Featured post
เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูของญี่ปุ่น
- รับลิงก์
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระบบการผลิตครูของประเทศญี่ปุ่นเปลี่ยนจากระบบปิดมาเป็นระบบเปิด หมายความว่า เปลี่ยนจากการผลิตครูจากโรงเรียนฝึกหัดครูเท่านั้นมาเป็นผลิตครูจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และไม่จำกัดเฉพาะที่คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ โดยภายใต้ระบบเปิดนี้จะเปิดให้ผู้ที่มีความตั้งใจจะเป็นครูสามารถเลือกเรียนคณะใดก็ได้ เช่น คณะวิทยาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรวิชาชีพครู ซึ่งได้รับการรับรองจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษา โดยนักศึกษาจะได้เรียนทั้งวิชาเฉพาะ และเรียนวิชาครูด้วย เมื่อเรียนจบ 4 ปีออกมาแล้วจะได้ปริญญาบัตรพร้อมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูตลอดชีพโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องมีการต่ออายุแต่ใช้ไปได้ถึงเกษียณเลย
กระทั่งปี 2550 เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการครูของญี่ปุ่น เมื่อสภาการศึกษากลางได้เห็นชอบพระราชบัญญัติด้านการศึกษา 3 ฉบับ ฉบับที่เกี่ยวกับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้เพิ่มมาตราที่กำหนดให้มีการทบทวนการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ซึ่งผ่านสภาไดเอ็ตและประกาศให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา การต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครูได้พัฒนาความรู้และทักษะให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อรักษาศักยภาพของวิชาชีพครู และยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ครูในการสอน การยอมรับและไว้วางใจจากสังคมด้วย
มาตราที่เพิ่มใหม่ได้กำหนดให้ครูทุกคนต้องต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทุก 10 ปี โดยครูจะต้องเข้ารับการอบรมหลักสูตรการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพที่คณะครุศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งใดแห่งหนึ่งที่เปิดการอบรม เป็นเวลา 30 ชั่วโมง ภายในระยะเวลา 2 ปี หมายความว่าในรอบ 10 ปีแรกนี้ ครูทุกคนจะต้องเข้ารับการอบรมเพื่อต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2554
หลักสูตรอบรม 30 ชั่วโมง ประกอบด้วยวิชาบังคับ 12 ชั่วโมง และวิชาเลือกอีก 18 ชั่วโมง วิชาบังคับ ตัวอย่างเช่น
1) การทบทวนเกี่ยวกับวิชาชีพครู ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมของสังคมยุคใหม่ที่มีอิทธิพลต่อโรงเรียน ผลสะท้อนต่อการทำงานของครู และมุมมองเกี่ยวกับนักเรียนและการศึกษา
2) การเปลี่ยนแปลงของนักเรียน เช่น ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยใหม่ ๆ ในเรื่องการพัฒนาเด็ก และอิทธิพลของสภาพแวดล้อมทางสังคมที่มีต่อนักเรียน
3) นโยบายด้านการศึกษาใหม่ ๆ คือ การปรับปรุงมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาของชาติ และกฎหมายการศึกษาใหม่ต่าง ๆ
4) การเป็นหุ้นส่วนของโรงเรียน เช่น ยุทธศาสตร์องค์กร การบริหารจัดการยามฉุกเฉิน และความร่วมมือระหว่างครอบครัว โรงเรียนกับชุมชน เป็นต้น
2) การเปลี่ยนแปลงของนักเรียน เช่น ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยใหม่ ๆ ในเรื่องการพัฒนาเด็ก และอิทธิพลของสภาพแวดล้อมทางสังคมที่มีต่อนักเรียน
3) นโยบายด้านการศึกษาใหม่ ๆ คือ การปรับปรุงมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาของชาติ และกฎหมายการศึกษาใหม่ต่าง ๆ
4) การเป็นหุ้นส่วนของโรงเรียน เช่น ยุทธศาสตร์องค์กร การบริหารจัดการยามฉุกเฉิน และความร่วมมือระหว่างครอบครัว โรงเรียนกับชุมชน เป็นต้น
ส่วนวิชาเลือกมี อาทิ วิชาเฉพาะต่าง ๆ เช่น คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ฯลฯ วิธีการสอน การแนะแนวนักเรียน ความปลอดภัยของโรงเรียน (เช่น เวลาเกิดแผ่นดินไหว สึนามิ หรือมีคนแปลกหน้าเข้ามาในโรงเรียน ครูควรจะทำอย่างไรเพื่อปกป้องเด็กนักเรียน)และความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงของนักเรียนตามยุคสมัย ฯลฯ ซึ่งทุกวิชาต้องเป็นเรื่องที่ได้ปรับเนื้อหาเข้ากับสถานการณ์ล่าสุด ส่วนใหญ่จะจัดอบรมวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดภาคฤดูร้อน คือ ระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ในวันหนึ่ง ๆ จะมีการอบรม 4 วิชา เสร็จแล้วสอบอีก 1 ชั่วโมง ตามวิธีการสอนของญี่ปุ่นที่มักจะสอนแล้วสอบทันที ดังนั้น เวลาเรียนทุกคนจึงต้องตั้งใจเรียนเพื่อสอบให้ผ่าน เมื่อผ่านการอบรมแล้ว มหาวิทยาลัยจะมอบหลักฐานให้ครูนำไปแสดงต่อสำนักงานการศึกษาจังหวัดที่โรงเรียนของตนสังกัด เพื่อรับใบต่ออายุการประกอบวิชาชีพอีก 10 ปี
จากผลการวิจัยของ รศ.ดร.โมโตโกะ อาคิบะ แห่งมหาวิทยาลัยฟลอริดาและศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยซึกุบะ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ปรับสถานะมาจากวิทยาลัยครูชั้นสูงที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงควบคู่มากับมหาวิทยาลัยฮิโรชิมา พบว่า ก่อนการเข้าอบรม ครูไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับนโยบายนี้ถึง 89% แต่หลังจากการเข้ารับการอบรมแล้วพบว่า ครูที่ไม่เห็นด้วยลดลงเหลือ 64% ในขณะที่ครูที่เห็นด้วยเพิ่มขึ้นจาก 11% เป็น 36% เพราะยอมรับว่า หลักสูตรการอบรมมีคุณภาพดีมาก ช่วยพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา และช่วยพัฒนาทักษะในการสอนมากกว่าที่คิดไว้ แต่ไม่เห็นด้วยกับการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เนื่องจากไม่พอใจที่รัฐบาลผุดนโยบายการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูขึ้นมาเพียงเพราะมีครูไม่กี่คนที่มีข่าวอื้อฉาวทางสื่อมวลชน เรื่องขาดความสามารถในการสอน ทั้งที่ครูส่วนใหญ่เห็นว่า ผู้มีอาชีพครูเกือบทุกคนมีความรับผิดชอบสูง ตั้งใจสอนและพยายามพัฒนาตนเองไปจนตลอดชีวิตอยู่แล้ว
อย่างไรก็ดี แม้จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐ โดยทั่วไปชาวญี่ปุ่นเชื่อมั่นในผู้นำจึงต้องปฏิบัติตาม ทั้งนี้เพื่อจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ ต้องการพัฒนา หล่อหลอม และปกป้องทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของชาติ คือ เด็กและเยาวชนของญี่ปุ่นนั่นเอง.
ภัทณิดา พันธุมเสน
รศ.ดร.ทาคาโยชิ มากิ
รศ.ดร.ทาคาโยชิ มากิ
ที่มาจาก : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 15 กันยายน 2558
- รับลิงก์
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี สวัสดีครับทุกท่าน ปัญหาการอ่านเขียนไม่คล่องของเด็กและเยาวชนของเรานับวันยิ่งมีปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น เรื่อย ๆ จนน่ากลัว การแก้ไขปัญหาภาษาไทยนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ของหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการศึกษาเสียแล้วครับ เมื่อหลายท่าน ทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ มีความเห็นตรงกันว่า จะปล่อยปะละเลยต่อปัญหานี้ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่ดี วันนี้ ครูเดชจึงได้นำไฟล์ตำราเรียน ที่แสนจะวิเศษ และผมเองกล้าการันตรีว่า หากนักเรียน หรือ ผู้ที่มีปัญหาภาษาไทย ได้ตั้งใจอ่าน ตั้งใจทำความเข้าใจ จะสามารถพัฒนาภาษาไทยไปได้อย่างดีเยี่ยมเลยครับ "มานะ มานี" นอกจากจะเป็นตำราภาษาไทย ที่คนที่มีอายุหลายท่านได้สัมผัสเรียนรู้ในวิชาภาษาไทยมาแล้ว ท่านจะทราบว่าตำราเรียนเล่มนี้ ไม่ได้มีแต่ความรู้ภาษาไทย อย่างเดียวไม่ หากแต่มีความน่าสนุก น่าสนใจ และความตื้นเต้น กลวิธีนี้เองล่ะครับ ที่ผมเห็นว่า เป็นอุบายล่อให้เด็กสนใจตำราเรียนได้เป็นอย่างดี ความสนุก ความเพลิดเพลิน เมื่อนักเรียนอ่านจบเล่ม ตัวละครก็จบชั้นเดียวกัน เมื่อเลื่อนชั้น นักเรี
แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1
แจกฟรี แบบฝึกหัดภาษาไทยใช่ควบคู่กับตำรามานะมานี ป. 1 คลิกที่ลิงก์เพื่อดาวน์โหลดครับ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 1-5 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 6-10 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 11-15 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 16-20 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 21-25 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 26-30 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 31-35 อยู่ในขณะจัดทำ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 36-40 อยู่ในขณะจัดทำ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยที่ออสเตรเลีย หาครูสอนภาษาไทยที่ญี่ปุ่น หาครูสอนภาษาไทยที่เวียดนาม หาครูสอนภาษาไทยที่อเมริกา หาครูสอนภาษาไทยที่เยอรมัน หาครูสอนภาษาไทยที่ฝรั่งเศส Learn Thai with native speakers. หาครูสอนภาษาไทยอ่านเขียน สอนอ่านหนังสือภาษาไทย สอนอ่านเขียน ลูกอ่านภาษาไทยไม่ออก หาครูแก้ไขภาษาไทย สถาบันสอนภาษาไทย โรงเรียนสอนภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทยนานาชาติ หาครูสอนภาษาไทยลูกครึ่ง หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนพิเศษ ห
กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์
ให้ติวเตอร์ใช้เขตพื้นที่เหล่านี้ เพื่อระบุพื้นที่ที่ท่านสามารถเดินทางไปสอนได้สะดวกครับ ศูนย์จะแจ้งงานให้ท่านทราบตามพื้นที่การเดินทางที่ท่านสะดวกครับ โปรดแจ้งตามความสะดวกจริง เพื่อความรวดเร็วในการรับงานสอนนะครับ 1.กลุ่มกรุงเทพกลาง ประกอบด้วย เขตพระนคร ดุสิต ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ดินแดง ห้วยขวาง พญาไท ราชเทวี และวังทองหลาง 2.กลุ่มกรุงเทพใต้ ประกอบด้วย เขตปทุมวัน บางรัก สาทร บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย วัฒนา พระโขนง สวนหลวง และบางนา 3. กลุ่มกรุงเทพเหนือ ประกอบด้วย เขตจตุจักร บางซื่อ ลาดพร้าว หลักสี่ ดอนเมือง สายไหม และบางเขน 4.กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ประกอบด้วย เขตบางกะปิ สะพานสูง บึงกุ่ม คันนายาว ลาดกระบัง มีนบุรี หนองจอก คลองสามวาและประเวศ 5.กลุ่มกรุงธนเหนือ ประกอบด้วย เขตธนบุรี คลองสาน จอมทอง บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย บางพลัด ตลิ่งชันและทวีวัฒนา 6.กลุ่มกรุงธนใต้ ประกอบด้วย เขตภาษีเจริญ บางแค หนองแขม บางขุนเทียน บางบอน ราษฎร์บูรณะและทุ่งครุ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยท