บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2015

Featured post

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม :ลักษณะของช้างดี

รูปภาพ
ลักษณะของช้างดี โดย นายอำนวย คอวนิช ช้างก็เหมือนมนุษย์ ย่อมมีลักษณะที่มองดูสวยงามหรือไม่สวยงาม http://www.vcharkarn.com ช้างที่มีลักษณะดี  ต้องมีรูปร่างใหญ่โต แข็งแรง ศีรษะโต แก้มเต็ม หน้าผากกว้าง มีดวงตาแจ่มใส มีขาแข็งแรง เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ลักษณะของหลังสูงตรงกลางเล็กน้อยลาดไปทางหางอย่างสม่ำเสมอลักษณะของหลังเช่นนี้ เรียกว่า "แปก้านกล้วย" ถือกันว่าเป็นลักษณะของช้างดีที่สุด เวลายืนศีรษะจะเชิดขึ้นมองดูสง่า ถ้าเป็นช้างงาต้องมีงาใหญ่แข็งแรง และยื่นขนานคู่กันออกมา ไม่บิดหรือถ่างห่างจากกันมากเกินไปลักษณะของชายใบหูควรเรียบไม่ฉีกขาด การสังเกตดูช้างว่ามีสุขภาพดีหรือไม่  มีข้อสังเกตอย่างง่าย ๆ คือ ช้างนั้นจะยืนแกว่งงวงและพับหูไปมาอยู่เสมอ และเดินหาหญ้าหรืออาหารอื่นกินอยู่ตลอดเวลา ที่เล็บเท้าต้องมีเหงื่อซึมออกมาจากโคนเล็บ ซึ่งมองเห็นได้ง่ายจากรอยเปียกของฝุ่นที่เกาะเท้าช้าง ทั้งนี้เนื่องจากช้างไม่มีต่อมเหงื่อที่ผิวหนังเหมือนมนุษย์เรา ฉะนั้น มันจึงใช้โคนเล็บเป็นที่ระบายเหงื่อ หรือระบายความร้อนออกจากร่างกาย เช่นเดียวกับสุนัขที่ใช้วิธีระบายเหงื่อหรือความร้อน โดยวิธีแลบลิ้นห

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม :พระพุทธรูปปางต่างๆ

รูปภาพ
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 29 http://www.bloggang.com/data/travelaround/picture/1209055300.jpg พระพุทธรูปปางต่างๆ โดย ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ดังได้กล่าวแล้วว่า พระพุทธรูปสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า และส่วน หนึ่งเพื่อบอกเล่าถึงพุทธประวัติว่า มีความเป็นมาอย่างไร จึงเป็นมูลเหตุของการสร้าง พระพุทธรูปเพื่อเล่าเรื่องราวในแต่ละตอนขึ้น ความหมายของคำว่า “ปาง” จึงหมายถึง พุทธประวัติตอนใดตอนหนึ่ง ต่างจากคำว่า “มุทรา” ที่หมายถึงการแสดงท่าด้วยพระหัตถ์ ว่า พระพุทธเจ้ากำลังทรงกระทำอะไร ในศิลปะอินเดียรุ่นแรกๆปรากฏการแสดง “มุทรา” ของพระพุทธรูปเพียง ๖ ท่า เท่านั้น ได้แก่ มารวิชัยสมาธิ ปฐมเทศนา ทรงแสดงธรรม (วิตรรกมุทรา) ประทานอภัย และประทานพร การแสดงมุทรานี้ บางครั้งมุทราหนึ่งอาจนำไปใช้ในพุทธประวัติตอนอื่นๆ ด้วย อย่างเช่น ท่าทรงแสดงธรรม มีปรากฏ อยู่ในพุทธประวัติหลายตอน อย่างไรก็ดี ตามความเข้าใจในปัจจุบัน มักรวมเรียกการแสดงมุทราว่า การแสดงปาง ด้วย ส่วนการแสดงปางหรือพุทธประวัตินั้น แรกเริ่มมีเพียง ๔ ปาง ตามสังเวชนียสถาน ทั้ง ๔ แห่ง ได้แก่ ปางประสูติ ปางตรัสรู้ ปางปฐมเทศนา และปางป

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม :ความเชื่อเกี่ยวกับแมวดำ

รูปภาพ
http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201201/18/592698564.jpg คนไทยเชื่อถือกันว่าหากมีแมวดำข้ามโลงศพ ศพนั้นจะเฮี้ยนนัก หรือแม้แต่มันเดินผ่านหน้าก็ถือว่าจะเป็นลางร้าย  ความผูกพันระหว่างคนกับแมวในลักษณะของความเชื่อมีมาแต่โบราณกาลแล้ว เมื่อราว ๓,๐๐๐ ปี ก่อนคริสตกาล แมวทุกตัวในสมัยนั้นรวมทั้งแมวดำจะได้รับการยกย่องมาก มีกฎคุ้มครองไม่ให้ผู้ใดทำร้ายหรือฆ่าแมว หากครอบครัวใดมีแมวตาย คนในครอบครัวนั้นจะเศร้าโศกมาก และสำหรับศพของมันไม่ว่าเจ้าของจะยากดีมีจนเพียงใดก็จะแต่งตัวให้แมวอย่างสวยงาม ใช้ผ้าลินินเนื้อนุ่มห่อศพเอาไว้เหมือนมัมมี่แล้วเก็บในโลงที่ทำจากโลหะมีค่าเช่น บรอนช์ หรือทำด้วยไม้ซึ่งเป็นของที่หายากมากในอียิปต์  เมื่อราว ๒,๐๐๐ ปี ก่อนมีข้อเขียนภาษาสันสกฤตพูดถึงบทบาทของแมวในสังคมอินเดีย ส่วนในจีนเมื่อราว ๕๐๐ ปีก่อนคริสตกาลมีหลักฐานว่าขงจื๊อเลี้ยงแมวตัวโปรดอยู่ตัวหนึ่ง ประมาณ ค.ศ. ๖๐๐ นักพยากรณ์ชื่อ มูฮะมัด ท่องบทสวดพร้อมกับอุ้มแมวไว้ด้วยและในช่วงเดียวกันนี้ชาวญี่ปุ่นก็เริ่มเลี้ยงแมวในสถูปเจดีย์เพื่อรักษาคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ส่วนคนอียิปต์เมื่อเห็นแมวตกจากที่สูง ๆ แล้ว

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : วันเข้าพรรษา...สำคัญอย่างไร

รูปภาพ
"วันเข้าพรรษา "  ซึ่งเป็นวันที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า "จำพรรษา" นั่นเอง ประวัติวันเข้าพรรษา "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เรียกว่า "ปุริมพรรษา" ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกว่า "ปัจฉิมพรรษา" เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวห

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม :หลวงประจักษ์ศิลปาคม นักรบคู่พระราชหฤทัยพระพุทธเจ้าหลวง

รูปภาพ
http://image.free.in.th/z/ie/igpc..jpg พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นพระเจ้าลูกเธอองค์ที่ 25 ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วันประสูติมีผู้นำทองคำก้อนใหญ่ ขุดได้ที่ ต.บางสะพาน ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถือว่า เป็นศุภนิมิตมงคลสำหรับพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้ จึงพระราชทานพระนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทองก้อนทองใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงศึกษาภาษาต่างประเทศกับ แหม่มแอนนา เลียวโนเว็น จนเชี่ยวชาญเขียน และตรัสภาษาอังกฤษได้ดีเยี่ยม ทรงศึกษาวิชาการด้านกฎหมาย จนได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ไปเป็นแม่ทัพใหญ่ด้านมณฑลลาวพวน แถบเมืองหนองคาย ยกทัพขึ้นไปปราบพวกจีนฮ่อ ที่ยกกำลังเข้าปล้นสะดมราษฎรไทยตามแนวชายแดนไทย-ลาว จนประสบความสำเร็จ และสร้าง อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ ณ เมืองหนองคาย เมื่อปี พ.ศ.2429 เพื่อบรรจุอัฐิทหารไทยที่เสียชีวิตเพื่อชาติในครั้งนั้น ช่วงนั้นเอง ฝรั่งเศสฉวยโอกาสเข้ายึดแคว้นสิบสองจุไทย โดยอ้างว่าจะนำกำลังเข้าปราบจีนฮ่อ ทำให้เกิดกรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตระหว่างไทยก

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม :ทำไม..? จึงเรียกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ว่าวันอาสาฬหบูชา

รูปภาพ
วันอาสาฬหบูชา ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๘ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘   นับเป็นวันที่สำคัญในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา คือวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาหรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้ เป็นครั้งแรกแก่เบญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ มฤคทายวัน ตำบลอิสิปตนะ เมืองพาราณสี ในชมพูทวีปสมัยโบราณซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย ด้วยพระพุทธองค์ทรงเปรียบดังผู้ทรงเป็นธรรมราชา ก็ทรงบันลือธรรมเภรียังล้อแห่งธรรมให้หมุนรุดหน้า เริ่มต้นแผ่ขยายอาณาจักรแห่งธรรม นำความร่มเย็นและความสงบสุขมาให้แก่หมู่ประชา ดังนั้น ธรรมเทศนาที่ทรงแสดงครั้งแรกจึงได้ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม หรือพระสูตรแห่งการแผ่ขยายธรรมจักร กล่าวคือดินแดนแห่งธรรม  เมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้วนั้นชมพูทวีปในสมัยโบราณ กำลังย่างเข้าสู่ยุคใหม่แห่งความเจริญก้าวหน้า รุ่งเรืองเฟื่องฟูทุกด้านและมีคนหลายประเภททั้งชนผู้มั่งคั่งร่ำรวย นักบวชที่พัฒนาความเชื่อและ ข้อปฏิบัติทางศาสนา เพื่อให้ผู้ร่ำรวยได้ประกอบพิธกรรมแก่ตนเต็มที่ ผู้เบื่อหน่ายชีวิตที่วนเวียน ในอำนาจและโภคสมบัติที่ออกบวช หรือบางพวกก็แสวงหาคำตอบที่เป็นทางรอ

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม :วันอาสาฬหบูชา และความสำคัญ

รูปภาพ
วันอาสาฬหบูชา  (บาลี: อาสาฬหปูชา; อังกฤษ: Asalha Puja) เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย[1] คำว่า อาสาฬหบูชา ย่อมาจาก "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่สี่ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนมิถุนายนหรือเดือนกรกฎาคม แต่ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็ให้เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 8 หลังแทน สำหรับในปี พ.ศ. 2552 นี้ วันอาสาฬหบูชาจะตรงกับวันอังคารที่ 7 กรกฎาคม ตามปฏิทินสุริยคติ วันอาสาฬหบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 คือวันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรกเป็นปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์[2] การแสดงธรรมครั้งนั้นทำให้พราหมณ์โกณฑัญญะ 1 ใน 5 ปัญจวัคคีย์ เกิดความเลื่อมใสในพระธรรมของพระพุทธเจ้า จนได้ดวงตาเห็นธรรมหรือบรรลุเป

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม :การสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก

รูปภาพ
ยอดพระกัณฑ์ฉบับนี้ ได้มาจากต้นฉบับเดิมที่จารไว้บนใบลานเป็นอักษรขอม ซึ่ง เปิดกรุครั้งแรกที่เมืองสวรรคโลก มีบันทึกเอาไว้ว่าผู้ใดสวดมนต์เป็นประจำทุกเช้าเย็น จะป้องกันภัยอันตรายต่างๆได้รอบด้าน ภาวนาพระคาถาอื่นสัก ๑๐๐ปีก็ไม่เท่ากับอานิสงส์ของการสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกนี้เพียงครั้งเดียว ผู้ใดที่สวดครบ ๗ วัน หรือครบอายุปัจจุบันของตัวเอง จะมีโชคลาภ ทำมาค้าขายรุ่งเรือง ปราศจากภัยพิบัติทั้งปวง ก่อนสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฏก พึงคุกเข่าพนมมือตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย นมัสการพระรัตนตรัย นมัสการพระพุทธเจ้า นมัสการพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ขอให้ตั้งจิตมั่นในบทสวดมนต์จะมีเทพยดาอารักษ์ทั้งหลายร่วมอนุโมทนาสาธุการ อย่าได้ทำเล่นจะเกิดโทษแก่ตัว คำบูชาพระรัตนตรัย โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ นมัสการพระพุทธเจ้า นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโ

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม :มหาตมา คานธี ปูชนียบุคคลแห่งอินเดีย

รูปภาพ
http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2324511 มหาตมา คานธี บิดาแห่งประชาชาติ ของอินเดีย มหาตมา คานธี (อังกฤษ: Mahatma Gandhi)  เป็นผู้นำและนักการเมืองที่มีชื่อเสียงชาวอินเดียและศาสนาฮินดู มีชื่อเต็มว่า โมหันทาส กรรมจันท คานธี (คุชราต: મોહનદાસ કરમચંદ ગાંધી; อังกฤษ: Mohandas Karamchand Gandhi) เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1869 ในแคว้นคุชราตทางทิศตะวันตกของอินเดีย มารดาของคานธี เป็นภรรยาคนที่ 4 ของบิดาของคานธี มหาตมา คานธีใน ค.ศ. 1883 เดือนพฤษภาคม คานธีมีอายุ 13 ปี ได้สมรสกับเด็กหญิงชื่อกัสตูรบา ซึ่งอายุมากกว่าคานธีประมาณ 6 เดือน ซึ่งสาเหตุที่คานธีสมรสเร็วนั้น มาจากประเพณีท้องถิ่นที่นิยมให้เด็กแต่งงานกันเร็วๆ คานธี มีความสุขกับชีวิตคู่มาก คานธีและกัสตูรบามีบุตร-ธิดา รวมกันทั้งสิ้น 5 คน แต่คนหนึ่ง ได้เสียชีวิตลงตั้งแต่ยังเป็นทารกทำให้เหลือ 4 คน ใน ค.ศ. 1888 เป็นปีที่บุตรคนแรก (ไม่นับคนที่เสียชีวิตขณะเป็นทารก) ของคานธีได้ถือกำเนิดขึ้น และเป็นปีที่ทางครองครัว ได้ส่งคานธีไปศึกษาวิชากฎหมายที่อังกฤษ โดยก่อนจะเดินทาง คานธีได้ให้สัญญากับมารดาว่า จะไม่รับประทานเนื้อสัตว์และสุร

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม :ความรู้การเห่เรือ เอกลักษณืไทย

รูปภาพ
http://www.innnews.co.th/images/news/2012/22/415402-01.jpg   ศิลปะการเห่เรือ โดย นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ  เห่เรือ คือ ทำนองหนึ่งของการร้องหรือ ออกเสียงประกอบการให้จังหวะแก่ฝีพายในการพายเรือ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่ง ในการพายเรือพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ช่วยผ่อนแรงในการพายเรือระยะทางไกลๆ ได้อีกด้วย วัตถุประสงค์ของการเห่เรือ การเห่เรือในปัจจุบันมีวัตถุประสงค์ที่เห็นได้อย่างเด่นชัดก็คือ การให้จังหวะแก่ฝีพายจำนวนมากในการพายเรือพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคให้พร้อม- เพรียงเป็นระเบียบเรียบร้อย สง่างาม และ เป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟูมรดกศิลปวัฒนธรรม ของชาติที่เกี่ยวกับพระราชประเพณีดั้งเดิมในการใช้กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เพื่อประกอบพระราชกรณียกิจของพระมหา-กษัตริย์ไทยให้คงอยู่สืบไป การเห่เรือของคนไทยแต่โบราณน่าจะไม่ได้มีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมหรือศาสนาแต่ประการใด หากแต่เป็นไป เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน หรือปลุกเร้าฝีพายให้มีกำลังฮึกเหิม ไม่เหน็ดเหนื่อยง่าย อันจะส่งผลให้เกิดพลังและกำลังใจในการ ยกกระบวนพยุหยาตราเพื่อออกไปทำการ รณรงค์สงครามป้องกันพระ

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม :ที่มาของ "กรุงเทพมหานคร" และ "บางกอก"

รูปภาพ
กรุงเทพมหานคร  มาจากนามพระราชทาน  "กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์"  มีความหมาย  "เมืองของเทวดา มหานครอันเป็นอมตะ สง่างามด้วยแก้ว 9 ประการ และเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน เมืองที่มีพระราชวังหลายแห่ง ดุจเป็นวิมานของเทวดา ซึ่งพระวิษณุกรรมสร้างขึ้นตามบัญชาของพระอินทร์"  ปัจจุบันภาษาราชการเรียก กรุงเทพมหานคร และอย่างย่อว่า กรุงเทพฯ แต่เมื่อแรกสถาปนาราชธานีนั้น ตรงสร้อย  "อมรรัตนโกสินทร์"   พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระราชทานว่า  "บวรรัตนโกสินทร์"  จวบจนถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนเป็น อมรรัตนโกสินทร์ และต่อมามักเรียกกันว่า กรุงรัตนโกสินทร์ ชื่อกรุงเทพมหานครเมื่อถอดเป็นอักษรโรมัน คือ Krung Thep Maha Nakhon แต่ต่างชาติส่วนใหญ่เรียกเมืองนี้ว่า Bangkok อันมาจากอดีตของเมืองซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร ที่ชาวต่างชาติเรียกกันว่า

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม :"บึงกาฬ" จังหวัดที่ 77 ของไทย

รูปภาพ
ครม.ไฟเขียวตั้ง "อ.บึงกาฬ" ขึ้นเป็น "จังหวัดที่ 77" ของไทย โดยแยกตัวออกจาก จ.หนองคาย ประกอบด้วย 8 อำเภอ ชี้มีศักยภาพยกระดับเป็นจังหวัดได้ ระบุมีอีก 3-4 อำเภอจ้องขอแยกตัว อาทิ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่... เมื่อวันที่ 3 ส.ค.2553 นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบในหลักการร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬเป็นจังหวัดที่ 77 ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอมา โดยแยกออกจาก จ.หนองคาย เนื่องจากมีคุณสมบัติครบถ้วนในการเป็นจังหวัดใหม่คือ มี 8 อำเภอประกอบด้วย อ.บึงกาฬ อ.เซกา อ.โซ่พิสัย อ.พรเจริญ อ.ปากคาด อ.บึงโขงหลง อ.ศรีวิไล และ อ.บุ่งคล้า มีประชากรเกือบ 4 แสนคน จากเกณฑ์ 3 แสนคน และจังหวัดมีรายได้ 89 ล้านบาท/ปี จากเกณฑ์รายได้ 2.5 ล้านบาท/ปี มีความพร้อมเรื่องสาธารณูปโภคทั้งศาลากลาง อำเภอ สำนักงานอัยการ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ แขวงการทาง สถานีตำรวจน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่รูปแบบพิเศษติดชายแดนลาว 330 กม. อย่างไรก็ตามแม้จังหวัดบึงกาฬมีพื้นที่ 4,305 ตร.กม. ซึ่งไม่ถึงเกณฑ์ 5,000 ตร.กม. แต่ก็มีข้อยกเว้นให้ เพ

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม :ที่ราชพัสดุ คืออะไร?

รูปภาพ
ราชพัสดุ  หมายถึง อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด เว้นแต่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังต่อไปนี้ (1) ที่ดินรกร้างว่างเปล่าและที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้ง หรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน (2) อสังหาริมทรัพย์สำหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่งทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ ส่วนอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคล และขององค์การปกครองท้องถิ่นไม่ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ ที่ดินราชพัสดุมีมาตั้งแต่เมื่อใด  ความเดิมเรื่องที่ราชพัสดุนั้นมิได้มีไว้เป็นที่แจ้งชัดโดยกฎหมายใดมีแต่เฉพาะพระบรมราชโองการรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่  ๒๕ เดือนมีนาคม ๒๔๖๔ ที่ทรงวินิจฉัยคํากราบบังคมทูลของเหล่าเสนาบดีกระทรวงการคลังมหาสมบัติในขณะนั้นมีใจความว่า (ก) ที่ราชพัสดุเป็นทรัพย์คงพระคลังอย่างหนึ่ง (ข) มีคงกระทรวงมาแต่เดิม บ้างได้มาด้วยการเป็นที่หลวงหวงห้ามไว้ใช้ในราชการ บ้างด้วยการที่ราษฎรเวนคืนให้แก่หลวงบ้าง หรือได้รับหรือยึดจากเจ้าหน้าที่ภาษีนายอากรก็มี (ค) ทรัพย์นี้กระจัดกระจายอยู่ตามกระทรวงต่างๆ (ง) ให้กระทรวงพระคลังมหาสม

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม :ความเชื่อของชาวอีสาน ''คะลำ ''

ชนเผ่าไทยลาวหรือชาวอีสาน มีระเบียบการปกครองบ้านเมืองซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาจากโบราณ เป็นความเชื่อดั้งเดิม ไม่ปรากฏว่ามีประมวลกฎหมายใดๆ เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปฏิบัติสืบทอดต่อๆ กันมา ก็ได้กฎเกณฑ์ธรรมะจากพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นแนวทางการปฏิบัติอีกอันหนึ่ง ใครไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกลงโทษ หนักๆ เข้าก็จะไม่คบค้าสมาคมด้วย เห็นการลงโทษทางสังคม นอกจากฮีต ๑๒ คอง ๑๔ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติแล้ว ยังมีข้อห้ามอีกคือ คะลำ หรือ กะลำ หรือ ขะลำ ซึ่งสมัยก่อนเขามีการบอกสอนลูกหลานรับช่วงกันมาเป็นช่วงๆ อายุคนโดยไม่จำเป็นเสียเวลาอธิบายเหตุผล ปัจจุบันนี้อาจมีคนรู้จักจดจำหรือปฏิบัติตามเป็นส่วนน้อย   ความหมายของคำว่า คะลำ   คำ “คะลำ” หรือ “กะลำ” หรือบางท้องถิ่นเรียก ขะลำ ซึ่งมีความหมายตามพจนานุกรมภาษาถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๓๗ หน้า ๑๖ ว่าไว้ดังนี้  กะลำ ๑ เป็นคำนาม แปลว่า สิ่งต้องห้าม   กะลำ ๒ เป็นคำกิริยา แปลว่า เว้น (อย่างว่า อันไหนเห็นว่าบ่ดีก็ กะลำ ซะ)  กะลำซำซอย เป็นคำวิเศษณ์ แปลว่า นอกรีตนอกรอย ทำตามใจชอบ,ตามอำเภอใจ มะลำซำแซะ, มะลำมะลอย ก็ว่า พจน