Featured post
เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : ให้อิสระโรงเรียน ปลดล็อกปฏิรูปการศึกษา
- รับลิงก์
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ให้อิสระโรงเรียน ปลดล็อกปฏิรูปการศึกษา
โดย...ธเนศน์ นุ่นมัน
วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูประบบการกระจายอำนาจ เปิดประเด็นเรื่องการปฏิรูปการศึกษา โดยระบุว่าที่ผ่านมาคณะอนุกรรมการฯ เคยวางกรอบร่างยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจไปสู่สถานศึกษาแบบเต็มรูปแบบ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษาของ ศธ. โดยกรอบร่างยุทธศาสตร์การกระจาย อำนาจจะมีใจความสำคัญทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่
1.การจัดการรูปแบบการศึกษา โดยองค์กรจากภาคส่วนอื่นในท้องถิ่นที่ไม่ใช่ภาครัฐ ภายใต้แนวคิดการศึกษาสมัยใหม่คือการจัดการศึกษาไม่ใช่หน้าที่เฉพาะของรัฐเท่านั้น
2.แนวคิดการถ่ายโอนโรงเรียนขนาดเล็กให้กับท้องถิ่นจำนวน 1.5 หมื่นแห่ง จากทั้งสิ้น 3.5 หมื่นแห่งทั่วประเทศ โดยพุ่งเป้าไปที่ความพร้อมของท้องถิ่นที่รับโอนโรงเรียนไปด้วยว่ามีประสิทธิภาพในการจัดการศึกษามากน้อยเพียงใด และการถ่ายโอนโรงเรียนจำเป็นต้องได้รับความสมัครใจจากผู้บริหารและครูในโรงเรียนก่อนด้วย
3.ยกระดับให้โรงเรียนมีสถานะเป็นนิติบุคคลที่สามารถบริหารจัดการโรงเรียนได้ด้วยตัวเอง มีอิสระที่จะบริหารได้ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการจัดหลักสูตรการเรียนการสอน การวางกำลังคน และงบประมาณ
4.ต้องมีการส่งเสริมกลไกจังหวัด สร้างความหลากหลายของสถานศึกษา และสร้างการรวมตัวกันเองทุกภาคส่วนในท้องถิ่น เพื่อเข้ามาบริหารจัดการสถานศึกษาด้วยคนในท้องถิ่น
วรากรณ์ ขยายความอีกว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปมองไปในทางเดียวกันว่า การปฏิรูปนั้นยากที่จะประสบความสำเร็จหากฝากความหวังไว้กับรัฐบาลแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยเฉพาะกรณีอำนาจการบริหารเดิมที่ทิ้งปัญหาหลายเรื่องไว้กับระบบการศึกษา
“ยกตัวอย่างโรงเรียนที่มีศักยภาพในการจัดการตัวเอง เรื่องหนึ่งที่เป็นปัญหามากก็คือการบรรจุครูชดเชยครูที่เกษียณ แม้โรงเรียนนั้นๆ ทราบว่าตำแหน่งครูในโรงเรียนของตัวเองจะว่างลงด้วยเหตุผลดังกล่าวล่วงหน้านานนับปี แต่ผ่านพ้นไปหลายเดือนก็จะไม่สามารถหาครูมาแทนได้ทันกับที่ขาดไป ซึ่งผมเชื่อว่าหากโรงเรียนที่พร้อมหรือโรงเรียนต้นแบบได้บริหารตัวเองก็จะสามารถก้าวข้ามสิ่งที่ติดขัดอยู่ พัฒนาคุณภาพไปได้แบบก้าวกระโดด” วรากรณ์ กล่าว
อย่างไรก็ดี การผลักดันให้โรงเรียนเป็นนิติบุคคลมากขึ้น อาจมีคำถามว่าจะประสบปัญหาเรื่องการกำกับดูแลด้านคุณภาพหรือไม่ ซึ่งวรากรณ์มองว่าเป็นเรื่องที่สามารถออกแบบระบบตรวจสอบเข้าไปกำกับดูแลได้
“อีกเรื่องคือเราต้องเปลี่ยนระบบการรับผิดรับชอบจากการบริหารงานจากกระทรวงมาถึงตัวเด็ก ที่ผ่านมาต้องผ่านนโยบายรัฐ หน่วยงานกลางไปสู่ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา มาถึงผู้อำนวยการโรงเรียน ก่อนจะถึงตัวเด็กซึ่งเป็นเรื่องที่ห่างไกลกันมาก โดยต้องทำให้สั้นลงให้ความรับผิดชอบที่ไปถึงตัวนักเรียนโดยตรง”วรากรณ์ ระบุ
วรากรณ์ ขยายความว่า ที่ผ่านมานโยบายการศึกษาไทยผิดพลาดในเรื่องนี้ เพราะตัดเรื่องผู้บริหารโรงเรียนต้องรับผิดชอบต่อเด็กออก รวมถึงตั้งสมมติฐานว่าผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาทุกคนเป็นคนดี แต่กลายเป็นว่าเขตพื้นที่การศึกษากลายเป็นจุดให้คุณให้โทษกับการย้ายครูหรือกระทั่งผู้อำนวยการเข้าออกพื้นที่ได้ เขตไหนผู้อำนวยการเขตฯ ดีก็พัฒนาเร็วมาก และถ้าหากเป็นไปในทางตรงกันข้ามก็จะมีปัญหาตามมาอีกมากมาย ดังนั้น การจัดการศึกษาไม่สามารถแก้เพียงจุดใดจุดเดียวได้ ต้องแก้สิ่งที่ผูกโยงเป็นวงจรการศึกษาทั้งระบบ
“เราครูมีทั้งหมด 4.5 แสนคน แต่กระจุกตัวอยู่ในโรงเรียนใหญ่ในเมือง แต่โรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศที่มีนักเรียนไม่ถึง 200 คน ตามมาตรฐานต้องมีครูอย่างน้อย 7 คน แต่ก็ไม่สามารถหาครูให้เพียงพอตามเกณฑ์ได้ เพราะไม่สามารถบังคับครูให้ย้ายโรงเรียนได้ ต้นสังกัดอาจจะย้ายข้าราชการตำรวจ หมอ หรืออื่นๆ ได้ตามหน้าที่ แต่ครูนั้นมีวัฒนธรรมเฉพาะ ย้ายจากโรงเรียนหนึ่งไปอีกโรงเรียน ซึ่งห่างไปเพียง 3 กิโลเมตรก็ไม่ยอม” วรากรณ์ กล่าว
วรากรณ์ ระบุว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการเปลี่ยนการศึกษาภาคบังคับจาก 6 ปี เป็น 9 ปี เมื่อประมาณ 10 กว่าปีก่อนมีการสอบบรรจุครูปีละกว่า 1 แสนคน จนไม่มีระบบคัดกรองที่ดีพอ และเมื่อมีครูจำนวนมากก็มีปัญหาอื่นที่เชื่อมโยงกับเรื่องสวัสดิการที่กลายเป็นปัญหาหนี้ครู บางกองทุนเปิดโอกาสให้ครูสามารถกู้ยืมได้ โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ขณะเดียวกันก็มีความเชื่อว่ารัฐบาลทุกรัฐบาลหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเข้ามาแก้ปัญหานี้ ดังนั้น จึงเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยากจะแก้ไขได้ หากไม่เริ่มวางรากฐานการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง
“เป็นเรื่องน่าแปลกที่หน่วยงานดูแลสวัสดิการไม่เคยสนใจว่าครูแต่ละคนมีหนี้สินเท่าไร เพราะไม่เคยมีการสำรวจมาก่อน ไม่เคยมีใครสั่งให้ดำเนินการเรื่องนี้ได้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ไม่สนใจเรื่องนี้ เพราะคิดว่าตัวเองมีหน้าที่ให้กู้อย่างเดียว คำถามง่ายๆ คือทำไมข้าราชการกระทรวงอื่นไม่เคยมีปัญหานี้ ถึงเวลาที่จะต้องยกเครื่องเรื่องครูใหม่ให้มีความรับผิดรับชอบอย่างเป็นระบบมากขึ้น” ประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูประบบการกระจายอำนาจกล่าว
ที่มา โพสต์ทูเดย์ 13 ก.ค.2558
- รับลิงก์
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี สวัสดีครับทุกท่าน ปัญหาการอ่านเขียนไม่คล่องของเด็กและเยาวชนของเรานับวันยิ่งมีปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น เรื่อย ๆ จนน่ากลัว การแก้ไขปัญหาภาษาไทยนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ของหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการศึกษาเสียแล้วครับ เมื่อหลายท่าน ทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ มีความเห็นตรงกันว่า จะปล่อยปะละเลยต่อปัญหานี้ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่ดี วันนี้ ครูเดชจึงได้นำไฟล์ตำราเรียน ที่แสนจะวิเศษ และผมเองกล้าการันตรีว่า หากนักเรียน หรือ ผู้ที่มีปัญหาภาษาไทย ได้ตั้งใจอ่าน ตั้งใจทำความเข้าใจ จะสามารถพัฒนาภาษาไทยไปได้อย่างดีเยี่ยมเลยครับ "มานะ มานี" นอกจากจะเป็นตำราภาษาไทย ที่คนที่มีอายุหลายท่านได้สัมผัสเรียนรู้ในวิชาภาษาไทยมาแล้ว ท่านจะทราบว่าตำราเรียนเล่มนี้ ไม่ได้มีแต่ความรู้ภาษาไทย อย่างเดียวไม่ หากแต่มีความน่าสนุก น่าสนใจ และความตื้นเต้น กลวิธีนี้เองล่ะครับ ที่ผมเห็นว่า เป็นอุบายล่อให้เด็กสนใจตำราเรียนได้เป็นอย่างดี ความสนุก ความเพลิดเพลิน เมื่อนักเรียนอ่านจบเล่ม ตัวละครก็จบชั้นเดียวกัน เมื่อเลื่อนชั้น นักเรี
แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1
แจกฟรี แบบฝึกหัดภาษาไทยใช่ควบคู่กับตำรามานะมานี ป. 1 คลิกที่ลิงก์เพื่อดาวน์โหลดครับ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 1-5 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 6-10 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 11-15 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 16-20 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 21-25 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 26-30 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 31-35 อยู่ในขณะจัดทำ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 36-40 อยู่ในขณะจัดทำ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยที่ออสเตรเลีย หาครูสอนภาษาไทยที่ญี่ปุ่น หาครูสอนภาษาไทยที่เวียดนาม หาครูสอนภาษาไทยที่อเมริกา หาครูสอนภาษาไทยที่เยอรมัน หาครูสอนภาษาไทยที่ฝรั่งเศส Learn Thai with native speakers. หาครูสอนภาษาไทยอ่านเขียน สอนอ่านหนังสือภาษาไทย สอนอ่านเขียน ลูกอ่านภาษาไทยไม่ออก หาครูแก้ไขภาษาไทย สถาบันสอนภาษาไทย โรงเรียนสอนภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทยนานาชาติ หาครูสอนภาษาไทยลูกครึ่ง หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนพิเศษ ห
กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์
ให้ติวเตอร์ใช้เขตพื้นที่เหล่านี้ เพื่อระบุพื้นที่ที่ท่านสามารถเดินทางไปสอนได้สะดวกครับ ศูนย์จะแจ้งงานให้ท่านทราบตามพื้นที่การเดินทางที่ท่านสะดวกครับ โปรดแจ้งตามความสะดวกจริง เพื่อความรวดเร็วในการรับงานสอนนะครับ 1.กลุ่มกรุงเทพกลาง ประกอบด้วย เขตพระนคร ดุสิต ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ดินแดง ห้วยขวาง พญาไท ราชเทวี และวังทองหลาง 2.กลุ่มกรุงเทพใต้ ประกอบด้วย เขตปทุมวัน บางรัก สาทร บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย วัฒนา พระโขนง สวนหลวง และบางนา 3. กลุ่มกรุงเทพเหนือ ประกอบด้วย เขตจตุจักร บางซื่อ ลาดพร้าว หลักสี่ ดอนเมือง สายไหม และบางเขน 4.กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ประกอบด้วย เขตบางกะปิ สะพานสูง บึงกุ่ม คันนายาว ลาดกระบัง มีนบุรี หนองจอก คลองสามวาและประเวศ 5.กลุ่มกรุงธนเหนือ ประกอบด้วย เขตธนบุรี คลองสาน จอมทอง บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย บางพลัด ตลิ่งชันและทวีวัฒนา 6.กลุ่มกรุงธนใต้ ประกอบด้วย เขตภาษีเจริญ บางแค หนองแขม บางขุนเทียน บางบอน ราษฎร์บูรณะและทุ่งครุ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยท