Featured post
เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : เราสอบไปเพื่ออะไร?
- รับลิงก์
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
คอลัมน์ เหลาดินสอ รอสอน: เราสอบไปเพื่ออะไร?
โดย สาธร อุพันวัน CEO โรงเรียนกวดวิชาออนดีมานด์ทุกวันนี้เราสอบไปเพื่ออะไร หลายๆ ท่านคงสงสัยใช่ไหมครับ เด็กทุกวันนี้ทำไมเรียนกันเยอะ ไม่ใช่แค่เรียนเยอะเท่านั้นนะครับ การสอบของไทยก็เยอะตาม แล้วซับซ้อนกว่าสมัยก่อนมาก
ปัจจุบันการสอบมีหลายแบบ เช่น การสอบตรงของแต่ละคณะ แต่ละมหาวิทยาลัย ข้อสอบใช้กันคนละข้อสอบ รวมไปถึงการสอบ Admissionกลาง ทำให้เด็กต้องสอบหลายรอบ ข้อสอบก็ยาก ทำให้เด็กมีภาวะกดดันและเกิดความเครียด จนอาจเป็นที่มาของคำถามว่า เราสอบไป เพื่ออะไร? ที่ทำอยู่มันใช่ไหม? แล้วต้อง ปรับเปลี่ยนอย่างไร?
สมัยก่อนตอนที่ยังเรียกการสอบเข้ามหาวิทยาลัยว่าการสอบ Entrance เด็กที่สอบติดหมอหรือวิศวะอย่างน้อยๆ ก็ต้องได้คะแนนจากการสอบคณิตศาสตร์ 80-90% ขึ้นไป ซึ่งตอนนี้เปลี่ยนมาเป็นการสอบคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า PAT1 สิ่งที่น่าตกใจมากคือ มีนักเรียนที่สอบ PAT1 กว่า 239,345 คน มีเพียง 621 คน ที่ได้คะแนนมากกว่า 50% แต่จำนวนรับแพทย์,ทันตแพทย์ในปีที่ผ่านมาทั้งสิ้น1,487คน แสดงว่ามีน้องที่ติดหมอแล้วได้คะแนนต่ำกว่า50% หรือสอบตกมากกว่า 866 คน
ถามว่าน้องที่สอบติดหมอ เรียนหนักขนาดนั้น ไม่เก่งหรือไม่ตั้งใจเรียนจนทำให้ได้คะแนนแค่นี้หรือ ผมบอกเลยว่าความจริงไม่ใช่เป็นเพราะข้อสอบนั้นยากเกินไปและมีการตอบคำถามที่ซับซ้อนเกินไป นอกจากนั้นข้อสอบแบบนี้จะวัดความสามารถเด็กอ่อนไม่ได้เลยเพราะขนาดเด็กเก่งยังได้คะแนนแค่นี้ ซ้ำร้ายเคยมีกรณีสอบตรง เข้านิเทศศาสตร์ จุฬา ซึ่งมีข้อกำหนดว่า เด็กต้องสอบ PAT1 ได้เกิน 60%ขึ้นไป จึงจะมีสิทธิผ่านเข้าสัมภาษณ์ต่อไป
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือไม่มีใครผ่านเกณฑ์แม้แต่คนเดียว สุดท้ายก็ไม่รู้ว่ามีกระบวนการแก้ไขกันอย่างไรถึงจัดการรับเข้าให้เสร็จสิ้นได้ ตรงข้ามกับการสอบของต่างประเทศอย่าง SAT เด็กไทยมักได้คะแนน 90% ขึ้นไป เช่นเดียวกับ GMAT ที่ใช้คะแนนในการสอบเข้าปริญญาโท เด็กไทยส่วนมากสอบได้ 90%ขึ้นไปหรือได้ 100 เต็มก็เยอะเช่นเดียวกัน
ในกรณีนี้สิ่งที่จะชี้ให้เห็นก็คือ การสอบของต่างประเทศนั้น เค้าทำข้อสอบขึ้นมาเพื่อให้เด็กทำได้ ออกในสิ่งที่บอกกล่าวไว้ล่วงหน้า ออกในสิ่งที่สอนอย่างมีมาตรฐานที่เหมาะสม ในขณะที่ข้อสอบของไทยติดนิสัยที่ต้องออกข้อสอบให้ยาก การแต่งตัวเลือก ก็ให้ยากๆ ใครเผลอจะเลือกตัวเลือกที่ผิด คิดแต่ว่าจะออกข้อสอบอย่างไรให้เด็กทำไม่ได้
ในขณะที่ข้อสอบ SAT ส่วนใหญ่ไม่เป็นแบบนั้น จะมีเพียงท้ายข้อสอบที่ต้องการวัดระดับเด็กเท่านั้น ผมก็ไม่รู้ว่าทัศนคตินี้ เริ่มเป็นกันมาตั้งแต่สมัยไหน แต่ประเทศเราเป็นแบบนี้ ความจริงเราควรมาคิดกันใหม่เรื่องการศึกษาว่า เราควรสอนอะไรเด็ก เด็กควรมีความรู้แค่ไหน และออกข้อสอบให้เหมาะสม เมื่อเด็กทำได้ก็แสดงว่า เด็กนั้นได้ความรู้ สร้างความสำเร็จให้เด็ก การศึกษาของเราประสบความสำเร็จตาม ไม่ใช่การออกข้อสอบยากให้เด็กทำไม่ได้โดยที่เราก็ไม่รู้ว่าเราสอบไปเพื่ออะไร
มาถึงตรงนี้ ผมไม่ได้บอกว่าระบบสอบคัดเด็กเข้ามหาวิทยาลัยของประเทศไทยนั้นไม่ดี หลายๆ เรื่องเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมและ ผลักดันต่อ ทั้งการสอบ Admission ปีละ2ครั้ง เป็นแนวทางที่ดีช่วยลดความกดดันของเด็กลงได้มาก, การประกาศคะแนนก่อนแล้วค่อยเลือกคณะ ก็เป็นการจัดระบบที่ทำให้เด็กสามารถเลือกในสิ่งที่ตรงกับความถนัดและความสามารถของตนเองได้มากขึ้น รวมถึง การรับตรงก็เป็นนโยบายที่ถูกทาง ที่ทำให้คนอยู่ในท้องถิ่น เด็กๆ มีความสนใจและภาคภูมิใจที่จะได้เรียนมหาวิทยาลัย ในท้องถิ่นอย่างที่ไม่เคยเป็นมา รวมทั้งเป็นการกระจายคนเก่งไม่ให้เกิดการกระจุกตัวที่มหาวิทยาลัยหนึ่งๆ มากเกินไป
ประเด็นสำคัญที่ต้องปรับเปลี่ยน เปลี่ยนเพียงเล็กน้อยแต่ลดผลกระทบที่เกิดขึ้นได้อย่างมาก คือ การใช้การสอบมาตรฐานกลางซึ่งมีอยู่แล้ว โดยสามารถยื่นคะแนนได้กับทุกคณะ ทุกมหาวิทยาลัย ลดการจัดสอบกันเองของแต่ละมหาวิทยาลัย การทำแบบนี้จะลดการสอบที่ไม่จำเป็น เด็กเองจะรู้คะแนนก่อน ได้คะแนนเท่านี้ควรนำไปยื่นที่คณะไหน มหาวิทยาลัยใดที่เหมาะกับตัวเอง เป็นการลดความกดดันของเด็ก ลดการเหลื่อมล้ำ เพิ่มโอกาสทางการศึกษา ไม่เสียเวลาเตรียมตัวสอบหลายที่ ทั้งยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายผู้ปกครองจากค่าสอบและค่าเดินทาง
อีกประเด็นหนึ่ง คือ ถ้าถามว่าแก่นของการสอบที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ไหน มันคือกระบวนการสร้างความรู้ให้เด็ก มันคือการคัดคนจากความรู้ที่เราสร้างให้ ดังนั้นเราควรสร้างค่านิยมใหม่ เปลี่ยน "ความยากเกินไป" ซึ่งใช้วัดอะไรไม่ได้ มาเป็น "ความยากในระดับมาตรฐาน" ซึ่งใช้วัด "ความสามารถที่แท้จริงของเด็ก" เพื่อคัดเลือกเด็กเข้าคณะที่เหมาะสมกับความสามารถของเด็ก
ยุทธศาสตร์ที่ดีของการแก้ปัญหาต้องให้หนักและตรงประเด็น หลายคนชอบพูดว่าการศึกษาไทยแก้ไม่ได้ ผมว่าไม่ใช่ มันแก้ได้ สิ่งที่เสนอไม่ได้ยากแค่สองข้อ
หนึ่ง คือ ใช้การสอบมาตรฐานกลางที่มีอยู่แล้วยื่นได้หลายคณะ ไม่ต้องเปลืองพลังเยอะ และ สอง คือ การปรับเปลี่ยนการออกข้อสอบให้มีความยากระดับมาตรฐาน ไม่ยากจนเกินไป ที่วัดความสามารถของเด็กได้จริง
สิ่งเหล่านี้ทำได้ง่ายกว่าที่เรากำลังทำอยู่ในปัจจุบัน ขึ้นอยู่ที่ว่าเราจะทำหรือไม่ เราจะเสียสละผลประโยชน์บางอย่างหรือไม่ ถ้าช่วยกันทำ มันก็แก้ได้ แล้วสุดท้ายพวกเราทุกคนจะพบกับคำตอบร่วมกันว่า เราไม่ได้สอบเพื่อสร้างความกดดันให้เด็ก เราไม่ได้สร้างกิจกรรมที่มันไม่เกิดมูลค่า แต่เราสอบเพื่อสร้างกระบวนการให้ความรู้เด็ก เราสอบเพื่อคัดเลือกเด็กไปพัฒนาต่อได้อย่างฉลาดและมีประสิทธิภาพ..
นี่แหละครับ คำตอบว่า เราสอบไป เพื่ออะไร?
สอบเพื่อคัดเลือกเด็กไปพัฒนาต่อได้อย่างฉลาดและมีประสิทธิภาพ
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 20 กันยายน 2558
- รับลิงก์
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี สวัสดีครับทุกท่าน ปัญหาการอ่านเขียนไม่คล่องของเด็กและเยาวชนของเรานับวันยิ่งมีปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น เรื่อย ๆ จนน่ากลัว การแก้ไขปัญหาภาษาไทยนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ของหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการศึกษาเสียแล้วครับ เมื่อหลายท่าน ทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ มีความเห็นตรงกันว่า จะปล่อยปะละเลยต่อปัญหานี้ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่ดี วันนี้ ครูเดชจึงได้นำไฟล์ตำราเรียน ที่แสนจะวิเศษ และผมเองกล้าการันตรีว่า หากนักเรียน หรือ ผู้ที่มีปัญหาภาษาไทย ได้ตั้งใจอ่าน ตั้งใจทำความเข้าใจ จะสามารถพัฒนาภาษาไทยไปได้อย่างดีเยี่ยมเลยครับ "มานะ มานี" นอกจากจะเป็นตำราภาษาไทย ที่คนที่มีอายุหลายท่านได้สัมผัสเรียนรู้ในวิชาภาษาไทยมาแล้ว ท่านจะทราบว่าตำราเรียนเล่มนี้ ไม่ได้มีแต่ความรู้ภาษาไทย อย่างเดียวไม่ หากแต่มีความน่าสนุก น่าสนใจ และความตื้นเต้น กลวิธีนี้เองล่ะครับ ที่ผมเห็นว่า เป็นอุบายล่อให้เด็กสนใจตำราเรียนได้เป็นอย่างดี ความสนุก ความเพลิดเพลิน เมื่อนักเรียนอ่านจบเล่ม ตัวละครก็จบชั้นเดียวกัน เมื่อเลื่อนชั้น นักเรี
แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1
แจกฟรี แบบฝึกหัดภาษาไทยใช่ควบคู่กับตำรามานะมานี ป. 1 คลิกที่ลิงก์เพื่อดาวน์โหลดครับ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 1-5 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 6-10 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 11-15 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 16-20 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 21-25 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 26-30 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 31-35 อยู่ในขณะจัดทำ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 36-40 อยู่ในขณะจัดทำ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยที่ออสเตรเลีย หาครูสอนภาษาไทยที่ญี่ปุ่น หาครูสอนภาษาไทยที่เวียดนาม หาครูสอนภาษาไทยที่อเมริกา หาครูสอนภาษาไทยที่เยอรมัน หาครูสอนภาษาไทยที่ฝรั่งเศส Learn Thai with native speakers. หาครูสอนภาษาไทยอ่านเขียน สอนอ่านหนังสือภาษาไทย สอนอ่านเขียน ลูกอ่านภาษาไทยไม่ออก หาครูแก้ไขภาษาไทย สถาบันสอนภาษาไทย โรงเรียนสอนภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทยนานาชาติ หาครูสอนภาษาไทยลูกครึ่ง หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนพิเศษ ห
กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์
ให้ติวเตอร์ใช้เขตพื้นที่เหล่านี้ เพื่อระบุพื้นที่ที่ท่านสามารถเดินทางไปสอนได้สะดวกครับ ศูนย์จะแจ้งงานให้ท่านทราบตามพื้นที่การเดินทางที่ท่านสะดวกครับ โปรดแจ้งตามความสะดวกจริง เพื่อความรวดเร็วในการรับงานสอนนะครับ 1.กลุ่มกรุงเทพกลาง ประกอบด้วย เขตพระนคร ดุสิต ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ดินแดง ห้วยขวาง พญาไท ราชเทวี และวังทองหลาง 2.กลุ่มกรุงเทพใต้ ประกอบด้วย เขตปทุมวัน บางรัก สาทร บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย วัฒนา พระโขนง สวนหลวง และบางนา 3. กลุ่มกรุงเทพเหนือ ประกอบด้วย เขตจตุจักร บางซื่อ ลาดพร้าว หลักสี่ ดอนเมือง สายไหม และบางเขน 4.กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ประกอบด้วย เขตบางกะปิ สะพานสูง บึงกุ่ม คันนายาว ลาดกระบัง มีนบุรี หนองจอก คลองสามวาและประเวศ 5.กลุ่มกรุงธนเหนือ ประกอบด้วย เขตธนบุรี คลองสาน จอมทอง บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย บางพลัด ตลิ่งชันและทวีวัฒนา 6.กลุ่มกรุงธนใต้ ประกอบด้วย เขตภาษีเจริญ บางแค หนองแขม บางขุนเทียน บางบอน ราษฎร์บูรณะและทุ่งครุ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยท