Featured post

เรียนภาษาไทยออนไลน์ : ซุปเปอร์บอร์ดการศึกษา-ปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน ความต่อเนื่องทางนโยบาย?

บทความโดย สมหมาย ปาริจฉัตต์


ทีมงานโต๊ะข่าวการศึกษา "มติชน" นำเสนอภาพกราฟิก ชาร์ตโครงสร้างการบริหารการศึกษายุค คสช.ขึ้นหน้าหนึ่ง ขานรับนโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลาเรียนรู้ ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน เป็นต้นไป
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษา หรือซุปเปอร์บอร์ดการศึกษาครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ นั่งหัวโต๊ะเป็นประธาน
ก่อนการประชุม ประธานซุปเปอร์บอร์ดบอกว่า ยอมรับว่ายังไม่สามารถเดินหน้างานพัฒนาการศึกษาได้มากนัก เพราะติดปัญหาและอุปสรรค ส่วนตัวเข้าใจดี
ครับ ฟังแล้ว น่าสนใจ น่าเห็นใจ น่ามีส่วนร่วมด้วยช่วยกัน ทำอย่างไรให้ปฏิรูปการศึกษาเดินหน้าต่อไปในแนวทางที่ควรจะเป็น ในยุคสถานการณ์พิเศษที่ว่ากันว่า อะไรมักจะสำเร็จได้ในยุคนี้
ขนาดมีอำนาจพิเศษ มาเจอกับปัญหาอุปสรรคที่ดำรงอยู่ จนต้องยอมรับว่ายังไปไม่ได้มากนัก
ประเด็นปัญหา อุปสรรคที่ว่าคืออะไร ท่านประธานไม่ได้เฉลยในรายละเอียด
โครงสร้างตามชาร์ตที่เขียนไว้ กับนโยบายใหม่ เป็นต้นว่า ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เร่งพัฒนาภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศ สอบอัตนัยให้มากขึ้น ปรับเปลี่ยนวิธีการประเมินผล จะเป็นคำตอบ ช่วยแก้ปัญหาปฏิรูปการศึกษาได้หรือไม่ก็ตาม

ปัจจัยความสำเร็จหรือไม่สำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา ยังสะท้อนได้จากโครงการต่างๆ ที่เข็นออกมารองรับกับอุปสรรคจากการดำเนินนโยบายและการบริหารจัดการ
โดยเฉพาะประการหลัง ความไม่ต่อเนื่องทางนโยบาย เป็นปัญหาหลักประการหนึ่งที่ทำให้การศึกษาไทย ปฏิรูปไม่สำเร็จ เหตุจากปัจจัยทางการเมืองและการบริหาร
เปลี่ยนผู้บริหารที นโยบายก็เปลี่ยนที ของเก่าทิ้งไป หรือหยุดไว้ เอาของใหม่ดีกว่านั่นเอง
รูปธรรมที่น่าติดตาม จากการจัดสรรงบประมาณขับเคลื่อนงานหลักการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี 2559 สพฐ.ได้รับงบประมาณทิ้งสิ้น 319,000 ล้านบาท ใครว่ามาก แต่งบส่วนใหญ่ล้วนเป็นเรื่องของเงินเดือนประจำ
ส่วนที่เหลือดำเนินโครงการหรือแผนงานต่างๆ มีเพียง 17,000 ล้านบาท จากงบนี้ ถูกแบ่งออกเป็น 5 เรื่องหลักเร่งด่วนตามนโยบายใหม่ คือ 1.โครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เบื้องต้น 60 ล้าน 2.โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ 400 กว่าล้าน 3.โครงการวัดและประเมินผลการศึกษา 105 ล้าน 4.ปฏิรูปหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 400 ล้าน 5.โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLTV) 1,700 ล้านบาท
ส่วนโครงการแผนงานเดิมที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ เป็นโครงการสำคัญ รัฐมนตรีว่าการเดิมประกาศผลักดันด้วยตัวเองเพื่อเป้าหมาย กระจายอำนาจการบริหารการศึกษา และปฏิรูปการเรียนรู้ เป็นหลัก
ทั้งๆ ที่เป็นโครงการที่สอดรับกับแนวทางปฏิรูปการศึกษาด้วยการปฏิรูปการเรียนรู้ ปฏิรูปกระบวนการสอนของครูและการเรียนรู้ของนักเรียน
เขตพื้นที่การศึกษาเดินหน้านำร่องกันไปแล้ว ร่วมมือกับสถาบันระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นศูนย์พี่เลี้ยงให้กับ 20 เขตพื้นที่ มีโรงเรียนนำร่องเขตละ 15 โรง รวมทั่วประเทศ 300 โรง กำลังเคว้งคว้างว่า "นาย" จะเอาอย่างไร

โครงการที่ชื่อว่า "โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน"
จากเอกสารรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาต่อ คสช. วันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 ระบุว่า เริ่มต้นด้วยการนำร่องกระจายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างจริงจังไปยังเขตพื้นที่การศึกษา หนุนเสริมการพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน พร้อมปลดล็อกอุปสรรคการบริหารจัดการศึกษาที่ขัดขวางการปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยตนเองของโรงเรียน
กำหนดกรอบการดำเนินงานเบื้องต้นไว้จำนวน 3 ปี ต่อเนื่อง ปีงบประมาณ 2558-2560 หรือ พ.ศ.2557-2560 ดำเนินการพัฒนาโรงเรียนนำร่องครบ 100% ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้งหมด (225 เขต) มีโรงเรียนนำร่องทั้งสิ้น 3,375 โรงเรียน
ก่อนเริ่มดำเนินโครงการมีการจัดประชุม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และมัธยมศึกษาทั่วประเทศ เช่นเดียวกับการประชุมชี้แจงนโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ที่เพิ่งผ่านมาไม่นานนี้
ถึงวันนี้ ดำเนินโครงการไปได้ปีเดียว สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจัดทำรายงาน โดยการเก็บข้อมูลความคิดเห็นของบุคคลและกลุ่มต่างๆ พร้อมสังเคราะห์และประมวลผลเพื่อสะท้อนปัญหาและทางออก ตอบโจทย์ปฏิรูปการศึกษาไทยในด้านที่ต้องได้รับการแก้ไขทันที เตรียมการเดินหน้าเพื่อประเมินผลโครงการต่อไป
เมื่อเวลาเปลี่ยนไป คนเปลี่ยนไป แผนงานโครงการปีที่ 2 พ.ศ.2559 และปีที่ 3 พ.ศ.2560 ยังไม่มีความชัดเจน ยังไม่มีใครตอบชัดต่อสังคมว่าจะมีความต่อเนื่องทางนโยบายอย่างไร จะทำต่อหรือไม่ เพราะเหตุใด และใช้งบประมาณเท่าไหร่
ปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน จะกลายเป็นอีกกรณีตัวอย่างหนึ่งของปัญหาอุปสรรคการปฏิรูปการศึกษา เพราะเหตุความไม่ต่อเนื่องทางนโยบายหรือไม่ ทำนองเดียวกันกับหลายๆ นโยบาย หลายๆ โครงการที่ผ่านมาในอดีต ผ่านมาแล้วก็ผ่านไปตามฝ่ายนโยบาย
กรณีทำนองนี้ ซุปเบอร์บอร์ดการศึกษาควรมีส่วนให้ข้อคิดเห็น เสนอแนะ ท้วงติงบ้างหรือไม่
ไหนว่า กลไกนี้สร้างขึ้นมาก็เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง หรือป้องกันความไม่ต่อเนื่องทางนโยบาย ไงล่ะ


เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยที่ออสเตรเลีย หาครูสอนภาษาไทยที่ญี่ปุ่น หาครูสอนภาษาไทยที่เวียดนาม หาครูสอนภาษาไทยที่อเมริกา หาครูสอนภาษาไทยที่เยอรมัน หาครูสอนภาษาไทยที่ฝรั่งเศส  Learn Thai with native speakers. หาครูสอนภาษาไทยอ่านเขียน สอนอ่านหนังสือภาษาไทย สอนอ่านเขียน ลูกอ่านภาษาไทยไม่ออก หาครูแก้ไขภาษาไทย สถาบันสอนภาษาไทย โรงเรียนสอนภาษาไทย  หาครูสอนภาษาไทยนานาชาติ  หาครูสอนภาษาไทยลูกครึ่ง หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์  หาครูสอนพิเศษ หาครูสอนพิเศษภาษาไทย หลักสูตรออนไลน์  รับสอนพิเศษภาษาไทย  สถาบันสอนภาษาไทย    โรงเรียนสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ  เรียนออนไลน์  สมัครเรียนออนไลน์  เรียนพิเศษภาษาไทย  สอน พิเศษ ภาษา ไทย  สอนภาษาไทย  ครูสอนภาษาไทย  สอนภาษาไทยเด็ก  หาครูสอนภาษาไทย  เรียน ออนไลน์ ป 1  เรียน ออนไลน์ ป 2   เรียน ออนไลน์ ป 3    เรียน ออนไลน์ ป 4   เรียน ออนไลน์ ป5  เรียน ออนไลน์ ป6  เว็บเรียนออนไลน์  เรียนรู้ภาษาไทย  บทเรียนออนไลน์  เรียนภาษาไทยที่ไหนดี  เรียนภาษาไทยออนไลน์  เรียน พิเศษ ภาษา ไทย ที่ไหน ดี  สอนภาษาไทยออนไลน์  สอนพิเศษภาษาไทย ประถม ราคา  อ่าน ภาษา ไทย    สอนพิเศษภาษาไทย อนุบาล    หลักสูตรเรียนออนไลน์   ชุด เริ่ม หัด อ่าน ภาษา ไทย  ฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษา ไทย  สอน เด็ก เตรียม ขึ้น ป 1  สอน เด็ก เตรียม ขึ้น ป2  สอน เด็ก เตรียม ขึ้น ป3 สอน เด็ก เตรียม ขึ้น ป4 สอน เด็ก เตรียม ขึ้น ป5 สอน เด็ก เตรียม ขึ้น ป6 หัด เขียน ภาษา ไทย เรียน ออนไลน์ อนุบาล 3  สอน พิเศษ ภาษา ไทย ประถม

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี

กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์

แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1