Featured post
เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : จัดอันดับทุนมนุษย์
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
คอลัมน์ CSR Talk โดย ธันว์ธิดา วงศ์ประสงค์ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณภาพเยาวชน (สสค.)
เมื่อเร็ว ๆ นี้ เวทีเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum : WEF) รายงานผลการจัดอันดับดัชนีการพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital Index) ปี 2015 พบว่า ฟินแลนด์ได้รับเลือกให้เป็นประเทศที่มีการพัฒนาทุนมนุษย์เป็นอันดับ 1 ของโลก จาก 124 ประเทศ ตามมาด้วยนอร์เวย์ (2) สวิตเซอร์แลนด์ (3) แคนาดา (4) และญี่ปุ่น (5)
โดยประเทศในทวีปยุโรปติด 10 อันดับมากที่สุดถึง 7 ประเทศ ขณะที่ประเทศไทยอยู่ในลำดับปานกลางคืออันดับที่ 57 ขณะที่ประเทศในกลุ่มเอเชีย ได้แก่ สิงคโปร์ (อันดับที่ 24) เกาหลีใต้ (30) ฟิลิปปินส์ (46) มาเลเซีย (52) เวียดนาม (59) และจีน (64) ส่วนหลายประเทศในตะวันออกกลางและแอฟริกามีคะแนนรั้งท้าย เนื่องจากความเหลื่อมล้ำ โดยผู้หญิงมีโอกาสทางการศึกษาน้อยกว่าผู้ชาย
การจัดอันดับดัชนีการพัฒนาทุนมนุษย์มุ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการลงทุน และการพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ตลอดช่วงชีวิต เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ วิธีการวิเคราะห์จะประเมินจากผลลัพธ์ 2 ด้าน ได้แก่ การเรียนรู้ และการจ้างงาน โดยมีตัวชี้วัดย่อยทั้งหมด 46 ตัว อาทิ คุณภาพการศึกษา จำนวนการเข้าเรียน ระดับการศึกษาสูงสุดของประชากร การเรียนรู้ต่อเนื่องระหว่างทำงาน โอกาส และการเรียนรู้ในที่ทำงาน ทักษะการทำงาน และอัตราการจ้างงาน เป็นต้น
สาเหตุที่ฟินแลนด์ได้รับเลือกให้เป็นอันดับ 1 ของโลก เพราะมีมาตรการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและมีการพัฒนาทักษะ การฝึกอบรมในทุกกลุ่มอายุตรงตามความต้องการของภาคธุรกิจ ส่วนญี่ปุ่นติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก โดยเป็นประเทศตัวอย่างการพัฒนาทักษะความรู้แก่ประชากรผู้สูงวัย
สำหรับประเทศไทย การประเมินสมรรถนะของทุนมนุษย์ในแต่ละช่วงอายุ พบว่าประชากรอายุต่ำกว่า 15 ปี ไทยอยู่อันดับที่ 68 โดยประเมินจากจำนวนการเข้าเรียนทั้งในระดับประถมและมัธยมศึกษา คุณภาพของประถมศึกษา และการใช้แรงงานเด็ก
ประชากรช่วงอายุระหว่าง 15-24 ปีถือเป็นเยาวชน ไทยอยู่อันดับที่ 41 ประเมินจากจำนวนการเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา การเรียนสายอาชีพ คุณภาพของระบบการศึกษา และการอ่านออกเขียนได้ ประชากรกลุ่มช่วงอายุระหว่าง 25-54 ปี ซึ่งถือเป็นกลุ่มวัยแรงงาน ไทยอยู่อันดับที่ 57 จุดเน้นการประเมินคือ การเรียนรู้ต่อเนื่องระหว่างการทำงาน ทักษะฝีมือการทำงาน ระดับการศึกษาขั้นสูงสุด และโอกาสในการจ้างงาน ประชากรช่วงอายุระหว่าง 55-64 ปี และอายุมากกว่า 65 ปี ไทยอยู่อันดับที่ 71 และ 73 ตามลำดับ โดยพิจารณาจากระดับการศึกษาขั้นสูงสุด โอกาสการจ้างงานและการใช้ชีวิต และช่วงเวลาที่จะมีสุขภาพดีในวัยสูงอายุ
ผลการประเมินของไทยข้างต้นชี้ให้เห็นว่าไทยมีจุดอ่อนเกือบทุกตัว แต่ที่ค่อนข้างรั้งท้ายคือกลุ่มประชากรอายุระหว่าง 55-64 ปี และอายุมากกว่า 65 ปี โดยจากการวิเคราะห์ประชากรกลุ่มนี้ร้อยละ 80-90 มีระดับการศึกษาขั้นสูงแค่ประถมศึกษา
ผลเช่นนี้ เมื่อดูข้อมูลของการจัดอันดับดัชนีการพัฒนาทุนมนุษย์สามารถสรุปเป็นเรื่อง ๆ ได้ดังนี้
- การพัฒนาศักยภาพ และใช้ประโยชน์จากทุนมนุษย์ของประเทศต่าง ๆ ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยฟินแลนด์ที่อยู่ในอันดับแรกของโลก การพัฒนาศักยภาพประชากรทำได้เพียงร้อยละ 86 ขณะที่ไทยทำได้เพียงร้อยละ 67 โดยแนวทางการพัฒนาศักยภาพประชากร นอกจากการลงทุนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับตลาดแรงงานแล้ว การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ต่อเนื่องก็มีความสำคัญ
- ระบบการศึกษาในหลายประเทศยังขาดความเชื่อมโยงเรื่องการเรียน และการพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน การจัดการศึกษาเพียงลำพังของระบบโครงสร้าง และสถาบันที่เป็นทางการไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจที่รวดเร็ว กำลังเป็นช่องว่างระหว่างการศึกษาและตลาดแรงงานออกไป
ที่สำคัญ ระบบการศึกษาในปัจจุบันยังคงเน้นเรื่องเนื้อหาและความจำ ขณะที่ทักษะความสามารถ เช่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น ความคิดสร้างสรรค์ และการแก้ปัญหากลับมีความสำคัญมากขึ้น ดังนั้น เส้นแบ่งระหว่างโลกวิชาการและตลาดแรงงานจึงต้องจางลง หรือหายไปอย่างสิ้นเชิง เพราะการเรียนรู้และนวัตกรรมเกิดขึ้นตลอดเวลาในวงจรชีวิตการทำงาน
ภาคธุรกิจจึงจำเป็นต้องทำงานร่วมกับนักการศึกษาและรัฐบาล เพื่อช่วยให้ระบบการศึกษาสามารถตามทันความต้องการของตลาดแรงงาน ทั้งนี้การจะปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางประชากรที่รวดเร็วแบบนี้จำเป็นต้องอาศัยทัศนคติของผู้กำหนดนโยบายที่ต้องสามารถก้าวข้ามวงจรทางการเมืองให้ได้
สิ่งหนึ่งที่กำลังเป็นปัญหาคล้ายกันทั่วโลกรวมทั้งไทย คือการผลิตบัณฑิตไม่ตรงความต้องการของตลาดแรงงาน และการพัฒนาเศรษฐกิจ หลายประเทศ เช่น ชิลี, อาร์เจนตินา, ไอร์แลนด์ และสเปน มีจำนวนประชากรที่จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ตำแหน่งว่างงานมีน้อย จึงทำให้ผู้ที่จบการศึกษาจะต้องทำงานในวุฒิที่ต่ำกว่า ซึ่งไทยก็เข้าข่ายนี้
เพราะปัจจุบันมีจำนวนนักศึกษาไทยที่ลงเรียนสายสังคมศาสตร์ ธุรกิจและกฎหมายสูงที่สุดจำนวนถึง 1,337,272 คน (หรือคิดเป็นร้อยละ 53 ของนักเรียนทั้งหมด) ขณะที่สายวิศวกรรม การผลิต และการก่อสร้างมีเพียง 247,883 คน หรือร้อยละ 9 สายวิทยาศาสตร์ (ร้อยละ 8) การบริการ (ร้อยละ 1.8)
การพัฒนาประชากรทุกกลุ่มให้ได้รับการพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่องมีความสำคัญยิ่ง เพื่อให้ประเทศมีขีดความสามารถทางการแข่งขัน และมีความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีในอนาคต
วันนี้ความสามารถในการแข่งขัน และการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ได้อยู่ที่ใครมีเงินทุนมากกว่ากันอีกต่อไป แต่วัดกันที่ศักยภาพการพัฒนา และใช้ประโยชน์จากทุนมนุษย์ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเชื่อมโยงกับห่วงโซ่ทรัพยากรมนุษย์ในระดับนานาชาติจากเศรษฐกิจไร้พรมแดน
เพราะการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมาจากฐานความรู้และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เราไม่สามารถรู้ว่าอนาคตข้างหน้าลักษณะอาชีพจะเปลี่ยนไปอย่างไร จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมให้คนยุคต่อไปมีศักยภาพในการปรับตัว และการพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี สวัสดีครับทุกท่าน ปัญหาการอ่านเขียนไม่คล่องของเด็กและเยาวชนของเรานับวันยิ่งมีปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น เรื่อย ๆ จนน่ากลัว การแก้ไขปัญหาภาษาไทยนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ของหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการศึกษาเสียแล้วครับ เมื่อหลายท่าน ทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ มีความเห็นตรงกันว่า จะปล่อยปะละเลยต่อปัญหานี้ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่ดี วันนี้ ครูเดชจึงได้นำไฟล์ตำราเรียน ที่แสนจะวิเศษ และผมเองกล้าการันตรีว่า หากนักเรียน หรือ ผู้ที่มีปัญหาภาษาไทย ได้ตั้งใจอ่าน ตั้งใจทำความเข้าใจ จะสามารถพัฒนาภาษาไทยไปได้อย่างดีเยี่ยมเลยครับ "มานะ มานี" นอกจากจะเป็นตำราภาษาไทย ที่คนที่มีอายุหลายท่านได้สัมผัสเรียนรู้ในวิชาภาษาไทยมาแล้ว ท่านจะทราบว่าตำราเรียนเล่มนี้ ไม่ได้มีแต่ความรู้ภาษาไทย อย่างเดียวไม่ หากแต่มีความน่าสนุก น่าสนใจ และความตื้นเต้น กลวิธีนี้เองล่ะครับ ที่ผมเห็นว่า เป็นอุบายล่อให้เด็กสนใจตำราเรียนได้เป็นอย่างดี ความสนุก ความเพลิดเพลิน เมื่อนักเรียนอ่านจบเล่ม ตัวละครก็จบชั้นเดียวกัน เมื่อเลื่อนชั้น นักเรี...
แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1
แจกฟรี แบบฝึกหัดภาษาไทยใช่ควบคู่กับตำรามานะมานี ป. 1 คลิกที่ลิงก์เพื่อดาวน์โหลดครับ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 1-5 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 6-10 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 11-15 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 16-20 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 21-25 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 26-30 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 31-35 อยู่ในขณะจัดทำ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 36-40 อยู่ในขณะจัดทำ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยที่ออสเตรเลีย หาครูสอนภาษาไทยที่ญี่ปุ่น หาครูสอนภาษาไทยที่เวียดนาม หาครูสอนภาษาไทยที่อเมริกา หาครูสอนภาษาไทยที่เยอรมัน หาครูสอนภาษาไทยที่ฝรั่งเศส Learn Thai with native speakers. หาครูสอนภาษาไทยอ่านเขียน สอนอ่านหนังสือภาษาไทย สอนอ่านเขียน ลูกอ่านภาษาไทยไม่ออก หาครูแก้ไขภาษาไทย สถาบันสอนภาษาไทย โรงเรียนสอนภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทยนานาชาติ หาครูสอนภาษาไทยลูกครึ่ง หาครูสอ...
กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์
ให้ติวเตอร์ใช้เขตพื้นที่เหล่านี้ เพื่อระบุพื้นที่ที่ท่านสามารถเดินทางไปสอนได้สะดวกครับ ศูนย์จะแจ้งงานให้ท่านทราบตามพื้นที่การเดินทางที่ท่านสะดวกครับ โปรดแจ้งตามความสะดวกจริง เพื่อความรวดเร็วในการรับงานสอนนะครับ 1.กลุ่มกรุงเทพกลาง ประกอบด้วย เขตพระนคร ดุสิต ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ดินแดง ห้วยขวาง พญาไท ราชเทวี และวังทองหลาง 2.กลุ่มกรุงเทพใต้ ประกอบด้วย เขตปทุมวัน บางรัก สาทร บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย วัฒนา พระโขนง สวนหลวง และบางนา 3. กลุ่มกรุงเทพเหนือ ประกอบด้วย เขตจตุจักร บางซื่อ ลาดพร้าว หลักสี่ ดอนเมือง สายไหม และบางเขน 4.กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ประกอบด้วย เขตบางกะปิ สะพานสูง บึงกุ่ม คันนายาว ลาดกระบัง มีนบุรี หนองจอก คลองสามวาและประเวศ 5.กลุ่มกรุงธนเหนือ ประกอบด้วย เขตธนบุรี คลองสาน จอมทอง บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย บางพลัด ตลิ่งชันและทวีวัฒนา 6.กลุ่มกรุงธนใต้ ประกอบด้วย เขตภาษีเจริญ บางแค หนองแขม บางขุนเทียน บางบอน ราษฎร์บูรณะและทุ่งครุ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หา...