Featured post

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม :ราชภัฏกับธนาคาร

เสรี พงศ์พิศ
www.phongphit.com
มหาวิทยาลัยราชภัฏมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 123 ปี ตั้งแต่เป็นโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์เมื่อปี 2435 ในรัชกาลที่ 5 เปลี่ยนมาเป็นวิทยาลัยครู และจากวิทยาลัยครูมาเป็นสถาบันราชภัฏเมื่อปี 2538 และเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏเมื่อปี 2547 มีอยู่ 40 แห่งทั่วประเทศ
นับตั้งแต่ก่อตั้งมาจนถึงปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ต่อไปนี้ขอเรียกเพียง ราชภัฏŽ) มีศิษย์เก่าศิษย์ปัจจุบันนับล้านคน เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาและการดำเนินงานของสังคมไทย วันนี้มีความขัดข้องหมองใจระหว่างราชภัฏกับธนาคารไทยพาณิชย์ เนื่องเพราะการประกาศรับพนักงานโดยไม่มีราชภัฏ
สถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนในประเทศไทยมีอยู่ 170 กว่าแห่ง แต่ละแห่งก็มีชื่อเสียงในความชำนาญ ความรู้ความสามารถแตกต่างกัน เป็น ทุนŽ ที่สั่งสมมานานและเป็นที่ยอมรับหรือไม่ยอมรับทั่วไป ไม่ใช่เรื่องแปลก ปัญหาความขัดแย้งแบบนี้น่าจะมีในประเทศไทยเท่านั้นกระมัง
บทความนี้เขียนมาด้วยความปรารถนาดีจากประสบการณ์ที่เคยทำงานกับราชภัฏตั้งแต่เป็นวิทยาลัยครู เป็นสถาบันราชภัฏ ในฐานะกรรมการสภาสถาบันหลายแห่ง และกรรมการสภาใหญ่และสภาวิชาการที่กระทรวงศึกษาธิการ ได้บรรยายพิเศษและเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกให้หลายแห่ง
จำได้ดีว่า ขณะที่มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ (ที่ออกมาในปี 2538) นั้นมีการให้ความสำคัญกับมาตราแรกที่ว่าด้วยเนื้อหาสำคัญของพรบ.ฉบับนี้ที่บอกว่า เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นŽ มีอยู่ครั้งหนึ่งประโยคนี้หายไป และผมเป็นคนทักท้วงว่า และได้ขอให้นำกลับเข้ามาใหม่ ซึ่งคณะกรรมการสภาก็เห็นด้วย อยากถามราชภัฏวันนี้เหมือนกันว่า ให้ความสำคัญกับมาตรานี้เพียงใด
เมื่อสถาบันราชภัฏได้เปลี่ยนมาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ พระราชบัญญัติก็ได้มีการปรับเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หัวใจของพรบ.สำคัญยังคงอยู่ และเขียนออกมาได้ดีและอยากให้อ่าน
มาตรา ๗ ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยา เพื่อ ความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการ การบํารุงรักษา การใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ให้ การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทําการสอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยีทะนุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทย ฐานะครู
มาตรา ๘ ในการดําเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๗ ให้กําหนด ภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ดังต่อไปนี้ (๑) แสวงหาความจริงเพื่อสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ บนพื้นฐานของภูมิปัญญา ท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาสากล (๒) ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม สํานึกในความเป็นไทย มีความรักและผูกพัน ต่อท้องถิ่น อีกทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน เพื่อช่วยให้คนในท้องถิ่นรู้เท่าทันการ เปลี่ยนแปลง การผลิตบัณฑิตดังกล่าว จะต้องให้มีจํานวนและคุณภาพสอดคล้องกับแผนการผลิต บัณฑิตของประเทศ (๓) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในคุณค่า ความสํานึก และความภูมิใจในวัฒนธรรม ของท้องถิ่นและของชาติ (๔) เรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นําชุมชน ผู้นําศาสนาและนักการเมือง ท้องถิ่นให้มีจิตสํานึกประชาธิปไตย คุณธรรม จริยธรรม และความสามารถในการบริหารงานพัฒนา ชุมชนและท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
(๕) เสริมสร้างความเข้มแข็งของวิชาชีพครูผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการ ศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง (๖) ประสานความร่วมมือและช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างมหาวิทยาลัย ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรอื่นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (๗) ศึกษาและแสวงหาแนวทางพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้านและเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้ เหมาะสมกับการดํารงชีวิตและการประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่น รวมถึงการแสวงหาแนวทาง เพื่อ ส่งเสริมให้เกิดการจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน (๘) ศึกษา วิจัย ส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดําริในการ ปฏิบัติภารกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นŽ
วันนี้สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษากำลังอยู่ระหว่างการปฏิรูป หนึ่งในแนวคิดคือการแยกประเภทของสถาบันอุดมศึกษาให้ชัดเจนอย่างน้อย 3 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งเน้นความเป็นเลิศด้านวิชาการ หรือ academic excellence เป็นนักวิชาการ อาจารย์ นักวิจัย กลุ่มสองเน้นความเป็นเลิศด้านวิชาชีพชั้นสูง professional excellence เช่น แพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี ทนายความ (มีสมาคมวิชาชีพให้การรับรอง) กลุ่มสามเน้นความเป็นเลิศเฉพาะทาง competency excellence รับราชการ ทำงานพัฒนา อาชีพต่างๆ
การแยกแยะอาจยังไม่ชัดเจนนัก แต่ก็เป็นเรื่องดีที่จะมีการสร้างกรอบเกณฑ์ตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับประเภทของการศึกษา ไม่ใช่เอาเกณฑ์ประเภทหนึ่งไปวัดอีกประเภทหนึ่ง ตอบสนองความต้องการเฉพาะด้านของสังคม และไม่เรียนแบบเหมารวม แบบเรียนอะไรก็ทำได้ทุกอย่าง ที่สุดทำอะไรไม่เป็นสักอย่าง ทำอะไรก็ พอกะเทินŽ อย่างที่เพลงลูกทุ่งเขาร้องกัน
อยากให้ราชภัฏพิจารณารากเหง้าของตนให้ดี และทบทวนบทบาทหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ 2547รวมทั้งชื่อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานประหนึ่งให้เป็น จิตวิญญาณŽ ของสถาบันแห่งนี้ทำได้ตามนั้น บ้านเมืองต้องเจริญพัฒนาอย่างแน่นอน เพราะวันนี้มีไม่มีการศึกษา เพื่อท้องถิ่นŽ มีแต่การศึกษา เพื่อทิ้งถิ่นŽ 


โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี

กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์

แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1