Featured post

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม :วิเคราะห์พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มาตรา 63-69

รวบรวมโดย นิคม พวงรัตน์ ศษ.ม. เทคโนโลยีการศึกษา (มหาวิทยาลัยขอนแก่น)


--------------------------------------------------------------------------------
เรียนภาษาไทย,ติวO-NETสังคมฟรี,แก้ไขอ่านเขียนไทยไม่คล่อง,ติวเตอร์สังคม,หาติวเตอร์ติวO-NETสังคม,ครูเดช

บทวิเคราะห์พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา .ในฐานะที่เป็นนักการศึกษา และนักเทคโนโลยีการศึกษา สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาได้



พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมวด ๙ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

มาตรา ๖๓
รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรมตามความจำเป็น
มาตรา ๖๔
รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่นวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นโดยเร่งรัดพัฒนาขีดความ สามารถในการผลิตจัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาทั้งนี้โดยเปิด
ให้ มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
มาตรา ๖๕
ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
มาตรา ๖๖
เด็กไทยมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้เพื่อให้มีทักษะเพียงพอที่จะ ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
มาตรา ๖๗
รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
มาตรา ๖๘
ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทานและผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชนรวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อการพัฒนาคนและสังคม
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อการผลิตการวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนด
ในกฎกระทรวง

มาตรา ๖๙
รัฐต้องจัดให้มีหน่วยงานกลาง ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย แผน ส่งเสริมและประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพ และประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

บทวิเคราะห์ ของนักศึกษา เทคโนโลยีการศึกษา

ในฐานะที่ผมเป็นนักเทคโนโลยีการศึกษา ผมเห็นว่าพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมวด ๙ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ฉบับนี้ยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ยังต้องใช้เวลาในการพัฒนาบุคลากรอีกนาน อย่างเช่น มาตราที่ 65 ได้กล่าวไว้ว่า “ ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพและประสิทธิภาพ “ซึ่งปัจจุบันนี้เราจะเห็นได้ว่าครู อาจารย์หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับ เรื่องของเทคโนโลยีเท่าที่ควร เพราะว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ได้พัฒนามาเมื่อไม่นานนี้เอง ครูอาจารย์ส่วนใหญ่ จะเกิดก่อนเทคโนโลยี ยังสับสนและตามไม่ทัน ทำให้ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีได้ หรือหากใช้ได้ก็ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร รัฐจะต้องจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาบุคลากร
อย่างจริงจังและต่อเนื่อง จนสามารถใช้และผลิตเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาได้


ในส่วนของมาตราที่ 66 ก็ได้กล่าวไว้ว่า “เด็กไทยมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้เพื่อให้มีทักษะ
เพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต “ขีดความสามารถที่ในการใช้เทคโนโลยีการศึกษาที่นักเรียนได้ในโอกาสแรกนั้นยังมีทักษะไม่เพียงพอที่จะนำไปแสวงหาความรู้
ด้วยตนเอง ต้องอาศัยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญอีกมาก เพราะทักษะที่ได้ในอดีตกับที่จะเอามาใช้ในปัจจุบันมันจะต่างกัน และยิ่งถ้าเด็กที่จบการศึกษาภาคบังคับแล้วไม่เรียนต่อจะเห็นได้ว่าบุคคลเหล่านี้จะไม่สนใจเทคโนโลยีทางการศึกษาทำให้ ้ทักษะที่ในครั้งแรกถูกลืมไป
พระราชบัญญัติฉบับนี้รัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการมีส่วนเกี่ยวข้องมากที่สุด ต้องให้ความสำคัญให้มาก เพราะว่ายุคนี้เป็นยุคของเทคโนโลยีเด็กส่วนใหญ่ก็เห็นความสำคัญมากในเรื่องนี้



--------------------------------------------------------------------------------

จากการศึกษาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9

- มาตราที่ 63 แม้ว่าจะมีการจัดรูปแบบการให้การศึกษาที่หลากหลายเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เรียน แต่ก็จะมีปัญหาในเรื่องการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาของครูและนักเรียน เช่นการเรียนทางอินเตอร์เน็ท ถ้านักเรียนใช้อินเตอร์เน็ทไม่เป็นก็ไม่สามารถเรียนได้
- มาตรา 64 ถึงจะเป็นมาตราที่ควรให้มีการส่งเสริมอย่างยิ่ง แต่รัฐก็ควรควบคุมอย่างใกล้ชิด
-มาตรา 65 แม้ว่าจะมีการส่งเสริมอย่างมากในปัจจุบัน แต่ก็จะมีปัญหาในคนรุ่นเก่าบางส่วนที่ไม่ค่อยจะยอมรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านต่างๆทั้งที่คนรุ่นใหม่จะรับเข้ามาอย่างมาก
- มาตรา 66ในปัจจุบันก็มีการส่งเสริมเช่นกันแต่ก็ไม่ทั่วถึงในเขตชนบทไกลๆ



--------------------------------------------------------------------------------

จากการศึกษาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 ดิฉันมีความคิดเห็นว่า ใน

มาตรา 63 ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในระบบใดก็ตาม การที่รัฐจัดให้มีเทคโนโลยีทางการศึกษาขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องคำนึงถึงความพร้อมของพื้นที่ที่จัดสรรและพื้นฐานของผู้เรียนด้วย
มาตรา 64 ไม่ว่าอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีจะก้าวหน้าและมีความพร้อมต่อผู้เรียน มากเท่าไร แต่ ถ้าเราไม่พัฒนาพื้นฐานให้เด็กความเจริญก็จะยังคงไม่เกิดกับประเทศเราแน่นอนเพราะเราต้องเคร่งครัดและส่งเสริม
ให้จริงจังทั้งสองฝ่าย
มาตรา 65 เราต้องคำนึงถึงผู้ที่ไม่ตามเทคโนโลยี คือเป็นพวกคนสมัยเก่าที่เขาไม่ยอมรับว่าจะทำอย่างไรให้เขายอมรับเพราะบุคคลเหล่านี้เป็นบุคคลระดับสูงถ้าเราพัฒนาเขา
ไม่ได้เขาก็ไม่สามารถพัฒนาใครได้เช่นกัน
มาตรา 66 การพัฒนาความรู้ของเด็กเราต้องคิดถึงเด็กที่ด้อยการศึกษา และอยู่ไกลการพัฒนาให้พวกเขาได้มีบทบาทบ้างในการเรียนรู้เพื่อที่จะได้มีความรู้ติดตัว
มาตรา 67 ในกระบวนการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลทางเทคโนโลยีจำเป็นต้องกระทำอย่างต่อเนื่องเพราะชีวิตกับเทคโนโลยีต้องควบคู่กันไปในโลกปัจจุบันนี้อยู่แล้ว


--------------------------------------------------------------------------------



บทวิเคราะห์
มาตรา63
ถ้าจะให้การศึกษาใยุคของ IT ที่กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างมากในปัจจุบันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว หัวเรื่องใหญ่อย่างรัฐบาลก็ต้องให้การสนับสนุนหรือบริการโดยอาจจะให้เปล่าในเรื่องอุปกรณ์ software หรือสิ่งต่างๆ โดยจัดสรรงบประมาณให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพราะตอนนี้ทุกสภาบันต่างก็พยายามผลักดันตัวเองออกสู่โลกภายนอกให้มากที่สุดอยู่แล้ว เพื่อจะได้ให้ประเทศพัฒนาอย่างมีศักยภาพสูงสุดทั้งการศึกษานอกระบบ ในระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
มาตรา64
นอกจากการส่งเสริมในเรื่อง software แล้วควรมีการส่งเสริมด้านการพิจารณาหลักสูตรที่จะจัดสรรให้ผู้เรียน ให้เป็นไปในแนวทางใด สื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนควรเน้นให้มีประสิทธิภาพพอๆกัน บทเรียนต่างๆ ควรมีการทบทวนให้เหมาะสมกับสภาพการเปลี่ยนแปลงไปด้วย การให้เอกชนเข้ามามีส่วนพัฒนาหลักสูตร นำเสนอความคิดใหม่ๆ เผยแพร่การเรียนรู้ที่ทันสมัยถูกต้องตามความสมควรในขอบเขต น่าจะเป็นสิ่งดีเพราะในปัจจุบันการพัฒนาของผู้ที่มีทุนลงเอง ไม่ต้องรองบประมาณมักจะไปได้ไกลกว่าการพัฒนาการศึกษาของรัฐที่ต้องรองบประมาณ การพัฒนาย่อมล่าช้ากว่ากันมาก รัฐบาลควรลดค่าใช้จ่ายของเอกชนลงบ้างเพื่อจะได้ให้เอกชนเข้ามามีบทบาทช่วยพัฒนาการศึกษาของชาติ เพราะการทำสิ่งใดก็ตามที่มีการใช้ทุนทรัพย์สูงเมื่อพลาดแล้วย่อมก้าวไปได้ยาก
มาตรา65
มาตรานี้เป็นสิ่งที่สำคัญทีสุะดที่รัฐบาลจะต้องคำนึงถึงเพราะบุคคลที่จะเข้ามาทำหน้าที่ทั้งที่เป็นผู้ผลิต ผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเอง ต้องเป็นผู้ที่มีศักยภาพสูงสุด มีศีลธรรมจริยธรรมในตัวเองทีจะนำสิ่งเหล่านี้ ใช้ในการพัฒนาการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ รัฐบาลควรมีการเลือกสรรผู้ที่จะผลิตสื่อ ที่เป็นความรู้ต่างๆ ออกเผยแผ่ให่เป็นไปในแนงทางเดียวกันไม่สับสน พร้อมทั้งผู้คอยดูแลผู้ที่จะใช้บริการเทคโนโลยีด้วย ควรจัดให้มีการแนะแนว และสอดส่องดูแลการใช้บริการให้เป็นไปในแนวทางที่ดีด้วยเพื่อให้การใช้สื่อเป็นไปด้วยความเต็มประสิทธิภาพที่สุด
มาตรา66
ในเรื่องตรงนี้ถ้าจะมองแล้วเป็นการเปิดโอกาสให้การศึกษาที่อิสระให้แก่เยาวชนแต่การศึกษาที่มอบให้นั้นควรมีผู้ที่แนะนำให้ ้การศึกษาควรนำเสนอให้อยู่ในขอบเขตที่ถูกกต้องตามหลักสูตรการศึกษาจริยธรรม วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม และรัฐควรจะจัดสรรให้มีโอกาสได้ศึกษากันตลอดทั้งชีวิต โดยให้เน้นหนักในช่วงแรกให้มากที่สุดเพื่อเป็นพื้นฐานที่ดีต่อไปใภายภาคหน้า ดังคำกล่าวที่ว่า “ไม่มีใครแก่เกินเรียน “ ดังนั้นการจัดการศึกษาควรจัดเทคโนโลยีให้เหมาะสมที่สุด
มาตรา67
เมื่อรัฐบาลมีการเปิดโอกาสนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาแล้วควรมีการส่งเสริมพัฒนาให้ถึงขีดศักยภาพที่สูงสุด
เพื่อการพัฒนาอย่างมีคุณค่า ควรจัดให้มีการวิจัยเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา วิเคราะห์ ค้นหา ตรวจสอบคุณภาพงานพร้อมทั้งเลือกสรรงานที่มีคุณภาพเพื่อการศึกษาออกสู่สังคมให้มากที่สุด
มาตรา68
มาตรานี้้ีเป็นมาตราที่ค่อยข้่างสำคัญเพราะการพัฒนาที่ก้าวไกลย่อมต้องใช้ทุนทรัพย์สูง เพราะฉะนั้นรัฐควรจัดสรรงบประมาณในส่วนนี้ให้มากที่สุดเพราะการศึกษาจะช่วยพัฒนาชาติเป็นอย่างยิ่งไม่แพ้การพัฒนา
ด้านอื่นๆเลย รัฐบาลควรจัดตั้งโครงการในเรื่องนี้โดยเฉพาะสนับสนุนอย่างเป็นทางการให้อย่างดี
มาตรา69
รัฐบาลควรมีผู้คอยดูแลตรวจสอบเรื่องการใช้การผลิต ควบคุมทั้งภาคเอกชนที่เข้ามาและผู้ที่ใช้สื่ออย่างอิสระทั้งหลาย เพื่อประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม หน่วยงานนี้จะทำหน้าที่ประสานงานทุกอย่างเกี่ยวทุกด้านเช่นด้านกฎระเบียบ
นโยบายต่างๆที่จะเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้ที่สำคัญหน่วยงานนี้ควรมีสิทธิบริหารตัวเองอย่างมีอิสระ
การศึกษาของชาติจะพัฒนาไปได้ไกลย่อมขึ้นอยู่กับทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจกัน



--------------------------------------------------------------------------------


บทวิเคราะห์ของผู้รวบรวม

ในฐานะนักเทคโนโลยีการศึกษา เห็นว่า

มาตรา ๖๓
รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรมตามความจำเป็น ..ปัจจุบันรัฐบาลได้มีนโยบายที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาการศึกษา โดยอาศัย พรบ.การศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. 2542 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้งเครือข่ายสารสนเทศและการสื่อสารการศึกษาแห่งชาติ หรือที่เรียกว่า EdNet ซึ่ง เป็นการรวมเอาเครือข่ายทางการศึกษาระดับต่าง ๆ เช่น Unet Schoolnet มารวมไว้ด้วยกันให้มหาวิทยาลัยในภูมิภาคเป็นแม่ข่าย(Node) ให้การบริการ กับสถาบันการศึกษาในท้องถิ่น ทุกระดับ
มาตรา ๖๔
รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่นวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นโดยเร่งรัดพัฒนาขีดความ สามารถในการผลิตจัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาทั้งนี้โดยเปิด
ให้ มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม .

..ปัจจุบันรัฐได้สนับสนุนโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายในการดำเนินการตามโครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา รวมทั้งกระทรวงโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาปฏิรูปการเรียนการสอนของสถานศึกษา โดยมุ่งเน้กนให้เป็นเครื่องมือ ในการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต และมีความมุ่งหวังที่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรวมกันในทุกด้าน โดยมีแผนปฏิบัติการ 4 แผนคือ

1. แผนปฏิบัติการด้านพัฒนาบุคลากร (People ware)
2. แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาเนื้อหา สื่อ และซอฟท์แวร์ (Software)
3. แผนปฏิบัติการด้านการแผนงานจัดหาระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์(Hardware)
4. แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบเครือข่าย (Network)
มาตรา ๖๕
ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
มาตรา ๖๖
เด็กไทยมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้เพื่อให้มีทักษะเพียงพอที่จะ ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
มาตรา ๖๗
รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
มาตรา ๖๘
ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทานและผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชนรวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อการพัฒนาคนและสังคม
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อการผลิตการวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนด
ในกฎกระทรวง

มาตรา ๖๙
รัฐต้องจัดให้มีหน่วยงานกลาง ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย แผน ส่งเสริมและประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพ และประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา...รัฐได้จัดตั้งกระทรวง
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขึ้น เพื่อเป็นหน่วยงานกลางที่จะตอบสนองนโยบายตามมาตรานี้แล้ว



ที่มา http://www.kunkroo.com/techno.html

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี

แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1

กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์