Featured post

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : การวิเคราะห์วรรณกรรมไทย

ในบทนี้ครูจะนำบทงานเขียนที่ปรากฏอยู่ในรายงานกระบวนวิชา บทบาทพระพุทธศาสนากับสังคมไทย ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง มาให้เป็นแนวนทางสำหรับทุก ๆ ท่านได้นำเป็นแนวทางในการวิเคราะห์วรรณกรรม ถึงแม้วว่าจะไม่ละเอียดมากนักและไม่ตรงตามหลักการวิเคราะห์เสมอไป ครูก็อยากให้ผู้อ่านได้ความรู้จากเนื้อหานี้บ้างไม่มากก็น้อยครับ


บทที่ ๘

การเข้ามามีบทบาทและอิทธิต่อความคิดของกวี ในวรรณกรรม ของพระพุทธศาสนา

เขียนโดย สุรเดช  ภาพันธ์


                สังคม มีมนุษย์ที่อยู่รวมกันเป็นส่วนสำคัญ ความคิด การกระทำ การแสดงออก และทัศนะความคิดเห็นเป็นสิ่งที่มนุษย์กระทำ โดยเลียนแบบซึ่งกันและกันทั้งความดีและความเลว   กวีเป็นอีกผู้หนึ่งในสังคมที่สรรสร้างบทความทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ออกมาเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก ความนึกคิดของสังคม และความเป็นไปแห่งจิตนาการ

                เมื่อมนุษย์มีชีวิต สิ่งที่ใหญ่หลวงเหลือเกินของมนุษย์ในห้วงหนึ่ง ที่ย่อมปรารถนาให้ประสบพบเจอ นั้นก็คือ ความรัก ไม่ว่าความรักนั้นจะเป็นสิ่งใด ๆ เป็นความจริงอันประเสริฐ หรือความทุกข์เลวร้ายอันระทม มนุษย์ต่างแสวงหา หรือแม้กระทั่งฉุดคร่านเอามาเพื่อเป็นเจ้าของ เป็นผู้ปกครองของมัน

                บทกวีส่วนใหญ่จึงใช้อารมณ์แห่งปรารถนานี้เป็นส่วนหลักในการสร้างผลงานวรรณกรรม แต่ในสภาพสังคมไทยที่มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลักและเป็นศูนย์รวมทางจิตใจ  จึงไม่น่าจะต้องสงสัยที่บทบาทและอิทธิพลของพระพุทธศาสนาจึงเข้ามามีบทบาทและความสำคัญ ต่องานวรรณกรรมไม่ว่าจะเป็นสมัยใด จากอดีตจนถึงปัจจุบัน 


                ในบทนี้ผู้เขียนและคณะได้ช่วยกันออกค้นหาข้อมูล และงานวรรณกรรมต่าง ๆ เพื่อนำมาสรุปว่า   ณ ปัจจุบัน บทบาทของพระพุทธศาสนายังคงมีความสำคัญต่อผลงานทางด้านวรรณกรรมหรือไม่ และเป็นไปในลักษณะอย่างไร

                สำหรับผู้เขียนเอง เป็นผู้ที่สนใจและศึกษาอยู่ในวงการภาษาไทยมาบ้างพอสมควร ประกอบกับได้เข้าศึกษาในกระบวนวิชาโท เป็นด้านภาษาไทยโดยตรง จึงมีความรู้ในด้านการแต่งบทประพันธ์และการวิจักษ์วรรณคดี หรือการวิเคราะห์วิจัย และตีความจากงานเขียน หรือผลงานวรรณกรรม  ความหมายโดยรวมของคำว่า วรรณกรรม ก็คือผลงานเขียนที่แต่งถ่ายทอดออกมาจากจิตนาการหรืออาจจะเป็นเรื่องราวที่เป็นกึ่งความจริงหรือเป็นความจริงเลยก็ได้  ทั้งนี้จากการให้ความหมายของพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปีพุทธศักราช ๒๕๔๒  ได้ให้ความหมายว่า งานหนังสือ หรืองานนิพนธ์ ไม่ว่าแสดงออกมาโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด เช่นหนังสือ  จุลสาร เป็นต้น

                สำหรับงานวรรณกรรมเองในปัจจุบัน มีความหมายที่ปลีย่อยมากเกินว่าจะรียนว่าวรรณกรรมคือ   นวนิยาย หรือนิยาย แต่เพียงอย่างดียว  ทั้งนี้หากจะแยกเอาความหมายโดยแท้จริงของวรรณกรรม ก็จะต้องแยกเป็นสองหัวข้อหลักใหญ่ ๆ คือ

-วรรณกรรมที่เป็นประเภท ร้อยกรอง เช่นเสภาขุนช้างขุนแผน อิเหนา  พระอภัยมณี เป็นต้น

-วรรณกรรมที่เป็นประเภท ร้อยแก้ว เช่น นวนิยาย สารคดี  งานเขียนอื่น ๆ โดยทั่วไป โดยการแต่งไม่คำนึงถึงการเขียนให้มีสัมผัสคล้องจองแต่อย่างใด

                สิ่งที่น่าสนใจสำหรับการศึกษาเรื่องบทบาทและอิทธิพลของพระพุทธศาสนาต่อวรรณกรรม นี้ เห็นได้จะมาจากการที่ได้อ่านนวนิยาย นิยาย บทกวี งานวรรณกรรม ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ที่หากมิใช่ผลงานวรรณกรรมแปลแล้ว ผลงานวรรณกรรมนั้น ๆ มักจะมีส่วนที่แสดงอิทธิพลของพระพุทธศาสนาทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งผู้อ่านจะทราบได้เองโดยการรับสารจากการอ่าน   จึงเป็นที่น่าสังเกตว่า หากเราจะกล่าวว่า ณ ปัจจุบัน บทบาทของพระพุทธศาสนา ในสังคมไทยมีน้อยมากแล้ว เหตุใด งานวรรณกรรมซึ่งเป็นผลงานที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ ซึ่งอยู่ร่วมกันในสังคมจึงยังคงมีบทบาทนี้อยู่และเหตุใด วรรณกรรมโดยส่วนมากจึงคงไว้ซึ่งบทบาทนี้ ในเมื่อกวีที่แต่งวรรณกรรมก็เป็นผลพลอยจากการสรรสร้างของสังคมเช่นกัน

                ในเอกสารประกอบคำบรรยาย กระบวนวิชา TH ๒๕๗  วรรณคดีวิจักษณ์  เป็นกระบวนวิชาหนึ่งซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงกระบวนวิธีในการพิจารณาสังเกต บทวรรณกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งแท้จริงแล้ว นักศึกษาที่ศึกษาในกระบวนวิชานี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากนำไปใช้ในการเรียนรู้การแปลวรรณกรรมเก่าแก่ของไทย   และจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง หากผู้ศึกษาได้คิดวิเคราะห์และจับสังเกตได้ว่า วรรณกรรที่เป็นของไทย ในอดีตทั้งหมดมีบทบาทพระพุทธศาสนาแทรกซึมอยู่ทั้งทางตรงและทางอ้อม และงานวรรณกรรมของไทย ที่แต่งขึ้นจากกวีหรือนักเขียนคนไทย ในปัจจุบัน ก็มักจะมีบทบาทของพระพุทธศาสนาอยู่ทั้งที่แสดงออกมาทางตรงและโดยอ้อม ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของบทวรรณกรรมนั้น ๆ  จึงเกิดคำถามค้างคาใจขึ้นมาว่า จะเป็นไปได้ไหมว่า  แม้ปัญหาทางสังคมจะมีมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงไปของจิตใจมนุษย์ที่พึ่งพาความสะดวกสบายจากเทคโนโลยี และอำนาจแห่งไสยศาสตร์ ทำให้จิตใจตกต่ำ และขุ่นมั่ว แต่กระนั้นก็ตามอย่างที่กล่าวไว้ในบทที่ผ่านมาว่า แม้สังคมจะมีปัญหาแต่ก็ใช่ว่าบทบาทของพระพุทธศาสนาจะแปรเปลี่ยนไป โดยสิ้นเชิงไม่ อย่างน้อย การที่พระพุทธศาสนาได้ปรับตนให้เข้ากับสังคมได้ แม้จะเป็นไปในทางที่พระพุทธเจ้าไม่ตรัสสรรเสริญ แต่ก็นับว่า เป็นความสำเร็จหนึ่งซึ่งทำให้สังคมไทยยังไม่คลายความเชื่อและวิถีทางแห่งบาทบาทและอิทธิพลของพระพุทธศาสนา

                เช่นนั้น เป็นไปได้ไหมว่า สังคมไทยยังมีสิ่งที่ช่วยประครองให้บทบาทของพระพุทธศาสนาไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก มาจากวรรณกรรมที่คงอยู่ของบทบาทและความสำคัญของพระพุทธศาสนา  จากการศึกษาเนื้อเรื่องวรรณกรรมเก่าแก่ของไทย หลากหลายเรื่อง ท่านจะพบบทกวี ที่ผู้ที่ไม่คุนชินกับการอ่านวรรณกรรมประเภทร้อยกรอง จะต้องแปลกใจ  บทความนี้จะกล่าวไปตามเนื้อหาของบทละครแล้วจู่ ๆ ก็จะเกิดปรากฏการณ์ฟ้าร้อง ฝนตก โดยไม่มีบทรองรับ หรือกำลังกล่าวถึงชายหญิงคู่หนึ่งอยู่ดี ๆ ก็บังเกิดบทกล่าวเอ่ยถึงแมลงภู่กับดอกไม้ หรือไม่ก็กล่าวถึงการเล่นว่าวปักเป้ากับว่าวกุลา  ไม่เช่นนั้นก็เกิดบทร้อยกรองที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อความก่อนหน้านี้ อย่างทันทีทันใด เป็นบทรามสูร กับนางเมขลา ล่อแก้วเป็นต้น  สิ่งเหล่านี้คืออะไร และเกี่ยวข้องกันอย่างไร 

                บทที่สืบเนื่องต่อจากบทรักชายหญิง ที่กวีใช้คำร้อยกรองมาเรียงต่อความโดยไม่มีเนื้อความที่เนื่องเกี่ยวกันนั้น แท้จริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ หากแต่สิ่งที่กล่าวถึงนั้นมีความเกี่ยวเนื่อง ข้องสัมพันธ์กันโดยหลักแล้วแท้จริง เพราะบทที่กล่าวถึงนั้น คือบทอัจศจรรย์ หรือบทเข้าพระเข้านาง หรือบทความสัมพันธ์ทางเพศ



                เราจะมองเห็นได้ว่า การแสดงออกของกวีในบทประพันธ์นั้น ๆ เป็นการแสงออกที่สืบเนื่องมาจากความคิดความเชื่อทางศาสนาเป็นสำคัญ เพราะเรามิอาจจะปฏิเสธได้ว่า ศาสนามีผลต่อความคิดและการกระทำของผู้คนในสังคม สังคมได้รับการหล่อหลอมจากธรรมที่มาจากศาสนาเป็นสำคัญ   ดังนั้นบทอัศจรรย์ที่ยกกล่าวมานี้ จึงเป็นผลที่แสดงออกมาให้เราเห็นได้ชัดเจนว่า บทบาทและอิทธิพลของพระพุทธศาสนามีส่วนสำคัญต่อสังคมและวรรณกรรม อยู่ไม่มากก็น้อย

                สังคมยังต้องการรับความบันเทิงใจและการหย่อนใจจาก บทวรรณกรรม  ละคร เรื่องเล่า อยู่ ดังนั้นกวี หรือนักประพันธ์จึงยังมีความสำคัญต่อความเป็นไปแห่งสังคม และยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้วาทะทางธรรมะและคติความเชื่อความคิด และบทบาทของพระพุทธศาสนายังคงมีบทบาทอยู่ในทุกการณ์เวลา  ในอดีตจนถึงปัจจุบัน สังคมไทยสรรสร้างกวีขึ้นมามากมาย มีทั้งที่เป็นหน้าใหม่ และที่เก่าแก่ ถึงพริกถึงข่า ก็มีมาก   กวีเหล่านั้นมีส่วนสำคัญจริงหรือที่ทำให้บทบาทและอิทธิพลของพระพุทธศาสนาของสังคมไทยยังคงมีอยู่    และกวีเหล่านี้ใช้อะไรเป็นหลักในการถ่ายทอดและแสดงให้เห็นว่าบทบาทเหล่านี้ยังมีอิทธิพลต่องานเขียนอยู่จริง

                หลายชีวิต บทประพันธ์ของหม่อมราชวัง คึกฤทธิ์ ปราโมช  คงเป็นคำตอบที่ดีสำหรับการตอบคำถามที่คาใจอยู่นี้ มากทีเดียว จากบทย่อหลังปกของนิยายเล่มนี้  กล่าวว่า

                                           หลายชีวิต......

                                                หลายชีวิตที่แตกต่างกัน

                                                คนละวัย

                                                คนละเพศ

                                                คนละอาชีพ

                                                แต่มาจมลงพร้อมกัน

                                                ณ สถานที่เดียวกัน

                                                และเวลาเดียวกัน                


มูลเหตุแห่งคำถาม ที่ถามว่า หลายชีวิตนี้เหตุใดจึงมีจุดจบที่เหมือนกัน ทั้งที่ มีความเป็นมาแห่งชีวิตที่ต่างกัน มีแหล่งกำเนิดที่ต่างกัน คำถามนี้ ท่าน คึกฤทธิ์ ได้ประสบกับตนเองมาก่อน ก่อนที่จะเริ่มต้นเขียนนิยายที่เป็นเรื่องสั้นหลาย ๆ เรื่องแต่งรวมกัน ขึ้น และให้ชื่อเรื่องว่า หลายชีวิต     จากคำนำจากผู้เขียนคือท่าน ศึกฤทธิ์ กล่าวไว้ได้ใจความสำคัญว่า สาเหตุที่ท่านเขียนเรื่องนี้ขึ้นมา มูลเหตุนั้น มาจากที่ท่านได้นั่งรถยนต์ไปเที่ยวกับคณะนักเขียน ไปยังศรีราชา ระหว่างที่กำลังเดินทางนั้นท่านและคณะก็ได้ประสบเห็นรถตกสะพาน มองเห็นซากรถ ในคณะร่วทั้งท่าน ศึกฤทธิ์ ก็ได้วิจารณ์กันว่าคงมีผู้คนล้มหายตายจากในกรณีเป็นมากทีเดียวแน่  ก็มีตอนหนึ่งคนหนึ่งพูดขึ้นมาแบบคนโบราณว่า ทำบุญทำกรรมอะไรกันมาหนอ  ต่างคนก็ต่างชีวิต มาจากไหนกันก็ไม่รู้ แต่ทำไมถึงมาตายพร้อมกัน  จากมูลเหตุแห่งคำถามนั้น ก็กลายมาเป็นประเด็นที่ท่านศึกฤทธิ์และคณะเห็นว่า ทำไมไม่แต่งขึ้นเป็นบทประพันธ์ โดยเขียนเป็นเรื่องสั้น หลาย ๆ เรื่องรวมกัน โดยหลาย ๆ ท่านแต่งร่วมกัน  แต่กระนั้นก็ตาม เมื่อท่านคึกฤทธิ์ได้แต่งโดยเริ่มเรื่อง ไอ้ลอยไปตีพิมพ์ก่อน ก็ปรากฏว่าจากที่รับปากกันไว้ว่าจะร่วมกันแต่งเรื่องสั้นนี้ ก็ไม่เป็นไปตามที่กล่าวไว้ ท่านคึกฤทธิ์จึงต้องรับงานเขียนนี้นเองแต่ท่านเพียงผู้เดียว

                จากที่กล่าวมาแล้วท่านจะเห็นได้ว่า แม้ว่าบทประพันธ์ หลายชีวิต จะไม่ได้แสดงออกถึงความมีบทบาทและอิทธิพลของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย แต่เราก็สังเกตได้ว่ามูลเหตุที่ท่านคึกฤทธิ์และคณะได้ตั้งใจจะเขียนเรื่องสั้นนี้ เป็นนิยาย ก็มาจากสิ่งแรกคือ มูลเหตุกรรมใดที่นำมาเป็นเช่นนี้  จากที่กล่าวนี้ ท่านจะเห็นได้ว่า มูลเหตุแห่งการเขียนนิยายกาจากอิทธิพลของพระศาสนา เป็นหลักใหญ่ อย่างน้อยที่สุด กฏแห่งกรรมก็เป็นสิ่งหนึ่งที่บันดาลใจให้ท่านคึกฤทธิ์และนักเขียนทุกท่านใช้เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลและเป็นแรงบันดาลใจในการเขียน 

                มีผู้กล่าวว่ากวีหรือนักเขียนก็เหมือนกับจิตกร นักวาดภาพ เพราะทั้งงานเขียนและภาพวาดต้องอาศัยแรงบันดาลใจเป็นสำคัญ หลายชีวิตจึงเป็นหนึ่งในบทประพันธ์ที่กล่าวถึงความมีอิทธิพลของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทยได้เป็นอย่างดี น้อยจากจะมีมูลเหตุที่กล่าวไปแล้วนั้น ในเนื้อเรื่องที่เป็นเรื่องสั้น หลาย ๆ เรื่องต่อกันนั้น บทเรื่องสั้นนั้น ๆ ก็แสดงออกมาให้เห็นถึงความมีบทบาทและอิทธิพลของพระพุทศาสนาอยู่ไม่มากก็น้อย แต่เรื่องที่จะไม่มีความเกี่ยวข้องเลยนั้น หากได้มีในบทประพันธ์ของท่านคึกฤทธิ์ไม่     จึงกล่าวได้ว่าศาสนาก็เป็นส่วนสำคัญไม่น้อยต่อบทวรรณกรรมชิ้นต่าง ๆ 

                นอกจากรวมเรื่องสั้น ที่นำมาร้อยเรียงเป็นนิยาย หลายชีวิต จะแสดงสื่อถึงความเป็นไปของบทบาทและอิทธิพลของพระพุทธศาสนาแล้ว ในเนื้อเรื่องของเรื่องสั้นบางบทยังมีความคุ้นเคืองที่ผู้อ่านจะต้องใช้วิจารณาญเป็นส่วนประกอบ ยกตัวอย่างเช่น ละม่อม  

                บทเรื่องสั้น ละม่อม เป็นบทประพันธ์ที่ท่านคึกฤทธิ์แสดงออกถึงความคิดที่แปลกไปจากเรื่องสั้นในนิยาย หลายชีวิต อื่น ๆ ที่กล่าวว่าแปลกนั้นมาจากการที่ยกบทมาตุฆาต หรือการฆ่ามารดาของละม่อม เป็นเหตุแสดงออกมา   ชีวิตของละม่อนนั้นเป็นชีวิตที่ต้องอยู่ในสภาพที่เก็บกด และทนรับภาระที่ตนได้รับการบังคับ และการด่าทอ  มารดาที่ไม่เปิดโอกาสให้แก่ละม่อม ไม่ให้โอกาสทางการศึกษา ไม่คิดที่จะส่งเสริมเรื่องใด    ละม่อมอยู่กับสิ่งเหล่านี้ด้วยคำว่ากตัญญู โดยยินดีที่จะกระทำทุกสิ่งเพื่อให้มารดาของตนมีความสุข มารดาของละม่อนก็หาได้เป็นผู้ที่มีจิตใจดีเฉกเช่นบุตรของตนไม่ กลับซ้ำร้าย เมื่อละม่อมต้องแลกความรักกับชายที่ตนใฝ่หาและต้องการที่จะอยู่ร่วมชีวิต ละม่อมถูกมารดาของตนใช้ความว่ากตัญญูเป็นมูลเหตุที่กักขังและจองจำชีวิตของละม่อมให้โดดเดี่ยวและเดียวดายตลอดไป    จดหมายสองสามฉบับที่สนิท ชายผู้เป็นที่รักและแสงสว่างแห่งชีวิตที่มืดมน เขียนมาส่งให้กับละม่อน เพื่อทวงสัญญาที่จะอยู่ด้วยกัน และอีกสองฉบับต่อมาเป็นการเขียนเชิงน้อยใจของสนิทที่ละม่อมมิได้เห็นใจต่อความรักและสุดท้ายด้วยจดหมายลาเพื่อไปแต่งงานกับหญิงที่ตนรัก 

                มาตุฆาตเกิดขึ้นในคืนที่ละม่อมพบซองจดหมายและเนื้อความทั้งหมด  มารดาของละม่อนไม่มีลมหายใจเสียแล้ว ละม่อมใช้แรงที่มีอยู่ทั้งหมดกดหมอนใบที่มารดใช้หนุนนอน กดเข้าไปที่ใบหน้าของมารดา และทุกสิ่งก็สิ้นไป

                คำถามที่เกิดขึ้นอยู่ในใจของผู้อ่านคือละม่อม ผิดหรือไม่

                บางท่านคงกล่าวว่าผิดเป็นแน่ และบางท่านก็อาจนึกชั่งในใจว่าควรจะตอบคำถามอย่างไรดี  ไม่ว่าคำตอบจะเป็นอย่างไร จะเป็นความผิดที่ควรแก่การประจานหรือการว่ากล่าวอย่างรุนแรง หรือจะเป็นความคิดที่ว่าเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีเหตุปัจจัยแห่งตัวของมัน  ไม่ว่าความคิดที่กล่าวถึงละม่อม จะเป็นไปในทิศทางใด สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นกับทุกคนที่อ่านและรับทราบ คือ การเป็นผู้ตกอยู่ในอิทธิพลและความมีบทบาทของพระพุทธศาสนา

                ที่กล่าวนี้ บางท่านอาจจะกล่าวเป็นไปไม่ได้ แต่กระนั้นก็ตามผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านได้พิจารณาว่า ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่กล่าวถึงความมีเมตตาธรรมเป็นสิ่งแรกใช่หรือไม่ หากใช่แล้ว หลักมนุษยธรรม ที่เป็นหลักที่ไม่อิงกับศาสนาใด ก็ย่อมเหมือนกับหลักธรรมความคิดนี้เป็นแน่แท้

                การตกเป็นผู้อยู่ภายใต้อิทธิพลของพระพุทธศาสนาหาเป็นเพราะท่านนับถือศาสนาพุทธเพียงอย่างเดียวไม่ การที่ท่านอยู่ในสังคมที่โอบอุ้มด้วยพระศาสนาก็เป็นสิ่งที่กล่าวได้แล้วว่า ท่านเป็นผู้อยู่ภายใต้อิทธิพลแห่งสังคม โดยสังคมได้รับอิทธิพลต่อจากพุทธศาสนา ด้านหลักธรรม  ความคิดที่เกิดขึ้นในใจ หลักจากที่ผู้อ่านได้อ่านเรื่องสั้น ละม่อม เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นผู้หนึ่งในสังคมของผู้อ่านท่าน    นั้น ๆ  แม้ว่าท่านจะไม่ได้นับถือพุทธศาสนาก็มิอาจจะปฏิเสธได้ว่า สังคมไทยไม่ได้อิทธิพลจากพระพุทธศาสนา     จะอย่างไรก็ตาม เรื่องสั้นนี้ ก็แสดงออกมาให้ท่านได้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงไปแห่งกาลเวลาและยุคสมัย ทั้งทัศนะความคิดและบทบาทและอิทธิพลของพระพุทธศาสนาด้วยเช่นกัน 

                แม้ในอดีตมาตุฆาตเป็นเรื่องบาปและปัจจุบันก็เป็นไปเช่นนี้ แต่กระนั้นบทบาทพระพุทธศาสนาต่อการอธิบาย ที่ไม่สามารถอธิบายโดยตัวของธรรมะได้อย่างเดียวไม่ จำเป็นที่จะต้องใช้หลักทางวิทยาศาสตร์และอื่น ๆ เข้าประกอบ เราจะเห็นได้ในปัจจุบันว่า ไม่มีพระสงฆ์รูปใดที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ผู้กระทำมาตุฆาต โดยมีความวิกลจริต   หากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในอดีตย่อมมีการวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ว่าผู้กระทำจะเป็นผู้วิกลจริตหรือไม่ก็ตาม

                สิ่งเหล่านี้ที่ปรากฏต่อบทประพันธ์ของท่านศึกฤทธิ์ เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงความคงอยู่ของพระพุทธศาสนา และการปรับเปลี่ยนไปของคนในแต่ละยุคสมัย   หากเนื้อเรื่องเดียวกันนี้ มีในสมัยโบราณ อาจจะเป็นถกเถียงและเห็นชอบด้วย แต่ด้วยเนื้อเรื่องที่อิงกับยุคสมัยปัจจุบัน จึงไม่แปลกที่จะมีผู้กล่าวว่า การกระทำของละม่อมต้องพิจารณาจากองค์ประกอบอื่น ๆ ร่วมด้วย ว่ามูลเหตุเป็นเช่นใด และการจะกล่าวว่าละม่อมผิดบาปนั้น เราผู้เป็นปุถุชนก็อาจจะไม่สามารถกล่าวตัดสินได้ ไม่ว่าทัศนะของผู้คนจะเป็นเช่นใด สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ การเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี และไม่ควรเอาเป็นแบบอย่าง ของพฤติกรรมของตัวละคร

                ในบทนี้ เนื่องจากการต้องการอธิบายความเป็นไปแห่งบทบาทและอิทธิพลของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย ดังนั้นการที่จะอธิบายโดยการโยงเพียงหลักธรรมกับสังคม หรือการนำสังคมมาเปรียบเปรยเพียงอย่างเดียวก็หาเป็นการอธิบายคำตอบได้ดีไม่ ผู้เขียนจึงนำวิชาความรู้ที่ตนสนใจประกอบการเป็นผู้อ่านมามาก มาจัดเรียงถ้อยประโยคให้ออกมาเป็นบทหนึ่งในเอกสารรายงาน ด้วยหวังว่าจะมีประโยชน์ต่อท่านผู้สนใจและใคร่พิจารณาสังคมและบทบาท อิทธิพลของพระพุทธศาสนาในแง่มุมใหม่ ๆ


 อ้างอิงจาก  คึกฤท

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี

กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์

แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1