ครู-หนังสือ-โรงอาหารเติมเต็มฝันนร.
ครู-หนังสือ-โรงอาหารเติมเต็มฝันนร.
โรงเรียนบ้านห้วยกุ้ง มี ภูมิทัศน์ที่สวยงามโอบล้อมด้วยขุนเขา และแปลงผักคะน้าเขียวขจี แต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังมิทำให้โรงเรียนแห่งนี้อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากยังคงขาดแคลนตำราเรียน หนังสืออ่านเล่น ที่สำคัญไม่มีโรงอาหาร ไม่มีโต๊ะกินข้าว เด็กๆ ต้องนั่งตามพื้น ตามขอบปูน และรองน้ำดื่มจากก๊อกน้ำ!!
"ครูอ้อ" น.ส.วรรณระเบียบบุญเกิด ผอ.โรงเรียนบ้านห้วยกุ้งจ.แม่ฮ่องสอน วัย 41 ปี บอกว่า นักเรียนที่นี่มีทั้งสิ้น 158 คนมีครูอีก 13 คน นักเรียนส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่าสกอล์โปว์ และบางส่วนที่นับถือผี ที่นี่เป็นโรงเรียนขยายโอกาส สอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึง ม.3 แต่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ใช้แรงงาน ทำให้เด็กเรียนได้ไม่ตลอดรอดฝั่งเพราะพ่อแม่ไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา คิดว่าเรียนไปไม่เกิดประโยชน์สู้มาเป็นแรงงาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ได้เงินเพิ่มดีกว่า
"เด็ก อนุบาล 1 ถึงชั้นป.3 มีเยอะเพราะยังทำอะไรไม่ได้ พ่อแม่ก็ให้มาเรียน แต่โอกาสที่เด็กจะได้เรียนต่อชั้น ม.4 มีน้อย เด็กจบ ม.3 ไปเป็นแรงงานที่บ้าน ปลูกกะหล่ำ พริกกะเหรี่ยง มะเขือเทศ สิ่งที่โรงเรียนมุ่งปลูกฝังให้เด็กๆ คือ การอ่านหนังสือเพื่อให้มีความรู้ เรียนรู้วิชาชีพโดยทอผ้า ทำไม้กวาดและปลูกกะหล่ำปลี แต่โรงเรียนมีปัญหาอาคารเรียนไม่พอ ขาดแคลนครูและหนังสือให้เด็กๆ อ่าน ซึ่งมูลนิธิแอมเวย์ได้เข้ามาสนับสนุนโรงเรียนในเรื่องต่างๆเ ช่น ห้องสมุด อาหารกลางวัน" ครูอ้อบอกอย่างปลื้มใจ

"น้องแพม" ด.ญ.วิไลพรหยกจันทร์สว่าง หัวหน้าห้องชั้น ม.3 โรงเรียนบ้านห้วยกุ้งบอกว่า ที่บ้านทำนาปลูกข้าว พ่อแม่สอนให้ตั้งใจเรียน เวลาอยู่บ้านช่วยพ่อแม่หุงข้าว ตักน้ำ ซักผ้า บางครั้งไม่มีเงินซื้อกับข้าว จึงปลูกผักคะน้า กะหล่ำปลีไว้กิน และใช้เวลาว่างอ่านหนังสือ รู้สึกดีใจที่มีห้องสมุดเพิ่มขึ้นเพราะเป็นคนชอบอ่านหนังสือมาก โดยเฉพาะแนวสืบสวนสอบสวน ได้ความรู้มากขึ้น เป็นอาหารสมองดีกว่าดูทีวี เพราะมีประโยชน์มากกว่า
นายโสรสวรสุทธิกา กรรมการมูลนิธิแอมเวย์เพื่อสังคมไทยบอกว่า มูลนิธิแอมเวย์ฯ ร่วมกับมูลนิธิสงเคราะห์เด็กยากจน ซี.ซี.เอฟ. ในประเทศไทยฯ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กและมูลนิธิกระจกเงาดำเนิน "โครงการ One by One : เปิดโลกกว้างทางปัญญา" ด้วยการมอบโอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชนที่ห่างไกลได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเรียน รู้จึงสร้างห้องสมุดแอมเวย์ให้แก่โรงเรียนห่างไกลความเจริญทั่วประเทศ พร้อมทั้งนำหนังสือเรียนใหม่ๆ และหนังสือประเทืองปัญญา ซึ่งมูลนิธิแอมเวย์ได้หารือกับมูลนิธิพัฒนาเด็กและทีเคพาร์ค เพื่อให้ได้หนังสือที่เป็นประโยชน์ต่อเด็กอย่างแท้จริง

"เชื่อว่าปัญญาสร้างได้จากการเรียนรู้ และห้องสมุดคือแหล่งเรียนรู้ที่ดีที่สุด เพื่อพัฒนาปัญญาและเปิดโลกทัศน์ของเยาวชนให้กว้างไกล และมอบกระติกน้ำและกล่องข้าวให้เด็กๆ ด้วย จะได้มีข้าวของเครื่องใช้ที่ถูกสุขลักษณะมากขึ้น เพราะเด็กที่นี่ใช้ซองขนม ซองบะหมี่ หรือถุงพลาสติกที่ใช้แล้ว ล้างเก็บไว้ใช้ใหม่รองน้ำดื่ม ใช้ใบตองห่อข้าวมาโรงเรียน อีกทั้งจัดบริการตรวจสุขภาพให้เด็กด้วย" นายโสรสบอกทิ้งท้าย
"ครูอ้อ" น.ส.วรรณระเบียบบุญเกิด ผอ.โรงเรียนบ้านห้วยกุ้งจ.แม่ฮ่องสอน วัย 41 ปี บอกว่า นักเรียนที่นี่มีทั้งสิ้น 158 คนมีครูอีก 13 คน นักเรียนส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่าสกอล์โปว์ และบางส่วนที่นับถือผี ที่นี่เป็นโรงเรียนขยายโอกาส สอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึง ม.3 แต่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ใช้แรงงาน ทำให้เด็กเรียนได้ไม่ตลอดรอดฝั่งเพราะพ่อแม่ไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา คิดว่าเรียนไปไม่เกิดประโยชน์สู้มาเป็นแรงงาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ได้เงินเพิ่มดีกว่า
"เด็ก อนุบาล 1 ถึงชั้นป.3 มีเยอะเพราะยังทำอะไรไม่ได้ พ่อแม่ก็ให้มาเรียน แต่โอกาสที่เด็กจะได้เรียนต่อชั้น ม.4 มีน้อย เด็กจบ ม.3 ไปเป็นแรงงานที่บ้าน ปลูกกะหล่ำ พริกกะเหรี่ยง มะเขือเทศ สิ่งที่โรงเรียนมุ่งปลูกฝังให้เด็กๆ คือ การอ่านหนังสือเพื่อให้มีความรู้ เรียนรู้วิชาชีพโดยทอผ้า ทำไม้กวาดและปลูกกะหล่ำปลี แต่โรงเรียนมีปัญหาอาคารเรียนไม่พอ ขาดแคลนครูและหนังสือให้เด็กๆ อ่าน ซึ่งมูลนิธิแอมเวย์ได้เข้ามาสนับสนุนโรงเรียนในเรื่องต่างๆเ ช่น ห้องสมุด อาหารกลางวัน" ครูอ้อบอกอย่างปลื้มใจ

"น้องแพม" ด.ญ.วิไลพรหยกจันทร์สว่าง หัวหน้าห้องชั้น ม.3 โรงเรียนบ้านห้วยกุ้งบอกว่า ที่บ้านทำนาปลูกข้าว พ่อแม่สอนให้ตั้งใจเรียน เวลาอยู่บ้านช่วยพ่อแม่หุงข้าว ตักน้ำ ซักผ้า บางครั้งไม่มีเงินซื้อกับข้าว จึงปลูกผักคะน้า กะหล่ำปลีไว้กิน และใช้เวลาว่างอ่านหนังสือ รู้สึกดีใจที่มีห้องสมุดเพิ่มขึ้นเพราะเป็นคนชอบอ่านหนังสือมาก โดยเฉพาะแนวสืบสวนสอบสวน ได้ความรู้มากขึ้น เป็นอาหารสมองดีกว่าดูทีวี เพราะมีประโยชน์มากกว่า
นายโสรสวรสุทธิกา กรรมการมูลนิธิแอมเวย์เพื่อสังคมไทยบอกว่า มูลนิธิแอมเวย์ฯ ร่วมกับมูลนิธิสงเคราะห์เด็กยากจน ซี.ซี.เอฟ. ในประเทศไทยฯ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กและมูลนิธิกระจกเงาดำเนิน "โครงการ One by One : เปิดโลกกว้างทางปัญญา" ด้วยการมอบโอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชนที่ห่างไกลได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเรียน รู้จึงสร้างห้องสมุดแอมเวย์ให้แก่โรงเรียนห่างไกลความเจริญทั่วประเทศ พร้อมทั้งนำหนังสือเรียนใหม่ๆ และหนังสือประเทืองปัญญา ซึ่งมูลนิธิแอมเวย์ได้หารือกับมูลนิธิพัฒนาเด็กและทีเคพาร์ค เพื่อให้ได้หนังสือที่เป็นประโยชน์ต่อเด็กอย่างแท้จริง

"เชื่อว่าปัญญาสร้างได้จากการเรียนรู้ และห้องสมุดคือแหล่งเรียนรู้ที่ดีที่สุด เพื่อพัฒนาปัญญาและเปิดโลกทัศน์ของเยาวชนให้กว้างไกล และมอบกระติกน้ำและกล่องข้าวให้เด็กๆ ด้วย จะได้มีข้าวของเครื่องใช้ที่ถูกสุขลักษณะมากขึ้น เพราะเด็กที่นี่ใช้ซองขนม ซองบะหมี่ หรือถุงพลาสติกที่ใช้แล้ว ล้างเก็บไว้ใช้ใหม่รองน้ำดื่ม ใช้ใบตองห่อข้าวมาโรงเรียน อีกทั้งจัดบริการตรวจสุขภาพให้เด็กด้วย" นายโสรสบอกทิ้งท้าย
ขอขอบคุณบทความดีดี โดยผู้เขียน กัลยาณี ฉินสิน ม.ธรรมศาสตร์
ที่มาจาก : vcharkarn.com