Featured post
เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม :ปัดฝุ่น "สถาบันฝึกหัดครู" พัฒนาพลเมืองการศึกษาศตวรรษ 21
- รับลิงก์
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ปัดฝุ่น "สถาบันฝึกหัดครู" พัฒนาพลเมืองการศึกษาศตวรรษ 21
เมื่อก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ต้องยอมรับว่า การศึกษาเป็นหนึ่งในเรื่องที่ท้าทายต่อการคิดค้นแนวการสอนที่เชื่อมโยงกับความเป็นผู้นำ ค่านิยม และสร้างความเป็นพลเมืองให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญต่อการขับเคลื่อนประเทศ และสังคมโลกอนาคต
สถาบันครุศึกษาแห่งชาติสิงคโปร์ หรือ National Institute of Education (NIE) เป็นสถาบันผลิตครูนักวิจัย (Teacher Researcher) มีบทบาทสำคัญในการสร้างองค์ความรู้ทางการศึกษา โดย NIE จะทำงานใกล้ชิดกับกระทรวงศึกษาธิการของประเทศสิงคโปร์ตั้งแต่การกำหนดนโยบายจนถึงการปฏิบัติในโรงเรียน ร่วมกันทำวิจัยเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาการศึกษาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพแก่ภาครัฐ ผ่านการจัดสัมมนานานาชาติอย่างต่อเนื่อง
สำหรับงานประชุมนานาชาติที่จัดขึ้นโดย NIE เป็นงานที่รวบรวมครู นักปฏิบัติ นักวิจัย ผู้นำทางการศึกษา และผู้กำหนดนโยบายการศึกษา โดยเปิดโอกาสเพื่อพูดคุยแบ่งปันความรู้ข้อมูลวิจัย พร้อมตัวอย่างการปฏิบัติที่ดีที่สุดจากต่างโรงเรียน ต่างวัฒนธรรม เพื่อมุ่งให้เกิดทิศทางและนวัตกรรมใหม่ ๆ สำหรับงานวิจัยและแนวปฏิบัติทางการศึกษา ล่าสุดจัดสัมมนานานาชาติ Redesigning Pedagogy ครั้งที่ 6 เรื่อง "การพัฒนาผู้นำ ค่านิยม และความเป็นพลเมือง ในการจัดการศึกษาศตวรรษที่ 21"
ดังนั้นบริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้สื่อสารแหล่งเรียนรู้ทางด้านการศึกษาจึงจัดงานเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ในหัวข้อเรื่อง "บทเรียนจากสัมมนานานาชาติ การออกแบบการสอนใหม่ของสิงคโปร์ : เพื่อผู้นำ ค่านิยม และความเป็นพลเมืองในการศึกษาศตวรรษที่ 21" โดยมี "ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล" ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนสังคมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาเปิดประสบการณ์จากการเข้าร่วมสัมมนา NIE ครั้งนี้
"ผศ.อรรถพล" ชี้ให้เห็นถึงการให้ความสำคัญของประเทศสิงคโปร์ ในฐานะประเทศชั้นนำเรื่องการจัดการศึกษานานาชาติ ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาครูตลอดจนบทบาทของผู้บริหารที่ต้องเปลี่ยนแปลงและรับกับสถานการณ์ของศตวรรษที่ 21
"ที่น่าสนใจคือเวทีนี้ไม่ได้จำกัดวงแค่นักวิชาการ แต่พบว่ามีครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของสิงคโปร์จากหลากหลายวิชาไม่ว่าจะเป็นพลศึกษา ดนตรี และสาขาวิชาอื่น ๆ เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ทั้งยังมีผู้นำการศึกษาทั้งจากสิงคโปร์ และประเทศอื่น ๆ ในยุโรป เอเชีย-แปซิฟิก และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมงานกว่า 2,000 คน ส่งผลให้เกิดการคิดและวิเคราะห์ร่วมกันถึงการพัฒนาระบบการศึกษาสู่แนวทางการปฏิบัติระดับสากลอย่างแท้จริง"
"ผศ.อรรถพล"บอกว่าสิงคโปร์กำลังให้ความสำคัญต่อการเชื่อมโยงของสังคมที่เรียกว่า Civic Education หรือการสร้างสมดุลของชาติกับพลเมืองโลก เนื่องจากตลอด 20 ปีผ่านมา มีสัดส่วนคนต่างถิ่นจากตะวันตกเข้ามาอาศัยในสิงคโปร์มากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลต่อการเรียนรู้ในวิชาประวัติศาสตร์ที่จะทำอย่างไรให้การเรียนการสอนในวิชาประวัติศาสตร์ไม่เลยเถิดเป็นกระแสชาตินิยมที่สุดโต่ง
"ขณะเดียวกันต้องเคารพและรู้สึกถึงความรักและภาคภูมิใจของคนในชาติดังนั้นการเชื่อมโยงในสังคมที่หลากหลายวัฒนธรรมจึงจำเป็นต้องสอนเรื่องความหลากหลายแทรกซึมไปในทุกรายวิชาเพราะถือเป็นมิติสำคัญในการเตรียมพลเมืองให้อยู่ในความหลากหลายและเคารพซึ่งกันและกัน"
"คนสิงคโปร์มองว่าการสร้างอัตลักษณ์ให้เกิดขึ้นในชาติจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศถือเป็นเรื่องเปราะบางโดยอาจส่งผลกระทบต่อสังคมตามมา ดังนั้นความหลากหลายที่เกิดขึ้นในสังคมสิงคโปร์ที่มีคนต่างถิ่น ต่างชาติ ต่างภาษามาอยู่รวมกันมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงต้องมีการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม เพื่อคงความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นที่หลาย ๆ ชาติไม่มี"
ไม่เพียงเท่านั้น สิงคโปร์ยังให้ความสำคัญต่อเรื่อง Global concern ผ่านการสร้างความตระหนักถึงความเป็นสากลอย่างมีสมรรถนะ โดยหยิบยกการสร้างความเป็นพลเมืองที่ดีของสิงคโปร์ไม่ใช่หน้าที่ของครูวิชาใดวิชาหนึ่ง แต่ครูทุกวิชาสามารถทำงานร่วมกันภายใต้เป้าหมายเดียวกันได้ เพราะหัวใจของการเรียนการสอนไม่ใช่แค่เนื้อหา แต่เป็นความรู้ ค่านิยมหลักที่ครูผู้สอนพึงมีมากกว่า
นอกจากนี้ "ผศ.อรรถพล" ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการสร้างพลเมืองสิงคโปร์อย่างแข็งแกร่ง จึงต้องเริ่มที่เยาวชนเป็นเป้าหมายสำคัญ เพราะเยาวชนคือศูนย์กลางการสร้างค่านิยมที่สำคัญของประเทศ
ดังนั้นสถาบันการศึกษามีหน้าที่สร้างความมุ่งมั่นในการปรับเปลี่ยนทัศนคติให้เยาวชนเข้าใจถึงสมรรถนะในการเป็นพลเมืองตามบทบาทและหน้าที่ของตนเองบนความคาดหวังอย่างเหมาะสมนี่คือโจทย์ที่นักการศึกษาใช้ขับเคลื่อนพลเมืองของสิงคโปร์ในศตวรรษที่ 21
"เพราะความตั้งใจของ NIE มีองค์ประกอบสำคัญในการทำให้ภาพของนโยบายเกิดขึ้นจริงในห้องเรียน ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่าสถาบันฝึกหัดครูสามารถตั้งรับนโยบายและมีส่วนร่วมในการวิจัยพัฒนาความรู้ทางการศึกษาที่ก่อให้เกิดนโยบายที่เหมาะสมต่อการทำงานในโรงเรียนทั้งยังเป็นสะพานเชื่อมจนทำให้เกิดกงล้อแห่งการพัฒนา"
"สิ่งเหล่านี้สะท้อนต่อการออกแบบการเรียนการสอนในประเทศไทยโดยสามารถประยุกต์วิธีการบริหารงานของสิงคโปร์ได้แม้บริบทและรูปแบบการบริหารงานของไทยและสิงคโปร์จะแตกต่างกันแต่แนวทางเรื่องการพัฒนาครูเป็นเรื่องที่น่าหยิบขึ้นมาดำเนินการโดยเฉพาะการผลิตครูระบบปิดเพื่อควบคุมคุณภาพครูให้ได้ ดังนั้นสถาบันฝึกหัดครูจึงควรเข้ามามีบทบาทร่วมกันอย่างเป็นระบบมากขึ้นในการเป็นพี่เลี้ยงให้แก่นิสิต นักศึกษาครู รวมถึงนำความรู้ความสามารถทางวิชาการและงานวิจัยเพราะจะเป็นข้อมูลสนับสนุนการกำหนดแนวทางเชิงนโยบาย และแผนงานวิจัยพัฒนาครูเพื่อพัฒนาประเทศต่อไป"
จนนำไปสู่การขับเคลื่อนคุณภาพของเยาวชนและประสิทธิภาพของพลเมืองไทยในอนาคต
ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
- รับลิงก์
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี สวัสดีครับทุกท่าน ปัญหาการอ่านเขียนไม่คล่องของเด็กและเยาวชนของเรานับวันยิ่งมีปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น เรื่อย ๆ จนน่ากลัว การแก้ไขปัญหาภาษาไทยนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ของหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการศึกษาเสียแล้วครับ เมื่อหลายท่าน ทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ มีความเห็นตรงกันว่า จะปล่อยปะละเลยต่อปัญหานี้ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่ดี วันนี้ ครูเดชจึงได้นำไฟล์ตำราเรียน ที่แสนจะวิเศษ และผมเองกล้าการันตรีว่า หากนักเรียน หรือ ผู้ที่มีปัญหาภาษาไทย ได้ตั้งใจอ่าน ตั้งใจทำความเข้าใจ จะสามารถพัฒนาภาษาไทยไปได้อย่างดีเยี่ยมเลยครับ "มานะ มานี" นอกจากจะเป็นตำราภาษาไทย ที่คนที่มีอายุหลายท่านได้สัมผัสเรียนรู้ในวิชาภาษาไทยมาแล้ว ท่านจะทราบว่าตำราเรียนเล่มนี้ ไม่ได้มีแต่ความรู้ภาษาไทย อย่างเดียวไม่ หากแต่มีความน่าสนุก น่าสนใจ และความตื้นเต้น กลวิธีนี้เองล่ะครับ ที่ผมเห็นว่า เป็นอุบายล่อให้เด็กสนใจตำราเรียนได้เป็นอย่างดี ความสนุก ความเพลิดเพลิน เมื่อนักเรียนอ่านจบเล่ม ตัวละครก็จบชั้นเดียวกัน เมื่อเลื่อนชั้น นักเรี
แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1
แจกฟรี แบบฝึกหัดภาษาไทยใช่ควบคู่กับตำรามานะมานี ป. 1 คลิกที่ลิงก์เพื่อดาวน์โหลดครับ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 1-5 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 6-10 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 11-15 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 16-20 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 21-25 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 26-30 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 31-35 อยู่ในขณะจัดทำ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 36-40 อยู่ในขณะจัดทำ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยที่ออสเตรเลีย หาครูสอนภาษาไทยที่ญี่ปุ่น หาครูสอนภาษาไทยที่เวียดนาม หาครูสอนภาษาไทยที่อเมริกา หาครูสอนภาษาไทยที่เยอรมัน หาครูสอนภาษาไทยที่ฝรั่งเศส Learn Thai with native speakers. หาครูสอนภาษาไทยอ่านเขียน สอนอ่านหนังสือภาษาไทย สอนอ่านเขียน ลูกอ่านภาษาไทยไม่ออก หาครูแก้ไขภาษาไทย สถาบันสอนภาษาไทย โรงเรียนสอนภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทยนานาชาติ หาครูสอนภาษาไทยลูกครึ่ง หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนพิเศษ ห
กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์
ให้ติวเตอร์ใช้เขตพื้นที่เหล่านี้ เพื่อระบุพื้นที่ที่ท่านสามารถเดินทางไปสอนได้สะดวกครับ ศูนย์จะแจ้งงานให้ท่านทราบตามพื้นที่การเดินทางที่ท่านสะดวกครับ โปรดแจ้งตามความสะดวกจริง เพื่อความรวดเร็วในการรับงานสอนนะครับ 1.กลุ่มกรุงเทพกลาง ประกอบด้วย เขตพระนคร ดุสิต ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ดินแดง ห้วยขวาง พญาไท ราชเทวี และวังทองหลาง 2.กลุ่มกรุงเทพใต้ ประกอบด้วย เขตปทุมวัน บางรัก สาทร บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย วัฒนา พระโขนง สวนหลวง และบางนา 3. กลุ่มกรุงเทพเหนือ ประกอบด้วย เขตจตุจักร บางซื่อ ลาดพร้าว หลักสี่ ดอนเมือง สายไหม และบางเขน 4.กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ประกอบด้วย เขตบางกะปิ สะพานสูง บึงกุ่ม คันนายาว ลาดกระบัง มีนบุรี หนองจอก คลองสามวาและประเวศ 5.กลุ่มกรุงธนเหนือ ประกอบด้วย เขตธนบุรี คลองสาน จอมทอง บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย บางพลัด ตลิ่งชันและทวีวัฒนา 6.กลุ่มกรุงธนใต้ ประกอบด้วย เขตภาษีเจริญ บางแค หนองแขม บางขุนเทียน บางบอน ราษฎร์บูรณะและทุ่งครุ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยท