Featured post

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : วิธีการสอนภาษาไทยโดยใช้ตำรา “ดรุณศึกษา” ระดับชั้นเตรียมประถมศึกษา ตอนที่ 2

ต่อจากตอนที่ ๑




ในมุมกลับกันที่ประเด็นปัญหาเด็กสมาธิสั้นเริ่มมีมากขึ้นนั้น ผู้เขียนเห็นว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นควบคู่กับการมีเทคโนยีอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และเทคโนโลยีเพื่อการบันเทิงที่มีมากขึ้นทุกวัน เราอาจจะเรียกยุคนี้ว่า “ยุครวดเร็วทันใจ”  เพราะเพียงปลายนิ้วสัมผัส ก็ได้ในสิ่งที่ต้องการ จึงไม่น่าจะแปลกใจนักกับการที่เด็กในยุคสมัยปัจจุบันมีปัญหาด้านสมาธิสั้นกันเพิ่มมากขึ้น ผู้เขียนเชื่อลึก ๆ ว่าการที่เราปล่อยให้บุตรหลานเสพสื่อหรือมีเวลากับเกมส์ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ การดูโทรทัศน์ หรืออื่น ๆ มากจนเกินไปนั้น จะเป็นการกระตุ้นทำให้เกิดอาการสมาธิสั้นมากขึ้น   เราควรจัดช่วงระยะเวลาให้เพียงพอและมีขอบข่าย ไม่เพียงแต่เป็นการลดความเสี่ยงจากภาวะสมาธิสั้นแล้ว ยังเป็นผลดีอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้บุตรหลานฝึกสร้างความมีระเบียบวินัยในตนเอง อีกด้วย

                ในตำราดรุณศึกษานั้น จะแบ่งหมวดหมู่การเรียนออกเป็นกลุ่มพยัญชนะ ๓ หมวด คืออักษรกลาง สูง และต่ำ  ซึ่งการแบ่งกลุ่มพยัญชนะนี้ออกเป็น ๓ หมวดนั้น ผู้เขียนจะยกบทความที่เกี่ยวข้องประกอบเพื่ออธิบายว่าเหตุใด ครูบาอาจารย์ที่เขียนตำราภาษาไทย ท่านจึงแบ่งกลุ่มพยัญชนะออกเป็น ๓ หมวดอักษร และการแบ่ง ๓ หมวดนี้ เป็นการแบ่งตามเสียงของกลุ่มอักษรจริงหรือ ?

เสริมเนื้อหา

                ในตำราดรุณศึกษา ชั้นเตรียมประถม ที่กำลังศึกษาอยู่นี้ ก็เริ่มต้นด้วยกลุ่มพยัญชนะ หมวดอักษรกลาง อันประกอบด้วย
-อักษรกลาง      ก จ  ฎ  ฏ  ด   ต   บ  ป  อ     
-คำท่อง               ไก่ จิก เฎ็ก (เด็ก)  ฏาย (ตาย)  เด็ก ตาย บน ปาก โอ่ง    
ซึ่งบางตำราอาจจะมีวิธีการท่องที่แตกต่างกันออกไป   วิธีการท่องจำนี้มิใช่ปัญหา เพียงนักเรียนที่เรียนสามารถท่องจำและนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญมากยิ่งกว่า  
                ตามหลักแล้วกลุ่มอักษรกลางนี้ เป็นเพียงกลุ่มอักษรเดียวเท่านั้นที่สามารถผันเสียงวรรณยุกต์ได้ถึง ๕ เสียง นั้นก็คือ   เสียงสามัญ (ไม่มีรูป)  เสียงเอก (รูปเอก)  เสียงโท (รูปโท)  เสียงตรี (รูปตรี )  และเสียงจัตวา  (รูปจัตวา)   ที่ผุ้เขียนเขียนทั้งเสียงและรูปนั้น เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบว่ากลุ่มอักษรกลางนี้ นอกจากสามารถผันเสียงวรรณยุกต์ได้ถึง ๕ เสียงแล้ว ทุกการผันเสียงวรรณยุกต์ อักษรกลางก็สามารถผันเสียงได้ถูกต้องตามเสียงที่ผัน  กล่าวคือ ผันเสียงโท รูปหรือเครื่องหมายที่ปรากฏก็เป็นเครื่องหมายหรือรูปไม้โท นั้นเอง (ที่ผู้เขียน กล่าวดังนี้ ผู้อ่านจะเห็นได้อย่างชัดเจนเมื่อผู้เขียนกล่าวถึงกลุ่มอักษรสูงและต่ำ และทั้งสองกลุ่มนี้ ผันเสียงวรรณยุกต์อีกเสียง ลงเครื่องหมายหรือรูปอีกเสียง ซึ่งมีความแตกต่างจากกลุ่มอักษรกลางอย่างมาก )
                ในตำราดรุณศึกษานั้น ในช่วงหน่วยการเรียนรู้ที่ ๑-๔ นั้น ยังไม่มีการผันเสียงวรรณยุกต์ มีเพียงการนำพยัญชนะต้น จากลุ่มอักษรกลาง มาประสมสระ โดยมีกลุ่มการนำมาประสมดังนี้
-หน่วยที่ ๑    อักษรกลาง ๙ ตัว ประสมสระเสียงยาว ๔ ตัว   โดยตัวสระเสียงยาว ๔ ตัวนั้นคือ  สระ อา  อี  อือ  อู    
-หน่วยที่ ๒   อักษรกลาง ประสมกับสระเสียงยาว อีก ๔ ตัว โดยเสียงสระยาวทั้ง ๔ ตัวนั้น คือ สระ เอ แอ โอ ออ
-หน่วยที่ ๓ อักษรกลางประสมกับสระเสียงสั้น อีก ๔ ตัว โดยเสียงสระเสียงสั้นทั้ง ๔ ตัวนั้นคือ  สระ ใอ(ไม้ม้วน)  ไอ (ไม้มลาย) เอา และอำ
-หน่วยที่ ๔ ซึ่งเป็นหน่วยสุดท้ายนั้น จะเป็นการสอบซ้อม กล่าวคือการรวบรวมคำศัพท์ที่ได้ศึกษาในหน่วยที่ ๑ -๓ มาทบทวน เพื่อวัดและประเมินผลในลำดับแรกว่า ผู้เรียนมีทักษะที่พัฒนาไปมากน้อยเพียงใด
                หากท่านผู้อ่านได้พิจารณาแล้ว ท่านจะเห็นว่า ในคำศัพท์พื้นฐานเหล่านี้ ไม่ได้มีความยากหรือซับซ้อนเลย เป็นคำศัพท์ที่ง่ายและรวดเร็วต่อการเรียนรู้ ประเด็นหนึ่งที่น่าสงสัยและผู้เขียนเองก็มีข้อกังขาไม่แพ้ท่านผู้อ่าน คือ เหตุเหตุตำราดรุณศึกษา จึงมีลักษณะของการเขียนคำศัพท์ของแต่ละบทเป็นลักษณะการเขียนแบบคำศัพท์แต่ละคำ เขียนเว้นวรรคกัน ตลอดเนื้อหา มีบางที่อาจะติดกัน
                โดยลักษณะเด่นของภาษาไทย หรือจะเรียกว่าเป็นลักษณะที่ยากแก่ผู้ศึกษาภาษาไทย อีกประการหนึ่ง นั้นก็คือ การที่ภาษาไทย มีลักษณะการเขียนภาษาไทย เขียนรูปประโยค เป็นลักษณะของพลความต่าง ๆ รวบรวมกันอยู่ในวรรคเดียวกัน จนมีความสับสนเกิดขึ้นแก่ผู้ศึกษาโดยทั่วไปว่าคำที่เขียนติดต่อกันนั้น อ่านอย่างไร  อาทิ  ปลาตากลม  ควรที่จะอ่านว่า  ปลา –ตา-กลม  หรือ ปลา-ตาก-ลม
                เพราะความยากของลักษณะการเขียนของภาษาไทยนี้หรือไม่ ที่ทำผู้แต่งตำราเล่มนี้ แยกคำศัพท์ต่าง ๆ แม้ว่าจะรวบรวมแต่งเป็นรูปประโยคแล้วก็ตาม   เมื่อผู้เขียนได้ลงสู่การสอนจริง กับนักเรียนที่มีปัญหาด้านภาษาไทย ผู้เขียนเห็นว่า รูปแบบและลักษณะของการเขียนแยกคำนี้ มีทั้งในแง่ดีและแง่ร้าย   แง่ดีที่ว่านี้ คือ ง่ายต่อการอ่านและการจำคำ การออกเสียง และความหมายของผู้เรียน ยาก คือ ผู้สอนเมื่อสอนถึงบทหนึ่ง ที่ผู้เรียนควรที่จะสามารถอ่านจับใจความได้แล้ว กลับมีปัญหาข้อบกพร่องที่ว่า ชินกับการอ่านแบบแยกคำมาโดยตลอด เมื่อต้องพบกับประโยคที่ยาวและมีความต่อเนื่อง ทำให้ไม่สามารถอ่านได้ หรืออ่านได้แต่จับใจความสำคัญของประโยคนั้น ๆ ไม่ได้ ปัญหาจึงเกิดขึ้น
                แล้วเราควรจะทำเช่นไร เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ที่ผู้เขียนเองก็ประสบเช่นเดียวกัน ?
                เมื่อผู้เขียนพิจารณาจากตำราเรียนดรุณศึกษาแล้ว แม้ว่าจะมีข้อด้อยประการที่ว่า ตำรามีการเขียนแยกคำศัพท์ แต่หากมองในแง่ดีแล้ว ผู้เขียนเห็นว่าผู้เรียนส่วนมากได้ประโยชน์จากการอ่านแบบนี้ แต่กระนั้น ผู้เขียนเองก็พิจารณาอยู่เนื่อง ๆ ว่า ปัญหาที่ผู้เรียนจะประสบนั้น ย่อมมีเช่นกัน ผู้เขียนจึงไมได้ใช้เพียงตำราดรุณศึกษาเพียงอย่างเดียวในการเรียน แต่ใช้ตำราอื่น ๆ หรือบทความอ่านอื่น ๆ ประกอบด้วยเสมอ
                การเรียนการสอน ของครูภาษาไทย ในบางบริบทอาจจะไม่ได้มีความหมายว่าจะต้องตรงในเนื้อหาหลักสูตรเสมอไป ผู้เขียนเห็นว่า ความสำคัญของภาษาไทย คือครูผู้สอนจะทำอย่างไรให้ผู้เรียนไม่เหนื่อยและเบื่อในการเรียน และจะทำอย่างไรให้ประเด็นปัญหาภาษาไทยที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ ลดทอนปัญหาลง บ้าง
                ในบทที่ ๑-๔ ของตำราเรียนภาษาไทย ดรุณศึกษา ชั้นเตรียมประถมศึกษา นี้ รูปแบบการเรียนการสอน ของผู้เขียน จะไม่เน้นเพียงการอ่านออกเสียงให้มีความชัดเจน หรือการจำคำศัพท์ได้เพียงอย่างเดียว แต่คือการอ่าน เขียน จำและเข้าใจความหมายของคำศัพท์นั้น  ๆ   ผู้เขียนประสบปัญหานี้มาเช่นเดียวกัน เมื่อได้ทำการเรียนการสอนภาษาไทย นั้นคือการที่ผู้เรียนสามารถอ่านออก เขียนได้ จำรูปสระ วรรณยุกต์ได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง แต่เมื่อย้อนถามถึงความหมายของคำ กลับไม่สามรถตอบได้  ลักษณะปัญหาประการนี้ ผู้เขียนเรียกว่า  “การท่องนะโม” 
                “การท่องนะโม”  คือสภาวการณ์ที่ผู้เรียนไม่สามารถเข้าใจความหมายของคำศัพท์นั้นๆ ได้ แต่สามารถอ่าน เขียน และจำรูปแบบของ



โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี

กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์

แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1