เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : มหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทย
ประวัติมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทย
ประวัติมหาวิทยาลัยของรัฐ
เรียงตามการสถาปนาขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย
ลำดับที่ | วันที่ | สัญลักษณ์ | ประวัติย่อ |
---|---|---|---|
1 | 26 มีนาคมพ.ศ. 2459 | ![]() | พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา "โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" ขึ้นเป็น " จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย " มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย โดยมี 4 คณะแรกตั้ง ได้แก่ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ( คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ |
2 | 27 มิถุนายนพ.ศ. 2477 | ![]() | ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ริเริ่มก่อตั้ง "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มธก.)" ขึ้น เป็นมหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกของประเทศไทย วิชาเริ่มแรกที่เปิดสอนมี 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรธรรมศาสตรบัณฑิต ซึ่งสอนวิชากฎหมายเป็นหลัก และ วิชาการบัญชี ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็น " มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" |
3 | 2 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2486 | ![]() | "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม" ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ " เป็นมหาวิทยาลัยทางด้านการเกษตรแห่งแรกของไทย โดยมีคณะเกษตรศาสตร์ คณะการประมง คณะวนศาสตร์ และ คณะสหกรณ์ เป็นคณะแรกตั้ง ในปัจจุบันคือ คณะเกษตร คณะประมง คณะวนศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ และ คณะเศรษฐศาสตร์ |
4 | 7 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2486 | ![]() | มีการแยกคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล, คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์ และ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งเป็น "มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" ต่อมาได้รับพระราชทานนามมหาวิทยาลัยใหม่ ว่า " มหาวิทยาลัยมหิดล " |
5 | 12 ตุลาคมพ.ศ. 2486 | ![]() | "โรงเรียนปราณีตศิลปกรรม" ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น " มหาวิทยาลัยศิลปากร " โดยมีคณะจิตรกรรมและประติมากรรม เป็นคณะวิชาแรก (ปัจจุบันคือคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์) |
6 | 21 มกราคมพ.ศ. 2507 | ![]() | พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาคแห่งแรกของประเทศไทย ได้แก่ " มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ " โดยมีคณะมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ เป็นคณะแรกตั้ง |
7 | 25 มกราคมพ.ศ. 2509 | ![]() | มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตราพระราชบัญญัติ สถาปนาสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ "มหาวิทยาลัยขอนแก่น " |
8 | 12 มีนาคมพ.ศ. 2511 | ![]() | ได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแห่งแรกในภาคใต้ของประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานชื่อมหาวิทยาลัยว่า " มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ " ตามพระนามฐานันดรศักดิ์ของสมเด็จพระบรมราชชนก กรมหลวงสงขลานครินทร์ |
9 | 26 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2514 | ![]() | "มหาวิทยาลัยรามคำแหง " ได้รับการสถาปนาเป็นสถาบันอุดมศึกษาแบบตลาดวิชา โดยมีคณะแรกตั้ง คือ คณะนิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ |
10 | พ.ศ. 2514 | มีการรวม "วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี และวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี" จัดตั้งเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูง ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า" แบ่งเป็น 3 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตนนทบุรี วิทยาเขตพระนครเหนือ และวิทยาเขตธนบุรี และเมื่อวันที่19กุมภาพันธ์ 2529 แต่ละวิทยาเขตได้แยกเป็นสถาบันอุดมศึกษาอิสระต่อกัน | |
11 | 29 มิถุนายนพ.ศ. 2517 | ![]() | "วิทยาลัยวิชาการการศึกษา" ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ " |
12 | 5 กันยายนพ.ศ. 2521 | ![]() | มีการสถาปนาสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแบบไม่จำกัดรับแห่งที่ 2 ของประเทศ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทานนามว่า " มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช " ตามพระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศ เป็น "กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา" และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 7 เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย |
13 | 3 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2525 | ![]() | "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม แม่โจ้" ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น " มหาวิทยาลัยแม่โจ้ " |
14 | 27 กรกฎาคมพ.ศ. 2533 | ![]() | พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. 2533 " มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี " ถือว่าวันนี้เป็นสถาปนามหาวิทยาลัย [1] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาลแห่งแรกของประเทศไทย (ประกาศเป็นราชกิจจานุเบกษา (ฉบับพิเศษ) หน้า 93 เล่ม 107 ตอนที่ 131 วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533) |
15 | 29 กรกฎาคมพ.ศ. 2533 | ![]() | "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก" ได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย ซึ่งตรงกับวันครบรอบ 400 ปี ของการเสด็จขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามมหาวิทยาลัยแห่งนี้ว่า " มหาวิทยาลัยนเรศวร" |
16 | 29 กรกฎาคมพ.ศ. 2533 | ![]() | ได้มีการยกฐานะ "วิทยาลัยอุบลราชธานี" ในสังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขึ้นเป็น " มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี " |
17 | 30 กรกฎาคมพ.ศ. 2533 | ![]() | มีพระราชบัญญัติให้ "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน" ยกฐานะขึ้นเป็น " มหาวิทยาลัยบูรพา " |
18 | 9 ธันวาคมพ.ศ. 2533 | ![]() | "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม" ได้แยกตัวเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศภายใต้ชื่อ "มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" |
19 | 29 มีนาคมพ.ศ. 2535 | ![]() | พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และพระราชทานชื่อว่า " มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ " อันเป็นสร้อยพระนามในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี |
20 | 1 พฤศจิกายนพ.ศ. 2539 | "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา" ยกฐานะเป็นขึ้น " มหาวิทยาลัยทักษิณ " | |
21 | 25 กันยายนพ.ศ. 2541 | ![]() | ได้มีการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาลอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย โดยใช้ชื่อว่า "มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง " เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความจงรักภักดีของปวงชนชาวไทยที่มีต่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และให้สถาบันแห่งนี้เป็นแหล่งสืบสานพระราชปณิธานของพระองค์ต่อไป |
22 | 18 มกราคมพ.ศ. 2548 | ![]() | ได้มีการยกฐานะ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 9 แห่ง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชได้ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2548 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 พระราชบัญญัติดังกล่าว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 19 มกราคม 2548 เป็นต้นมา |
23 | 9 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2548 | ![]() | ได้มีการรวมสถาบันการศึกษาภายในจังหวัดนราธิวาส เพื่อสถาปนา "มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์" |
24 | 2 กันยายนพ.ศ. 2548 | ![]() | มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ของประเทศ ในจังหวัดนครพนม โดยการรวมสถาบันการศึกษาภายในจังหวัด เพื่อสถาปนาขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยนครพนม" |
เรียงตามปีที่เปิดสอน
- พ.ศ. 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้น ต่อมาพัฒนาเป็น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2440 กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ โดยความเห็นชอบในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาโรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม ต่อมาพัฒนา เป็นคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน ต่อมาพัฒนาเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2460 ถือกำเนิดโรงเรียนฝึกหัดครู ประถมกสิกรรม ต่อมาพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- พ.ศ. 2460 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงธรรมการได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมขึ้น เรียกว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมหอวัง" ต่อมาพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- พ.ศ. 2486 ก่อตั้ง โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร ต่อมาพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2492 ก่อตั้ง โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ถือกำเนิดขึ้นจากการผลักดันของ ศาสตราจารย์ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ซึ่งท่านเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- พ.ศ. 2498 ก่อตั้ง วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา ต่อมาพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยบูรพา
- พ.ศ. 2502 รัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ได้ร่วมก่อตั้งโรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือ หรือที่รู้จักทั่วไปในชื่อ “เทคนิคไทย–เยอรมัน” ต่อมาพัฒนาเป็น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- พ.ศ. 2503 ก่อตั้ง ศูนย์ฝึกโทรคมนาคมนนทบุรี สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาพัฒนาเป็น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- พ.ศ. 2503 ก่อตั้ง วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ภายใต้การดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- พ.ศ. 2503 รัฐบาลชุด จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ลงมติอนุมัติให้จัดตั้ง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พ.ศ. 2505 ได้มีมติให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูง ด้านวิศวกรรมศาสตร์และเกษตรศาสตร์ ขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น เสนอชื่อสถาบันแห่งนี้ว่า สถาบันเทคนิคขอนแก่น และเสนอชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า KhonKaen Institute of Technology มีชื่อย่อว่า K.I.T. ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อสถาบันนี้เป็น มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในเวลาต่อมา
- พ.ศ. 2510 ก่อตั้ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- พ.ศ. 2510 ก่อตั้ง วิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก ตาม พ.ร.บ. วิทยาลัยวิชาการศึกษา ต่อมาพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยนเรศวร
- พ.ศ. 2511 ก่อตั้ง วิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม ตาม พ.ร.บ. วิทยาลัยวิชาการศึกษา ต่อมาพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- พ.ศ. 2511 ก่อตั้ง วิทยาลัยวิชาการศึกษาสงขลา ตาม พ.ร.บ. วิทยาลัยวิชาการศึกษา ต่อมาพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยทักษิณ
- พ.ศ. 2514 ก่อตั้ง มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดย พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2514 กำหนดให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยแบบตลาดวิชา
- พ.ศ. 2518 ก่อตั้ง "วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา" ตาม พ.ร.บ. วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา พ.ศ. 2518 ต่อมาพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
- พ.ศ. 2521 ก่อตั้ง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพื่อดำเนินการดำเนินการสอนโดยใช้ระบบการสอนทางไกล โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อมหาวิทยาลัยตามพระนามเดิมของรัชกาลที่ 7 และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 7 เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2522 ส.ส. นครศรีธรรมราชเริ่มเสนอร่าง พ.ร.บ. จัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ชื่อ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- พ.ศ. 2527 ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอให้รัฐบาลจัดตั้งมหาวิทยาลัยใหม่ในส่วนภูมิภาค 5 แห่งโดยวิทยาลัยที่จัดตั้งขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมาให้ใช้ชื่อว่า "วิทยาลัยสุรนารี" และพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- พ.ศ. 2530 ก่อตั้ง วิทยาลัยอุบลราชธานี สังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต่อมาพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- พ.ศ. 2540 คณะกรรมการกลั่นกรองงานฝ่ายสังคมของรัฐบาลในสมัยที่ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี มอบให้ทบวงมหาวิทยาลัยจัดตั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยใหม่
ขอบคุณที่มา : wikipedia.org