Featured post

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : การกำหนดทิศ

การกำหนดทิศ

การกำหนดทิศ
          เมื่อเราอยู่กลางแจ้งและมองไปรอบ ๆ ตัว เราจะเห็นพื้นโลกทอดไกลออกไปจรดขอบฟ้าเป็นรูปครึ่งวงกลม เราเรียกเส้นตัด ระหว่างพื้นโลกกับขอบฟ้าว่า “เส้นขอบฟ้า” (Horizon)  เส้นขอบฟ้าเป็นเส้นวงกลมล้อมรอบตัวในแนวราบ เมื่อสังเกตการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ในเวลาเช้า จะเห็นดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นมาจากขอบฟ้าด้านหนึ่ง เรียกว่า “ทิศตะวันออก” และดวงอาทิตย์ จะเคลื่อนที่ขึ้นสูงที่สุดในเวลาประมาณเที่ยงวัน จากนั้นดวงอาทิตย์จะเคลื่อนต่ำลงกระทั่งตกลับขอบฟ้าอีกด้านหนึ่ง เรียกว่า “ทิศตะวันตก”  การขึ้น–ตกของดวงอาทิตย์ เกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลกตามแกนเหนือ-ใต้  ดังนั้นการกำหนดทิศทางบนโลก จึงแบ่งออกเป็น 4 ทิศหลัก คือ ทิศตะวันออก (East) ทิศตะวันตก (West) ทิศเหนือ (North) และทิศใต้ (South) โดยทิศทั้งสี่มีความสัมพันธ์กันดังนี้  

 
ภาพที่ 1  เมื่อหันหน้าไปทางทิศเหนือ

 
                                        • ด้านหลัง เป็นทิศใต้
                                        • แขนซ้าย ชี้ไปทางทิศตะวันตก
                                        • แขนขวา ชี้ไปทางทิศตะวันออก

 
ภาพที่ 2  เมื่อหันหน้าไปทางทิศตะวันตก

 
                                        • ด้านหลัง เป็นทิศตะวันออก
                                        • แขนซ้าย ชี้ไปทางทิศใต้ 
                                        • แขนขวา ชี้ไปทางทิศเหนือ

 

 
 ภาพที่ 3  จุดเหนือศีรษะ

 
                      จุดสูงที่สุดบนฟ้าจะอยู่เหนือศีรษะพอดี เรียกว่า “จุดเหนือศีรษะ” (Zenith)  
                      จุดเหนือศีรษะทำมุมกับผู้สังเกตการณ์ และขอบฟ้าทุก ๆ ด้าน เป็นมุมฉาก(90°)พอดี
การบอกตำแหน่งดาว

 

ภาพที่ 4 มุมอาซิมุท และมุมเงย

 
ในการบอกตำแหน่งเทห์วัตถุท้องฟ้า เราบอกด้วยค่ามุมสองชนิด คือ มุมอาซิมุท และมุมเงย 
          • มุมอาซิมุท (Azimuth) เป็นมุมในแนวราบ นับจาก
ทิศเหนือ ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา ไปยังทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก และกลับมาทิศเหนืออีกครั้งหนึ่ง  มีค่าระหว่าง 0-360 องศา 

          • มุมเงย  (Altitude) เป็นมุมในแนวตั้ง นับจากเส้นขอบฟ้าขึ้นไปสู่จุดเหนือศีรษะ มีค่าระหว่าง 0-90 องศา
จากตัวอย่างในภาพที่ 4 สามารถระบุได้ว่า ดาวมีค่ามุมอาซิมุธ 2500 และมีค่ามุมเงย 500 ระบบอ่านค่ามุมเช่นนี้เรียกว่า “อัลตาซิมุท”  (Alt-azimuth)  ซึ่งเรามักไปใช้กับการอ่านแผนที่ดาววงกลม

ขอขอบคุณโครงการการเรียนรู้ในเรื่องวิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์
ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง LESA โครงการวิจัยโดยหอดูดาวเกิดแก้ว , สำนักงานกองทุนกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.),
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิชาการดอทคอม
http://203.114.105.84/virtual/lesa/index1.htm

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี

กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์

แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1