ความรู้ O-NET วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม : หน่วย ศาสนา (ความรู้พื้นฐาน)
__________________________________________________________________________________________
คำอธิบาย : ความรู้ทั้งหมดนี้ นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียน การสอน และการเตรียมความพร้อมในการสอบแข่งขันอื่น ๆ ได้ ตามความเหมาะสม หรือ ท่านครูอาจารย์ที่จัดเตรียมเนื้อหาไม่ทันก็ยังสามารถนำเนื้อหานี้ไปใช้ได้ตามความเหมาะสมครับ
คำขอร้อง : เนื่องจากเนื้อหาทั้งหมดนี้ ครูเดชเป็นผู้รวบรวมและเรียบเรียง ประกอบด้วยการนำความรู้มาแยกวิเคราะห์เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจได้ง่าย โดยที่ทำเพื่อมุ่งหวังให้เป็นประโยชน์สูงสุดในการเปิดโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนที่สามารถเข้าถึงระบบอินเทอเน็ตได้ แต่ห่างไกล ได้ใช้ประโยชน์ จึงใคร่ขอความกรุณาท่านที่สนใจจะนำไปใช้ในเว็บไซต์ เว็บบล็อก หรือ เผยแผ่ ในสื่ออนไลน์ โดยใส่เคดิตที่มาด้วยนะครับ
ทั้งนี้ขอเรียนแจ้งว่า ผู้รวบรวมและเรียบเรียงไม่อนุญาตให้นำข้อมูลไปเพื่อผลกำไร ยกแต่ได้ขออนุญาตจากผู้เรียบเรียงแล้วเท่านั้น ครับ
ติดต่อครูเดชเรื่องลิขสิทธิ์ หรือ เชิญติวกวดวิชานอกสถานที่ 084-014-7717 ,094-070-7114
__________________________________________________________________________________________
นักเรียนสามารถชมคลิปความรู้ศาสนาทั่วไปได้จากคลิปด้านล่างนี้ครับ นักเรียนจะได้รับความรู้ที่ครูเดชสรุปข้อมูลมาไว้ให้อย่างครบถ้วนและสนุกสนานครับ หรือจะเปิดคลิปพร้อมกับอ่านข้อมูลทวบทวนไปด้วยก็ได้ครับ
มูลเหตุการเกิดศาสนา
ก่อนที่เราจะเรียนรู้วิชาสังคมในส่วนของศาสนาแล้ว นักเรียนควรทำความเข้าใจในมูลเหตุแห่งการเกิดศาสนา ซึ่งมีมูลเหตุดังนี้ครับ
1. ความไม่รู้ มนุษย์สร้างลัทธิความเชื่อทางศาสนาขึ้นมาจากประเด็นหลักที่สำคัญที่สุดคือ ความไม่รู้ มนุษย์ในสมัยแรก ๆ ไม่รู้และเกรงกลัวต่อธรรมชาติ ไม่เข้าใจว่าฝนตก ฟ้าร้อง แผ่นดินไหว และอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะเหตุใด นี้คือใจความสำคัญที่สุดครับ ที่มนุษย์เริ่มมีการนับถือศาสนา ในเบื้องตนเป็นการนับถือศาสนาในรูปแบบของการเคารพในธรรมชาติ ครับ
2. ความหวาดกลัว ความหวาดกลัวนั้นเกิดขึ้นพร้อมกับความไม่รู้ดังที่ครูเดชกล่าวไว้ในประเด็นแรก คือ ความไม่รู้แล้วครับ
3. ความเลื่อมใส ศรัทธาจงรักภักดี ประเด็นการเกิดศาสนาข้อหลังสุดนี้ ตามทัศนะของครูเดชเห็นว่า เป็นส่วนที่เกิดขึ้นภายหลัง จากมูลเหตุสองสิ่งข้างต้น ครับ มูลเหตุที่สามนี้เกิดจากการเกิดขึ้นของศาสนาอย่างเป็นรูปร่างแล้วครับ เมื่อเกิดศาสดาผู้นำทางศาสนา เกิดลัทธิความเชื่อ จึงเกิดความเลื่อมใส ศรัทธาตามมา ครับ
อายุศาสนา
ศาสนาแต่ละศาสนาในโลกนี้ ล้วนมีอายุมากน้อยแตกต่างกันออกไปครับ โดยครูเดชขอเรียงอายุจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด ดังนี้ครับ
ศาสนาพราหมณ์ –ฮินดู เป็นศาสนาที่อายุยือดยาวที่สุด เป็นอันดับ 1 ครับ
อันดับที่สอง พุทธศาสนา
อันดับที่ 3 ศาสนาคริสต์
อันดับที่ 4 ศาสนาอิสลาม
อันดับที่ 5 ศาสนาสิกข์
ส่วนเชน จะอยู่ในช่วงอายุเดียวกันหรือเกิดพุทธศาสนาครับ ขงจื้อ เต๋า ซึ่งบางท่านนับเป็นศาสนา บางท่านนับเป็นลัทธิ จะมีอายุอยู่ในช่วงพราหมณ์-ฮินดูครับ
ในด้านของยิว –ยูดาย ก็จะเป็นช่วงสมัยก่อนคริสต์ ซึ่งครูเดชจะไม่เอามาเทียบศักราช หรือจำนวนปีนะครับ เดี่ยวนักเรียนจะสับสนครับ เข้าใจข้อมูลนี้ก็เพียงพอแล้วครับ
องค์ประกอบของศาสนา การเกิดศาสนาไม่ว่าจะเป็นศาสนาใดก็ตาม ล้วนมีองค์ประกอบของศาสนาที่สำคัญดังนี้คือ
1. ศาสดา คือ ผู้นำทางศาสนา ผู้ค้นพบ หรือก่อนตั้งศาสนา
2. คัมภีร์/หลักธรรม คือข้อปฏิบัติ รวมไปถึงคำสอนอีกด้วย
3. สัญลักษณ์ ครูเดชมักใช้คำว่า ศาสนวัตถุ คือ รูปเคารพ สิ่งเคารพแทนศาสดา หรือ แทนพระเจ้า
4. ผู้สืบทอด คือ นักบวชในศาสนา ผู้เคารพและอยู่เพื่อดำรงศาสนานั้น ๆ
5. พิธีกรรม หรือเรียกอย่างหนึ่งว่า ศาสนพิธี คือการประกอบพิธีที่เกี่ยวข้องกับศาสนา
6. ศาสนสถาน คือสถานที่สำหรับในการประกอบพิธีทางศาสนา
สิ่งต่อไปที่นักเรียนควรรู้ คือ ศาสนาทุกศาสนา ไม่จำเป็นต้องมีองค์ประกอบทางศาสนาครบทั้ง 6 อย่างนี้ก็ได้ครับ อย่างเช่น ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่มีศาสดา มีแต่พระเจ้า ศาสนาอิสลาม ไม่มีนักบวชหรือผู้สืบทอดศาสนา เพราะเชื่อวาทุกคนคือนักบวชเพราะเป็นผู้เผยแผ่คำสอนอยู่แล้ว โดยศาสนาอิสลามจะมีเพียงผู้นำ หรือเรียกว่า โต๊ะอิหม่านครับ
ประเภทของศาสนา
เราสามารถแบ่งเป็นสองประเภท คือ ตามพื้นที่กำเนิดและตามความเชื่อในพระเจ้า และ แบ่งตามพื้นที่กำเนิด คือ
ตัวอย่างการแบ่งตามแบบถิ่นกำเนิด ได้แก่
เต๋า ขงจื้อ เกิดในเอเชียตะวันออก กลุ่มชนมองโกล
พราหมณ์-ฮินดู พุทธ เกิดในเอเชียใต้ กลุ่มชนอารยัน
และการแบ่งตามความเชื่อในพระเจ้า ประกอบด้วย ความเชื่อแบบเทวนิยม และอเทวนิยม
-เทวนิยม คือ การศาสนาที่นับถือและเชื่อว่ามีพระเจ้า เช่นศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม เป็นต้น นอกจากนี้ ในกลุ่มความเชื่อนี้ ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภทอีกด้วยครับ คือ เอกเทวนิยม และพหุเทวนิยม
กลุ่มเทวนิยม ที่เป็น เอกเทวนิยม นั้นมีความหมายว่า การนับถือพระเจ้าเพียงพระองค์เดียว ปรากฏในกลุ่มศาสนาคริสต์ อิสลาม ยิว เป็นต้น ส่วนกลุ่มเทวนิยมแบบพหุเทวนิยม คือ ศาสนาที่นับถือพระเจ้ามากกว่า 2 องค์ขึ้นไป และศาสนาที่มีคนรู้จักมากที่สุดที่เป็นพหุเทวนิยม คือ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูครับ
-อเทวนิยม คือ กลุ่มศาสนาที่ไม่เชื่อหรือไม่นับว่ามีพระเจ้า ได้แก่ศาสนาพุทธ เชน เป็นต้นครับ
ความรู้เสริม
ศาสนาที่เป็นทวิเทวนิยม หรือ เชื่อว่ามีพระเจ้า 2 พระองค์ ได้แก่
1.ศาสนาโซโรอัสเตอร์
2.ศาสนามาณีกี (เป็นศาสนาที่ตายแล้ว)
พหุเทวนิยม ศาสนาที่มีพระเจ้ามากกว่า 2 พระองค์
1.ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
2.ศาสนาชินโต
3.ศาสนากรีก (เป็นศาสนาที่ตายแล้ว)
ศาสนาที่ไม่เด่นชัดว่าเป็นเทวนิยม หรืออเทวนิยม
1.ศาสนาเต๋า แบบเต๋าเจียหรือที่นับถือเต๋าสูงสุดตามที่เล่าจื๊อกล่าวไว้ แต่"เต๋า" คืออะไร ไม่แจ้งชัด ถ้าเป็นเทพเจ้า ศาสนาเต๋าก็เป็นเทวนิยม แต่หากนามธรรม ศาสนาเต๋าก็เป็นศาสนาอเทวนิยม
2.ศาสนาขงจื๊อ สอนให้คนนับถือธรรมชาติอยู่บ้าง แต่ก็ให้ความสำคัญต่อมนุษย์ จึงยากที่จะจัดเป็น เทวนิยม หรือ อเทวนิยม แต่แน่ชัดว่าเป็น "มนุษยนิยม“
ที่มา :: กรรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
สรุปแนวความคิด
ในสรุปด้านล่างนี้ ครูเดชจะเรียงเป็นลำดับดังนี้นะครับ
นักเรียนสามารถดูเฉลยข้อสอบได้ตามลิงค์นี้ครับ
สำหรับเตรียมสอบ O-NET สังคม หน่วยศาสนา ป.6 ลิงค์ศาสนา 1 คลิก ลิงค์ศาสนา 2 คลิก
สำหรับเตรียมสอบ O-NET สังคม หน่วยศาสนา ม.3 ลิงค์
สำหรับเตรียมสอบ O-NET สังคม หน่วยศาสนา ม.6 ลิงค์
หรือทดลองทำข้อสอบ O-NET สังคม ย้อยหลังและ PRE-O-NET ได้ตามลิงค์
ทำข้อสอบ O-NET สังคม ป.6 ย้อนหลัง ลิงค์
ทำข้อสอบ O-NET สังคม ม.3 ย้อนหลัง ลิงค์
ทำข้อสอบ O-NET สังคม ม.6 ย้อนหลัง ลิงค์