีความผูกพันเอื้ออาทรต่อกัน แต่อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีปัญหาความยากจน โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวไม่ถึง ๒,๐๐๐ บาทต่อปี เพราะเศรษฐกิจขยายตัวประมาณร้อยละ ๔ ต่อปี ในขณะที่ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วคือ ประมาณร้อยละ ๓.๗ ต่อปี เศรษฐกิจส่วนใหญ่คือ ประมาณร้อยละ ๘๕ ขึ้นกับภาคเกษตร รายได้หลักจากการส่งออกมาจากข้าว ไม้สัก ยางพาราและดีบุก ส่วนการลงทุนภาคอุตสาหกรรมยังมีไม่มากนัก ทำให้มีแรงงานในภาคอุตสาหกรรมเพียงร้อยละ ๘.๕ ของแรงงานทั้งหมดเท่านั้น
นอกจากนี้ บริการพื้นฐานต่างๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมยังมีไม่เพียงพอ เช่น ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ มีถนนทั่วประเทศเพียง ๘,๐๐๐ กิโลเมตร มีโทรศัพท์ทั่วประเทศเพียง ๓๒,๐๖๗ เครื่อง ส่วนน้ำประปาและไฟฟ้าจะมีเฉพาะในกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่เท่านั้น ในขณะที่โรงพยาบาลประจำอำเภอมีเพียง ๘ แห่งสถานีอนามัยยังมีไม่เพียงพอและด้อยคุณภาพ มีแพทย์ทั่วในกรุงเทพฯ ทำให้ในชนบทมีแพทย์เฉลี่ย ๑ คนต่อประชากรประมาณ ๗๒,๐๐๐ คน ส่วนโรงเรียนและสถานศึกษาก็มีไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบทที่ห่างไกล ฯลฯ ปัญหาดังกล่าวทำให้ความเจริญยังคงรวมอยู่ในส่วนกลางไม่กระจายออกไปในต่างจังหวัด คนไทยในขณะนั้นจึงมีปัญหาด้านความยากจน ความเหลื่อมล้ำในเรื่องของรายได้ โอกาสที่จะได้รับการศึกษาเล่าเรียนมีน้อย และมีปัญหาด้านสุขภาพอนามัย คือ ยังมีการเจ็บป่วยล้มตายด้วยโดยระบาดต่างๆ เช่น อหิวาตกโรค ท้องร่วง ไข้มาลาเรียไข้เลือดออก รวมทั้งการขาดสารอาหาร ฯลฯ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งทำการพัฒนาเศรษฐกิจรัฐบาลในขณะนั้นจึงได้กำหนดนโยบายเพื่อเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจและขยายบริการพื้นฐาน ซึ่งปรากฏออกมาในรูปของคำขวัญต่างๆ มากมาย เช่น คำขวัญที่ว่า น้ำไหล-ไฟสว่าง-ทางดี -มีงานทำซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า สภาพเศรษฐกิจในยุคก่อนมีการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ ๑ เป็นอย่างดี
ขอบคุณที่มา สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 24
- รับลิงก์
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี สวัสดีครับทุกท่าน ปัญหาการอ่านเขียนไม่คล่องของเด็กและเยาวชนของเรานับวันยิ่งมีปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น เรื่อย ๆ จนน่ากลัว การแก้ไขปัญหาภาษาไทยนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ของหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการศึกษาเสียแล้วครับ เมื่อหลายท่าน ทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ มีความเห็นตรงกันว่า จะปล่อยปะละเลยต่อปัญหานี้ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่ดี วันนี้ ครูเดชจึงได้นำไฟล์ตำราเรียน ที่แสนจะวิเศษ และผมเองกล้าการันตรีว่า หากนักเรียน หรือ ผู้ที่มีปัญหาภาษาไทย ได้ตั้งใจอ่าน ตั้งใจทำความเข้าใจ จะสามารถพัฒนาภาษาไทยไปได้อย่างดีเยี่ยมเลยครับ "มานะ มานี" นอกจากจะเป็นตำราภาษาไทย ที่คนที่มีอายุหลายท่านได้สัมผัสเรียนรู้ในวิชาภาษาไทยมาแล้ว ท่านจะทราบว่าตำราเรียนเล่มนี้ ไม่ได้มีแต่ความรู้ภาษาไทย อย่างเดียวไม่ หากแต่มีความน่าสนุก น่าสนใจ และความตื้นเต้น กลวิธีนี้เองล่ะครับ ที่ผมเห็นว่า เป็นอุบายล่อให้เด็กสนใจตำราเรียนได้เป็นอย่างดี ความสนุก ความเพลิดเพลิน เมื่อนักเรียนอ่านจบเล่ม ตัวละครก็จบชั้นเดียวกัน เมื่อเลื่อนชั้น นักเรี
แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1
แจกฟรี แบบฝึกหัดภาษาไทยใช่ควบคู่กับตำรามานะมานี ป. 1 คลิกที่ลิงก์เพื่อดาวน์โหลดครับ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 1-5 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 6-10 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 11-15 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 16-20 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 21-25 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 26-30 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 31-35 อยู่ในขณะจัดทำ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 36-40 อยู่ในขณะจัดทำ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยที่ออสเตรเลีย หาครูสอนภาษาไทยที่ญี่ปุ่น หาครูสอนภาษาไทยที่เวียดนาม หาครูสอนภาษาไทยที่อเมริกา หาครูสอนภาษาไทยที่เยอรมัน หาครูสอนภาษาไทยที่ฝรั่งเศส Learn Thai with native speakers. หาครูสอนภาษาไทยอ่านเขียน สอนอ่านหนังสือภาษาไทย สอนอ่านเขียน ลูกอ่านภาษาไทยไม่ออก หาครูแก้ไขภาษาไทย สถาบันสอนภาษาไทย โรงเรียนสอนภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทยนานาชาติ หาครูสอนภาษาไทยลูกครึ่ง หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนพิเศษ ห
กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์
ให้ติวเตอร์ใช้เขตพื้นที่เหล่านี้ เพื่อระบุพื้นที่ที่ท่านสามารถเดินทางไปสอนได้สะดวกครับ ศูนย์จะแจ้งงานให้ท่านทราบตามพื้นที่การเดินทางที่ท่านสะดวกครับ โปรดแจ้งตามความสะดวกจริง เพื่อความรวดเร็วในการรับงานสอนนะครับ 1.กลุ่มกรุงเทพกลาง ประกอบด้วย เขตพระนคร ดุสิต ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ดินแดง ห้วยขวาง พญาไท ราชเทวี และวังทองหลาง 2.กลุ่มกรุงเทพใต้ ประกอบด้วย เขตปทุมวัน บางรัก สาทร บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย วัฒนา พระโขนง สวนหลวง และบางนา 3. กลุ่มกรุงเทพเหนือ ประกอบด้วย เขตจตุจักร บางซื่อ ลาดพร้าว หลักสี่ ดอนเมือง สายไหม และบางเขน 4.กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ประกอบด้วย เขตบางกะปิ สะพานสูง บึงกุ่ม คันนายาว ลาดกระบัง มีนบุรี หนองจอก คลองสามวาและประเวศ 5.กลุ่มกรุงธนเหนือ ประกอบด้วย เขตธนบุรี คลองสาน จอมทอง บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย บางพลัด ตลิ่งชันและทวีวัฒนา 6.กลุ่มกรุงธนใต้ ประกอบด้วย เขตภาษีเจริญ บางแค หนองแขม บางขุนเทียน บางบอน ราษฎร์บูรณะและทุ่งครุ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยท