Featured post

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : เรียนรู้เรืองการเขียนแบบเบื้องต้น กันเถอะ

เรียนรู้เรืองการเขียนแบบเบื้องต้น กันเถอะ

การเขียนแบบ 
        งานเขียนแบบ ถือว่ามีความสำคัญสำหรับช่างทุกช่าง ซึ่งจะต้องมีการออกแบบ เขียนแบบทุกครั้งที่จะทำการผลิตชิ้นงานออกมา จึงพูดได้ว่างานเขียนแบบเป็นหัวใจของช่างทุกชนิด ในสมัยโบราณการเขียนแบบไม่เจริญเหมือนสมัยนี้ แต่ช่างพยายามถ่ายทอดความคิดลงในแผ่นหิน โดยมิได้แยกชิ้นส่วนให้เห็นชัด ตามชนบทเมื่อมีการปลูกสร้างบ้านก็มีการเขียนแบบแปลนบ้านตามพื้นดินในบริเวณ ปลูกสร้าง ซึ่งจะดีกว่าที่จะทำโดยไม่มีแบบแผนเลย
        ฉะนั้น การเขียนแบบก็เป็นวิชาหนึ่ง ซึ่งใช้กันในงานอุตสาหกรรมทั่วโลก เพื่อแสดงรูปร่างและลักษณะของสิ่งที่ต้องการผลิตออกมา วิชาเขียนแบบเป็นวิชาที่ไม่มีคำอธิบายบอกรูปลักษณะ และขนาดของสิ่งของ แต่วิชาเขียนแบบเป็นการแสดงให้เห็นภาพอย่างแจ่มชัด ทั้งลักษณะรูปร่าง ขนาด ทุกส่วนอยู่แล้ว ดังนั้นการเขียนแบบเป็นสิ่งที่จะขาดไม่ได้ในงานช่างและงานสร้างสรรค์
        การ เขียนแบบ (mechanical drawing) คือ การเขียนที่แสดงเป็นภาพ รูปร่าง สัญลักษณ์ และรายละเอียดของแบบที่ออกไว้ เพื่อให้นำไปสร้างเป็นของจริงได้ ก่อนที่จะเริ่มเขียนแบบ เราควรจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมืออุปกรณ์ในสำหรับเขียนแบบ และวิธีใช้ให้ดี เพื่อให้ได้ผลงานเรียบร้อยรวดเร็ว ประหยัดเวลาในการทำงาน ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องมือเขียนแบบให้มีสภาพดีอยู่ได้นาน
การใช้เครื่องมืออุปกรณ์การเขียนแบบ
      
1. เครื่องมือเขียนแบบและหน้าที่วิธีการใช้   มีดังนี้
        1.1 โต๊ะเขียนแบบ หรือกระดานเขียนแบบ ( Drawing Board ) ใช้รองกระดาษเขียนแบบ ในกรณีที่ไม่มีโต๊ะเขียนแบบ ให้ใช้กระดานเขียนแบบแทนก็ได้
 

 ที่มาของภาพ : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiNCz7wyySHNfYTxZm6ue7fgyuxweS-atO3Op9w9_CYPI8r7szW77i0U6YPQojw5gsDHHmnk1VKVsZ9S3X7eKevEh6ISFhFh0Ke9jgV5FkeiTcRVxZ1NidWiU2zLFZrY_4w860OqMnuICue/s320/thumbnailshow220678.jpg
        1.2 กระดาษเขียนแบบ มีทั้งขนาดความหนา ๘๐ ปอนด์ ถึง ๑๐๐ ปอนด์ เป็นชนิดไม่มีเส้นขนาดความกว้างความยาว แล้วแต่จะต้องการเขียนหรือต้องการใช้
ที่มาของภาพ : http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Drawing%20Tech/D-TECH%20UNIT-02.php
        1.3 ไม้ฉากรูปตัวที (T-square)มีลักษณะคล้ายรูปตัว T ซึ่งมีส่วนประกอบ ๒ ส่วน คือ ส่วนหัว ( Fixed Head ) และส่วนตัวไม้ทีประกบกันเป็นมุม ๙๐ องศา ใช้สำหรับเขียนเส้นตรงในแนวนอน หรือเส้นระดับอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งจะต้องใช้ร่วมกับโต๊ะเขียนแบบหรือกระดานเขียนแบบ พร้อมนี้จะต้องใช้ร่วมกับฉากสามเหลี่ยม (Set - Square)สำหรับลากเส้นให้เป็นมุมต่างๆ ลักษณะของไม้ฉากที หรือ T - Square ที่ดีนั้น หัวไม้ฉากทีต้องไม่โยกคลอน ยึดติดกันแน่นกับก้านไม้ตัวขวางของไม้ฉากที ขอบบนของตัวไม้ฉากทีต้องเรียบและตรงไม่บิดงอ การเขียนเส้นนอนต้องลากเส้นจากซ้ายไปขวาเสมอ หัวไม้ฉากทีแนบกับโต๊ะเขียนแบบด้านซ้ายมือจรดปลายดินสอให้เอนไปในทิศทางของ การลากเส้นทำมุมกับกระดาษเขียนแบบเป็นมุม ๖๐ องศา ขณะเดียวกันให้ดินสอเอนออกจากขอบบรรทัดเล็กน้อย เพื่อให้ปลายดินสออยู่ชิดขอบบรรทัดมากที่สุด ในขณะที่ลากเส้น ควรหมุนดินสอไปด้วย ซึ่งจะช่วยรักษาปลายไส้ดินสอเป็นกรวยแหลม และช่วยให้เส้นดินสอโตสม่ำเสมอกัน


ที่มาของภาพ : http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Drawing%20Tech/D-TECH%20UNIT-02.php         
        1.4 ดินสอเขียนแบบ (drawing pencil) ดินสอเขียนแบบทำด้วยไส้ดินสอที่มีระดับความแข็งต่างกัน ความแข็งของไส้ดินสอมีการระบุไว้บนแท่งดินสอด้วยตัวเลขและตัวอักษร ดินสอที่ใช้ในการเขียนแบบ ควรมีความอ่อนแข็งดังนี้ ๒H, ๓H, H, HB อย่างน้อยควรมี ๔ แท่ง คือ ดินสอที่มีไส้อ่อนได้แก่เกรด F, HB ไส้ขนาดกลาง H – ๒H ไส้แข็ง ๔H – ๕H ในงานเขียนแบบปัจจุบันนี้นิยมใช้ดินสอสำเร็จแบบไส้เลื่อน หรือไส้กด เพราะสะดวกรวดเร็วไม่เสียเวลาต่อการเหลาดินสอ มีความยาวคงที่ บรรจุไส้ใหม่สะดวก ทำให้งานสะอาด ไม่สกปรก
ที่มาของภาพ : http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Drawing%20Tech/D-TECH%20UNIT-02.php
        1.5 ไม้ฉากสามเหลี่ยมเป็นชุด (set-square) ชุดหนึ่งมีอยู่ ๒ แบบ มีมุมต่างกันดังนี้ อันแรกเรียกว่า ฉาก ๓๐ ๖๐, และ ๙๐ องศา ส่วนอันที่ ๒ เรียกว่า ฉาก ๔๕, ๔๕, และ ๙๐ องศา การเขียนมุมของฉากสามเหลี่ยมทั้ง ๒ อันนี้จะต้องใช้ร่วมควบคู่กับไม้ฉากทีทุกครั้งในขณะทำการปฏิบัติงานเขียนแบบ
       ฉากสามเหลี่ยมใช้สำหรับเขียนเส้นตรงในแนวดิ่ง และเส้นเอียงทำมุมต่างๆ เวลาเขียนเส้นดิ่งให้ลากดินสอขึ้นไปตามแนวดิ่ง จับดินสอให้เอนไปในทิศทางของการลากเส้น ทำมุม ๖๐ องศา กับกระดานเขียนแบบ และให้ดินสอเอนออกจากตัวฉากสามเหลี่ยมเล็กน้อย        
    

ที่มาของภาพ : http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Drawing%20Tech/D-TECH%20UNIT-02.php
        1.6 ไม้บรรทัดสเกลแบบสามเหลี่ยม (scale)ใช้สำหรับย่อส่วนตามต้องการ มีลักษณะเป็นแท่งสามเหลี่ยม ๖ ด้าน ในแต่ละด้านจะมีมาตราส่วนย่อไว้ดังนี้ ๑ : ๒๐, ๑ : ๒๕, ๑ : ๕๐, ๑ : ๗๕, และ ๑ : ๑๐๐
 
ที่มาของภาพ : http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Drawing%20Tech/D-TECH%20UNIT-02.php 

        1.7 วงเวียน (compass) เป็นอุปกรณ์สำหรับเขียนวงกลม หรือส่วนโค้ง ด้วยดินสอดำหรือหมึกก็ได้ วงเวียนมีหลายแบบ สามารถเลือกใช้แล้วแต่ความสำคัญของความต้องการในแต่กรณี วิธีเขียนวงกลมหรือส่วนโค้ง ให้ปรับขาวงเวียนที่เป็นเหล็กแหลม ให้ยาวกว่าข้างที่เป็นไส้ดินสอเล็กน้อย ใช้ปลายแหลม ปักลงตรงจุดที่กำหนดให้เป็นศูนย์กลางของวงกลม ปรับขาวงเวียนจนกางได้ระยะเท่ากับรัศมีที่ต้องการจับก้านวงเวียนไว้ระหว่าง นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ หมุนวงเวียนเอนไปในทิศทางของการลากเส้นเล็กน้อย พยายามเขียนวงกลมให้สมบูรณ์ โดยการหมุนวงเวียนไปเพียงครั้งเดียว                   

       1.8  บรรทัดโค้ง ( Irregular Curves ) บรรทัดโค้งใช้สำหรับเขียนเส้นโค้งที่วงเวียนไม่สามารถเขียนได้ โดยทำการจุดไว้ให้ได้ ๓ จุด แล้วลากเส้นผ่านตามจุดนั้นๆตามบรรทัดโค้งเลื่อนบรรทัดโค้งความโค้งตามไป ครั้งละ ๓ จุด จนกว่าจะได้รูปตามต้องการ
ที่มาของภาพ : http://www.krusommai.com/drawing1.html 
ขั้นตอนในการใช้เครื่องมือบนโต๊ะเขียนแบบ
ที่มาของภาพ : http://members.multimania.co.uk/ipdnrru/eq10.gif
2. ลักษณะเส้นที่ใช้ในการเขียนแบบ มีดังต่อไปนี้
                    2.1 เส้นร่าง (rayout or guideline) เป็นเส้นที่ใช้ร่างภาพหรือเส้นบรรทัดเป็นเส้นเบาและแคบ
                    2.2 เส้นแสดงรูปวัตถุ (object line) เป็นเส้นหนักและใหญ่ ใช้แสดงขอบของรูป
                    2.3 เส้นแสดงส่วนที่บัง (hidden line) เป็นเส้นประ เส้นหนาปานกลาง แสดงตรงส่วนที่ถูกบัง
                    2.4 เส้นโยงขนาดและเส้นบอกขนาด (extension and dimension line) เส้นโยงขนาดใช้โยงขนาดขอบรูปวัตถุเพื่อแสดงรายละเอียดของขนาด ส่วนเส้นบอกขนาดเป็นเส้นแสดงความกว้างยาวของขนาดวัตถุ โดยโยงจากขอบวัตถุด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง เป็นเส้นที่หนักและแคบ
                    2.5 เส้นกรอบภาพ (border line) เป็นเส้นใหญ่และหนัก ใช้ตีกรอบงานเขียนแบบ (วิรุณ ตั้งเจริญ. 2527 : 130)
3. มาตราส่วนในการเขียนแบบ
          ใช้สำหรับย่อส่วนหรือขยายส่วนจากของจริง เช่น การเขียนแบบก่อสร้างอาคาร ใช้มาตราส่วน 1 : 100 ก็คือ ในแบบ 1 ส่วน ของจริงจะเท่ากับ 100 ส่วน ถ้าประตูในแบบกำหนดไว้ 2ซม. ประตูจริงจะเท่ากับ 200 ซม. หรือ 2 เมตร เป็นต้น
สร้างโดย: 
ครูลักษิกา มีกุศล โรงเรียนสาคลีวิทยา อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี

กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์

แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1