Featured post
เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : ประเภทของการเห่เรือ
- รับลิงก์
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ประเภทของการเห่เรือ
ประเภทของการเห่เรือ โดย นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบลูย์หวังเจริญ
การเห่เรือของไทยสามารถจำแนกตามลักษณะความแตกต่างได้ ๒ ประเภท คือเห่เรือหลวง และเห่เรือเล่น
เห่เรือหลวง
เห่เรือหลวง
คือ การเห่เรือเนื่องในการพระราชพิธีที่มีการจัดกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ทั้งอย่างใหญ่และอย่างน้อย เพื่อให้ริ้วกระบวนเรือที่จัดขึ้นเป็นพระราช-พาหนะในการเสด็จพระราชดำเนิน มีความพร้อมเพรียงเป็นระเบียบเรียบร้อย และสง่างาม โดยใช้บทเห่แต่ละลักษณะเป็นสัญญาณและกำกับจังหวะการพายให้พร้อมเพรียงกัน
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า การเห่เรือหลวงน่าจะได้ต้นเค้าจากประเทศอินเดีย โดยพราหมณ์เป็นผู้นำบทมนตร์ในตำราไสยศาสตร์ซึ่งแต่เดิมคงเป็นภาษาสันสกฤต เข้ามาเผยแพร่ ต่อมาก็เลือนกลายไป แต่ยังคงเรียกในตำราว่า “สวะเห่” “ช้าละวะเห่” และ “มูลเห่”
เห่เรือเล่น
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า การเห่เรือหลวงน่าจะได้ต้นเค้าจากประเทศอินเดีย โดยพราหมณ์เป็นผู้นำบทมนตร์ในตำราไสยศาสตร์ซึ่งแต่เดิมคงเป็นภาษาสันสกฤต เข้ามาเผยแพร่ ต่อมาก็เลือนกลายไป แต่ยังคงเรียกในตำราว่า “สวะเห่” “ช้าละวะเห่” และ “มูลเห่”
เห่เรือเล่น
ตามความหมายเดิม คือ การเห่เรือแบบไม่เป็นพิธีการของบุคคลทั่วไปเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง และกำกับจังหวะในการพายเรือให้พร้อมเพรียงกัน การพายเรือเล่นของชาวบ้านนั้นมีจังหวะการพายเพียง ๒ อย่างเท่านั้น คือ พายจังหวะปกติ และพายจังหวะจ้ำ จึงทำให้การเห่แตกต่างกันไปตามจังหวะการพายด้วย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวถึงบทเห่เรือเล่นที่ใช้ในการพายจ้ำว่า “ตามที่สังเกตมาดูเหมือนไม่มีต้นบท บทอันใดฝีพายขึ้นใจก็เอามาใช้ร้องพร้อมๆ กัน เช่น “หุย ฮา โห่ ฮิ้ว” “มาละเหวยมาละวา” “สาระพา เฮโล” ส่วนบทเห่สำหรับพายปกติ นั้นใช้บทกลอน มีต้นบทขึ้นก่อน แล้วฝีพายรับต่อไป สันนิษฐานว่าอาจเป็นบทกลอนจากวรรณกรรมที่จำกันได้ขึ้นใจ หรืออาจว่าเป็นกลอนสดเช่นเดียวกับการเล่นเพลงเรือ หรือกลอนดอกสร้อยสักวาก็เป็นได้”
นอกจากนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านการเห่เรือทั้งของกองทัพเรือและกรมศิลปากรยังได้กล่าวถึงการเห่เรือเล่นว่าเป็นการเห่แบบไม่เป็นพิธีการในงานต่างๆ ดังนี้
พันจ่าเอก เขียว ศุขภูมิ กล่าวว่า “เป็นการเห่ให้เห็นกระบวนเรือครบเต็มพิธีเพื่อให้ประชาชนชม บางครั้งอาจแทรกทำนองเพลงไทยลงไปเพื่อให้เกิดความครึกครื้น”
ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์) ประจำ พ.ศ. ๒๕๓๘ กล่าวถึงการเห่เรือเล่นว่า “เป็นการเห่แบบของกรมศิลปากร เพื่อ ประกอบการร่ายรำ หรือเล่นละครตอนที่เกี่ยวกับการเห่เรือ”
กล่าวโดยสรุป การเห่เรือเล่นนอกจาก จะเป็นการร้องเพื่อประกอบการพายเรือเล่นให้สนุกสนานแล้ว ยังหมายรวมถึงการนำ แบบอย่างของการเห่เรือหลวงมาปรับปรุงเพื่อการสาธิต หรือใช้ประกอบการแสดงก็ได้ด้วย ดังปรากฏ หลักฐาน คือ
๑. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงประดิษฐ์ ดัดแปลงทำนองเห่เรือหลวงให้เข้ากับท่ารำ ของตัวละคร แล้วนำมาใช้ประกอบการแสดง ละครดึกดำบรรพ์ เรียกว่า“เห่เรือดึกดำบรรพ์” กรมศิลปากรได้บันทึกเสียงครูประเวช กุมุท ผู้เป็นต้นเสียง เก็บรักษาไว้เป็นตัวอย่าง
๒. พนักงานเห่เรือพระราชพิธีของกองทัพเรือ ประดิษฐ์เพิ่มเติมขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการเห่แบบกองทัพเรือ โดยใช้ทำนองเห่เรือหลวงประสมกับการร้องเพลงต่างๆ เช่น เพลงเวสสุกรรม เพลงเต่าเห่ เพลงพม่าเห่ แล้วปรับจังหวะให้เข้ากับการพายเรือเพื่อความสนุกสนาน เรียกว่า “เห่เรือออกเพลงต่างๆ” สำหรับใช้สาธิตแสดงการเห่เรือและแสดง กระบวนเรือในโอกาสต่างๆ
ขอบคุณที่มา : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 30
นอกจากนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านการเห่เรือทั้งของกองทัพเรือและกรมศิลปากรยังได้กล่าวถึงการเห่เรือเล่นว่าเป็นการเห่แบบไม่เป็นพิธีการในงานต่างๆ ดังนี้
พันจ่าเอก เขียว ศุขภูมิ กล่าวว่า “เป็นการเห่ให้เห็นกระบวนเรือครบเต็มพิธีเพื่อให้ประชาชนชม บางครั้งอาจแทรกทำนองเพลงไทยลงไปเพื่อให้เกิดความครึกครื้น”
ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์) ประจำ พ.ศ. ๒๕๓๘ กล่าวถึงการเห่เรือเล่นว่า “เป็นการเห่แบบของกรมศิลปากร เพื่อ ประกอบการร่ายรำ หรือเล่นละครตอนที่เกี่ยวกับการเห่เรือ”
กล่าวโดยสรุป การเห่เรือเล่นนอกจาก จะเป็นการร้องเพื่อประกอบการพายเรือเล่นให้สนุกสนานแล้ว ยังหมายรวมถึงการนำ แบบอย่างของการเห่เรือหลวงมาปรับปรุงเพื่อการสาธิต หรือใช้ประกอบการแสดงก็ได้ด้วย ดังปรากฏ หลักฐาน คือ
๑. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงประดิษฐ์ ดัดแปลงทำนองเห่เรือหลวงให้เข้ากับท่ารำ ของตัวละคร แล้วนำมาใช้ประกอบการแสดง ละครดึกดำบรรพ์ เรียกว่า“เห่เรือดึกดำบรรพ์” กรมศิลปากรได้บันทึกเสียงครูประเวช กุมุท ผู้เป็นต้นเสียง เก็บรักษาไว้เป็นตัวอย่าง
๒. พนักงานเห่เรือพระราชพิธีของกองทัพเรือ ประดิษฐ์เพิ่มเติมขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการเห่แบบกองทัพเรือ โดยใช้ทำนองเห่เรือหลวงประสมกับการร้องเพลงต่างๆ เช่น เพลงเวสสุกรรม เพลงเต่าเห่ เพลงพม่าเห่ แล้วปรับจังหวะให้เข้ากับการพายเรือเพื่อความสนุกสนาน เรียกว่า “เห่เรือออกเพลงต่างๆ” สำหรับใช้สาธิตแสดงการเห่เรือและแสดง กระบวนเรือในโอกาสต่างๆ
ขอบคุณที่มา : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 30
- รับลิงก์
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี สวัสดีครับทุกท่าน ปัญหาการอ่านเขียนไม่คล่องของเด็กและเยาวชนของเรานับวันยิ่งมีปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น เรื่อย ๆ จนน่ากลัว การแก้ไขปัญหาภาษาไทยนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ของหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการศึกษาเสียแล้วครับ เมื่อหลายท่าน ทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ มีความเห็นตรงกันว่า จะปล่อยปะละเลยต่อปัญหานี้ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่ดี วันนี้ ครูเดชจึงได้นำไฟล์ตำราเรียน ที่แสนจะวิเศษ และผมเองกล้าการันตรีว่า หากนักเรียน หรือ ผู้ที่มีปัญหาภาษาไทย ได้ตั้งใจอ่าน ตั้งใจทำความเข้าใจ จะสามารถพัฒนาภาษาไทยไปได้อย่างดีเยี่ยมเลยครับ "มานะ มานี" นอกจากจะเป็นตำราภาษาไทย ที่คนที่มีอายุหลายท่านได้สัมผัสเรียนรู้ในวิชาภาษาไทยมาแล้ว ท่านจะทราบว่าตำราเรียนเล่มนี้ ไม่ได้มีแต่ความรู้ภาษาไทย อย่างเดียวไม่ หากแต่มีความน่าสนุก น่าสนใจ และความตื้นเต้น กลวิธีนี้เองล่ะครับ ที่ผมเห็นว่า เป็นอุบายล่อให้เด็กสนใจตำราเรียนได้เป็นอย่างดี ความสนุก ความเพลิดเพลิน เมื่อนักเรียนอ่านจบเล่ม ตัวละครก็จบชั้นเดียวกัน เมื่อเลื่อนชั้น นักเรี
แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1
แจกฟรี แบบฝึกหัดภาษาไทยใช่ควบคู่กับตำรามานะมานี ป. 1 คลิกที่ลิงก์เพื่อดาวน์โหลดครับ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 1-5 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 6-10 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 11-15 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 16-20 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 21-25 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 26-30 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 31-35 อยู่ในขณะจัดทำ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 36-40 อยู่ในขณะจัดทำ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยที่ออสเตรเลีย หาครูสอนภาษาไทยที่ญี่ปุ่น หาครูสอนภาษาไทยที่เวียดนาม หาครูสอนภาษาไทยที่อเมริกา หาครูสอนภาษาไทยที่เยอรมัน หาครูสอนภาษาไทยที่ฝรั่งเศส Learn Thai with native speakers. หาครูสอนภาษาไทยอ่านเขียน สอนอ่านหนังสือภาษาไทย สอนอ่านเขียน ลูกอ่านภาษาไทยไม่ออก หาครูแก้ไขภาษาไทย สถาบันสอนภาษาไทย โรงเรียนสอนภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทยนานาชาติ หาครูสอนภาษาไทยลูกครึ่ง หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนพิเศษ ห
กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์
ให้ติวเตอร์ใช้เขตพื้นที่เหล่านี้ เพื่อระบุพื้นที่ที่ท่านสามารถเดินทางไปสอนได้สะดวกครับ ศูนย์จะแจ้งงานให้ท่านทราบตามพื้นที่การเดินทางที่ท่านสะดวกครับ โปรดแจ้งตามความสะดวกจริง เพื่อความรวดเร็วในการรับงานสอนนะครับ 1.กลุ่มกรุงเทพกลาง ประกอบด้วย เขตพระนคร ดุสิต ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ดินแดง ห้วยขวาง พญาไท ราชเทวี และวังทองหลาง 2.กลุ่มกรุงเทพใต้ ประกอบด้วย เขตปทุมวัน บางรัก สาทร บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย วัฒนา พระโขนง สวนหลวง และบางนา 3. กลุ่มกรุงเทพเหนือ ประกอบด้วย เขตจตุจักร บางซื่อ ลาดพร้าว หลักสี่ ดอนเมือง สายไหม และบางเขน 4.กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ประกอบด้วย เขตบางกะปิ สะพานสูง บึงกุ่ม คันนายาว ลาดกระบัง มีนบุรี หนองจอก คลองสามวาและประเวศ 5.กลุ่มกรุงธนเหนือ ประกอบด้วย เขตธนบุรี คลองสาน จอมทอง บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย บางพลัด ตลิ่งชันและทวีวัฒนา 6.กลุ่มกรุงธนใต้ ประกอบด้วย เขตภาษีเจริญ บางแค หนองแขม บางขุนเทียน บางบอน ราษฎร์บูรณะและทุ่งครุ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยท