Featured post

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม :ดรุณศึกษายังจำเป็นสำหรับนักเรียนยุคใหม่อีกหรือไม่ ? 2

ดรุณศึกษายังจำเป็นสำหรับนักเรียนยุคใหม่อีกหรือไม่ ? 2

               
เรียนภาษาไทย,ติวO-NETสังคมฟรี,แก้ไขอ่านเขียนไทยไม่คล่อง,ติวเตอร์สังคม,หาติวเตอร์ติวO-NETสังคม,ครูเดช
มาในตอนที่ 2 นี้ ผมจะลงรายละเอียดการแก้ไขปัญหาการอ่านเขียนไทยไม่คล่องของนักเรียนในยุคปัจจุบันกันครับ แต่ผมต้องเรียนก่อนว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นท่านต้องพิจารณาก่อนนะครับ เพราะอาจจะไม่สามารถแก้ไขได้ทุกรณีไปครับ ผมคงทำได้เพียงการแนะนำเพียงเท่านั้นครับ

ในเล่มดรุณศึกษาเล่มเตรียมประถม เนื้อหาตลอดทั้งเล่ม ท่านผู้แต่งตำราเรียนนี้ ได้รจนาบทอ่านที่เป็นไปตามลักษณะของเด็กอย่างแท้จริง ทำไมผมจึงกล่าวเช่นนี้ ?

                ตามธรรมชาติการเรียนรู้ภาษาของเด็ก เด็กจะเริ่มต้นจากการฟัง นำไปสู่การพูด และจึงเริ่มกระบวนการทางภาษาในขั้นการอ่านและเขียน ใช่แล้วครับ มนุษย์เริ่มต้นการอ่านก่อน อ่าน จำ และนำไปสู่การเขียน ถ้าเราเริ่มต้นจากเขียนเราจะไม่ประสบความสำเร็จในการเรียนภาษา และการที่มีผู้เข้าใจผิดว่าการจำ การท่องจำไม่มีความจำเป็น ผมในฐานะครูที่คลุกคลีกับเด็กหลายช่วงวัย ที่ทำหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาการอ่านเขียนไทยไม่คล่องนั้น ขอเรียนว่า การท่องจำ การจำ ยังมีความจำเป็น โดยเฉพาะในเด็กวัยเริ่มเรียน มีความสำคัญเป็นอย่างมาก

                เมื่อเด็กเริ่มจำพยัญชนะได้ เด็กจะเริ่มสนใจและจะได้รับทราบว่าการอ่านออกเสียงให้ถูกต้องอย่างไร ครูผู้สอนก็นำเด็กเข้าไปสู่การจำในอีกทักษะหนึ่งคือ การจำสระ เป็นที่น่าตกใจมาก ที่เห็นบางท่านเริ่มต้นการจำสระให้เด็กวัยเริ่มเรียนด้วยการสอนให้จำแบบเรียงสระตามที่เราเข้าใจกัน  ตามธรรมชาติอีกประการมนุษย์จะเริ่มจำ เลียนคำจากพยัญชนะและฐานกร(ตำแหน่งการออกเสียง) ฐานปาก หรือริมฝีปากก่อนอื่นใด  ท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่า คำว่าพ่อแม่ ในหลาย ๆ ภาษา มักเป็นคำที่มีฐานออกเสียงที่ริมฝีปาก

พ่อ –เพอ               แม่ –เมอ               ป๋า –เปอ                ม่า –เมอ               
และอีกสิ่งหนึ่งคือ เรามักจะออกเสียงยาวได้ก่อนเสียงสั้น  ท่าน ฟ. ฮีแลร์ ท่านเป็นอริยะทางภาษาไทยเป็นอย่างยิ่งครับ เพราะตำราดรุณศึกษานี้ท่านได้แต่งโดยใช้กระบวนการทางธรรมชาติของเด็ก คือเริ่มต้นจากสระเสียงยาว ไปตามลำดับขั้น ผิดและแตกต่างจากตำราสมัยปัจจุบันที่ใช้กระบวนการวิธีที่แปลกประหลาด นำไปสู่ปัญหาการอ่านเขียนไทยไม่คล่องและที่หนักสุดคือ อ่านไม่ออกเลย

                ในบทที่ 1 ของตำราดรุณศึกษา เล่ม เตรียมประถม ท่าน ฟ. ฮีแลร์ ท่านได้แต่งตำราโดยให้สระในกลุ่มแรกที่ท่านสอนแบ่งเป็นดังนี้ครับ

สระ อา อี อือ อู  นี้คือสระในกลุ่มแรกที่ท่านสอนให้นักเรียนอ่าน เนื่องจากดรุณศึกษา ไม่ใช้หนังสือที่อ่านแบบประสมกับพยัญชนะทั้ง 44 ตัว แต่ท่านได้แยกพยัญชนะออกเป็น 3 กลุ่มตามเสียงที่เปล่งออกมา หรือที่ท่านทราบกันดีอยู่แล้วว่า การแยกพยัญชนะตามเสียง คือ อักษรกลาง อักษรสูง และ อักษรต่ำ

                ท่าน ฟ. ฮีแลร์ ท่านแยกให้นักเรียนอ่านโดยให้ใช้พยัญชนะกลุ่มอักษรกลางประสมกับสระทั้ง 4 นี้ก่อน เป็นธรรมดาที่เด็กจะเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว หากนักเรียนได้จำพยัญชนะไว้ในสมองและสระบางกลุ่มไว้แล้ว คำถามต่อมาสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีลูกเล็ก ๆ วัยเตรียมอนุบาล หรือ อนุบาล ที่อยากให้ลูกมีทักษะภาษาไทยที่ดี ถามกันมาก คือ แม้ว่าลูกจะจำพยัญชนะได้แล้ว สระได้แล้ว แต่พอพยัญชนะกับสระมาประสมกัน เด็กก็อ่านไม่ออก ออกเสียงไม่ได้ คำตอบที่ผมจะเรียนนั้นก็แสนจะง่ายครับ

                เมื่อเขาอ่านไม่ออก ก็บอกให้เค้าพูดตามครับ พูดเหมือนกวนโมโหท่านผู้อ่าน แต่ผมเรียนตามความจริงครับ เพราะเด็กวัยนี้ออกเสียงประสมคำเองไม่เป็น เราต้องช่วยเขาก่อนครับ ช่วยไปทีละน้อย ตามธรรมชาติของเด็ก จะมีสมองที่พัฒนาเพื่อการเรียนรู้อยู่แล้ว ไม่ยากเลยครับที่พวกเขาจะจดจำและเรียนรู้ เมื่อเขาสามารถจำได้ว่า ก บวก สระอา อ่านว่า กา     เมื่อเจอคำว่า ป บวก สระอา เด็กจะเริ่มการผันเสียงเองได้ตามอัตโนมัติ

ในบทต่อไป ผมจะมาตอบคำถามที่ผมคิดว่าพ่อแม่ผู้ปกครองอยากทราบกันมาก คือ แล้วการฝึกคัดลายมือ ต้องให้เด็กคัดเพียงอย่างเดียวก่อนใช่ไหม เมื่อคัดคล่องแล้วจึงนำตำราดรุณศึกษามาใช้สอน คำตอบอยู่ในบทที่ 3 รวมถึงคำแนะนำวิธีการต่าง ๆ ครับในการใช้ตำราดรุณศึกษา เล่มเตรียมประถม

มาร่วมกันแก้ไขเด็กอ่านเขียนไทยไม่คล่องกับผม ครูเดช ครูที่อยู่กับปัญหาเด็กมีปัญหาภาษาไทยอ่านเขียนไทยไม่คล่องมามากกว่า 5 ปีครับ

อ่านบทความที่ 1 ย้อนหลังได้ที่ http://www.xn--42cm3a0dzfub.com/2015/07/1_24.html

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี

กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์

แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1