Featured post

เรียนภาษาไทยออนไลน : จริงหรือที่คนมีสมองขนาดใหญ่ฉลาดมากกว่าคนที่มีสมองขนาดเล็ก ? หาคำตอบได้ที่นี่!

Neuromyth "ความเชื่อผิดๆ ว่าด้วยเรื่องสมอง"
โดย ดร.วีระพงษ์ ประสงค์จีน


สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญของระบบประสาท ที่ช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย การเรียนรู้ก็เกิดจากการทำหน้าที่ของสมอง ดังนั้น เรื่องสมองจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนให้ความสำคัญ โดยเฉพาะในแวดวงการศึกษา แต่อย่างไรก็ตาม มีการนำผลสรุปงานวิจัยทางประสาทวิทยาศาสตร์ที่ยังไม่สมบูรณ์ข้อมูลหลายส่วนถูกบิดเบือน และข้อมูลบางอย่างก็ไม่เคยมีการทดลองทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ แต่ก็มีการนำไปใช้ในห้องเรียน จัดถ่ายทอดอบรมชุดความรู้ และเผยแพร่ทางสื่อสารมวลชน ทำให้เกิดเรื่องราวตำนานของสมองกับการเรียนรู้ที่ไม่ใช่เรื่องจริง (neuromyth) เผยแพร่ออกไปในวงกว้าง มาดูกันครับว่ามีอะไรบ้าง

• สมองมีความยืดหยุ่นสำหรับการรับข้อมูลบางชนิดในช่วงเวลาวิกฤตเท่านั้น ดังนั้น ช่วงชีวิต 3 ปีแรก จะเป็นตัวบ่งชี้การพัฒนาในขั้นต่อไป และเป็นตัวตัดสินความสำเร็จในชีวิต เมื่อผ่านช่วงเวลานี้ไปแล้ว บางสิ่งบางอย่างจะไม่สามารถเรียนรู้ได้อีก
• เด็กเล็กจะต้องมีการกระตุ้นระบบประสาทสัมผัส(sensory stimulation) เยอะ ๆ และเพลงคลาสสิค(classical music) เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก สำหรับพัฒนาการสมองของเด็ก ทำให้เด็กฉลาดขึ้น
• เราใช้งานสมองเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น
• ฉันเป็นพวกสมองซีกซ้าย เธอเป็นพวกสมองซีกขวา
• เมื่อเลยวัยเด็กไปแล้วสมองจะหยุดการพัฒนา
• สมองไม่สามารถสร้างเซลล์ประสาทขึ้นมาใหม่ได้อีก
• การเพิ่มพูนสิ่งแวดล้อม (enriched environments)เช่น การสร้างสภาพห้องเรียน การเพิ่มสีสรรสิ่งของ หรือการมีเครื่องเล่นรูปแบบต่าง ๆ ช่วยเพิ่มความสามารถของสมองในการเรียนรู้ การเพิ่มพูนปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีตัวกระตุ้นจำนวนมากเหล่านี้ ช่วยพัฒนาสมองในเด็กเล็ก
• การเรียนรู้สองภาษาพร้อมกัน จะแข่งขันการใช้ทรัพยากรของสมอง ดังนั้น เด็กจะต้องเรียนรู้การใช้ภาษาแม่ให้ได้ก่อน จึงจะสามารถเรียนรู้ภาษาที่สองได้ หากไม่เป็นลำดับเช่นนี้ เด็กก็จะไม่สามารถเรียนรู้ได้ทั้งสองภาษา
• คนเราจะเรียนรู้ได้ดีขึ้น เมื่อได้รับข้อมูลในรูปแบบการเรียนรู้ที่เขาพึงพอใจ เช่น ชอบฟัง ชอบดู ชอบเคลื่อนไหว
• การได้ออกกำลังกายประสานการทำงานของกล้ามเนื้อ ที่ช่วยกระตุ้นระบบสั่งการและการรับรู้ จะช่วยเพิ่มการประสานการทำงานกันของสมองทั้งสองซีก และช่วยพัฒนาการออกออกเขียนได้
• เด็กจะมีความใส่ใจลดลง ภายหลังการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล หรือของว่าง
• การบริโภคกรดไขมันโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ทำให้เด็กประสบความสำเร็จด้านวิชาการ
• ถ้าเด็กนักเรียนไม่ดื่มน้ำให้เพียงพอ จำนวน 6-8 แก้วต่อวัน จะทำให้สมองหดตัวลงได้
• คนที่มีสมองขนาดใหญ่ ฉลาดมากกว่าคนที่สมองขนาดเล็ก
ถ้ามีข้อหนึ่งข้อใดที่คุณรู้สึกคุ้น ๆ ว่า เคยได้ยินได้ฟัง และคุณก็เชื่อสนิทใจว่า มันเป็นอย่างนี้จริงๆ มันคือneuromyth ครับ แต่อย่าเพิ่งเชื่อสิ่งที่ผมเขียนมาทั้งหมดนี้ คุณอาจจะต้องสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมอีกนะครับ เนื่องจากเกิดความคาดหวังที่จะประยุกต์งานวิจัยสมองไปใช้ในการเรียนการสอน neuromyth จึงเกิดการก่อตัวอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มพูนสิ่งแวดล้อม ความโดดเด่นของสมองซีกซ้าย หรือสมองซีกขวา และเรื่องช่วงเวลาวิกฤติ (เวลาทอง) แห่งการเรียนรู้ เมื่อแนวคิดเหล่านี้มีการอภิปรายกันในวารสารวิชาการ หรือสื่อสิ่งพิมพ์ ที่เป็นที่นิยม ผู้ปกครอง นักการศึกษา และนักกำหนดนโยบายบางส่วน มักจะเกิดปัญหาเข้าใจไม่กระจ่างถึงหลักฐานทางวิชาการ จึงอาจจะเร่งรีบแนะนำข้อกำหนด คำแนะนำต่าง ๆ เพื่อให้ใช้ปฏิบัติงานจริง (put into practice) ซึ่งอาจจะนำมาซึ่งปัญหาในภายหลังได้
เรื่องความเชื่อ neuromyth นี้ เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลกมาเป็นเวลาสิบกว่าปีแล้ว นับเป็นประเด็นที่สำคัญมากจนหน่วยงานระดับโลกอย่าง OECD ที่ทำงานร่วมกับรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ต้องจัดตั้งโครงการ OECD Brain and Learning Projectเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ส่งเสริมการเรียนรู้ และการสอนที่อยู่บนหลักฐานทางวิชาการที่น่าเชื่อถือ หากท่านผู้อ่านสนใจเรื่องราวของ neuromyth เพิ่มเติม ติดตามอ่านได้จากแหล่งอ้างอิงด้านล่างนี้ โชคดีครับ
แหล่งอ้างอิง
1. The Centre for Educational Research and Innovation (CERI), Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD), Neuromyths, http: www.oecd.org/edu/ceri/neuromyths.htm
2. Learning Seen from a Neuroscientific Approach, Neuromythologies, http: www.oecd.org/edu/ceri/31706603.pdf
3. Sanne Dekker, Nikki C. Lee, Paul Howard-Jonesand Jelle Jolles, Neuromyths in education: Prevalence and predictors of misconceptions among teachers, Front. Psychol., 2012
http: dx.doi.org/10.3389/fpsyg.2012.00429
4. Society for Neuroscience, Neuromyths, http: www.brainfacts.org/neuromyths/


ขอบคุณที่มาบทความของ ดร.วีระพงษ์ ประสงค์จีน จาก นิวส์ คอนเน็ก วันที่ 19 พฤศจิกายน 2558


เรียนสังคมต้องครูเดช       #ครูเดชสังคม
แก้ไขอ่านเขียนไทยไม่คล่อง ประสบการณ์กว่า 7 ปี ทดลองเรียนฟรี


เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยที่ออสเตรเลีย หาครูสอนภาษาไทยที่ญี่ปุ่น หาครูสอนภาษาไทยที่เวียดนาม หาครูสอนภาษาไทยที่อเมริกา หาครูสอนภาษาไทยที่เยอรมัน หาครูสอนภาษาไทยที่ฝรั่งเศส  Learn Thai with native speakers. หาครูสอนภาษาไทยอ่านเขียน สอนอ่านหนังสือภาษาไทย สอนอ่านเขียน ลูกอ่านภาษาไทยไม่ออก หาครูแก้ไขภาษาไทย สถาบันสอนภาษาไทย โรงเรียนสอนภาษาไทย  หาครูสอนภาษาไทยนานาชาติ  หาครูสอนภาษาไทยลูกครึ่ง หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์  หาครูสอนพิเศษ หาครูสอนพิเศษภาษาไทย หลักสูตรออนไลน์  รับสอนพิเศษภาษาไทย  สถาบันสอนภาษาไทย    โรงเรียนสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ  เรียนออนไลน์  สมัครเรียนออนไลน์  เรียนพิเศษภาษาไทย  สอน พิเศษ ภาษา ไทย  สอนภาษาไทย  ครูสอนภาษาไทย  สอนภาษาไทยเด็ก  หาครูสอนภาษาไทย  เรียน ออนไลน์ ป 1  เรียน ออนไลน์ ป 2   เรียน ออนไลน์ ป 3    เรียน ออนไลน์ ป 4   เรียน ออนไลน์ ป5  เรียน ออนไลน์ ป6  เว็บเรียนออนไลน์  เรียนรู้ภาษาไทย  บทเรียนออนไลน์  เรียนภาษาไทยที่ไหนดี  เรียนภาษาไทยออนไลน์  เรียน พิเศษ ภาษา ไทย ที่ไหน ดี  สอนภาษาไทยออนไลน์  สอนพิเศษภาษาไทย ประถม ราคา  อ่าน ภาษา ไทย    สอนพิเศษภาษาไทย อนุบาล    หลักสูตรเรียนออนไลน์   ชุด เริ่ม หัด อ่าน ภาษา ไทย  ฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษา ไทย  สอน เด็ก เตรียม ขึ้น ป 1  สอน เด็ก เตรียม ขึ้น ป2  สอน เด็ก เตรียม ขึ้น ป3 สอน เด็ก เตรียม ขึ้น ป4 สอน เด็ก เตรียม ขึ้น ป5 สอน เด็ก เตรียม ขึ้น ป6 หัด เขียน ภาษา ไทย เรียน ออนไลน์ อนุบาล 3  สอน พิเศษ ภาษา ไทย ประถม

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี

แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1

กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์