Featured post

เรียนภาษาไทยออนไลน์ : เด็กไทยเรียนฟรี เมื่อไหร่?เป็นจริง

แม้รัฐบาลได้จัดการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี และก่อนประถมศึกษา โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายมาตั้งแต่ปี 2542 แต่ในความเป็นจริง...ยังมีเด็กเยาวชน 12.1 เปอร์เซ็นต์ ต้องออกจากระบบการศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษาภาคบังคับ
ปัจจุบันครัวเรือนที่ยากจนที่สุด 10% ของประเทศ กับครัวเรือนที่ร่ำรวยที่สุด 10% ของประเทศ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันถึง 19 เท่า...
โดยครัวเรือนยากจนที่สุดมีกำลังเสียค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาภาคบังคับราว 2,252 บาทต่อปีการศึกษา หรือคิดเป็น 3.2% ของรายได้ ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงมากเมื่อเทียบกับรายได้
ขณะที่ครัวเรือนกลุ่มร่ำรวยที่สุดใช้จ่ายด้านการศึกษาเฉลี่ยราว 21,351 บาทต่อปีการศึกษา คิดเป็น 1.62% ของรายได้
สถานะทางเศรษฐกิจจึงมีผลอย่างมากต่อโอกาสทางการศึกษา และผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อเด็กเยาวชนออกจากระบบการศึกษาย่อมกระทบต่อเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติ
สะท้อนได้จากเวิลด์อีโคโนมิคฟอรั่ม (World Economic Forum : WEF) หรือเวทีเศรษฐกิจโลก ได้รายงานขีดความสามารถในการแข่งขันด้านคุณภาพการศึกษา ประจำปี 2555-2556 พบว่า คุณภาพการศึกษาไทยอยู่ในอันดับรั้งท้ายของกลุ่มประเทศอาเซียน
อีกปัญหาที่หลายคนกลับมองข้าม คือ ยังมีเด็กด้อยโอกาสที่หลุดออกจากระบบการศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี จำนวนประมาณ 13% ของประชากรนักเรียนที่เข้าเรียนพร้อมกันในชั้น ป.1
ข้อมูลจากบัญชีรายจ่ายเพื่อการศึกษา โดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) และมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ พบว่า ที่ผ่านมาแม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายให้งบสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับเด็กยากจนในรูปแบบงบประมาณรายการหลักเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
แต่ 3 ปัญหาสำคัญ ทำให้ไปไม่ถึงฝั่งฝันนั้นก็คือ
“งบประมาณยังไปไม่ถึงตัวเด็กที่ยากจนจริงเป็นรายบุคคล”...
“การใช้เงินอุดหนุนผิดเป้าหมาย”...
และ “งบประมาณไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ”
ปัญหาแรก...งบประมาณไปไม่ถึงตัวเด็ก จากรายงานดังกล่าววิเคราะห์ว่า จำนวนเด็กยากจนที่โรงเรียนทั่วประเทศแจ้งยอดมาทั้งสิ้นราว 3.5 ล้านคน มากกว่างบประมาณที่มี 1.6 ล้านคน
การจัดสรรจึงใช้ระบบโควตาทำให้เด็กยากจนในโรงเรียนที่มีมากกว่า 40% ได้รับการอุดหนุนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ในขณะที่เด็กที่ครอบครัวมีฐานะสูงกว่าเกณฑ์ยากจนบางส่วนก็ได้รับส่วนแบ่งเงินอุดหนุนไปด้วย
ถัดมา...การใช้จ่ายเงินอุดหนุนผิดเป้าหมาย เป้าหมายเงินอุดหนุนรายหัวแก่เด็กยากจนควรจะเป็นการช่วยเหลือครอบครัวที่ยากจนเพื่อลดภาระรายจ่ายและสร้างหลักประกันโอกาสในการเข้าเรียนของเด็กยากจนจนสำเร็จการศึกษาภาคบังคับ แต่ปัจจุบันโรงเรียนใช้เงินอุดหนุนเหล่านี้ไปจัดซื้อชุดกีฬา วัสดุอุปกรณ์การเรียน หรือใช้เป็นค่าอาหารกลางวัน ซึ่งอาจไม่ใช่ความจำเป็นของบางครัวเรือนที่ยากจนที่สุดเหล่านั้น และยังไม่มีระบบติดตามผลการใช้จ่ายเงินอุดหนุนของโรงเรียนว่าตรงตามเป้าหมาย...มีประสิทธิภาพเพียงใด
ปัญหาสุดท้าย...งบไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ
ผลการวิจัยจากโครงการจัดทำบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2551-2556 พบว่ารายจ่ายการศึกษาไทยสูงกว่าที่เคยมีรายงานและรายจ่ายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ตรงกันข้ามกับการตอบสนองการยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนและเป้าหมายนโยบาย
งบประมาณรายจ่ายด้านการศึกษาภาครัฐ เฉลี่ยปีละ 500,000 ล้านบาท สำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน...ไม่รวมอาชีวะ
ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายประจำประเภทเงินเดือน พัฒนาครูและการบริหารจัดการ คิดเป็น 86% ลงทุน 4% เหลือที่ตกถึงผู้เรียน 10%... แยกย่อยเป็นพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียน 6% และเครื่องแบบ เสื้อผ้า อุปกรณ์การเรียน 4%
ที่น่าสนใจคือ ในแต่ละปีกระทรวงศึกษาธิการจัดสรรงบประมาณไปยังเด็กยากจน ขาดโอกาส เพียง 2,500 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพียง 0.5% ของงบประมาณที่กระทรวงศึกษาได้รับ ซึ่งถือว่าน้อยเกินกว่าที่จะมุ่งแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เป็นปัญหาใหญ่ให้บรรลุผลสำเร็จได้
ถึงเวลาแล้วหรือยัง...ที่รัฐบาลควรปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดสรรงบประมาณที่ได้รับอยู่แล้วให้ตรงไปยังกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น?
ตัวอย่างนโยบายที่ประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติด้วยการใช้ “เงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไข” (Conditional Cash Transfer: CCT) ควบคู่ไปกับการใช้ “ระบบสารสนเทศระดับโรงเรียน” เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานร่วมกันระหว่างครอบครัวและโรงเรียนในการสร้างหลักประกันโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กยากจนทุกคน
เช่น โครงการ Bolsa Familia ของรัฐบาลบราซิลที่เข้าถึงครัวเรือนที่ยากจนจริงได้สูงถึง 80% หรือ 14 ล้านครัวเรือน และสามารถลดอัตราการเลิกเรียนกลางคันของเด็กเยาวชนได้ 21%
ธนาคารโลกและองค์การโออีซีดี ประเมินว่า ภายในเวลาเพียง 10 ปี...ช่วยทำให้ระบบการศึกษาบราซิลมีพัฒนาการด้านคุณภาพการศึกษาที่เร็วที่สุดในโลก และมีการลดลงของความเหลื่อมล้ำทางรายได้ถึง 15%
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) กำลังทดลองนำร่องต้นแบบระบบสารสนเทศในลักษณะ
ดังกล่าวในพื้นที่ 5 จังหวัดนำร่อง เพื่อแก้ปัญหาการเลิกเรียนกลางคันของเด็กเยาวชนด้อยโอกาสประเภทยากจนและพิการ
ดร.ชัยยุทธ ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ หัวหน้าโครงการบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บอกว่า น่าจะเป็นโอกาสอันดีสำหรับรัฐบาลชุดนี้ เพราะไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงฐานเสียงทางการเมือง
“ปฏิรูประบบงบประมาณการศึกษา” เพื่อให้ไปถึงมือเด็กและเยาวชนที่จำเป็นต้องได้รับโอกาส
ปัญหามีว่า...ที่ผ่านมากลับเอื้อมไม่ถึงอย่างจริงจัง ด้วยการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครัวเรือนยากจน เช่น อาจให้ทุนช่วยเหลือครอบคลุมครัวเรือนยากจนที่สุด 20% แรกของประเทศให้สามารถส่งบุตรหลานให้ได้รับการดูแล ตั้งแต่ก่อนปฐมวัยและเข้าเรียนจนจบช่วงการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี
ผลที่เกิดขึ้นจะลดจำนวนเด็กที่หลุดออกนอกระบบลงในท้ายที่สุด...ควบคู่ไปกับการพัฒนา “ระบบสารสนเทศเพื่อหลักประกันโอกาสทางการศึกษา” เพื่อเป็นเครื่องมือให้รัฐบาลใช้แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ปฏิรูปการศึกษา...ลดเหลื่อมล้ำ เด็กไทยเรียนฟรี...ฝันจะเป็นจริงเสียที.


ที่มา ไทยรัฐ วันที่ 24 ก.ค.2558 

เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยที่ออสเตรเลีย หาครูสอนภาษาไทยที่ญี่ปุ่น หาครูสอนภาษาไทยที่เวียดนาม หาครูสอนภาษาไทยที่อเมริกา หาครูสอนภาษาไทยที่เยอรมัน หาครูสอนภาษาไทยที่ฝรั่งเศส  Learn Thai with native speakers. หาครูสอนภาษาไทยอ่านเขียน สอนอ่านหนังสือภาษาไทย สอนอ่านเขียน ลูกอ่านภาษาไทยไม่ออก หาครูแก้ไขภาษาไทย สถาบันสอนภาษาไทย โรงเรียนสอนภาษาไทย  หาครูสอนภาษาไทยนานาชาติ  หาครูสอนภาษาไทยลูกครึ่ง หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์  หาครูสอนพิเศษ หาครูสอนพิเศษภาษาไทย หลักสูตรออนไลน์  รับสอนพิเศษภาษาไทย  สถาบันสอนภาษาไทย    โรงเรียนสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ  เรียนออนไลน์  สมัครเรียนออนไลน์  เรียนพิเศษภาษาไทย  สอน พิเศษ ภาษา ไทย  สอนภาษาไทย  ครูสอนภาษาไทย  สอนภาษาไทยเด็ก  หาครูสอนภาษาไทย  เรียน ออนไลน์ ป 1  เรียน ออนไลน์ ป 2   เรียน ออนไลน์ ป 3    เรียน ออนไลน์ ป 4   เรียน ออนไลน์ ป5  เรียน ออนไลน์ ป6  เว็บเรียนออนไลน์  เรียนรู้ภาษาไทย  บทเรียนออนไลน์  เรียนภาษาไทยที่ไหนดี  เรียนภาษาไทยออนไลน์  เรียน พิเศษ ภาษา ไทย ที่ไหน ดี  สอนภาษาไทยออนไลน์  สอนพิเศษภาษาไทย ประถม ราคา  อ่าน ภาษา ไทย    สอนพิเศษภาษาไทย อนุบาล    หลักสูตรเรียนออนไลน์   ชุด เริ่ม หัด อ่าน ภาษา ไทย  ฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษา ไทย  สอน เด็ก เตรียม ขึ้น ป 1  สอน เด็ก เตรียม ขึ้น ป2  สอน เด็ก เตรียม ขึ้น ป3 สอน เด็ก เตรียม ขึ้น ป4 สอน เด็ก เตรียม ขึ้น ป5 สอน เด็ก เตรียม ขึ้น ป6 หัด เขียน ภาษา ไทย เรียน ออนไลน์ อนุบาล 3  สอน พิเศษ ภาษา ไทย ประถม

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี

แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1

กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์