Featured post

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : ประเภทของการเห่เรือ

ประเภทของการเห่เรือ


          ประเภทของการเห่เรือ โดย นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบลูย์หวังเจริญ 
แก้ไขอ่านเขียนไทยไม่ออก เรียนพิเศษภาษาไทย เรียนอ่านเขียนไทยประถม เรียนพิเศษส่วนตัวภาษาไทย หาที่เรียนภาษาไทย ครูสอนพิเศษภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทย  สอนอ่านภาษาไทย  สอนภาษาไทยเด็ก  สอนภาษาไทย  สอนพิเศษภาษาไทย  เรียนอ่านภาษาไทย  เรียนพิเศษสังคม  เรียนพิเศษภาษาไทย  เรียนพิเศษ ไทย สังคม   รับสอนพิเศษภาษาไทย  ติวภาษาไทย  ครูสอนภาษาไทย  ครูสอนพิเศษภาษาไทย ติวโอเน็ตสังคม ครูเดช O-NETสังคม  ติวO-NETสังคมฟรี หาวิทยากรติวโอเน็ต
          การเห่เรือของไทยสามารถจำแนกตามลักษณะความแตกต่างได้  ๒  ประเภท   คือเห่เรือหลวง และเห่เรือเล่น

          เห่เรือหลวง 

          คือ  การเห่เรือเนื่องในการพระราชพิธีที่มีการจัดกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค  ทั้งอย่างใหญ่และอย่างน้อย   เพื่อให้ริ้วกระบวนเรือที่จัดขึ้นเป็นพระราช-พาหนะในการเสด็จพระราชดำเนิน  มีความพร้อมเพรียงเป็นระเบียบเรียบร้อย  และสง่างาม โดยใช้บทเห่แต่ละลักษณะเป็นสัญญาณและกำกับจังหวะการพายให้พร้อมเพรียงกัน

          สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ   ทรงสันนิษฐานว่า  การเห่เรือหลวงน่าจะได้ต้นเค้าจากประเทศอินเดีย  โดยพราหมณ์เป็นผู้นำบทมนตร์ในตำราไสยศาสตร์ซึ่งแต่เดิมคงเป็นภาษาสันสกฤต  เข้ามาเผยแพร่  ต่อมาก็เลือนกลายไป  แต่ยังคงเรียกในตำราว่า “สวะเห่”  “ช้าละวะเห่”  และ “มูลเห่” 

          เห่เรือเล่น 
           ตามความหมายเดิม คือ การเห่เรือแบบไม่เป็นพิธีการของบุคคลทั่วไปเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง  และกำกับจังหวะในการพายเรือให้พร้อมเพรียงกัน  การพายเรือเล่นของชาวบ้านนั้นมีจังหวะการพายเพียง  ๒  อย่างเท่านั้น  คือ  พายจังหวะปกติ  และพายจังหวะจ้ำ  จึงทำให้การเห่แตกต่างกันไปตามจังหวะการพายด้วย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวถึงบทเห่เรือเล่นที่ใช้ในการพายจ้ำว่า “ตามที่สังเกตมาดูเหมือนไม่มีต้นบท บทอันใดฝีพายขึ้นใจก็เอามาใช้ร้องพร้อมๆ กัน เช่น  “หุย ฮา โห่ ฮิ้ว”  “มาละเหวยมาละวา”  “สาระพา เฮโล”  ส่วนบทเห่สำหรับพายปกติ นั้นใช้บทกลอน  มีต้นบทขึ้นก่อน แล้วฝีพายรับต่อไป สันนิษฐานว่าอาจเป็นบทกลอนจากวรรณกรรมที่จำกันได้ขึ้นใจ หรืออาจว่าเป็นกลอนสดเช่นเดียวกับการเล่นเพลงเรือ หรือกลอนดอกสร้อยสักวาก็เป็นได้”

          นอกจากนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านการเห่เรือทั้งของกองทัพเรือและกรมศิลปากรยังได้กล่าวถึงการเห่เรือเล่นว่าเป็นการเห่แบบไม่เป็นพิธีการในงานต่างๆ  ดังนี้

          พันจ่าเอก เขียว ศุขภูมิ กล่าวว่า เป็นการเห่ให้เห็นกระบวนเรือครบเต็มพิธีเพื่อให้ประชาชนชม บางครั้งอาจแทรกทำนองเพลงไทยลงไปเพื่อให้เกิดความครึกครื้น”

          ครูแจ้ง   คล้ายสีทอง    ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์)   ประจำ  พ.ศ. ๒๕๓๘ กล่าวถึงการเห่เรือเล่นว่า เป็นการเห่แบบของกรมศิลปากร  เพื่อ ประกอบการร่ายรำ   หรือเล่นละครตอนที่เกี่ยวกับการเห่เรือ” 

          กล่าวโดยสรุป  การเห่เรือเล่นนอกจาก จะเป็นการร้องเพื่อประกอบการพายเรือเล่นให้สนุกสนานแล้ว ยังหมายรวมถึงการนำ แบบอย่างของการเห่เรือหลวงมาปรับปรุงเพื่อการสาธิต  หรือใช้ประกอบการแสดงก็ได้ด้วย  ดังปรากฏ หลักฐาน คือ

          ๑. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์    ทรงประดิษฐ์ ดัดแปลงทำนองเห่เรือหลวงให้เข้ากับท่ารำ ของตัวละคร  แล้วนำมาใช้ประกอบการแสดง ละครดึกดำบรรพ์  เรียกว่า“เห่เรือดึกดำบรรพ์”  กรมศิลปากรได้บันทึกเสียงครูประเวช กุมุท  ผู้เป็นต้นเสียง เก็บรักษาไว้เป็นตัวอย่าง

          ๒.  พนักงานเห่เรือพระราชพิธีของกองทัพเรือ  ประดิษฐ์เพิ่มเติมขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการเห่แบบกองทัพเรือ โดยใช้ทำนองเห่เรือหลวงประสมกับการร้องเพลงต่างๆ  เช่น เพลงเวสสุกรรม  เพลงเต่าเห่  เพลงพม่าเห่  แล้วปรับจังหวะให้เข้ากับการพายเรือเพื่อความสนุกสนาน เรียกว่า “เห่เรือออกเพลงต่างๆ”  สำหรับใช้สาธิตแสดงการเห่เรือและแสดง กระบวนเรือในโอกาสต่างๆ

ขอบคุณที่มา : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 30

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี

กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์

แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1