Featured post
เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : การศึกษา
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
การศึกษา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การศึกษา ในความหมายทั่วไปอย่างกว้างที่สุด เป็นวิธีการส่งผ่านจุดมุ่งหมายและธรรมเนียมประเพณีให้ดำรงอยู่จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง โดยทั่วไป การศึกษาเกิดขึ้นผ่านประสบการณ์ใด ๆ ซึ่งมีผลกระทบเชิงพัฒนาต่อวิธีที่คน ๆ หนึ่งจะคิด รู้สึกหรือกระทำ แต่ในความหมายเทคนิคอย่างแคบ การศึกษาเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการซึ่งสังคมส่งผ่านความรู้ ทักษะ จารีตประเพณีและค่านิยมที่สั่งสมมาจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง นั่นคือ การสอนในสถานศึกษา สำหรับปัจจุบันนี้มีการแบ่งระดับชั้นทางการศึกษาออกเป็นขั้นๆ เช่น การศึกษาปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ทั้งนี้รวมไปถึงระดับอาชีวศึกษา อุดมศึกษา และการฝึกงาน
สำหรับประเทศไทย มีกฎหมายบังคับให้ประชาชนไทยทุกคนต้องจบการศึกษาภาคบังคับ และสามารถเรียนได้จนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ในปัจจุบันยังเปิดโอกาสให้มีการเรียนการสอนโดยผู้ปกครองที่บ้านหรือที่เรียกว่าโฮมสคูลอีกด้วย
คำว่า "education" เป็นศัพท์จากภาษาลาติน ēducātiō ("การปรับปรุง,การอบรม") จาก ēdūcō ("ฉันรู้, ฉันฝึก")
สำหรับการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มี 3 รูปแบบคือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษาในระบบ
การศึกษาในระบบ (formal education) เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน[3] โดยการศึกษาในระบบ สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
ระดับปฐมวัย
ระดับปฐมวัยเป็นการจัดการศึกษาให้เด็กก่อนวัยที่ต้องศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเป็นการวางรากฐานชีวิตเพื่อปูพื้นฐานที่ดีก่อนการเรียนในระดับต่อไป โดยทั่วไปแล้วผู้ที่เข้าศึกษาในระดับนี้มักมีอายุตั้งแต่ 4 - 8 ปี การเรียนการสอนในระดับนี้จะเน้นการสอนที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาพัฒนาการของเด็ก ซึ่งเน้นในด้านการพัฒนาร่างกาย จิตใจ สังคม สติปัญญาและอารมณ์ของเด็ก นอกจากนี้ยังเน้นให้เด็กเรียนรู้ทักษะต่างๆผ่านกิจกรรมการเล่นและกิจกรรมเกมส์ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม และเกิดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเหล่านี้อีกด้วย ซึ่งการใช้เกมส์และการเล่นถือได้ว่าเป็นวิธีการหลักสำหรับสอนเด็กในระดับปฐมวัย โครงสร้างหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยจะมีจุดเน้นทั้งสิ้น 2 ด้านคือ ด้านประสบการณ์สำคัญ ประกอบไปด้วย ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา อีกด้านหนึ่งคือสาระที่ควรเรียนรู้ ประกอบไปด้วย เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่รอบตัวเด็ก ธรรมชาติรอบตัวและสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
ระดับประถมศึกษา]
ประถมศึกษาเป็นการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยทั่วไปแล้วการศึกษาในระดับประถมศึกษาจะมีระยะเวลาในการเรียนประมาณ 5 - 8 ปี ขึ้นอยู่กับการวางแผนจัดการศึกษาของแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทยมีจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นประถมศึกษา 6 ปี ตั้งแต่ในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 โดยผู้เข้าศึกษาในระดับประถมศึกษามักจะมีอายุประมาณ 6-7 ปี โดยในปัจจุบันนี้ยังมีเด็กกว่า 61 ล้านคนที่ไม่มีโอกาสได้เรียนในระดับประถมศึกษา ซึ่ง 47% ในจำนวนนี้จะหมดโอกาสการเข้าศึกษาต่ออย่างสิ้นเชิงอย่างไรก็ตาม UNESCO ได้พยายามสนับสนุนให้เกิดการศึกษาสำหรับทุกคน โดยได้ดำเนินการที่เรียกว่าการศึกษาเพื่อปวงชน ซึ่งทุกประเทศจะต้องประสบความสำเร็จในด้านจำนวนคนเข้าศึกษาในระดับประถมศึกษาตามประกาศของ UNESCO ภายในปี พ.ศ. 2558 หลังจากนักเรียนจบชั้นประถมศึกษาแล้วจะสามารถเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาได้ ซึ่งนักเรียนเหล่านี้มักจะมีอายุประมาณ 11 - 13 ปี
ระดับมัธยมศึกษา
มัธยมศึกษาเป็นการจัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจัดการศึกษาให้กับนักเรียนที่จบในระดับประถมศึกษามาแล้ว สำหรับผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษามักจะมีอายุประมาณ 11 - 18 ปี สำหรับการจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษามีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะกระบวนการเฉพาะด้าน เพื่อนำไปใช้ในการศึกษาระดับสูงต่อไป สำหรับประเทศโดยส่วนใหญ่แล้วการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาถือได้ว่าเป็นการศึกษาภาคบังคับ สำหรับประเทศไทย นักเรียนจะต้องจบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จึงจะถือว่าจบการศึกษาภาคบังคับ อย่างไรก็ตามหลังจากจบระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นแล้ว นักเรียนสามารถเลือกที่จะหยุดเรียนแล้วออกไปประกอบอาชีพ หรือ เรียนต่อก็ได้ ในกรณีที่เรียนต่อจะมี 2 ระบบให้เลือกเรียน ระหว่างสายสามัญ ซึ่งเป็นการเรียนต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีการจัดการเรียนการสอนที่เป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา และสายอาชีพ ซึ่งจะสอนเกี่ยวกับอาชีพทางด้านต่างๆ เช่น งานช่าง และเกษตรกรรม เป็นต้น โดยทั้งหมดนี้รัฐบาลไทยจะเป็นผู้ดำเนินการทางด้านค่าใช้จ่ายทั่วไปจนจบระดับชั้นมัธยมศึกษา
ระดับอาชีวศึกษา
อาชีวศึกษาเป็นการศึกษาเพื่อเตรียมคนสำหรับการประกอบอาชีพในอนาคต ทั้งในด้านของงานช่างฝีมือ งานธุรกิจ งานวิศวกรรม และงานบัญชี โดยเป็นการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานได้จริงๆ ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เน้นให้มีความรู้พื้นฐานมากเพียงพอสำหรับศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย การศึกษาในระดับอาชีวศึกษาจะเน้นให้มีการฝึกงาน เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากยิ่งขึ้น สำหรับประเทศไทยเริ่มมีการจัดการเรียนการสอนในสายอาชีพตั้งแต่ปี พ.ศ. 2452 โดยในสมัยนั้นเน้นจัดการเรียนการสอนทางด้าน แพทย์ ผดุงครรภ์ ภาษาอังกฤษ พาณิชยการ และครู
ระดับอุดมศึกษา
การศึกษาในระดับอุดมศึกษา (tertiary, third stage,post secondary education) เป็นการศึกษาที่ไม่ได้บังคับว่าต้องจบการศึกษาในระดับนี้ การศึกษาในระดับนี้เป็นการศึกษาที่สูงขึ้นมาจากการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา การศึกษาในระดับอุดมศึกษานั้นแบ่งได้ออกเป็น 2 ระดับคือระดับปริญญาบัณฑิตและระดับบัณฑิตศึกษา สำหรับการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินการ หากผู้เข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาเรียนจบแล้วจะได้รับปริญญาบัตรเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงการผ่านหลักสูตรนั้นๆ
การที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้นั้นจำเป็นต้องผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อก่อน ส่งผลให้วิธีการนี้ทำให้มีทั้งผู้ที่ได้สิทธิ์ศึกษาต่อและผู้ที่ไม่ได้สิทธิ์ศึกษาต่อ สำหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีความสำคัญมากในการสมัครงาน เพราะมักมีการกำหนดวุฒิการศึกษาขั้นต่ำในระดับปริญญาตรี นอกจากนี้ยังมีความสำคัญในการพัฒนากำลังคนในการพัฒนาประเทศชาติอีกด้วย
ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยมีทั้งมหาวิทยาลัยที่เป็นของรัฐ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และมหาวิทยาลัยเอกชน
การศึกษาพิเศษ
การศึกษาพิเศษเป็นการจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ ดังนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องสนับสนุนงบประมาณและสาธารณูปโภคต่างๆเพื่อสนับสนุนการศึกษาในรูปแบบนี้้โดยกลุ่มที่มีความต้องการพิเศษแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เด็กที่มีปัญญาเลิศ ซึ่งจะเน้นการพัฒนาความสามารถและความถนัดเฉพาะของบุคคล อีกประเภทหนึ่งคือเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายหรือสติปัญญา โดยการจัดการศึกษาจะเน้นการเรียนการสอนรายบุคคล ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ในห้องเรียนปกติ รวมไปถึงพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตให้กับผู้ที่มีความต้องการพิเศษให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้
การศึกษานอกระบบโรงเรียน
ตามความในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้ให้นิยามเกี่ยวกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน ความว่าเป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่มดังนั้นการจัดการเรียนการสอนนอกระบบโรงเรียนจะเป็นการจัดให้กับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในระบบโรงเรียนหรือผ่านจากระบบโรงเรียนมาแล้ว โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เข้าศึกษานอกระบบโรงเรียนมักเป็นผู้ใหญ่เป็นส่วนมาก เพื่อเรียนรู้การอ่านออกเขียนได้และนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับอาชีพของตัว สำหรับประเทศไทยมีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบการศึกษานอกโรงเรียนอยู่เป็นจำนวนมาก โดยนิยมจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชนหรือศูนย์การเรียนรู้นอกระบบโรงเรียน เพื่อให้ประชาชนเข้ามาเรียนรู้ได้ โดยภายในศูนย์จะมีอาจารย์ประจำและอาจารย์อาสาสมัครเป็นผู้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนนอกจากนี้แล้วการศึกษานอกระบบโรงเรียนยังมีการจัดการศึกษาในรูปแบบอื่นๆด้วย เช่น การศึกษาผู้ใหญ่ การศึกษาชุมชน เป็นต้น
การศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) โดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้ให้ความหมายของการศึกษาตามอัธยาศัยว่าเป็นการศึกษาที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สิ่งแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่นดังนั้นถือได้ว่าการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้เช่นเดียวกัน สำหรับการเรียนรู้ตามอัธยาศัยสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ การเรียนรู้ด้วยการนำตัวเอง การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญและการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน
การศึกษาตามอัธยาศัยมักเป็นการศึกษาที่เกิดขึ้นภายนอกห้องเรียน ไม่ได้เกี่ยวข้องกับหลักสูตรโดยเฉพาะเจาะจงและมักเกิดขึ้นโดยความบังเอิญ ดังนั้นส่งผลให้การศึกษาในประเภทนี้เกิดขึ้นได้ในทุกๆสถานที่ ทั้งที่บ้าน โรงเรียนและที่อื่นๆ ซึ่งเป็นการศึกษาเพียงรูปแบบเดียวของมนุษย์เท่านั้นที่จำเป็นต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต
การศึกษาในรูปแบบอื่นๆ
การศึกษาทางเลือกเป็นการศึกษาที่มีความแตกต่างจากการศึกษาในกระแสหลัก โดยยึดความต้องการของชุมชนในท้องถิ่นเป็นหลัก ใช้กระบวนการสอนที่มีความหลากหลายรูปแบบ และหยิบยกปรัชญาการศึกษาหลายๆปรัชญาเข้ามาประยุกต์ใช้ โดยการศึกษาในรูปแบบนี้ถือได้ว่าเป็นการศึกษาที่เป็นอุดมคติ และลดบทบาทของการจัดการศึกษาในรูปแบบของโรงเรียนลงสำหรับการจัดการศึกษาทางเลือกนั้นมีทั้งรูปแบบที่เรียนในโรงเรียนการศึกษาทางเลือก โฮมสคูล รวมไปถึงรูปแบบอันสคูลลิ่ง สำหรับโรงเรียนการศึกษาทางเลือกในประเทศไทยยกตัวอย่างเช่น โรงเรียนรุ่งอรุณ เป็นต้น
นักการศึกษาที่มีแนวคิดเรื่องการศึกษาทางเลือกและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ยกตัวอย่างเช่น รูดอร์ฟ สไตเนอร์ และมาเรีย มอนเตสเซอรี
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี สวัสดีครับทุกท่าน ปัญหาการอ่านเขียนไม่คล่องของเด็กและเยาวชนของเรานับวันยิ่งมีปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น เรื่อย ๆ จนน่ากลัว การแก้ไขปัญหาภาษาไทยนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ของหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการศึกษาเสียแล้วครับ เมื่อหลายท่าน ทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ มีความเห็นตรงกันว่า จะปล่อยปะละเลยต่อปัญหานี้ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่ดี วันนี้ ครูเดชจึงได้นำไฟล์ตำราเรียน ที่แสนจะวิเศษ และผมเองกล้าการันตรีว่า หากนักเรียน หรือ ผู้ที่มีปัญหาภาษาไทย ได้ตั้งใจอ่าน ตั้งใจทำความเข้าใจ จะสามารถพัฒนาภาษาไทยไปได้อย่างดีเยี่ยมเลยครับ "มานะ มานี" นอกจากจะเป็นตำราภาษาไทย ที่คนที่มีอายุหลายท่านได้สัมผัสเรียนรู้ในวิชาภาษาไทยมาแล้ว ท่านจะทราบว่าตำราเรียนเล่มนี้ ไม่ได้มีแต่ความรู้ภาษาไทย อย่างเดียวไม่ หากแต่มีความน่าสนุก น่าสนใจ และความตื้นเต้น กลวิธีนี้เองล่ะครับ ที่ผมเห็นว่า เป็นอุบายล่อให้เด็กสนใจตำราเรียนได้เป็นอย่างดี ความสนุก ความเพลิดเพลิน เมื่อนักเรียนอ่านจบเล่ม ตัวละครก็จบชั้นเดียวกัน เมื่อเลื่อนชั้น นักเรี...
แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1
แจกฟรี แบบฝึกหัดภาษาไทยใช่ควบคู่กับตำรามานะมานี ป. 1 คลิกที่ลิงก์เพื่อดาวน์โหลดครับ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 1-5 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 6-10 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 11-15 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 16-20 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 21-25 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 26-30 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 31-35 อยู่ในขณะจัดทำ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 36-40 อยู่ในขณะจัดทำ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยที่ออสเตรเลีย หาครูสอนภาษาไทยที่ญี่ปุ่น หาครูสอนภาษาไทยที่เวียดนาม หาครูสอนภาษาไทยที่อเมริกา หาครูสอนภาษาไทยที่เยอรมัน หาครูสอนภาษาไทยที่ฝรั่งเศส Learn Thai with native speakers. หาครูสอนภาษาไทยอ่านเขียน สอนอ่านหนังสือภาษาไทย สอนอ่านเขียน ลูกอ่านภาษาไทยไม่ออก หาครูแก้ไขภาษาไทย สถาบันสอนภาษาไทย โรงเรียนสอนภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทยนานาชาติ หาครูสอนภาษาไทยลูกครึ่ง หาครูสอ...
กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์
ให้ติวเตอร์ใช้เขตพื้นที่เหล่านี้ เพื่อระบุพื้นที่ที่ท่านสามารถเดินทางไปสอนได้สะดวกครับ ศูนย์จะแจ้งงานให้ท่านทราบตามพื้นที่การเดินทางที่ท่านสะดวกครับ โปรดแจ้งตามความสะดวกจริง เพื่อความรวดเร็วในการรับงานสอนนะครับ 1.กลุ่มกรุงเทพกลาง ประกอบด้วย เขตพระนคร ดุสิต ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ดินแดง ห้วยขวาง พญาไท ราชเทวี และวังทองหลาง 2.กลุ่มกรุงเทพใต้ ประกอบด้วย เขตปทุมวัน บางรัก สาทร บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย วัฒนา พระโขนง สวนหลวง และบางนา 3. กลุ่มกรุงเทพเหนือ ประกอบด้วย เขตจตุจักร บางซื่อ ลาดพร้าว หลักสี่ ดอนเมือง สายไหม และบางเขน 4.กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ประกอบด้วย เขตบางกะปิ สะพานสูง บึงกุ่ม คันนายาว ลาดกระบัง มีนบุรี หนองจอก คลองสามวาและประเวศ 5.กลุ่มกรุงธนเหนือ ประกอบด้วย เขตธนบุรี คลองสาน จอมทอง บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย บางพลัด ตลิ่งชันและทวีวัฒนา 6.กลุ่มกรุงธนใต้ ประกอบด้วย เขตภาษีเจริญ บางแค หนองแขม บางขุนเทียน บางบอน ราษฎร์บูรณะและทุ่งครุ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หา...