Featured post

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม :ประเพณีการบอกหมาก ในงานแต่งงาน

เรียนภาษาไทย,ติวO-NETสังคมฟรี,แก้ไขอ่านเขียนไทยไม่คล่อง,ติวเตอร์สังคม,หาติวเตอร์ติวO-NETสังคม
เมื่อพูดถึง ประเพณีการบอกหมาก คนสมัยนี้อาจไม่รู้ว่าคือประเพณีเกี่ยวกับอะไร แต่ถ้าไปถามรุ่นปู่ย่า ตายาย ก็จะรู้จักเป็นอย่างดีเลยค่ะ วันนี้กระปุกเวดดิ้งเลยขอมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ "ประเพณีบอกหมาก" ประเพณีแบบไทยอีกหนึ่งอย่างที่เราควรอนุรักษ์

เนื่องจากในสมัยก่อนไม่มีการแจกการ์ดเชิญในงานแต่งงาน การบอกกล่าวเชื้อเชิญจะทำได้โดยวิธี "การบอกหมาก" โดยการจัดเตรียมพานจัดหมากพลู จะต้องทำการจัดหมากพลูจีบเป็นคำ ๆ ใส่ในพาน แล้วเดินทางไปเชิญแขกบอกญาติ และเมื่อเดินทางไปถึงบ้านที่จะเชิญไปร่วมงานแต่งงาน ก็จะทำการเชิญให้ไปร่วมพิธีในงานแต่งงาน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ที่จะเดินทางไปบอกหมากจะเป็นพ่อแม่ หรือตัวแทนคู่สมรสเดินทางไปด้วยตัวเองก็ได้ โดยสมัยก่อนจะไม่เชิญแขกมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก จึงสามารถบอกได้เฉพาะผู้ที่อยู่ใกล้ ๆ และจะบอกเฉพาะคนที่สนิท ญาติสนิท และบุคคลที่เคารพนับถือกัน

ส่วนอุปกรณ์สำหรับ "หมากจีบพลู" ที่จะจัดในพาน ประกอบด้วย หมาก พลู และปูน หรืออาจใส่ยาสูบหรือยาเส้นด้วยก็ได้ แล้วนำใบพลูมาทาปูนกินหมาก นำชิ้นหมากที่หั่นเป็นชินเล็ก ๆ มาใส่บนใบพลู พร้อมด้วยยาเส้น จีบหรือพันตามแนวยาวของใบ หรือห่อสามเหลี่ยมเล็ก ๆ

ซึ่งปัจจุบัน ประเพณีการบอกหมาก ในช่วงก่อนแต่งงานมักไม่มีทำกันแล้ว อาจจะมีหลงเหลือในชนบท ที่ยังนับถือประเพณีดังกล่าว ใช้บอกผ่านคนเฒ่า คนแก่ที่อ่านไม่ออกค่ะ ถือเป็นอีกหนึ่งความรู้เกี่ยวกับประเพณีการแต่งงานนะคะ เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดีงามของไทยเราให้ยังคงอยู่ต่อ ๆ ไป จนถึงลูกหลานด้วยค่ะ หรืออาจจะสืบทอดด้วยการนำประเพณีนี้ไปบอกเล่าที่บ้าน หรือญาติผู้ใหญ่ ถือเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำการ์ดไปอีกทาง


ขอขอบคุณข้อมูลจาก


culture.go.th
kapook.com

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี

แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1

กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์