Featured post
เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : ตอบโจทย์ "ปฏิรูปการศึกษา"?
- รับลิงก์
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
แกะรอยนโยบาย "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" นำร่องพัฒนาทักษะเด็กไทย
ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
หนึ่งในนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ที่ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ประกาศหลังเข้ารับตำแหน่งเพียงไม่กี่วัน
ให้โรงเรียนเลิกเรียนเวลา 14.00 น. จากนั้นให้นักเรียนทำกิจกรรมที่เน้นการพัฒนาทักษะ โดยตั้งเป้าที่จะเริ่มนำร่องในสถานศึกษา 3,500 โรงทั่วประเทศ ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 เป็นต้นไป
ด้วยหวังว่าจะเป็นตัวช่วยหนึ่งที่สำคัญในการตอบโจทย์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่เป็นห่วงว่าเด็กไทยเรียนเยอะแต่คิดไม่ได้ จบไปก็ทำอะไรไม่เป็น จึงสั่งให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งปฏิรูปการศึกษา
ทันทีที่นโยบายนี้ถูกเผยแพร่สู่สาธารณชนก็สร้างแรงกระเพื่อมในสังคมอย่างมาก เพราะมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
สำหรับฝ่ายที่เห็นด้วยมองว่าเป็นเรื่องดีที่เด็กจะได้มีเวลาทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ ทั้งกีฬา ดนตรี ศิลปะ การเรียนรู้วิถีชุมชน หรือทักษะดำเนินชีวิต ขณะที่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยเกรงว่าเวลาเรียนที่ลดลงแทนที่จะเพิ่มเวลารู้ อาจกลับกลายเป็นเพิ่มเวลาให้เด็กเก่งๆหันไปเรียนกวดวิชา รวมทั้งเพิ่มเวลามั่วสุมของเด็กที่ไม่ค่อยใส่ใจการเรียนหรือไม่
แต่ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ สิ่งหนึ่งที่ทุกคนโฟกัสตรงกันคือ ความห่วงใยในแนวทางดำเนินการของกระทรวงศึกษาธิการ รวมไปถึงกรอบกิจกรรมที่จะนำมาจัดให้กับเด็ก ซึ่งยังไม่มีความชัดเจน
และล่าสุดเมื่อวันที่ 22 ก.ย.ที่ผ่านมา พล.อ.ดาว์พงษ์ ได้รายงานความคืบหน้าแนวทางการบริหารจัดการเวลาเรียน ตามนโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ หรือ Moderate Class More Knowledge พร้อมทั้งกรอบกิจกรรมต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
“ทีมการศึกษา” ขอนำแนวทางมากาง ซึ่งพบว่าสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. ได้วางแนวทางการบริหารจัดการเวลาเรียนใหม่ โดยระบุว่าการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ต้องดำเนินการใน 4 เรื่อง คือ หลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล และทบทวนหลังการปฏิบัติ โดยในส่วนของหลักสูตรยืนยันว่าไม่เปลี่ยนแปลง แต่มีการปรับปรุงเนื้อหาโดยตัดส่วนที่ไม่จำเป็นออก ซึ่งจะไม่กระทบตัวบ่งชี้ที่ใช้ออกข้อสอบ ทั้งของ สพฐ.และสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ
ทั้งมีการจัดโครงสร้างเวลาเรียนใหม่ให้มีความยืดหยุ่น โดยระดับประถมศึกษาจากเดิมที่เรียน 1,200-1,400 ชั่วโมงต่อปี ปรับเป็นไม่เกิน 1,000 ชั่วโมงต่อปี แบ่งเป็นเรียน 8 กลุ่มสาระฯ 840 ชั่วโมง เพิ่มเติม 40 ชั่วโมง รวม 880 ชั่วโมง หรือเรียนในห้องเรียน 22 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ที่เหลือ 8-13 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เป็นกิจกรรมพัฒนาทักษะ ขณะที่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากเดิม 1,400 ชั่วโมงต่อปี เป็นไม่เกิน 1,200 ชั่วโมงต่อปี แบ่งเป็น 8 กลุ่มสาระฯ 880 ชั่วโมง เพิ่มเติม 200 ชั่วโมง รวม 1,080 ชั่วโมง หรือ 27 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ส่วนที่เหลือ 8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ให้จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะ
สำหรับกิจกรรมพัฒนาทักษะผู้เรียน ประกอบด้วย 3 หมวด 13 กลุ่มกิจกรรม ได้แก่ หมวดที่ 1 สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ แบ่งเป็น กิจกรรมพัฒนาความสามารถด้านการสื่อสาร พัฒนาความสามารถด้านการคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง พัฒนาความสามารถด้านการแก้ปัญหา พัฒนาความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยี และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ หมวดที่ 2 สร้างเสริมคุณลักษณะและค่านิยม แบ่งเป็น ปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึก การทำประโยชน์ต่อสังคมมีจิตสาธารณะและการให้บริการด้านต่างๆ ทั้งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม ปลูกฝังความรักชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ ปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม ปลูกฝังและสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทย หมวดที่ 3 สร้างเสริมทักษะการทำงานการดำรงชีพและทักษะชีวิต แบ่งเป็น ตอบสนองความสนใจความถนัดและความต้องการของผู้เรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกการทำงานทักษะทางอาชีพและอยู่อย่างพอเพียง พัฒนาความสามารถด้านการใช้ทักษะชีวิต และสร้างเสริมสมรรถนะทางกาย โดยใน 13 กลุ่มกิจกรรมจะมีรูปแบบที่เป็นเมนูย่อยยกตัวอย่างให้เห็น
“กิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนต้องตอบโจทย์ที่ทำให้ผู้เรียน มีเฮดฮาร์ท และแฮนด์ รู้จักใช้สมอง คือความคิด มีหัวใจคือจริยธรรม ทัศนคติที่ถูกที่ควร และมีมือคือ ฝึกให้มีทักษะ ซึ่ง สอดคล้องกับแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่เน้นให้เด็กต้องเรียนรู้ 4 ด้านคือ พุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และพลศึกษา เชื่อว่าหากเด็กมีทั้งหมดนี้จะทำให้การศึกษามีความสมบูรณ์ จากนี้ สพฐ.จะเร่งอบรมครูผู้สอน และจัดสมาร์ทเทรนเนอร์ 300 ทีม ดูแลโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 1 ทีมต่อ 10 โรง โดยจะประเมินผล 2 ครั้ง ระหว่างภาคเรียน และหลังปิดภาคเรียนอีก 1 ครั้ง หากประสบความสำเร็จจะขยายเพิ่ม” พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ฐานะผู้คุมบังเหียนกระทรวงคุณครูกล่าวทิ้งท้ายในการแถลงข่าว
“ทีมการศึกษา” คงไม่สามารถชี้ถูก ชี้ผิดในนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ แต่อยากจะฝากข้อห่วงใยถึงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพราะเรามองว่าปัญหาใหญ่ไม่ได้อยู่ที่ “จำนวน” ชั่วโมงเรียน แต่สิ่งสำคัญที่สุดอยู่ที่ “คุณภาพ” ของการบริหารจัดการ
หากมีการเปลี่ยนวิธีการแต่ยังใช้หลักสูตรเดิม ไม่ยอมปรับเนื้อหาสาระให้เหมาะสม ทันยุคทันสมัย ครูยังยึดติดกับวิธีจัดการเรียนการสอนแบบเดิมๆ และการวัดผลประเมินผลยังคงเป็นรูปแบบเก่าๆ เราเชื่อว่าการ “กวดวิชา” ก็จะยังแทรกเป็นยาดำอยู่กับเด็กไทยต่อไป และการ “ลดเวลาเรียน” คงไม่สามารถตอบโจทย์การปฏิรูปการศึกษาไทยได้อย่างแน่นอน
ที่สำคัญเรามองว่าแม้ว่าจะมีกรอบกิจกรรมและเมนูตัวอย่างไว้ป้อนถึงปาก แต่หากยังไม่มีการเตรียมความพร้อมในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้กับ “ครู” ที่เป็นกลไกหลักขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาทักษะผู้เรียน ก็ยังสร้างความมั่นใจให้กับสังคมไม่ได้ว่าการ “เพิ่มเวลารู้” จะเกิดผลขึ้นตามที่วาดฝันไว้หรือไม่
ณ นาทีนี้เหลือเวลาอีกเพียงเดือนเศษก่อนที่จะเปิดภาคเรียนที่ 2 ในเดือน พ.ย.นี้ สพฐ.คงต้องเร่งเครื่องทุกด้านเต็มลูกสูบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพัฒนาทักษะของผู้เรียนอย่างแท้จริง
ปลดแอก “เด็กไทย” พ้นวังวน “หนูทดลอง” เสียทีเถอะ!!!
ทีมการศึกษา ไทยรัฐ
- รับลิงก์
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี สวัสดีครับทุกท่าน ปัญหาการอ่านเขียนไม่คล่องของเด็กและเยาวชนของเรานับวันยิ่งมีปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น เรื่อย ๆ จนน่ากลัว การแก้ไขปัญหาภาษาไทยนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ของหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการศึกษาเสียแล้วครับ เมื่อหลายท่าน ทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ มีความเห็นตรงกันว่า จะปล่อยปะละเลยต่อปัญหานี้ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่ดี วันนี้ ครูเดชจึงได้นำไฟล์ตำราเรียน ที่แสนจะวิเศษ และผมเองกล้าการันตรีว่า หากนักเรียน หรือ ผู้ที่มีปัญหาภาษาไทย ได้ตั้งใจอ่าน ตั้งใจทำความเข้าใจ จะสามารถพัฒนาภาษาไทยไปได้อย่างดีเยี่ยมเลยครับ "มานะ มานี" นอกจากจะเป็นตำราภาษาไทย ที่คนที่มีอายุหลายท่านได้สัมผัสเรียนรู้ในวิชาภาษาไทยมาแล้ว ท่านจะทราบว่าตำราเรียนเล่มนี้ ไม่ได้มีแต่ความรู้ภาษาไทย อย่างเดียวไม่ หากแต่มีความน่าสนุก น่าสนใจ และความตื้นเต้น กลวิธีนี้เองล่ะครับ ที่ผมเห็นว่า เป็นอุบายล่อให้เด็กสนใจตำราเรียนได้เป็นอย่างดี ความสนุก ความเพลิดเพลิน เมื่อนักเรียนอ่านจบเล่ม ตัวละครก็จบชั้นเดียวกัน เมื่อเลื่อนชั้น นักเรี
แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1
แจกฟรี แบบฝึกหัดภาษาไทยใช่ควบคู่กับตำรามานะมานี ป. 1 คลิกที่ลิงก์เพื่อดาวน์โหลดครับ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 1-5 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 6-10 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 11-15 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 16-20 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 21-25 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 26-30 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 31-35 อยู่ในขณะจัดทำ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 36-40 อยู่ในขณะจัดทำ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยที่ออสเตรเลีย หาครูสอนภาษาไทยที่ญี่ปุ่น หาครูสอนภาษาไทยที่เวียดนาม หาครูสอนภาษาไทยที่อเมริกา หาครูสอนภาษาไทยที่เยอรมัน หาครูสอนภาษาไทยที่ฝรั่งเศส Learn Thai with native speakers. หาครูสอนภาษาไทยอ่านเขียน สอนอ่านหนังสือภาษาไทย สอนอ่านเขียน ลูกอ่านภาษาไทยไม่ออก หาครูแก้ไขภาษาไทย สถาบันสอนภาษาไทย โรงเรียนสอนภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทยนานาชาติ หาครูสอนภาษาไทยลูกครึ่ง หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนพิเศษ ห
กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์
ให้ติวเตอร์ใช้เขตพื้นที่เหล่านี้ เพื่อระบุพื้นที่ที่ท่านสามารถเดินทางไปสอนได้สะดวกครับ ศูนย์จะแจ้งงานให้ท่านทราบตามพื้นที่การเดินทางที่ท่านสะดวกครับ โปรดแจ้งตามความสะดวกจริง เพื่อความรวดเร็วในการรับงานสอนนะครับ 1.กลุ่มกรุงเทพกลาง ประกอบด้วย เขตพระนคร ดุสิต ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ดินแดง ห้วยขวาง พญาไท ราชเทวี และวังทองหลาง 2.กลุ่มกรุงเทพใต้ ประกอบด้วย เขตปทุมวัน บางรัก สาทร บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย วัฒนา พระโขนง สวนหลวง และบางนา 3. กลุ่มกรุงเทพเหนือ ประกอบด้วย เขตจตุจักร บางซื่อ ลาดพร้าว หลักสี่ ดอนเมือง สายไหม และบางเขน 4.กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ประกอบด้วย เขตบางกะปิ สะพานสูง บึงกุ่ม คันนายาว ลาดกระบัง มีนบุรี หนองจอก คลองสามวาและประเวศ 5.กลุ่มกรุงธนเหนือ ประกอบด้วย เขตธนบุรี คลองสาน จอมทอง บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย บางพลัด ตลิ่งชันและทวีวัฒนา 6.กลุ่มกรุงธนใต้ ประกอบด้วย เขตภาษีเจริญ บางแค หนองแขม บางขุนเทียน บางบอน ราษฎร์บูรณะและทุ่งครุ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยท