Featured post

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : แผ่นดินไหวในประเทศไทย

แผ่นดินไหวในประเทศไทย


          แผ่นดินไหวในประเทศไทย โดย นาวาอากาศเอก กมล วัชรเสถียร 
           ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์เป็นย่านแผ่นดินไหวที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก โดยมีแผ่นเปลือกโลกใกล้เคียงกันรวม ๔ แผ่น ได้แก่ แผ่นยูเรเชีย แผ่นแปซิฟิก แผ่นออสเตรเลีย และแผ่นฟิลิปปินส์ อีกทั้งเป็นที่บรรจบกันของแนวแผ่นดินไหว ๒ แนวคือ แนวล้อมมหาสมุทรแปซิฟิก และแนวแอลป์หิมาลัย จึงทำให้เกิดแผ่นดินไหวเป็นจำนวนมาก
แก้ไขอ่านเขียนไทยไม่ออก เรียนพิเศษภาษาไทย เรียนอ่านเขียนไทยประถม เรียนพิเศษส่วนตัวภาษาไทย หาที่เรียนภาษาไทย ครูสอนพิเศษภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทย  สอนอ่านภาษาไทย  สอนภาษาไทยเด็ก  สอนภาษาไทย  สอนพิเศษภาษาไทย  เรียนอ่านภาษาไทย  เรียนพิเศษสังคม  เรียนพิเศษภาษาไทย  เรียนพิเศษ ไทย สังคม   รับสอนพิเศษภาษาไทย  ติวภาษาไทย  ครูสอนภาษาไทย  ครูสอนพิเศษภาษาไทย ติวโอเน็ตสังคม ครูเดช O-NETสังคม  ติวO-NETสังคมฟรี หาวิทยากรติวโอเน็ต
          ประเทศไทยตั้งอยู่บนแผ่นยูเรเชีย ใกล้รอยต่อระหว่างแผ่นยูเรเชียกับแผ่นอินเดีย และแผ่นออสเตรเลีย มีรอยเลื่อน (fault) อยู่ทางภาคตะวันตกและภาคเหนือ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตประเทศพม่าและทะเลอันดามัน รอยเลื่อนที่สำคัญในประเทศไทยมีดังนี้

          ก. รอยเลื่อนในภาคตะวันตก ได้แก่           - รอยเลื่อนตองจี
           - รอยเลื่อนพานหลวง
           - รอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี
           - รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์
           - รอยเลื่อนด่านเจดีย์สามองค์
           - รอยเลื่อนระนอง-คลองมารุย
           - รอยเลื่อนเมย-วังเจ้า

         ข. รอยเลื่อนในภาคเหนือ ได้แก่           - รอยเลื่อนแม่ทา
           - รอยเลื่อนเชียงราย
           - รอยเลื่อนแพร่
           - รอยเลื่อนเถิน
           - รอยเลื่อนแอ่งแพร่
           - รอยเลื่อนพะเยา
           - รอยเลื่อนลอง
           - รอยเลื่อนปัว
           - รอยเลื่อนน้ำปาด
          บริเวณประเทศไทยมีประวัติการเกิดแผ่นดินไหวมาแต่ในอดีต พงศาวดารโยนกกล่าวว่า อาณาจักรโยนกซึ่งเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ได้เกิดแผ่นดินไหวหลายครั้ง ครั้งที่รุนแรงที่สุดทำให้อาณาจักรถึงกับล่มสลาย อาณาจักรโยนกนี้ตั้งอยู่บริเวณละติจูด ๒๐.๒๕ องศาเหนือ และลองจิจูด ๑๐๐.๐๘ องศาตะวันออก อยู่ในเขตอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ในปัจจุบัน โดยพงศาวดารโยนกได้บันทึกการเกิดแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุด ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ เดือน ๗ แรม ๗ ค่ำ พ.ศ. ๑๐๐๓ เวลากลางคืน ว่า
          
"สุริยอาทิตย์ก็ตกไปแล้ว ก็ได้ยินเสียง เหมือนตั้งแผ่นดินดังสนั่นหวั่นไหวประดุจว่าเวียงโยนกนครหลวงที่นี้จักเกลื่อนจักพังไปนั้นแล แล้วก็หายไปครั้งหนึ่ง ครั้นถึงมัชฌิมยามก็ดังซ้ำเข้ามาเป็นคำรบสอง แล้วก็หายนั้นแล ถึงปัจฉิมยามก็ซ้ำดังมาอีกเป็นคำรบสาม หนที่สามนี้ดังยิ่งกว่าทุกครั้งทุกคราวที่ได้ยินมาแล้ว กาลนั้นเวียงโยนกนครหลวงที่นั้นก็ยุบจมลง เกิดเป็นหนองอันใหญ่ ยามนั้นคนทั้งหลายอันมีในเวียงที่นั้น มีพระมหากษัตริย์เป็นประธาน ก็วินาศฉิบหายตกไปในน้ำที่นั้นสิ้น"
           
ปัจจุบันบริเวณที่ตั้งอาณาจักรโยนกได้กลายเป็นหนองน้ำในอำเภอเชียงแสน
          ในศิลาจารึกของอาณาจักรสุโขทัยได้บันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวไว้ ๒ ครั้ง พงศาวดารของกรุงศรีอยุธยาได้มีการบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวไว้ ๗ ครั้ง และพงศาวดารของเชียงใหม่ได้บันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวไว้ ๔ ครั้ง แผ่นดินไหวครั้งสำคัญที่เชียงใหม่ใน พ.ศ. ๒๐๘๘ ได้ทำให้ส่วนยอดของเจดีย์ที่วัดเจดีย์หลวงหักโค่นลงมา ซึ่งเจดีย์องค์นั้นแต่เดิมสูงถึง ๘๖ เมตร หลังจากส่วนยอดได้หักโค่นลงมาจึงเหลือความสูงเพียง ๕๐ เมตร
           งานด้านแผ่นดินไหวในประเทศไทยยุคใหม่อาจถือได้ว่า เริ่มขึ้นเมื่อประเทศสหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งข่ายสถานีตรวจแผ่นดินไหว ระบบมาตรฐานโลก (The World- Wide Standard Seismograph Network -WWSSN) ใน พ.ศ. ๒๕๐๓ และได้ให้ความช่วยเหลือติดตั้งเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงใหม่ ใน พ.ศ. ๒๕๐๖ หลังจากนั้นก็มีการติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวเพิ่มเติมอีก ปัจจุบันประเทศไทยมีสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวรวม ๑๕ สถานี
           ความสนใจเรื่องแผ่นดินไหวได้เริ่มมีขึ้นอย่างจริงจังใน พ.ศ. ๒๕๑๘ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ขึ้นในประเทศไทยเมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ โดยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณพรมแดนไทย-พม่า ใกล้อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก วัดขนาดได้ ๕.๖ ตามมาตราริกเตอร์ จุดเกิดแผ่นดินไหวอยู่ลึก ๖ กิโลเมตร แผ่นดินไหวในครั้งนั้นรู้สึกได้ในภาคเหนือและภาคตะวันตก ตั้งแต่จังหวัดเชียงรายถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้งในกรุงเทพมหานคร แม้จะก่อให้เกิดความเสียหายไม่มากนัก มีเพียงฝาผนังอาคารสูงแตกร้าว แต่ก็ได้สร้างความตื่นตกใจ ให้แก่ผู้คนจำนวนมาก เนื่องจากคนไทยไม่คุ้นเคยกับเหตุการณ์แบบนี้
          ผลจากการเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวใน พ.ศ. ๒๕๑๘ รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการแผ่นดินไหวแห่งชาติขึ้นเพื่อวางนโยบายในระดับประเทศ คณะกรรมการแผ่นดินไหวแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว และวิศวกร ได้ดำเนินกิจกรรมด้านแผ่นดินไหวของประเทศทางด้านวิชาการ โดยจัดตั้งโครงการและแผนงานต่างๆ เพื่อการป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหวของชาติ ในเบื้องต้นคณะกรรมการได้มอบหมายให้กรมอุตุนิยมวิทยาเป็นหน่วยงานรับผิดชอบศึกษาผลกระทบ และหามาตรการรองรับเหตุการณ์แผ่นดินไหว
          ในส่วนของการตรวจวัด กรมอุตุนิยมวิทยาได้พัฒนาระบบการตรวจวัดแผ่นดินไหว ให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันได้นำเอาระบบดิจิทัล (digital) มาใช้ร่วมกับระบบแอนะล็อก (analog) ที่มีอยู่เดิม เนื่องจาก ระบบแอนะล็อกต้องบันทึกข้อมูลลงในกระดาษ ทำให้เสียเวลาในการอ่านและการวิเคราะห์ แต่ระบบดิจิทัลสามารถเก็บข้อมูลเป็นตัวเลข และสามารถส่งข้อมูลมาวิเคราะห์ผลด้วยคอมพิวเตอร์ได้ทันที มีการเชื่อมโยงสถานีตรวจวัดทั่วประเทศกับสถานีหลักที่กรุงเทพฯ ด้วยระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมและโทรศัพท์ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้น ระบบนี้ก็จะช่วยให้วิเคราะห์หาขนาดและตำแหน่งของศูนย์กลางได้ภายในเวลา ๑๕ นาที รวมทั้งวิเคราะห์คลื่นแผ่นดินไหว ทำให้ทราบถึงลักษณะโครงสร้างของลักษณะเปลือกโลกและรอยเลื่อนได้ดีขึ้น ระบบใหม่นี้มีความทันสมัยเทียบเท่าระบบที่มีใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น โครงการนี้ได้ดำเนินการจนแล้วเสร็จสมบูรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑

ขอบคุณที่มา : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 28

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี

กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์

แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1