Featured post
เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม :วิเคราะห์พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา(2)
- รับลิงก์
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
แนวทางและความเป็นไปได้ 1
การจัดการศึกษาในอนาคตที่จะถึงนี้ จำเป็นต้องยึดแนวตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ตามการดำเนินการจัดการศึกษาทั้งในปัจจุบันและในอนาคต คงปฏิเสธไม่ได้ถึงความจำเป็นต่อการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อดำเนินจัดการศึกษา ในการนี้คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติตระหนักถึงประเด็นนี้ จึงได้นำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาบรรจุลงไป พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติอย่างเน้นหนักและชัดเจน
การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษานั้นหากขาดซึ่งนโยบายข้อบังคับหรือแนวทางการใช้แล้ว อาจจะก่อให้เกิดการใช้อย่างหลงทิศหลงทาง การใช้อย่างพุ่มเฟือย การใช้เพื่อเป็นเครื่องประดับของสถาบัน หากเกิดเช่นนี้แล้วจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆเลย แต่กลับทำให้ประเทศชาติสิ้นเปลืองงบประมาณอย่างใช่เหตุ
ในขณะเดียวกันแนวความคิดวิสัยทัศนของผู้บริหารประเทศ ผู้บริหารองค์กรสถาบันก็จำเป็นถึงจำเป็นที่สุด พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติจะเป็นเครื่องชี้ทางหรือตัวที่ให้คำตอบแก่ท่านเหล่านั้นได้ดีที่สุด เรามาลองศึกษากันว่าพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้ ในส่วนเทคโนโลยีการศึกษาได้กล่าวอะไรไว้บ้าง
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
--------------------------------------------------------------------------------
มาตรา 63 รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่ง วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่นเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทำนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนาธรรมตามความจำเป็น
มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาแบบเรียนตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิต และมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้ โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดนเสรีอย่างเป็นธรรม
--------------------------------------------------------------------------------
จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาข้างต้นนั้น เราสามารถแยกแยะได้เป็น 2 ประเด็นหลักๆคือ มาตรา 63 เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ Hardware และ มาตราที่ 64 เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ Software โดยจะขอกล่าวดังนี้
มาตรา 63 Hardware จากสภาพปัจจุบัน สถาบันการศึกษาต่างๆ ต่างลงทุนเครื่องมือและอุปกรณ์การศึกษาไปเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การลงทุนในลักษณะที่ใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก เลือกซื้อ hardware และอุปกรณ์เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง เปรียบเสมือนการกวนน้ำอยู่ในอ่าง ในขณะที่ Hardware และอุปกรณ์เครือข่ายของตนไม่สามารถ เชื่อมออกสู่ภายนอกด้วยความไวที่เพียงพอต่อการสื่อสารการศึกษาได้ หรือถ้าต้องการเชื่อมเครือข่ายด้วยความไวสูงที่เพียงพอ ก็ต้องลงทุนจ่ายค่าเชื่อมความเร็วสูงให้กับเอกชน (ISP) ในราคาที่สูงมาก ถ้าสถาบันที่ไม่มีงบประมาณจ่ายค่าเชื่อมความเร็วสูง(จ่ายค่า Hardware ไปหมดแล้วต้องรองบประมาณหน้า ซึ่งจะได้หรือเปล่าก็ยังไม่รู้) หรือหากมีงบประมาณในปีต่อๆมา Hardware ที่มีอยู่ก็ไม่สามารถรองรับได้การเชื่อมต่อได้แล้ว เนื่องจากตกรุ่นไปแล้วทำให้เกิดใช้ Hardware อย่างไม่คุ้มค่า หรือเสียโอกาสด้าน Hardware โดยไม่จำเป็น
ดังนั้นหากเป็นไปตาม มาตราที่ 63 นี้แล้ว สถาบันการศึกษานั้นๆ จะสามารถใช้บริการเชื่อมต่อเครือข่าย Internet ด้วยความเร็วอย่างเพียงพอ จากบริการของรัฐที่ ต้องจัดสรรให้อย่างเพียงพอ ด้วยราคาที่ไม่สูงหรืออาจให้เปล่า โดยนับเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานด้านการศึกษาทีเดียวก็ได้
ส่วนด้านวิทยุและโทรทัศน์ปัจจุบันเรามีเครือข่ายดาวเทียมไทยคมให้บริการอยู่แล้ว แต่มิได้เป็นเครือข่ายโทรทัศน์ที่เป็น Free TV ที่เราสามารถดูได้อย่าง 3 5 7 9 ITV โดยทั่วไปเราจะต้องมีอุปกรณ์ถึงจะดูได้ เช่นกัน ถ้าเป็นตามมาตรา 63 แล้ว รัฐต้องจัดสรรเครือข่ายคลื่นวิทยุโทรทัศน์สำหรับการศึกษาที่สามารถเลือกดูเลือกชมได้อย่างเพียงพอ อย่างสะดวกสะบายดังเช่น 3 5 7 9 ITV เลยที่เดียว ส่วนจะมีโฆษณาหรือไม่นั้นต้องไปตีความกันอีกที หากมี รายได้จะต้องเข้าสู่ระบบการจัดการเครือข่ายวิทยุโทรทัศน์ให้สามารถเลี้ยงตนเองได้
มาตรา 64 Software ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่ารายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาหรือ Website เพื่อการศึกษาที่นำเสนออย่างจริงจังและมีคุณภาพนั้นหาได้ยากมาก อาจจะเป็นเพราะค่าเช่าเวลาออกอากาศ ค่าเช่า Domain ,Web hosting ที่สูงมาก และหาผู้สนับสนุนเงินทุนได้น้อยมาก หรือแทบไม่มีเลย ที่ทำอยู่ก็เพราะใจรักมีงานประจำอยู่แล้วใช้บริการ Free Webhosting จ่ายค่า Domain ค่าไฟ ค่า Net เอาเอง
หากเป็นไปตาม มาตรา 64 รัฐต้องจัดให้มีการสนับสนุนให้มีการผลิตรายการ Software ,Website เพื่อการศึกษา เช่น มีเงินทุนให้กู้ยืมโดยเฉพาะที่คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ ให้เช่าเวลาออกอากาศที่ถูก มี Webhost ที่ให้บริการ Free ,หรือคิดในราคาที่ต่ำกว่าปกติ คิดภาษีรายได้ที่อัตราต่ำ ให้มีการประกวดมีการแจกรางวัล และสิทธิพิเศษอื่นๆเพื่อสร้างแรงจูงใจ
อย่างไรก็ตามก่อนที่จะเรียกร้องหรือแสดงความคิดในความต้องการใดๆนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตนเองและองค์กรก็ให้เข้าสู่ยุคสมัย Cyber Education ก่อน ผู้บริหารนับเป็นหัวเรือสำคัญ จะต้อง Update ตนเองอย่างสม่ำเสมอ อย่าคิดว่าเทคโนโลยีเป็นคนที่ไม่หน้าคบ ไม่อยากคุย ไม่อยากเสวนาด้วย ถ้าเป็นที่พูดก็เท่ากับเป็นการปิดประตูบ้านตนเองแล้วเปิดไฟในบ้านรอวันแบตเตอรี่หมดอย่างเดี่ยว ผู้ปฏิบัติก็เช่นกันต้องหมั่นศึกษาฝึกฝนตามวิทยาการที่ก้าวไกล อย่าเพียงแต่รอคำสั่งจากผู้บริหารเท่านั้น ท้ายนี้ขออย่าให้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้อย่าเป็นเพียงเครื่องประดับข้างฝาเท่านั้น ขึ้นอยู่กับพวกเราทุกคน
โดย อ.ภาสกร เรืองรอง ThaiWBI.com
แนวทางและความเป็นไปได้ 1
การจัดการศึกษาในอนาคตที่จะถึงนี้ จำเป็นต้องยึดแนวตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ตามการดำเนินการจัดการศึกษาทั้งในปัจจุบันและในอนาคต คงปฏิเสธไม่ได้ถึงความจำเป็นต่อการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อดำเนินจัดการศึกษา ในการนี้คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติตระหนักถึงประเด็นนี้ จึงได้นำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาบรรจุลงไป พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติอย่างเน้นหนักและชัดเจน
การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษานั้นหากขาดซึ่งนโยบายข้อบังคับหรือแนวทางการใช้แล้ว อาจจะก่อให้เกิดการใช้อย่างหลงทิศหลงทาง การใช้อย่างพุ่มเฟือย การใช้เพื่อเป็นเครื่องประดับของสถาบัน หากเกิดเช่นนี้แล้วจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆเลย แต่กลับทำให้ประเทศชาติสิ้นเปลืองงบประมาณอย่างใช่เหตุ
ในขณะเดียวกันแนวความคิดวิสัยทัศนของผู้บริหารประเทศ ผู้บริหารองค์กรสถาบันก็จำเป็นถึงจำเป็นที่สุด พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติจะเป็นเครื่องชี้ทางหรือตัวที่ให้คำตอบแก่ท่านเหล่านั้นได้ดีที่สุด เรามาลองศึกษากันว่าพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้ ในส่วนเทคโนโลยีการศึกษาได้กล่าวอะไรไว้บ้าง
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
--------------------------------------------------------------------------------
มาตรา 63 รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่ง วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่นเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทำนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนาธรรมตามความจำเป็น
มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาแบบเรียนตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิต และมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้ โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดนเสรีอย่างเป็นธรรม
--------------------------------------------------------------------------------
จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาข้างต้นนั้น เราสามารถแยกแยะได้เป็น 2 ประเด็นหลักๆคือ มาตรา 63 เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ Hardware และ มาตราที่ 64 เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ Software โดยจะขอกล่าวดังนี้
มาตรา 63 Hardware จากสภาพปัจจุบัน สถาบันการศึกษาต่างๆ ต่างลงทุนเครื่องมือและอุปกรณ์การศึกษาไปเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การลงทุนในลักษณะที่ใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก เลือกซื้อ hardware และอุปกรณ์เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง เปรียบเสมือนการกวนน้ำอยู่ในอ่าง ในขณะที่ Hardware และอุปกรณ์เครือข่ายของตนไม่สามารถ เชื่อมออกสู่ภายนอกด้วยความไวที่เพียงพอต่อการสื่อสารการศึกษาได้ หรือถ้าต้องการเชื่อมเครือข่ายด้วยความไวสูงที่เพียงพอ ก็ต้องลงทุนจ่ายค่าเชื่อมความเร็วสูงให้กับเอกชน (ISP) ในราคาที่สูงมาก ถ้าสถาบันที่ไม่มีงบประมาณจ่ายค่าเชื่อมความเร็วสูง(จ่ายค่า Hardware ไปหมดแล้วต้องรองบประมาณหน้า ซึ่งจะได้หรือเปล่าก็ยังไม่รู้) หรือหากมีงบประมาณในปีต่อๆมา Hardware ที่มีอยู่ก็ไม่สามารถรองรับได้การเชื่อมต่อได้แล้ว เนื่องจากตกรุ่นไปแล้วทำให้เกิดใช้ Hardware อย่างไม่คุ้มค่า หรือเสียโอกาสด้าน Hardware โดยไม่จำเป็น
ดังนั้นหากเป็นไปตาม มาตราที่ 63 นี้แล้ว สถาบันการศึกษานั้นๆ จะสามารถใช้บริการเชื่อมต่อเครือข่าย Internet ด้วยความเร็วอย่างเพียงพอ จากบริการของรัฐที่ ต้องจัดสรรให้อย่างเพียงพอ ด้วยราคาที่ไม่สูงหรืออาจให้เปล่า โดยนับเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานด้านการศึกษาทีเดียวก็ได้
ส่วนด้านวิทยุและโทรทัศน์ปัจจุบันเรามีเครือข่ายดาวเทียมไทยคมให้บริการอยู่แล้ว แต่มิได้เป็นเครือข่ายโทรทัศน์ที่เป็น Free TV ที่เราสามารถดูได้อย่าง 3 5 7 9 ITV โดยทั่วไปเราจะต้องมีอุปกรณ์ถึงจะดูได้ เช่นกัน ถ้าเป็นตามมาตรา 63 แล้ว รัฐต้องจัดสรรเครือข่ายคลื่นวิทยุโทรทัศน์สำหรับการศึกษาที่สามารถเลือกดูเลือกชมได้อย่างเพียงพอ อย่างสะดวกสะบายดังเช่น 3 5 7 9 ITV เลยที่เดียว ส่วนจะมีโฆษณาหรือไม่นั้นต้องไปตีความกันอีกที หากมี รายได้จะต้องเข้าสู่ระบบการจัดการเครือข่ายวิทยุโทรทัศน์ให้สามารถเลี้ยงตนเองได้
มาตรา 64 Software ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่ารายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาหรือ Website เพื่อการศึกษาที่นำเสนออย่างจริงจังและมีคุณภาพนั้นหาได้ยากมาก อาจจะเป็นเพราะค่าเช่าเวลาออกอากาศ ค่าเช่า Domain ,Web hosting ที่สูงมาก และหาผู้สนับสนุนเงินทุนได้น้อยมาก หรือแทบไม่มีเลย ที่ทำอยู่ก็เพราะใจรักมีงานประจำอยู่แล้วใช้บริการ Free Webhosting จ่ายค่า Domain ค่าไฟ ค่า Net เอาเอง
หากเป็นไปตาม มาตรา 64 รัฐต้องจัดให้มีการสนับสนุนให้มีการผลิตรายการ Software ,Website เพื่อการศึกษา เช่น มีเงินทุนให้กู้ยืมโดยเฉพาะที่คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ ให้เช่าเวลาออกอากาศที่ถูก มี Webhost ที่ให้บริการ Free ,หรือคิดในราคาที่ต่ำกว่าปกติ คิดภาษีรายได้ที่อัตราต่ำ ให้มีการประกวดมีการแจกรางวัล และสิทธิพิเศษอื่นๆเพื่อสร้างแรงจูงใจ
อย่างไรก็ตามก่อนที่จะเรียกร้องหรือแสดงความคิดในความต้องการใดๆนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตนเองและองค์กรก็ให้เข้าสู่ยุคสมัย Cyber Education ก่อน ผู้บริหารนับเป็นหัวเรือสำคัญ จะต้อง Update ตนเองอย่างสม่ำเสมอ อย่าคิดว่าเทคโนโลยีเป็นคนที่ไม่หน้าคบ ไม่อยากคุย ไม่อยากเสวนาด้วย ถ้าเป็นที่พูดก็เท่ากับเป็นการปิดประตูบ้านตนเองแล้วเปิดไฟในบ้านรอวันแบตเตอรี่หมดอย่างเดี่ยว ผู้ปฏิบัติก็เช่นกันต้องหมั่นศึกษาฝึกฝนตามวิทยาการที่ก้าวไกล อย่าเพียงแต่รอคำสั่งจากผู้บริหารเท่านั้น ท้ายนี้ขออย่าให้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้อย่าเป็นเพียงเครื่องประดับข้างฝาเท่านั้น ขึ้นอยู่กับพวกเราทุกคน
โดย อ.ภาสกร เรืองรอง ThaiWBI.com
- รับลิงก์
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี สวัสดีครับทุกท่าน ปัญหาการอ่านเขียนไม่คล่องของเด็กและเยาวชนของเรานับวันยิ่งมีปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น เรื่อย ๆ จนน่ากลัว การแก้ไขปัญหาภาษาไทยนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ของหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการศึกษาเสียแล้วครับ เมื่อหลายท่าน ทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ มีความเห็นตรงกันว่า จะปล่อยปะละเลยต่อปัญหานี้ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่ดี วันนี้ ครูเดชจึงได้นำไฟล์ตำราเรียน ที่แสนจะวิเศษ และผมเองกล้าการันตรีว่า หากนักเรียน หรือ ผู้ที่มีปัญหาภาษาไทย ได้ตั้งใจอ่าน ตั้งใจทำความเข้าใจ จะสามารถพัฒนาภาษาไทยไปได้อย่างดีเยี่ยมเลยครับ "มานะ มานี" นอกจากจะเป็นตำราภาษาไทย ที่คนที่มีอายุหลายท่านได้สัมผัสเรียนรู้ในวิชาภาษาไทยมาแล้ว ท่านจะทราบว่าตำราเรียนเล่มนี้ ไม่ได้มีแต่ความรู้ภาษาไทย อย่างเดียวไม่ หากแต่มีความน่าสนุก น่าสนใจ และความตื้นเต้น กลวิธีนี้เองล่ะครับ ที่ผมเห็นว่า เป็นอุบายล่อให้เด็กสนใจตำราเรียนได้เป็นอย่างดี ความสนุก ความเพลิดเพลิน เมื่อนักเรียนอ่านจบเล่ม ตัวละครก็จบชั้นเดียวกัน เมื่อเลื่อนชั้น นักเรี
แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1
แจกฟรี แบบฝึกหัดภาษาไทยใช่ควบคู่กับตำรามานะมานี ป. 1 คลิกที่ลิงก์เพื่อดาวน์โหลดครับ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 1-5 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 6-10 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 11-15 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 16-20 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 21-25 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 26-30 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 31-35 อยู่ในขณะจัดทำ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 36-40 อยู่ในขณะจัดทำ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยที่ออสเตรเลีย หาครูสอนภาษาไทยที่ญี่ปุ่น หาครูสอนภาษาไทยที่เวียดนาม หาครูสอนภาษาไทยที่อเมริกา หาครูสอนภาษาไทยที่เยอรมัน หาครูสอนภาษาไทยที่ฝรั่งเศส Learn Thai with native speakers. หาครูสอนภาษาไทยอ่านเขียน สอนอ่านหนังสือภาษาไทย สอนอ่านเขียน ลูกอ่านภาษาไทยไม่ออก หาครูแก้ไขภาษาไทย สถาบันสอนภาษาไทย โรงเรียนสอนภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทยนานาชาติ หาครูสอนภาษาไทยลูกครึ่ง หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนพิเศษ ห
กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์
ให้ติวเตอร์ใช้เขตพื้นที่เหล่านี้ เพื่อระบุพื้นที่ที่ท่านสามารถเดินทางไปสอนได้สะดวกครับ ศูนย์จะแจ้งงานให้ท่านทราบตามพื้นที่การเดินทางที่ท่านสะดวกครับ โปรดแจ้งตามความสะดวกจริง เพื่อความรวดเร็วในการรับงานสอนนะครับ 1.กลุ่มกรุงเทพกลาง ประกอบด้วย เขตพระนคร ดุสิต ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ดินแดง ห้วยขวาง พญาไท ราชเทวี และวังทองหลาง 2.กลุ่มกรุงเทพใต้ ประกอบด้วย เขตปทุมวัน บางรัก สาทร บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย วัฒนา พระโขนง สวนหลวง และบางนา 3. กลุ่มกรุงเทพเหนือ ประกอบด้วย เขตจตุจักร บางซื่อ ลาดพร้าว หลักสี่ ดอนเมือง สายไหม และบางเขน 4.กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ประกอบด้วย เขตบางกะปิ สะพานสูง บึงกุ่ม คันนายาว ลาดกระบัง มีนบุรี หนองจอก คลองสามวาและประเวศ 5.กลุ่มกรุงธนเหนือ ประกอบด้วย เขตธนบุรี คลองสาน จอมทอง บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย บางพลัด ตลิ่งชันและทวีวัฒนา 6.กลุ่มกรุงธนใต้ ประกอบด้วย เขตภาษีเจริญ บางแค หนองแขม บางขุนเทียน บางบอน ราษฎร์บูรณะและทุ่งครุ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยท