Featured post

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : สัตว์หน้าดิน

สัตว์หน้าดิน

           สัตว์หน้าดินเป็นสัตว์ที่อาศัยและหากินตามพื้นผิวหน้าดิน หรือดำรงชีวิตอยู่บริเวณพื้นท้องน้ำ และรวมถึง สัตว์กลุ่มที่เกาะหรืออาศัยอยู่ตามกองหิน โขดหิน ขอนไม้ในน้ำ หรือแม้แต่พืชน้ำที่พบได้ในระบบนิเวศแหล่งน้ำ 
http://www3.assumption.ac.th/articles/water/water_files/image003.jpg
          สัตว์หน้าดินบางชนิดมีช่วงชีวิตทั้งหมดอยู่ในน้ำ เช่น ไส้เดือนน้ำ บางชนิดเจริญเติบโตอยู่ในน้ำเพียงบางช่วง อายุ เช่น ตัวอ่อนแมลงปอ ตัวอ่อนแมลงปอเข็ม ตัวอ่อนแมลงชีปะขาว หนอนแมลงวันแมงมุม เป็นต้น สัตว์หน้าดินบางชนิดมีการใช้วัสดุต่าง ๆ สร้างเกราะปกป้องตัวอ่อน เช่น ปลอก (cases) ท่อ (tubes) หรือรัง (nets) เช่น ตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำ ในขณะที่บางชนิดจะฝังตัวอย่างอิสระในตะกอนดิน เช่น ไส้เดือน ปลอกแดง 

          
สัตว์หน้าดินเป็นผู้บริโภคอันดับแรก ๆ ของโซ่อาหารและเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์น้ำขนาดใหญ่อื่น ๆ เนื่องจากพวกมันให้คุณค่าทางโภชนาการสูงทั้งโปรตีน ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุ ซึ่งสัตว์หน้าดินบางชนิด เช่น หนอนริ้นน้ำจืดแดงมีส่วนช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศ โดยเป็นผู้บริโภคเศษซากพืชซากสัตว์ ในแหล่งน้ำเป็นอาหาร

        
  สัตว์หน้าดินเป็นดัชนีตัวชี้วัดคุณภาพน้ำทางด้านชีวภาพ (Biological indicators) ได้เนื่องจากมีวงจร ชีวิตอยู่ในแหล่งน้ำ ทำให้สามารถติดตามตรวจวัดคุณภาพน้ำจากสัตว์หน้าดินได้อย่างต่อเนื่อง สัตว์หน้าดินแต่ละชนิดมีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมได้แตกต่างกัน บางชนิดต้องอาศัยอยู่ในน้ำสะอาด ในขณะที่บางชนิดสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในน้ำที่เน่าเสียมากๆ ซึ่งความหลากหลายของชนิดและปริมาณของสัตว์หน้าดินที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันนี้สามารถเป็นตัวดัชนีบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำและคุณภาพน้ำได้ หากแหล่งน้ำใดมีชนิดและปริมาณสัตว์หน้าดินมากย่อมมีผลผลิตสัตว์น้ำสูง พบว่า ประเทศในเขตร้อนจะมีชนิดและปริมาณสัตว์หน้าดินที่สูงกว่าประเทศในเขตอบอุ่น เนื่องจากมีอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสัตว์หน้าดินได้ตลอดทั้งปี

          แต่การนำสัตว์หน้าดินมาเป็นดัชนีวัดคุณภาพน้ำก็มีข้อจำกัด คือ สัตว์หน้าดินไม่สามารถตอบสนองต่อ สภาพมลพิษได้ทุกชนิด เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วสัตว์หน้าดินจะไวต่อการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ นอกจากนี้ชนิดการแพร่กระจายและความชุกชุมของสัตว์หน้าดิน ในแหล่งน้ำต่างๆ นั้นมิได้ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม อื่นๆ เช่น ลักษณะของแหล่งที่อยู่อาศํยของสัตว์หน้าดินแต่ละชนิด ความเร็วและความแรงของกระแสน้ำ การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ระดับความลึกของแหล่งน้ำ เป็นต้น

          ตัวอย่างสัตว์หน้าดินที่สามารถนำมาใช้เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำทางด้านชีวภาพ เช่น ตัวออนชีปะขาวหัวเหลี่ยม ซึ่งสามารถพบได้ในแหล่งน้ำที่มีความสะอาดสูงมากและมีปริมาณออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำสูง จะสังเกตได้ว่าในแหล่งน้ำมีความสะอาด จะพบว่ามีสัตว์หน้าดินจำพวกตัวอ่อน แมลงชนิดต่างๆ อาศัยอยู่ เช่น ตัวอ่อนชีปะขาวตัวแบน ตัวอ่อนชีปะขาวว่ายน้ำ ตัวอ่อนชีปะขาวเหงือกกระโปรง ตัวอ่อนชีปะขาวขุดรู ตัวอ่อนชีปะขาวเหงือกบนหลัง ส่วนในแหล่งน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนน้อย น้ำเน่าเสียหรือมีความสกปรกจะพบสัตว์หน้าดินชนิดอื่น ๆ เช่น หนอนริ้นน้ำจืดแดง เป็นต้น

ที่มาจาก : www.vcharkarn.com

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี

กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์

แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1