Featured post
ว่าด้วยกรณีมหาวิทยาลัยปิดเปิดเทอมตามอาเซียน??? โดย สุพจน์ เอี้ยงกุญชร
- รับลิงก์
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
กรณีการเลื่อนเวลาปิดเปิดเทอมมหาวิทยาลัยไทยตามอาเซียนที่เป็นอยู่ขณะนี้คือ จากเดิมที่เคยเปิดเทอมแรกในเดือนมิถุนายนแล้วไปปิดเทอมย่อยในเดือนตุลาคม และไปเปิดเทอมสองในเดือนพฤศจิกายนแล้วไปปิดเทอมใหญ่ในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมนั้น ได้เปลี่ยนมาเปิดเทอมแรกในเดือนสิงหาคมแล้วไปปิดเทอมย่อยในเดือนธันวาคม และเปิดเทอมสองในเดือนมกราคมแล้วไปปิดเทอมใหญ่กลางเดือนพฤษภาคมถึงปลายเดือนกรกฎาคม กล่าวคือ มหาวิทยาลัยไทยเลื่อนเวลาเรียนออกไปราว 2 เดือนทั้งระบบ โดยอ้างว่าเป็นการปิดเปิดเทอมตามอาเซียนที่กำลังจะรวมกลุ่มเป็นประชาคมอาเซียนปลายปีนี้ ซึ่งทำให้มหาวิทยาลัยไทยต้องเปิดให้มีการเรียนการสอนตรงกับช่วงฤดูฝน (มิถุนายน-กันยายน) อย่างเต็มๆ ในเทอมแรก และต้องเรียนต้องสอนกันในช่วงฤดูร้อน (มีนาคม-พฤษภาคม) อย่างเต็มๆ ในเทอมสอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดูไม่เข้าท่า
ที่มาภาพจาก ประชาชาติธุรกิจ
ตั้งแต่แรกแล้ว และไม่มีใครคาดคิดว่าสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะดำเนินการอย่างนี้จริงๆ เพราะเชื่อว่าผู้บริหารการศึกษาระดับสูงน่าจะคิดได้ถึงผลกระทบที่จะมีต่อภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย ดังนั้น จึงไม่มีใครออกมาคัดค้านอย่างจริงจังเสียแต่แรก แต่เมื่อ สกอ.สั่งการลงมาจริงๆ มหาวิทยาลัยต่างๆ ก็ทำตามเหมือนเด็กว่าง่าย เพราะอธิการบดีส่วนใหญ่คงตกอยู่ในบริบทที่ว่า ตามเขาดูเหมือนเก่ง บ้างก็ว่าทดลองดูไปก่อน หากไม่เหมาะสมก็เปลี่ยนกลับมาแบบเดิม ซึ่งสุดท้ายก็เกิดปัญหามากมายตามมาอย่างที่ทราบๆ กันอยู่สำหรับความไม่เหมาะสมของการปิดเปิดเทอมมหาวิทยาลัยตามอาเซียนนั้นเป็นเพราะมีการเรียนการสอนในช่วงที่มีความเสี่ยงสูงสุดที่จะเกิดพายุและน้ำท่วม (กันยายนและตุลาคม) ในช่วงเทอมแรก และมีการเรียนการสอนในช่วงที่อากาศร้อนสุดสุด (เมษายนและพฤษภาคม) ในช่วงเทอมสองนั่นเอง และปัญหาอื่นๆ ที่ตามมาอีกมากมายดังที่ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) ได้เคยสรุปไว้ในมติของ ปอมท. เรื่องการปิดเปิดเทอมมหาวิทยาลัยไทยตามอาเซียนในคราวประชุม ปอมท. ครั้งที่ 5/2558 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2558 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (นสพ.มติชน ฉบับวันที่ 23 มิถุนายน 2558)
หลังจากปล่อยให้มีการปิดเปิดเทอมมหาวิทยาลัยตามอาเซียนมาจนครบหนึ่งปีการศึกษา (2557) แล้ว มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ก็พบปัญหาที่ตามมามากมาย หลายฝ่ายจึงออกมาคัดค้านอย่างจริงจัง อาทิ กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยไทยได้รณรงค์คัดค้านเรื่องนี้ผ่านทาง www.change.org ซึ่งขณะนี้มีผู้ลงชื่อคัดค้านแล้วกว่า 2 หมื่นรายชื่อ ขณะที่ตัวแทนคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็มีมติเสนอให้ สกอ.ทบทวนเรื่องนี้ แต่ สกอ.ก็ยังคงยืนยันจะไม่ทบทวน และขณะนี้ได้เปิดเทอมแรกของปีการศึกษา (2558) ไปแล้ว นั่นหมายความว่า มหาวิทยาลัยไทยจะต้องเปิดเทอมที่สองตามอาเซียนต่อไปอีกหนึ่งปีการศึกษาเป็นอย่างน้อย
ตามข้ออ้างของผู้เสนอให้มหาวิทยาลัยมีการปิดเปิดเทอมตามอาเซียนนั้น นับเป็นเรื่องตลกร้ายที่สุดเพราะแท้จริงแล้วกลับพบว่า การปิดเปิดเทอมของมหาวิทยาลัยไทยที่เปลี่ยนไปนี้ ไม่ได้สอดคล้องอะไรกับมหาวิทยาลัยของประเทศต่างๆ ในอาเซียนเลย เพราะแต่ละประเทศในอาเซียนมีช่วงเวลาปิดเปิดเทอมที่หลากหลาย (ดังตาราง) แม้แต่ประเทศลาวที่ดูเหมือนมีช่วงปิดเปิดเทอมตรงที่สุดกับประเทศไทย (ดูเหมือนไทยเปลี่ยนตามลาว) ก็ยังไม่จริง เพราะเทอมแรกของมหาวิทยาลัยไทยตรงกับเทอมสองของมหาวิทยาลัยลาว แล้วอย่างนี้จะอ้างว่า เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของอาเซียนได้อย่างไร?
ถึงตรงนี้ จึงไม่ทราบว่าใครถูกหลอกและใครหลอกใคร ระหว่างที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) และคนในมหาวิทยาลัยที่ถูกหลอกมาตลอด เชื่อว่าเรื่องนี้จะต้องมีเบื้องหน้าเบื้องหลังในการเสนออย่างแน่นอน แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะประเด็นสำคัญคือ เราจะยอมให้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนี้บั่นทอนคุณภาพของอุดมศึกษาไทยต่อไปอีกหรือ? เพราะได้เห็นกันชัดๆ แล้วว่า ในปีการศึกษา 2557 ที่ผ่านมา การปิดเปิดเทอมที่ว่าตามอาเซียนนั้น นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์อย่างเป็นชิ้นเป็นอันต่อวงการอุดมศึกษาไทยในภาพรวมแล้ว แต่กลับเป็นอุปสรรคใหญ่หลวงต่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ และเป็นอุปสรรคต่อการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไทย ซึ่งล้วนเป็นภารกิจหลักที่สำคัญของมหาวิทยาลัยไทยทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมีผลกระทบไปถึงครอบครัว สังคม และประเทศชาติในด้านการใช้พลังงานและทรัพยากรอีกด้วย
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยไทยนับว่าอยู่รั้งท้ายในกลุ่มอาเซียน แต่ทุกวันนี้ก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่บ่งบอกถึงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ได้ผลอย่างชัดเจน ทั้งการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอก การปรับเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และการปรับโครงสร้างกระทรวง รวมทั้งการปรับเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีเป็นว่าเล่น ดูเหมือนจะมีแต่การเปลี่ยนแปลงที่ล้วนบั่นทอนคุณภาพการศึกษาและลดประสิทธิภาพการทำงานของมหาวิทยาลัยลงไปอีกแทบทั้งสิ้น
ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการก็เพิ่งได้รัฐมนตรีว่าการและช่วยว่าการชุดใหม่ รวมทั้งกำลังจะได้เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาคนใหม่ จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่จะได้มีการทบทวนเรื่องนี้กันอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง เพราะผู้บริหารชุดที่แล้วเคยยืนยันว่าจะไม่ทบทวนเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่มีหลายฝ่ายออกมาให้ข้อมูลและเหตุผลว่าควรปรับคืนไปเหมือนเดิม แต่ไม่รู้ว่าด้วยอัตตาที่สูงเกินขีดธรรมดา หรือเป็นเพราะยังคงอยู่ในบริบทที่ว่า "ตามเขาดูเหมือนเก่ง คิดเองดูเหมือนโง่" ปัญหาจึงยังคงอยู่
หากปล่อยให้เวลาล่วงเลยต่อไป การเปลี่ยนแปลงแก้ไขก็จะยิ่งยุ่งยากซับซ้อนไปอีก เพราะธรรมชาติของผู้ปฏิบัติมักจะเคยชินกับงานประจำจนมองไม่เห็นปัญหา เหมือนอีกหลายๆ เรื่องในวงการศึกษาไทยที่พลาดไปจนไม่อาจแก้ไขได้ในทุกวันนี้
สุพจน์ เอี้ยงกุญชร
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ม.แม่โจ้
ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 29 กันยายน 2558
- รับลิงก์
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี สวัสดีครับทุกท่าน ปัญหาการอ่านเขียนไม่คล่องของเด็กและเยาวชนของเรานับวันยิ่งมีปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น เรื่อย ๆ จนน่ากลัว การแก้ไขปัญหาภาษาไทยนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ของหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการศึกษาเสียแล้วครับ เมื่อหลายท่าน ทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ มีความเห็นตรงกันว่า จะปล่อยปะละเลยต่อปัญหานี้ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่ดี วันนี้ ครูเดชจึงได้นำไฟล์ตำราเรียน ที่แสนจะวิเศษ และผมเองกล้าการันตรีว่า หากนักเรียน หรือ ผู้ที่มีปัญหาภาษาไทย ได้ตั้งใจอ่าน ตั้งใจทำความเข้าใจ จะสามารถพัฒนาภาษาไทยไปได้อย่างดีเยี่ยมเลยครับ "มานะ มานี" นอกจากจะเป็นตำราภาษาไทย ที่คนที่มีอายุหลายท่านได้สัมผัสเรียนรู้ในวิชาภาษาไทยมาแล้ว ท่านจะทราบว่าตำราเรียนเล่มนี้ ไม่ได้มีแต่ความรู้ภาษาไทย อย่างเดียวไม่ หากแต่มีความน่าสนุก น่าสนใจ และความตื้นเต้น กลวิธีนี้เองล่ะครับ ที่ผมเห็นว่า เป็นอุบายล่อให้เด็กสนใจตำราเรียนได้เป็นอย่างดี ความสนุก ความเพลิดเพลิน เมื่อนักเรียนอ่านจบเล่ม ตัวละครก็จบชั้นเดียวกัน เมื่อเลื่อนชั้น นักเรี
แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1
แจกฟรี แบบฝึกหัดภาษาไทยใช่ควบคู่กับตำรามานะมานี ป. 1 คลิกที่ลิงก์เพื่อดาวน์โหลดครับ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 1-5 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 6-10 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 11-15 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 16-20 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 21-25 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 26-30 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 31-35 อยู่ในขณะจัดทำ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 36-40 อยู่ในขณะจัดทำ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยที่ออสเตรเลีย หาครูสอนภาษาไทยที่ญี่ปุ่น หาครูสอนภาษาไทยที่เวียดนาม หาครูสอนภาษาไทยที่อเมริกา หาครูสอนภาษาไทยที่เยอรมัน หาครูสอนภาษาไทยที่ฝรั่งเศส Learn Thai with native speakers. หาครูสอนภาษาไทยอ่านเขียน สอนอ่านหนังสือภาษาไทย สอนอ่านเขียน ลูกอ่านภาษาไทยไม่ออก หาครูแก้ไขภาษาไทย สถาบันสอนภาษาไทย โรงเรียนสอนภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทยนานาชาติ หาครูสอนภาษาไทยลูกครึ่ง หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนพิเศษ ห
กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์
ให้ติวเตอร์ใช้เขตพื้นที่เหล่านี้ เพื่อระบุพื้นที่ที่ท่านสามารถเดินทางไปสอนได้สะดวกครับ ศูนย์จะแจ้งงานให้ท่านทราบตามพื้นที่การเดินทางที่ท่านสะดวกครับ โปรดแจ้งตามความสะดวกจริง เพื่อความรวดเร็วในการรับงานสอนนะครับ 1.กลุ่มกรุงเทพกลาง ประกอบด้วย เขตพระนคร ดุสิต ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ดินแดง ห้วยขวาง พญาไท ราชเทวี และวังทองหลาง 2.กลุ่มกรุงเทพใต้ ประกอบด้วย เขตปทุมวัน บางรัก สาทร บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย วัฒนา พระโขนง สวนหลวง และบางนา 3. กลุ่มกรุงเทพเหนือ ประกอบด้วย เขตจตุจักร บางซื่อ ลาดพร้าว หลักสี่ ดอนเมือง สายไหม และบางเขน 4.กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ประกอบด้วย เขตบางกะปิ สะพานสูง บึงกุ่ม คันนายาว ลาดกระบัง มีนบุรี หนองจอก คลองสามวาและประเวศ 5.กลุ่มกรุงธนเหนือ ประกอบด้วย เขตธนบุรี คลองสาน จอมทอง บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย บางพลัด ตลิ่งชันและทวีวัฒนา 6.กลุ่มกรุงธนใต้ ประกอบด้วย เขตภาษีเจริญ บางแค หนองแขม บางขุนเทียน บางบอน ราษฎร์บูรณะและทุ่งครุ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยท