เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : ภูมิปัญญาจีน ยุคสมัยไม่ทำให้ความรู้เก่า
ภูมิปัญญาจีน ยุคสมัยไม่ทำให้ความรู้เก่า
อารยธรรมที่เก่าแก่ของโลกเกิดขึ้นในหลายๆแหล่งอารยธรรม ในเอเชียเองก็มีอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ที่เติบโตคู่ขนานส่งผลต่อวิถีชีวิตอิทธิพลของชนชาติชาวเอเชียนั้นมีอยู่ทั้งใน จีนและอินเดียที่ถือว่ายิ่งใหญ่และส่งผลต่อแนวคิดและความเป็นไปของภูมิภาคนี้ ดินแดนแหลมทองอย่างประเทศในแถบสุวรรณภูมิที่อยู่ระหว่างของสองแหล่งอารยธรรมจึงได้รับอิทธิพลจากสองอารยธรรมนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เมื่อพูดถึงประเทศจีนแล้วนอกจาก ความที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล จำนวนประชากรที่มีจำนวนมาก หากย้อนมองกลับไปในอดีตดินแดนแหล่งนี้เป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญเป็นแหล่งรวมของศิลปะวิทยาที่เคยรุ่งเรื่องมาก่อนในอดีต องค์ความรู้ต่างๆมากมายหลายสาขาที่เกิดจากจีน จนอาจจะกล่าวได้ว่า เทคโนโลยี หรือความรู้มากมายต่างเกิดจากผืนแผ่นแห่งนี้ชุกเสียยิ่งกว่าที่ใดในโลกเป็นเรื่องที่น่าตื่นตาตื่นใจไม่น้อย ที่หลายสิ่งหลายอย่างที่ถูกคิดถูกสร้างขึ้นมาจากชาวจีนได้ถูกพัฒนาเป็นองค์ความรู้ที่ต่อเนื่องยาวนาน จนมนุษย์เรายังคงใช้ประโยชน์จากมันมาจนถึงยุคปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น กระดาษ การเดินเรือ ดินปืน และอื่นๆอีกมากมาย นี้ยังไม่รวมถึง วัฒนธรรมความเป็นอยู่วิถีชีวิต ที่มีความเป็นเอกลักษณ์
หากมองถึงจุดเริ่มต้นหรือแนวคิดของสิ่งประดิษฐ์ต่างๆอันเป็นพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ยุคนี้ต้องถือว่าไม่มีชนชาติใดเกินหน้าเกินตาชนชาติจีนไปได้
การแพทย์จีน
ถือเป็นศาสตร์อีกชนิดหนึ่งที่มีความเป็นเอกลักษณ์และประวัติอันยาวนานมีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องของจีน เนื่องจากคนจีน แพทย์แผนโบราณของจีนกำเนิดขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำเหลืองของจีน หลังจากนั้นชาวจีนก็ทำการศึกษาเกี่ยวกับการแพทย์อย่างจริงจังจนให้เกิดหมอจีน พร้อมตำรับตำราเกี่ยวกับทางการแพทย์เกิดขึ้นมากมาย มีการบันทึกความรู้ทางการแพทย์นอกจากในตำราแล้วยังมีการค้นพบบันทึกบนหลังเต่าเกี่ยวกับการแพทย์การรักษาโรคกว่า 10 ชนิดเลยทีเดียว ตำราเกี่ยวกับทางการแพทย์ของจีนที่มีอายุเก่าแกที่สุดคือตำรา “หวาง ติ้ เน่ย จิง” เป็นตำราทางการแพทย์ที่เก่าแกที่สุดของจีนที่ยังคงหลงเหลือตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ตำราเล่มนี้เขียนขึ้นในช่วงราชวงศ์ฉิน-ราชวงศ์ฮั่น ในสมัยราชวงศ์ฮั่นนั้นวิทยาการทางการแพทย์ของจีนถือว่าก้าวหน้าและล้ำสมัยที่สุในโลกก็ว่าได้มีการคิดค้นยาสลบเพื่อใช้ในการผ่าตัด
จนกระทั่งในช่วงรัชสมัยของราชวงศ์ซ่ง ในราวปี ค.ศ. 960-1279 แพทย์แผนตะวันตกได้แพร่ขยายเข้าสู่จีน ทำให้เกิดการผสมผสานกันระหว่างแพทย์แผนจีนกับวิชาการแพทย์ตามแบบฉบับชาวตะวันตก
การฝังเข็ม
เป็นศาสตร์อีกแขนงหนึ่งในทางการแพทย์ของจีน การฝังเข็มถือเป็นเอกลักษณ์และเป็นศาสตร์เฉพาะของจี ในช่วงเริ่มแรกของการรักษาด้วยการฝังเข็มนั้นวิธีการฝังเข็มเป็นเพียงวิธีการอย่างหนึ่งในการรักษาโรคของคนจีน จนต่อมาการฝังเข็มได้รับความนิยมจนแพร่หลายมากขึ้นจนกลายมาเป็นอีกสาขาหนึ่งในการรักษาของแพทย์แผนจีน สาขาวิชาฝังเข็มเป็นศาสตร์ที่รวบรวมเอาวิธีการฝังเข็ม เทคนิค และทฤษฎีพื้นฐานโดยอาศัยจุดต่างๆบนร่างกาย การฝังเข็มของจีนมีประวัติที่สืบทอดกันมายาวนานปรากฏหลักฐาน ในหนังสือทางการแพทย์โบราณของจีนที่กล่าวถึงเข็มที่ทำมาจากหิน โดยเข็มหินที่ใช้รักษาโรคชนิดนี้มีใช้กันในราว 4,0000-8,000 ปี ที่ผ่านมาแล้วในช่วงยุคหินใหม่
จนกระทั่งในช่วง 476-25 ปี ก่อนคริสตกาล เทคโนโลยีในการหลอมเหล็กพัฒนาก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก จนทำให้มีการพัฒนามาใช้เข็มที่สร้างจากโลหะเพื่อใช้รักษาโรคแทน ทำให้วิชาการแพทย์โดยการฝังเข็มได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงปี ค.ศ. 256-589 มีการเขียนตำราเกี่ยวกับการฝังเข็มออกมามากมาย และในสมัยนี้เองที่วิชาการฝังเข็มของจีนได้แผ่ขยายออกไปสู่ความรับรู้ของชนชาติอื่นอย่างเกาหลี และญี่ปุ่น จนกระทั่งในช่วง ศตวรรษที่ 16 การฝังเข็มก็ได้แพร่ความนิยมเข้าสู่แผ่นดินยุโรป การฝังเข็มนอกจากยังไม่ได้ถูกหลงลืมไปตามกาลเวลาในทางกลับกันกลับเป็นที่นิยมสนใจค้นคว้าอย่างมากในปัจจุบัน นับเป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่เกิดขึ้นในยุคสมัยที่มนุษย์ยังไม่ค่อยจะประสีประสากับเทคโนโลยีมากนักแต่ศาสตร์แขนงนี้ที่เกิดขึ้นภายใต้ดินแดนของอาณาจักรจีนโบราณ กลับรุ่งโรจน์ขึ้นอย่างคาดไม่ถึงเพราะคุณประโยชน์ที่ซ่อมอยู่อย่างอเนกอนันต์นั้นเอง
เมื่อพูดถึงประเทศจีนแล้วนอกจาก ความที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล จำนวนประชากรที่มีจำนวนมาก หากย้อนมองกลับไปในอดีตดินแดนแหล่งนี้เป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญเป็นแหล่งรวมของศิลปะวิทยาที่เคยรุ่งเรื่องมาก่อนในอดีต องค์ความรู้ต่างๆมากมายหลายสาขาที่เกิดจากจีน จนอาจจะกล่าวได้ว่า เทคโนโลยี หรือความรู้มากมายต่างเกิดจากผืนแผ่นแห่งนี้ชุกเสียยิ่งกว่าที่ใดในโลกเป็นเรื่องที่น่าตื่นตาตื่นใจไม่น้อย ที่หลายสิ่งหลายอย่างที่ถูกคิดถูกสร้างขึ้นมาจากชาวจีนได้ถูกพัฒนาเป็นองค์ความรู้ที่ต่อเนื่องยาวนาน จนมนุษย์เรายังคงใช้ประโยชน์จากมันมาจนถึงยุคปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น กระดาษ การเดินเรือ ดินปืน และอื่นๆอีกมากมาย นี้ยังไม่รวมถึง วัฒนธรรมความเป็นอยู่วิถีชีวิต ที่มีความเป็นเอกลักษณ์
หากมองถึงจุดเริ่มต้นหรือแนวคิดของสิ่งประดิษฐ์ต่างๆอันเป็นพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ยุคนี้ต้องถือว่าไม่มีชนชาติใดเกินหน้าเกินตาชนชาติจีนไปได้
การแพทย์จีน
![]() |
http://thai.cri.cn/mmsource/images/2012/07/30/2b477ace5abc4e0d9a2ff2ba97114d39.jpg |
ถือเป็นศาสตร์อีกชนิดหนึ่งที่มีความเป็นเอกลักษณ์และประวัติอันยาวนานมีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องของจีน เนื่องจากคนจีน แพทย์แผนโบราณของจีนกำเนิดขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำเหลืองของจีน หลังจากนั้นชาวจีนก็ทำการศึกษาเกี่ยวกับการแพทย์อย่างจริงจังจนให้เกิดหมอจีน พร้อมตำรับตำราเกี่ยวกับทางการแพทย์เกิดขึ้นมากมาย มีการบันทึกความรู้ทางการแพทย์นอกจากในตำราแล้วยังมีการค้นพบบันทึกบนหลังเต่าเกี่ยวกับการแพทย์การรักษาโรคกว่า 10 ชนิดเลยทีเดียว ตำราเกี่ยวกับทางการแพทย์ของจีนที่มีอายุเก่าแกที่สุดคือตำรา “หวาง ติ้ เน่ย จิง” เป็นตำราทางการแพทย์ที่เก่าแกที่สุดของจีนที่ยังคงหลงเหลือตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ตำราเล่มนี้เขียนขึ้นในช่วงราชวงศ์ฉิน-ราชวงศ์ฮั่น ในสมัยราชวงศ์ฮั่นนั้นวิทยาการทางการแพทย์ของจีนถือว่าก้าวหน้าและล้ำสมัยที่สุในโลกก็ว่าได้มีการคิดค้นยาสลบเพื่อใช้ในการผ่าตัด
จนกระทั่งในช่วงรัชสมัยของราชวงศ์ซ่ง ในราวปี ค.ศ. 960-1279 แพทย์แผนตะวันตกได้แพร่ขยายเข้าสู่จีน ทำให้เกิดการผสมผสานกันระหว่างแพทย์แผนจีนกับวิชาการแพทย์ตามแบบฉบับชาวตะวันตก
การฝังเข็ม
![]() |
http://www.vcharkarn.com/uploads/143/143277.jpg |
จนกระทั่งในช่วง 476-25 ปี ก่อนคริสตกาล เทคโนโลยีในการหลอมเหล็กพัฒนาก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก จนทำให้มีการพัฒนามาใช้เข็มที่สร้างจากโลหะเพื่อใช้รักษาโรคแทน ทำให้วิชาการแพทย์โดยการฝังเข็มได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงปี ค.ศ. 256-589 มีการเขียนตำราเกี่ยวกับการฝังเข็มออกมามากมาย และในสมัยนี้เองที่วิชาการฝังเข็มของจีนได้แผ่ขยายออกไปสู่ความรับรู้ของชนชาติอื่นอย่างเกาหลี และญี่ปุ่น จนกระทั่งในช่วง ศตวรรษที่ 16 การฝังเข็มก็ได้แพร่ความนิยมเข้าสู่แผ่นดินยุโรป การฝังเข็มนอกจากยังไม่ได้ถูกหลงลืมไปตามกาลเวลาในทางกลับกันกลับเป็นที่นิยมสนใจค้นคว้าอย่างมากในปัจจุบัน นับเป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่เกิดขึ้นในยุคสมัยที่มนุษย์ยังไม่ค่อยจะประสีประสากับเทคโนโลยีมากนักแต่ศาสตร์แขนงนี้ที่เกิดขึ้นภายใต้ดินแดนของอาณาจักรจีนโบราณ กลับรุ่งโรจน์ขึ้นอย่างคาดไม่ถึงเพราะคุณประโยชน์ที่ซ่อมอยู่อย่างอเนกอนันต์นั้นเอง
การต่อเรือและการเดินเรือ
จีนนับเป็นผู้บุกเบิกทางด้านนี้เช่นกัน จีนมีการสร้างเรือใช้มานานนับศตวรรษ เรือสำเภาจีนเป็นเรือชนิดแรกๆที่สามารถแล่นฝ่าความคลื่นลมอันแปรปรวนของมหาสมุทรได้ ยิ่งการคมนานคมในสมัยอดีตต้องพึ่งพาทางน้ำเป็นหลัก การที่จีนมีเรือท่องไปไหนมาไหนได้นั้นทำให้เกิดการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าจากแหล่งหนึ่งกับอีกแหล่งหนึ่ง และสามารถทำให้ได้เห็นวิถีชีวิตของชุมชนต่างๆมากมายในหลายภูมิภาค แม้แต่ประวัติศาสตร์ชาติไทยเองก็ยังต้องอาศัยข้อมูลบางอย่างจากบันทึกของนักเดินเรือจีนในสมัยโบราณ การเดินเรือของจีนก็รุดหน้ากว่าชนชาติใดในสมัยนั้น นักเดินเรือที่มีชื่อเสียงที่สุดของจีนก็คงหนีไม่พ้นนักเดินเรือชื่ออกระฉ่อนอย่างเจิ้งเหอ ตามตำนานบันทึกถึงความเก่งกาจขอแงนักเดินเรือผู้นี้ว่าเขาสามารถเดินทางไก้ได้ใกล้ถึงทวีปแอฟริกา ใช้เวลาท่องทะเลอยู่ราว 28 ปี
ดาราศาสตร์และเข็มทิศ
การเดินเรือจำเป็นต้องอาศัยแผ่นที่และเข็มทิศ บอกทิศทางในการเดินเรือในมหาสมุทรที่อ้างว้าง ดังนั้นทำให้ศาสตร์แขนงนี้ถูกพัฒนาควบคุมกันมากับการเดินเรือของจีน ชนชาวจีนศึกษาดาราศาสตร์โดยเน้นไปที่ การคำนวณหาพิกัดดาวจากเส้นศูนย์สูตรซึ่งแตกต่างกับการศึกษาดาราศาสตร์ของชนชาวตะวันตกในสมัยนั้นที่มุ่งเน้น ไปที่ระบบจักราศีแทน แต่จีนกลับมุ่งศึกษาถึงการโคจรของดาวแต่ละดวงไม่ว่าจะเป็น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ จีนมีการบันทึกถึงเหตุการณ์ทางธรรมชาติที่เกี่ยวกับดวงดาว หรือระบบสุริยจักรวาลไว้มากมายไม่ว่าจะเป็น การเกิดสุริยุปราคา จันทรยุปราคา หรือว่ามีการทำแผ่นที่ดาว
ส่วนเข็มทิศนั้นถือเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในยุคอดีต ที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่ง คนจีนสมัยโบราณ คนจีนใช้เข็มแม่เหล็กเพื่อใช้ประโยชน์ในการบอกทิศ และเพื่อใช้ในการสงคราม รวมทั้งการเดินเรือด้วย มีหลักฐาน เกี่ยวกับการใช้เข็มทิศของคนจีนว่า ชาวจีน มีเข็มทิศแบบหน้าปัดกลมใช้กันมาตั้งแต่ราว ศตวรรษที่ 12 การเดินเรือที่ประสบความสำเร็จของเจิงเหอส่วนสำคัญก็คือเขาสามารถกำหนดทิศทางการเดินเรือของเขาจากเข็มทิศนี้เอง สามารถทำให้เขาเดินทางไปไกลได้ถึงทวีปแอฟริกา ซึ่งเขาใช้เวลาท่องทะเลทั้งหมดอยู่ราว 28 ปี ถือเป็นนักเดินเรือผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลก
ดินปืน ถือเป็นศาสตร์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่กำเนิดขึ้นในแผ่นดินของจีน ถูกจัดให้เป็น 1 ใน 4 สิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญของจีนรวมกับ เข็มทิศ กระดาษ และการพิมพ์ ตามความเชื่อของชาวจีนโบราณเชื่อกันว่า ในป่าลึกทางภาคตะวันตกของจีนมีผีร้ายน่ากลัวชื่อว่าซันเซา การไล่ผีได้ต้องทำให้เกิดเสียงโดยในระยะแรกชาวจีนก่อกองไฟแล้วโยนปล้องไม้ไผ่ลงไป จนประทุเกิดเป็นเสียง เชื่อกันว่าเป็นการไล่ ผีร้ายที่น่าหวาดกลัวนั้น จนต่อมาภายหลังมีการประดิษฐ์ ประทัดขึ้นโดยการนำดินประสิวมาห่อรวมกับกำมะถัน มาจุดเป็นประทัด แหละนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตดินปืนของจีน ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญคือ ดินประสิว กำมะถันและผงถ่าน ดินปืนในช่วงแรกถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการสงคราม
กระดาษและการพิมพ์
กระดาษเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวจีนโบราณ ทำให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้กันได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าสามารถประดิษฐ์กระดาษที่มีคุณภาพขึ้นมาใช้ได้คนแรกคือ ไซหลุ่น ข้าราชสำนักชาวจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่น (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิวัฒนาการกระดาษได้ที่นี้ http://www.vcharkarn.com/varticle/38532 )
สำหรับเทคนิคการพิมพ์นั้นก็เป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่ได้รับการยกย่องว่าเกิดขึ้นจากภูมิปัญญาจีน และเป็น 1 ใน 4 สิ่งประดิษฐ์ที่ทรงคุณค่าของจีน ในการคัดลอกตำราช่วงแรกชาวจีนทำด้วยการคัดลอกด้วยมือ จนกระทั่งพัฒนากลายมาเป็นการพิมพ์ที่สามารถผลิตหนังสือออกมาได้คราวละหลายๆเล่ม โดยเครื่องพิมพ์แบบเรียงพิมพ์ของจีนในระยะแรกใช้ แผ่นดินเหนียวเผาแกะเป็นตัวพิมพ์ ซึ่งสามารถทำให้ผลิตหนังสือออกมาได้ในคราวละเป็นจำนวนมาก และไม่ก่อให้เกิดการผิดเพี้ยนของเนื้อหา เช่นเดียวกับการคัดลอก ด้วยมือ
นอกจากนี้ยังมีสิ่งประดิษฐ์อีกมากที่เกิดจากแผ่นดินแห่งนี้ เช่นเครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในราวปี ค.ศ. 132 โดย จางเหอ เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนชนิดนี้สร้างขึ้นด้วยทองเหลืองมีรูปร่างคล้ายไข่ มีแท่งวัดความสั่นสะเทือนอยู่ตรงกลางทั้ง 8 ทิศมีมังกรคาบลูกแก้วเอาไว้ เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ทางทิศใดลูกแก้วจากปากมังกรก็จะตกลง
ในปี ค.ศ. 138 จางเหอได้นำเครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนดังกล่าวไปตั้งไว้ที่เมืองหลั่วหยาง และแล้ววันหนึ่งมังกรก็คายแก้วทางทิศตะวันตกออกมา ซึ่งแสดงว่าทางทิศตะวันตกของเมืองหลั่วหยางน่าจะมีเหตุแผ่นดินไหวเกิดขึ้น แต่ในคราวนั้นผู้คนในเมืองหลั่วหยางต่างไม่สามารถรับรู้ถึงแรงกระเพื่อมของพสุธาได้ก็พากันไม่เชื่อถือเครื่องมือดังกล่าวของ จางเหอ แต่ต่อมาภายหลังปรากฏว่ามีรายงานว่าในเมือง หลงซีที่ตั้งอยู่ในทิศตะวันตกของเมืองหลั่วอย่างเกิดแผ่นดินไหวขึ้นจริงๆในวันเวลาที่มังกรคลายลูกแก้ว ทำให้สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ได้รับการยอมรับจากคนทั่วไป ปัจจุบัน เครื่องวัดความสั่นสะเทือนของจางเหอถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ เมืองเจิ้งโจว เครื่องมือชนิดกลายเป็นต้นแบบของเครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนที่เกิดจากแผ่นดินไหว ที่ใช้ในปัจจุบัน
เหล่านี้ล้วนเป็นภูมิปัญญาของชาวจีนในยุคเก่า ที่สร้างให้เกิดประโยชน์กับสังคมโลกมากมาย แม้จะผ่านมานานนับพันๆ ปีแต่สิ่งหนึ่งที่สะท้อนออกมาพร้อมกับภูมิปัญญาของชาวจีนอันผ่านยุคสมัยมาเนิ่นคือความรู้ไม่มีวันล้าสมัยแหล่งข้อมูล1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน โดย จรวย บุญยุบล
2. ย้อนรอยการแพทย์จีน โดย อดุลย์ รัตนมั่นเกษม
3. http://www.thaigoodview.com
![]() |
http://www.vcharkarn.com/uploads/143/143278.jpg |
ดาราศาสตร์และเข็มทิศ
![]() |
http://www.fengshuicorner.com/images/compass1.jpg |
การเดินเรือจำเป็นต้องอาศัยแผ่นที่และเข็มทิศ บอกทิศทางในการเดินเรือในมหาสมุทรที่อ้างว้าง ดังนั้นทำให้ศาสตร์แขนงนี้ถูกพัฒนาควบคุมกันมากับการเดินเรือของจีน ชนชาวจีนศึกษาดาราศาสตร์โดยเน้นไปที่ การคำนวณหาพิกัดดาวจากเส้นศูนย์สูตรซึ่งแตกต่างกับการศึกษาดาราศาสตร์ของชนชาวตะวันตกในสมัยนั้นที่มุ่งเน้น ไปที่ระบบจักราศีแทน แต่จีนกลับมุ่งศึกษาถึงการโคจรของดาวแต่ละดวงไม่ว่าจะเป็น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ จีนมีการบันทึกถึงเหตุการณ์ทางธรรมชาติที่เกี่ยวกับดวงดาว หรือระบบสุริยจักรวาลไว้มากมายไม่ว่าจะเป็น การเกิดสุริยุปราคา จันทรยุปราคา หรือว่ามีการทำแผ่นที่ดาว
ส่วนเข็มทิศนั้นถือเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในยุคอดีต ที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่ง คนจีนสมัยโบราณ คนจีนใช้เข็มแม่เหล็กเพื่อใช้ประโยชน์ในการบอกทิศ และเพื่อใช้ในการสงคราม รวมทั้งการเดินเรือด้วย มีหลักฐาน เกี่ยวกับการใช้เข็มทิศของคนจีนว่า ชาวจีน มีเข็มทิศแบบหน้าปัดกลมใช้กันมาตั้งแต่ราว ศตวรรษที่ 12 การเดินเรือที่ประสบความสำเร็จของเจิงเหอส่วนสำคัญก็คือเขาสามารถกำหนดทิศทางการเดินเรือของเขาจากเข็มทิศนี้เอง สามารถทำให้เขาเดินทางไปไกลได้ถึงทวีปแอฟริกา ซึ่งเขาใช้เวลาท่องทะเลทั้งหมดอยู่ราว 28 ปี ถือเป็นนักเดินเรือผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลก
ดินปืน ถือเป็นศาสตร์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่กำเนิดขึ้นในแผ่นดินของจีน ถูกจัดให้เป็น 1 ใน 4 สิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญของจีนรวมกับ เข็มทิศ กระดาษ และการพิมพ์ ตามความเชื่อของชาวจีนโบราณเชื่อกันว่า ในป่าลึกทางภาคตะวันตกของจีนมีผีร้ายน่ากลัวชื่อว่าซันเซา การไล่ผีได้ต้องทำให้เกิดเสียงโดยในระยะแรกชาวจีนก่อกองไฟแล้วโยนปล้องไม้ไผ่ลงไป จนประทุเกิดเป็นเสียง เชื่อกันว่าเป็นการไล่ ผีร้ายที่น่าหวาดกลัวนั้น จนต่อมาภายหลังมีการประดิษฐ์ ประทัดขึ้นโดยการนำดินประสิวมาห่อรวมกับกำมะถัน มาจุดเป็นประทัด แหละนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตดินปืนของจีน ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญคือ ดินประสิว กำมะถันและผงถ่าน ดินปืนในช่วงแรกถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการสงคราม
กระดาษและการพิมพ์
![]() |
http://www.trueplookpanya.com/data/product/uploads/other1/554000001426105.jpg |
สำหรับเทคนิคการพิมพ์นั้นก็เป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่ได้รับการยกย่องว่าเกิดขึ้นจากภูมิปัญญาจีน และเป็น 1 ใน 4 สิ่งประดิษฐ์ที่ทรงคุณค่าของจีน ในการคัดลอกตำราช่วงแรกชาวจีนทำด้วยการคัดลอกด้วยมือ จนกระทั่งพัฒนากลายมาเป็นการพิมพ์ที่สามารถผลิตหนังสือออกมาได้คราวละหลายๆเล่ม โดยเครื่องพิมพ์แบบเรียงพิมพ์ของจีนในระยะแรกใช้ แผ่นดินเหนียวเผาแกะเป็นตัวพิมพ์ ซึ่งสามารถทำให้ผลิตหนังสือออกมาได้ในคราวละเป็นจำนวนมาก และไม่ก่อให้เกิดการผิดเพี้ยนของเนื้อหา เช่นเดียวกับการคัดลอก ด้วยมือ
นอกจากนี้ยังมีสิ่งประดิษฐ์อีกมากที่เกิดจากแผ่นดินแห่งนี้ เช่นเครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในราวปี ค.ศ. 132 โดย จางเหอ เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนชนิดนี้สร้างขึ้นด้วยทองเหลืองมีรูปร่างคล้ายไข่ มีแท่งวัดความสั่นสะเทือนอยู่ตรงกลางทั้ง 8 ทิศมีมังกรคาบลูกแก้วเอาไว้ เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ทางทิศใดลูกแก้วจากปากมังกรก็จะตกลง
ในปี ค.ศ. 138 จางเหอได้นำเครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนดังกล่าวไปตั้งไว้ที่เมืองหลั่วหยาง และแล้ววันหนึ่งมังกรก็คายแก้วทางทิศตะวันตกออกมา ซึ่งแสดงว่าทางทิศตะวันตกของเมืองหลั่วหยางน่าจะมีเหตุแผ่นดินไหวเกิดขึ้น แต่ในคราวนั้นผู้คนในเมืองหลั่วหยางต่างไม่สามารถรับรู้ถึงแรงกระเพื่อมของพสุธาได้ก็พากันไม่เชื่อถือเครื่องมือดังกล่าวของ จางเหอ แต่ต่อมาภายหลังปรากฏว่ามีรายงานว่าในเมือง หลงซีที่ตั้งอยู่ในทิศตะวันตกของเมืองหลั่วอย่างเกิดแผ่นดินไหวขึ้นจริงๆในวันเวลาที่มังกรคลายลูกแก้ว ทำให้สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ได้รับการยอมรับจากคนทั่วไป ปัจจุบัน เครื่องวัดความสั่นสะเทือนของจางเหอถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ เมืองเจิ้งโจว เครื่องมือชนิดกลายเป็นต้นแบบของเครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนที่เกิดจากแผ่นดินไหว ที่ใช้ในปัจจุบัน
เหล่านี้ล้วนเป็นภูมิปัญญาของชาวจีนในยุคเก่า ที่สร้างให้เกิดประโยชน์กับสังคมโลกมากมาย แม้จะผ่านมานานนับพันๆ ปีแต่สิ่งหนึ่งที่สะท้อนออกมาพร้อมกับภูมิปัญญาของชาวจีนอันผ่านยุคสมัยมาเนิ่นคือความรู้ไม่มีวันล้าสมัยแหล่งข้อมูล1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน โดย จรวย บุญยุบล
2. ย้อนรอยการแพทย์จีน โดย อดุลย์ รัตนมั่นเกษม
3. http://www.thaigoodview.com