Featured post

ผลงานสังคมศาสตร์



สนธิสัญญาเบาริ่ง

คำนำ
                ระบบการค้าเสรี อาจจะเป็นคำที่คุ้นหูใครหลายคน แต่เราทราบถึงแหล่งที่มาของคำและมูลเหตุของคำนั้นหรือไม่ ยังมีหลายคนไม่ทราบและยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ระบบการค้าเสรีแม้ว่าจะมองภายนอกอาจจะคล้ายกับเป็นระบบการค้าที่มีอิสระในการค้าขายเป็นอย่างมาก คงเหมือนดังที่ปรากฏในศิลาจารึก “ใครใคร่ค้าช้างค้า ..” นั้นพอจะคล้ายคลึงกันอยู่ แต่กระนั้น หากได้สัมผัสและรับทราบข้อมูลอื่น ๆ อีกมากผู้ศึกษาและใคร่สนใจจะทราบว่าแท้จริงแล้ว ระบบการค้าเสรีนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการเผยแผ่ศาสนาของชนชาติยุโรป และหากจะมองอีกมุมหนึ่งอาจจะเห็นว่าระบบการค้าเสรีเปลี่ยนโลกทัศน์ของผู้คน เริ่มจากแถบยุโรปมายังเอเชีย ในลักษณะของคำสอนหรือคำกล่าวเพื่อชักจูง ให้มองโลกอย่างไม่พอเพียง เพราะเชื่อว่าความพอเพียงเป็นอุปสรรค์ต่อการพัฒนาประเทศ และระบบการค้าที่ผูกขาดก็เป็นอะไรที่น่ารังเกียจเกินกว่าจะรับได้ จากมุมมองของชาวตะวัน โดยเฉพาะเซอร์ จอห์น เบาว์ริง  เอกอัคราชทูตของประเทศอังกฤษ ผู้เป็นหนึ่งในการเข้ามาเจรจาทางการทูตและการค้ากับสยามประเทศ

                แม้จะมองจากมุมมองของหลายท่านอาจจะกล่าวเชิงคิดเห็นว่าการปรับปรุงประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่โอนอ่อนผ่อนตาม และการใช้นโยบาย “ลู่ตามลม” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ นั้น เป็นการกระทำที่อ่อนแอ เกรงกลัวต่ออำนาจของฝรั่งจนเกินไป ควรที่จะมีการคิดวิเคราะห์และพิจารณาให้ถ้วนถี่กว่านี้ แม้ผู้ศึกษาเองจะมีทัศนะที่เห็นต่างกันไปแต่ก็อดจะนึกไม่ได้ว่า อาจจะเป็นจริงในหลาย ๆ ส่วนที่การที่สยามใช้นโยบาย “ลู่ตามลม” นั้นส่งผลต่าง ๆ ต่อประเทศในทางที่ทำให้ชาวตะวันตกมองไทยว่าเกรงต่ออำนาจของตน ต่อมาภายหลังจึงเกิดภาวะปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทั้งนโยบายทางเศรษฐกิจและการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศราช เป็นไปด้วยความยุ่งยากและวุ่นวาย

 แต่ทั้งนี้เราก็ไม่ควรลืมมองไปว่า การกระทำที่มองว่าเราเกรงกลัวภัยของตะวันตก และดูเหมือนจะอ่อนแอจนไม่สามารถประครองตนเองได้นั้น ก็อาจจะเปรียบเทียบกับสตริซึ่งมีลักษณะทางกายภาพเดียวกันได้ว่า แม้ว่าเธอจะมีความอ่อนแอภายนอก แต่ความเข้มแข็งและอดทนนั้นมีมากมายกกว่าสิ่งที่แสดงออกไป ดังนั้นการปรับประเทศในสมัยนั้น อาจจะมองได้หลากหลายมุมแต่หนึ่งในนั้นก็ต้องกล่าวว่า หากไม่มีนโยบายและพระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ ๔ แล้ว ประเทศสยามหรือไทยในปัจจุบันก็อาจจะไม่คงอยู่ได้ในปัจจุบัน  ผู้ศึกษาจึงเห็นว่า ไม่มีมุมมองใดที่ถูกต้องชัดเจนจนไม่อาจจะกล่าวโต้แย้งได้ และไม่มีความคิดใดที่ร้ายแรงจึงไม่ควรแก่การให้อภัย ผู้ศึกษายังเชื่อว่าหากถนนบนโลกมีทั้งทางตรงและทางอ้อม ทัศนคติความคิดก็หากล่าวว่าสิ่งนั้นผิดมหันต์และสิ่งนั้นถูกอย่างไม่มีข้อโต้แย้งไม่ ในความผิดพลาดล้วนมีจุดดีอยู่และทุกในความถูกต้องย่อมมีจุดเสียอยู่ แล้วแต่ว่าเราจะมองจุดดีหรือจุดเสียนั้น

ทั้งนี้ผู้ศึกษาต้องกราบขออภัยท่านผู้สนเป็นอย่างยิ่งหากได้นำเสนอข้อมูล ทัศนะหรืออื่นใดที่ไม่ถูกต้อง ผิดพลาด หรือเอนเอียง พร้อมทั้งกระบวนการพิมพ์ข้อมูลขาดตกบกพร่อง ผู้ศึกษาขอรับความผิดพลาดนี้แต่เพียงผู้เดียว แต่หากเอกสารชิ้นนี้ยังพอมีประโยชน์อยู่บ้าง ผู้ศึกษาขอยกเป็นคุณงามความดีของบิดามารดา ครูบาอาจารย์ทุกท่านที่ประสิทธิ์ประสาทความรู้จนผู้ศึกษามีวันนี้

สุรเดช  ภาพันธ์




รายงาน “สนธิสัญญาเบาว์ริง”
เสนอ รองศาสตราจารย์  
วิชา การอ่านเอกสารทางประวัติศาสตร์
โดย นาย สุรเดช  ภาพันธ์   รหัสนักศึกษา ๕๖๑๒๒๒๐๑๖๗  นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา  คณะมนุษยศาสตร์             สาขาไทยศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง  
  
บทคัดย่อ
                  การเข้ามาของเซอร์จอนห์เบาว์ริงนั้น เป็นการเปิดฉากการค้าที่เรียกกันว่า “ระบบการค้าเสรี” ระบบการค้าเสรีเป็นระบบการค้ารูปแบบใหม่ที่อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นระเบียบใหม่ของโลกในยุคจักรวรรดินิยมอาณานิคมตะวันตก การค้าแบบเสรีนั้นได้ตั้งต้นและดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน

                ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เป็นช่วงระยะสมัยที่ไทยต้องปรับเปลี่ยนทั้งระบบการปกครอง ระบบการค้า และอื่น ๆ อีกมากมายเพื่อให้ทัดเทียมอารยชาติตะวันตก สาเหตุที่ทำให้ไทยต้องปรับเปลี่ยนแบบก้าวกระโดดนั้น เห็นจะเป็นเพราะว่า ประเทศจีน ผู้เป็นประเทศที่มีอำนาจมากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ได้ถูกมหาชาติตะวันตก อังกฤษเข้าโจมตี จนสูญเสียสิทธิต่าง ๆ ไป จนเกือบจะประครองตนเองไม่ได้  นอกจากที่ไทยจะตระหนักถึงอิทธิพลของมหาชาติตะวันตกแล้ว ไทยยังมีการประเมินตนเองแล้วด้วยว่าคงมิอาจจะสามารถรบรากับมหาชาตินี้ได้ ยกเว้นทางเดียวที่จะทำได้ ณ ขณะนั้น คือ การยินยอมและทำไมตรีจิตต่อกัน ด้วยเหตุการณ์นี้ทำให้ไทยยุติระบบความสัมพันธ์แบบจิ้มก้องกับจีนนับตั้งแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมา

                มีผู้กล่าวกันอย่างมากมายว่า เบาว์ริงเข้ามาพร้อมกับความโชคดี นั้นก็หาว่าเป็นความเท็จ หรือกล่าวเกินจริงไม่ เพราะช่วงเวลาก่อนหน้าที่เบาว์ริงจะเข้ามาเพื่อทำสนธิสัญญานั้น คือตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒ เรื่อยมา จนถึงช่วงรัชกาลที่ ๓ นั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รู้สึกชิงชังชาติตะวันตกเป็นอย่างมาก พระองค์จึงไม่เปิดโอกาสหรือให้ชาติตะวันตกเข้ามาทำการค้าขายได้อย่างเสรี โดยเฉพาะหากเป็นชาติตะวันตกแล้ว ไทยจะพยายามไม่เข้าทำการยุ่งเกี่ยวด้วย  อีกทั้งด้วยระบบการค้าแบบสยามประเทศที่ได้รับจากพ่อค้าชาวจีน นั้นก็คือระบบการค้าแบบผูกขากการค้า หรือระบบพระคลังสินค้านี้เองที่ทำให้ชาติตะวันตกเห็นว่าไม่เป็นธรรม อันทำให้ในที่สุด อังกฤษก็ได้ส่งทูตเข้ามาเจริญพระราชไมตรี เพื่อทำสนธิสัญญาอีกฉบับหนึ่งเพื่อความยุติธรรมทางการค้า นั้นก็คือ สนธิสัญญาเบอร์นี่ แต่สนธิสัญญานี้ก็ไม่ได้มีผลมากมายนัก อีกทั้งในช่วงที่เบอร์นี้เข้ามาเจรจาสัญญานี้ก็เป็นช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว  เป็นอันว่าอังกฤษจึงต้องส่งราชทูตมาใหม่ ในช่วงแผ่นดินใหม่

                เป็นที่แน่นอนแล้วว่าหากเจ้าฟ้ามงกุฎขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ นั้นผลประโยชน์ในการเจรจาทางสัญญานั้นจะสมดังปรารถนาของอังกฤษเป็นแน่แท้ ความหวังดังกล่าวบรูคกล่าวไว้อย่างมั่นใจ ซึ่งผลนั้นก็เป็นไปตามการคาดเดาของบรูคและรัฐบาลอังกฤษ

                ช่วงระยะแรกเบาว์ริงได้รับการทักท้วงว่าอย่าพึ่งเข้ามาเพราะอยู่ระหว่างพระราชพิธีพระบรมศพของพระเจ้าอยู่หัวองค์ก่อน เมื่อพ้นระยะเวลาแล้ว เบาว์ริงเข้ามาพบกับความสำเร็จอย่างง่ายดาย แทบจะเรียกว่าไม่ต้องการจับอาวุธใด ๆ เข้ามาในแผ่นดินไทยเลย การประสบความสำเร็จการเจรจาทำสนธิสัญญาเบาว์ริงนั้น ก็ใช่ว่าจะสำเร็จตรงความประสงค์ของเบาว์ริงแต่แรกเริ่มนั้นก็หาไม่ ด้วยมีกลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาคที่มีอำนาจคอยขัดขวาง แต่ด้วยการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเอนเอียงไปในทิศทางของเบาว์ริงมาก เลยทำให้การเจราจาสุดท้ายประสบความสำเร็จตามความต้องการของเบาว์ริง และรัฐบาลอังกฤษที่ใฝ่ใจที่จะเปิดการค้าเสรีเพื่อที่ตนเองจะได้ทำการค้าได้ตามความต้องการ เพื่อสนองการปฏิวัติ-อุตสาหกรรม 

                แม้ว่าในช่วงระยะแรกไทยจะดูเหมือนมีความเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว คือมีการค้าที่ดีขึ้น มีเรือที่เข้ามาค้าขายมากขึ้น และมีประเทศตะวันตกต่าง ๆ ต่างเข้ามาทำสัญญากับสยาม มาก ข้าวและสินค้าอื่น ๆ ได้จัดขายกับชาวตะวันตก การเกณฑ์แรงงานไพร่ก็ลดด้อยความสำคัญลง แรงงานจีนจึงเข้ามาแทนที่ การค้าข้าวเจริญรุดหน้า แต่ไม่นานนักผลเสียของสนธิสัญญาเบาว์ริงก็ส่งผลอย่างทันทีทันใด

                ด้วยอัตราภาษีที่ต้องปรับเปลี่ยนตามสัญญากำหนดไว้ ทำให้รัฐบาลโดยกรมพระคลังมีปัญหาเงินไม่เพียงพอแก่การราชการต่าง ๆ การค้าข้าวไม่ได้ส่งผลให้ได้กำไรที่มากขึ้น การที่ต่างชาติเข้ามาทำสัญญากับไทย กลับเป็นผลดีแก่ประเทศที่ขอทำสัญญาแต่เป็นผลเสียแก่ไทย ไทยต้องรับภาวะดังนี้อยู่ยาวนาน มีการแก้ไขปรับปรุงด้วยแนวความคิดต่าง ๆ เช่น การเพิ่มภาษีต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อแก้ไขภาษีที่สูญเสียไป

                ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานหลายรัชกาลที่ไทยต้องต่อสู้กับการสูญเสียสิทธิทางการค้าและอื่น ๆ ให้กับมหาอำนาจชาติตะวันในที่สุดเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกทั้งสองครั้งภาวะการผูกขาดจากอำนาจของสนธิสัญญาก็ยุติลงอย่างทันที แต่กระนั้นด้วยระบบการค้าเสรีที่ฝังตัวอยู่ทั่วทุกมุมโลก จึงเป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ยังคงอยู่ของระบบนี้จนถึงปัจจุบัน

เนื้อหา

๑.   สภาพของสยามและเหตุการณ์ความสัมพันธ์กับตะวันตกก่อนการเข้ามาของเบาว์ริง  สังเขป
                หากจะกล่าวว่าก่อนสมัยรัชกาลที่ ๔ อันเป็นสมัยที่ไทยต้องทำสนธิสัญญาเบาว์ริง นั้น ไทยเป็นเมืองลับแลเลยหรือ อาจจะกล่าวไม่ได้อย่างแท้จริง เพราะหากเรามองและพิจารณาดูให้ถ่องแท้จะเห็นได้ชัดว่าสนธิสัญญาเบาว์ริงที่เรากระทำต่อประเทศอังกฤษนั้น เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของระบบการค้าที่ล้มเลิกการผูกขาดอำนาจ ทางการค้า หรือเรียกอันอีกอย่างว่าระบบพระคลังสินค้า     ก่อนสมัยที่เซอร์จอน์เบาว์ริง ผู้เป็นเอกอัครราชทูตจากประเทศอังกฤษจะเข้ามาเจริญพระราชไมตรีกับไทยนั้น ย้อนกลับไปในสมัยอยุธยาซึ่งเป็นราชาธานีเดิม ไทยก็มีการติดต่อสานสัมพันธ์กับนานาประเทศในเรื่องการค้าอยู่มิใช่น้อย  

                เมื่อมีการเปลี่ยนราชธานีใหม่ เป็นรัตนโกสินทร์ ลักษณะทางการค้าของไทยยังคงเป็นแบบดั้งเดิมอยู่คือมีลักษณะของการผูกขาดทางการค้า การค้าเป็นการค้าแบบแลกเปลี่ยน สภาพของสังคมยังคงมีปัญหาการขาดแคลนกำลังคนเป็นอย่างมาก ด้านเศรษฐกิจการค้า ชาวจีนยังเป็นผู้ครอบครองปัจจัยการผลิต ที่ดินและเงินทุน   ผลผลิตของไทยยังคงเป็นข้าว แต่การค้านั้นต้องทำความเข้าใจว่าเป็นการค้าที่ไม่มากมายนัก หากเปรียบเทียบกับช่วงหลังทำสนธิสัญญาเบาว์ริง

สำหรับลักษณะความสัมพันธ์กับชาวตะวันตกในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์นั้น ด้วยความที่บ้านเมืองค่อนข้างจะมีความสุขสงบบ้างแล้ว การค้าขายของต่างชาติก็เข้ามาอีกระลอกหนึ่ง บริษัทของอังกฤษได้กลับเข้ามาอีกครั้งหนึ่ง และมีความจริงจังด้านการค้ามากยิ่งขึ้น เหตุที่บริษัทอินเดียของอังกฤษมีความต้องการเข้ามามีสัมพันธ์กับไทยนั้น เป็นด้วยเหตุที่อังกฤษต้องการเข้ามาค้าขายในดินแดนแถบมลายู อันเป็นเมื่องประเทศราชของไทยในขณะนั้น   อังกฤษเองอาจจะพอรู้ดีว่าการเข้ามาเพื่อสัมพันธไมตรีกับกรุงสยามจะส่งผลดีต่อการค้าของตนในดินแดนมลายู

กล่าวว่าการเข้ามาของอังกฤษนั้น หาได้ต้องการเข้ามาเกี่ยวข้องมากเกินกว่าการค้าไม่ เพราะจุดประสงค์หลักของอังกฤษนั้น เพื่อการค้าแต่เพียงอย่างเดียว แต่ด้วยเหตุผลประการใดในที่สุดอังกฤษต้องเข้ามาเกี่ยวข้องผูกพันกับการเมืองการปกครองของสยามในกรณีข้อพิพาทไทรบุรี  การเข้ามาเกี่ยวข้องด้านการเมืองของสยามนั้นอังกฤษมีจุดประสงค์หลายประการ และหนึ่งในนั้นคือการต้องการให้สยามยอมรับสิทธิของอังกฤษที่จะเช่าเกาะหมากหรือปีนังได้ อีกทั้งยังต้องการให้ไทยยกเลิกระบบการค้าที่สยามเป็นอยู่นั้นคือ ระบบการค้าแบบผูกขาด

เมื่อนั้นบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษจึงได้มีคำสั่งให้จอห์น ครอเฟิด หรือการะฟัด เข้ามาที่กรุงเทพมหานคร ด้วยมีจุดประสงค์สองประการที่สำคัญ คือ การค้า และการเมืองเรื่องไทรบุรี  สำหรับในเรื่องของไทรบุรีนั้น อังกฤษเข้ามาโดยมีจุดประสงค์จะอธิบายให้ไทยรับรู้ข้อเท็จจริง เพื่อที่ไทยจะเห็นว่าอังกฤษมิใช่ผู้สนับสนุนให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นอีกทั้งการที่เจ้าเมืองไทรบุรีได้หลบหนีเข้าไปขอพึ่งพาที่ปังแล้วอังกฤษไม่ได้ส่งตัวเจ้าเมืองคืนนั้นเป็นเพราะเหตุผลใด []   การเข้ามาเจรจานี้เป็นในลักษณะเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีของอังกฤษกับสยาม

ปัญหาอีกประการสำคัญที่อังกฤษต้องการเข้ามาเจรจาพร้อมกันในกรณีนี้ คือ ปัญหาการค้าของอังกฤษในสยาม โดยมากการค้าขายของไทยในสมัยนั้นยังอยู่ในเมืองของพ่อค้าชาวจีนเป็นส่วนใหญ่ สินค้าที่เป็นสินค้าผูกขาด เช่นดีบุก และสิ่งของอันเป็นที่ต้องการของอังกฤษ ก็ตกอยู่ภายใต้การควบคุมการซื้อขายของพระคลังสินค้า ทำให้มีราคาแพง อังกฤษจึงไม่พอใจในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก  พร้อมทั้งการค้าระหว่างต่างประเทศ อังกฤษเห็นว่าการค้าภายในเอเชียด้วยกันมีความสะดวกมากกว่าและมีลักษณะกาค้าแบบกีดกันและลำเอียง ทำให้การค้าจากตะวันตกมีการเสียค่าธรรมเนียมและภาษีเป็นในอัตราพิเศษ (แพงกว่า) \

สำหรับผลการเจรจาที่ครอเฟิดต้องการนั้นก็หนีไม่พ้น ความต้องการให้ไทยนั้นมีระบบการค้าแบบเสรี ให้คนภายใต้การบังคับของอังกฤษสามารถค้าขายได้อย่างเสรี และอังกฤษยอมให้ไทยขึ้นอัตราค่าภาษีปากเรือทดแทน แนวความคิดการค้าเสรีนี้เองที่นำบุรุษผู้ที่คนไทยต่างรู้จักผู้หนึ่งเข้ามา ท่านผู้นี้หากพิจารณาจากบุคลิกแล้ว จะเห็นได้เด่นชัดว่าท่านเป็นผู้มีทัศนะด้านการค้าเสรีที่รุนแรง การเข้ามาในไทยช่วงต้นรัชกาลที่ ๔ นั้น ท่านกลับไปปฏิบัติหน้าที่เมืองจีนอีกครั้งด้วยความรู้สึกภาคภูมิใจ แต่ท่านผู้นี้ก็มิอาจจะสามารถดำรงอยู่ในความภาคภูมินี้ได้นานนัก ท่านผู้เป็นบุรุษแห่งการค้าเสรี เซอร์จอห์น เบาว์ริง นั้นเอง

[]   ตราชู สุวรรณานนท์ ,๒๕๑๙:๒๔-๒๕
เสริม  * ลักษณะการค้าที่ทางไทยติดต่อกับต่างประเทศที่อังกฤษไม่พอใจมาก คือเรื่องพระคลังสินค้าใช้อำนาจสิทธิขาด ในการซื้อสินค้าก่อนพ่อค้าเอกชน ถ้าพ่อค้าชาวต่างประเทศไม่ยอมขายให้ก็ต้องเสียเวลาเทียบท่อยู่เป็นเดือน ๆ ซึ่งในที่สุดก็จำต้องยอมขายให้แก่เจ้าหน้าที่ไทยในราคาที่กำหนด และด้านการขายสินค้าเช่นกัน ทางเจ้าหน้าที่ไทยจะเพิ่มภาษีกับราคาสินค้าและขายแพงกว่าท้องตลาด ...
ตราชู สุวรรณานนท์ ,๒๕๑๙:๔๖


----------------------------------------
การเข้ามาเจรจาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างไทยและอังกฤษ แม้จะไม่ประสบความสำเร็จตามที่มุมหวังไว้แต่ การเข้ามาของครอเฟิดก็มิใช่จะไร้ผลเสียทั้งหมด เพราะอย่างน้อยการเข้ามาเพื่อความสัมพันธ์ทางการค้าครั้งนี้ก็เป็นเสมือนการวางรากฐานของการเข้ามาเจรจาในครั้งต่อไปแม้ทางปฏิบัติจะไม่ปรากฏว่าเป็นจริงหรือไม่ แต่ทางไทยก็ได้กล่าวว่าจะให้การคุมครองคนอังกฤษที่เข้ามาทำการค้า  ไทยก็อนุญาตให้มีการค้าได้ทุกประเภท และมีข้อตกลงที่จะไม่มีการเก็บภาษีสินค้าขาเข้าในอัตราที่สูงกว่าที่เป็นอยู่ และเจ้าหน้าที่ของไทยจะให้ความช่วยเหลือ อนุเคราะห์แก่พ่อค้าชาวอังกฤษ

มีอีกสิ่งหนึ่งที่จะไม่กล่าวไม่ได้ เพราะเห็นว่ามีความสำคัญที่จะเชื่อมโยงให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าปมปัญหาที่แท้จริงของไทยนั้นเป็นปมปัญหาที่เกิดขึ้นจากสนธิสัญญาเบาว์ริง มากน้อยเพียงใด เราควรที่จะพิจารณาจากทัศนคติของครอเฟิดต่อระบบการค้าของไทย ซึ่งเป็นเสมือนการพิจารณาจากสายตาของประเทศมหาอำนาจที่มองต่อไทย    ครอเฟิดได้สังเกตเห็นและได้ศึกษาถึงการบริหารประเทศของรัฐบาลไทยและกลุ่มอิทธิพลในราชสำนัก ในด้านการค้าว่า ชาติตะวันตกนั้นเสียเปรียบตะวันออกโดยเฉพาะชาวจีนและอินเดียซึ่งอยู่ในประเทศสยามเพราะขาดความเข้าใจในระเบียบประเพณี ซึ่งครอเฟิดได้ชี้อย่างเด่นชัดว่า เป็นเพราะเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของไทยไม่ซื่อสัตย์ หรือเรียกว่า ครอรับชั่น

ในสมัยต่อมาอังกฤษก็ได้ส่งเบอร์นีเข้ามาทำการเจรจาทางการทูตอีกครั้ง ในครั้งนี้ด้วยสภาวการณ์หลายประการทำให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ได้ปฏิเสธที่จะทำสนธิสัญญากับตะวันตก นั้นยินยอมทำ เนื่องจากกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้กราบทูลเตือน ในที่สุดแล้ว ไทยได้ยอมทำสัญญากับอังกฤษ สาเหตุที่ไทยยอมทำสนธิสัญญาด้วย นั้น คือ ไทยได้เคยปฏิเสธการทำสัญญาทางการค้ากับอังกฤษมา แล้ว หากจะทำการปฏิเสธอีกเห็นว่าจะไม่เหมาะ ด้วยที่ฝ่ายไทยเกรงว่า   ๑)จะทำให้เสียไมตรีต่อกัน และ ๒) พื้นที่ของอังกฤษในพม่ามีเขตแดนใกล้ไทย  ผู้ศึกษาเห็นว่าในข้อพิจาณานี้ อนุมานว่าไทยคงไม่ได้พิจารณาเรื่องของการสูญเสียไมตรีต่อกันมากเท่าที่ควร แต่พิจารณาถึงเรื่องราวที่อังกฤษทำสงครามกับพม่าจนพม่าพ่ายแพ้  นี่เองอาจจะเป็นเหมือนสัญญาณเตือนว่าอังกฤษนั้นมีภัยมากกว่าที่จะวางเฉยได้ การที่จะปล่อยให้อังกฤษรอคอยนั้นอาจจะนำภัยเรือปืนเข้าสู่ประเทศ  


-------------------------------------




อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูต่อประเพณีวัฒนธรรมไทย และสังคมไทย


คำนำ
                “โอม ศรีสิทธิเดโช  นโมนมัสการ  ข้าจะอ่านโองการ อัญเชิญเทพอันเจริญทั้งหลาย ขอเชิญพระนารายณ์ธิบดี ทั้งพระอิศวรมีศักดาเดช เป็นจอมมงกุฎเกศไกรลาส ขออภิวาทบูชา หนึ่งพระอุมาภวดีอันมีศรีเฉลิมโลก จงดับโรคให้เสื่อมหาย ขอเชิญพระพาย พระเพลิง ...แม่ซื้อเมืองบน แม่ซื้อเมืองล่าง....

                เสียงอ่านบทสังเวยบูชาแม่ซื้อที่มีมาแต่ครั้งโบราณกาลดังขึ้นเมื่อมีการกำเนิดของกุมารและกุมารี ศาสนาพราหมณ์แต่ดั้งเดิมคงจะเกิดจากลัทธิความเชื่อที่เรื่องของภูตผีวิญญาณ              หรือการเคารพบูชาในธรรมชาติ เมื่อมนุษย์สร้างอารยธรรมของตนขึ้นมา ก็มักจะชักของสิ่งที่หวาดหวั่นเข้าสู่อารยธรรมของตน  ด้วยความเขลาที่มีก่อนมนุษย์จะมีความฉลาดเฉลียว ทำให้มนุษย์ซึ่งมีความคิดความเชื่อและความหวากหวั่นในธรรมชาติที่มีอิทธิพลต่อตนเองและไม่อาจเข้าใจได้ว่าธรรมชาตินั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร รู้เพียงว่าธรรมชาติมีอิทธิต่อตน สามารถสรรค์สร้างทั้งความเจริญและความลำบากได้ มนุษย์จึงคิดว่าเหนือธรรมชาติขึ้นไปต้องมีผู้ที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ ณ ขณะนั้นมนุษย์ยังคงมีแต่ภูตผีที่ว่าเป็นผู้บันดาลทั้งทุกข์และสุข  ผีจึงเข้ามาพร้อม ๆ กับการแก้ปัญหาที่ว่าธรรมชาติที่เกิดขึ้น เกิดได้เพราะผู้ใด

                ภูตผีเข้ามาเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวมนุษย์เป็นสิ่งแรก และศาสนาก็เกิดขึ้นในระยะต่อมา ศาสนาทุกศาสนาล้วนมีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาทางจิตใจและตอบปัญหาที่มนุษย์ไม่รู้ ศาสนาพราหมณ์จึงเป็นศาสนาที่เก่าแกที่สุดศาสนาหนึ่งที่ยังคงมีเอกลักษณ์เฉพาะ และยังคงเป็นที่เคารพนับถือจนถึงปัจจุบัน ต่อมาเมื่อภายหลังศาสนาพุทธเกิดขึ้นมา ศาสนาพราหมณ์ซึ่งเกิดขึ้นก่อนหน้าจึงประสบปัญหาวิกฤติศรัทธา จนในภายหลังได้มีการแก้ไขปรับปรุงศาสนา คำสอนและแนวทางปฏิบัติ จนสามารถครองใจผู้คนที่ศรัทธาอย่างมหาศาล

                ภูตผีก็เป็นสิ่งแรกที่ประชาชนในภูมิภาคสุวรรณภูมิเคารพและเชื่อถือกันมานมนาน เมื่อเปลี่ยนความเชื่อจากการเคารพเชื่อถือในภูตผีเป็นศาสนาพราหมณ์ในสมัยต่อมาและเปลี่ยนเป็นศาสนาพุทธนั้น กล่าวได้ว่าภูมิภาคสุวรรณภูมิมีข้อเด่นอยู่สิ่งหนึ่งคือ เป็นภูมิภาคที่สามารถรับอารยธรรมหรือศาสนา ได้ทุก ๆ อารยธรรมและศาสนา จุดเด่นที่ควรแก่การกล่าวถึงคือ สุวรรณภูมิเป็นนักรับและปรับประยุกต์ คือ รับเอามาและทำการปรับประยุกต์ให้รูปแบบเข้ากับนิสัยใจคอและการดำเนินชีวิตมากที่สุด ศาสนาทั้งสาม (ความเชื่อและศาสนาพราหมณ์-พุทธ) จึงเข้ามาผสมผสานและอยู่ร่วมกันอย่างดี ไม่ขัดแย้ง

                อิทธิของศาสนาพราหมณ์จึงเข้ามาสู่ดินแดนไทยเป็นเวลาช้านาน อิทธิพลเข้ามาทั้งในด้านการเคารพศรัทธาในศาสนา ความเชื่อ ดังจะเห็นได้ทางเทพเทวดาที่คนไทยเคารพนับถือ อิทธิพลไม่ได้เข้ามาเพียงเท่านั้น แต่ค่อย ๆ แทรกซึมเข้ามาสู่การเป็นลัทธิประเพณี วัฒนธรรมความเชื่อ และการดำเนินชีวิตของผู้คน ด้วย ในรายงานชิ้นนี้ผู้ศึกษาทั้งสองคนได้พยายามค้นคว้าข้อมูลให้มากที่สุดเพื่อแสดงให้ผู้สนใจเห็นว่าอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนี้มีผลต่อการคงอยู่ของสังคมไทยทั้งในด้านประเพณีวัฒนธรรม และการดำเนินชีวิต

ผู้ศึกษาใคร่ขออภัยเป็นอย่างสูงหากได้มีข้อผิดพลาดทั้งในการจัดทำข้อมูล การพิมพ์ และการใช้ข้อความที่หนักไปเชิงผลงานเขียนมากกว่าผลงานวิชาการเชิงวิเคราะห์ หากมีข้อผิดพลาดประการใด ผู้ศึกษาขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว แต่หากรายงานชิ้นนี้มีคุณาประโยชน์ต่อผู้ใจ ผู้ศึกษาขอยกความดีนี้แด่บิดามาดาร ครูอาจารย์ที่ช่วยเหลือเกื้อกูล อบรมสั่งสอนจน ณ ปัจจุบัน


รายงาน  อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูต่อประเพณีวัฒนธรรมไทย และสังคมไทย
เสนอ รองศาสตราจารย์   นงเยาว์   ชาญณรงศ์
หัวเรื่อง อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูต่อประเพณีวัฒนธรรมไทย และสังคมไทย
โดย จัดทำโดย       นายรณภณ วจนะเสถียร                 รหัสนักศึกษา    ๕๖๑๒๒๒๐๑๐๓
  นายสุรเดช ภาพันธ์                         รหัสนักศึกษา    ๕๖๑๒๒๒๐๑๖๗ 
                              นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะมนุษยศาสตร์  สาขาไทยศึกษา     มหาวิทยาลัยรามคำแหง

บทคัดย่อ
                เป็นที่น่าสังเกตว่าอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนี้ มีความสำคัญต่อประเพณีวัฒนธรรมและสังคมไทยโดยเฉพาะในกลุ่มชนชั้นสูง ที่รับเอาอิทธิพลความเชื่อและลัทธิมาใช้ในการปกครองและเพื่อให้สมแก่การเป็นสมมุติเทพ พระเจ้าแผ่นดินซึ่งนิยมที่จะมีพราหมณ์โหราจารย์ เป็นที่ปรึกษาในการประกอบพระราชพิธีต่างๆ มหากาพย์รามายณะมีอิทธิพลต่อชนชั้นสูงของไทยมากโดยเฉพาะในสมัยอยุธยา กษัตริย์อยุธยาจะมีพระนามตามพระนามของพระราม  แต่อาจกล่าวได้ว่าอิทธิพลศาสนาพราหมณ์ในประเทศไทย ไม่ได้มาในรูปของการนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  ลัทธิหนึ่งใดโดยเด่นชัด หากแต่ผสมผสานระหว่างศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธจนแยกไม่ออก

                อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูที่มีต่อประเพณีวัฒนธรรมและสังคมไทยนั้น แบ่งออกเป็นพระราชพิธีในราชสำนัก, พระราชพิธีสำหรับพระนคร และพิธีที่ประกอบโดยชาวบ้าน  ๑) พระราชพิธีในราชสำนัก คือพระราชพิธีอันเกี่ยวเนื่องด้วยองค์พระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์ต่างๆ     ๒) พระราชพิธีสำหรับพระนคร คือพระราชพิธีที่พระเจ้าแผ่นดินได้ทรงทำเพื่อเป็นการมงคลสำหรับพระนคร    และ ๓) พิธีที่ประกอบโดยชาวบ้าน เป็นพิธีที่จัดกระทำขึ้นตามลัทธิพราหมณ์-ฮินดูแต่มีความเป็นพื้นบ้านมากกว่า มักเน้นหนักในเรื่องของเทพยดาต่าง ๆ

                นอกจากในเรื่องของพิธีกรรม ประเพณี ความเชื่อต่าง ๆ แล้ว อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนี้ ยังเข้ามามีอิทธิพลในเรื่องของวิถีชีวิตของคนไทย หรือต่อสังคมไทยด้วย  แต่หากพิจารณาดูแล้วอาจจะเห็นได้ไม่ชัดเจนนัก เพราะอิทธิพลประเภทหลังนี้เป็นอิทธิพลที่ซ่อนอยู่ภายใต้การเคารพและนับถือพุทธศาสนา ดังนั้น เราจึงมองเห็นว่าอิทธิพลนี้มีผลในทางประเพณีความเชื่ออย่างเดียว แต่แท้ที่จริงแล้ว หากเราพิจารณาทางสังคมศาสตร์ ก็จะเห็นว่า ประเพณีความเชื่อนี้เป็นตัวกลางที่ชักนำไปสู่การมีอิทธิพลทางสังคมและวิถีชีวิต เพราะตราบใดที่มนุษย์ยังต้องการยังคงต้องการที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ แล้ว ประเพณีความเชื่อจึงเข้ามามีอิทธิพล และส่งผลให้สังคมดำเนินไปพร้อม ๆ อิทธิพลของพราหมณ์-ฮินดูและพุทธ ประกอบกัน

ความสำคัญและที่มาของปัญหา
                ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เข้ามาในประเทศไทยอย่างช้านาน จึงเกิดวัฒนธรรม ประเพณี ลัทธิความเชื่อ ทั้งต่อชนชั้นสูงของประเทศและประชาชนโดยทั่วไป อาจจะกล่าวได้ว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนี้เข้ามาเกี่ยวข้องสังคมไทย ๓ อย่างด้วยกัน คือ ทางด้านประเพณี ทางด้านสังคม และทางด้านการดำเนินชีวิตหรือวิถีชีวิตของผู้คนทั่วไป ศาสนาพราหมณ์หาใช่ศาสนาที่ประชาชนส่วนใหญ่ของไทยเคารพนับถือไม่ ศาสนาพราหมณ์หากเปรียบแล้ว อาจจะสามารถมองภาพว่าเป็นเพียงลัทธิความเชื่อหนึ่งเท่านั้นที่เข้ามามีอิทธิพลต่อคนไทยแต่ไม่ใช่ศาสนา

                ความเจริญของสังคมไทยนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งทางด้านความเติบโต และความเจริญทาง-เศรษฐกิจ ทำให้สังคมไทยมีความเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างทั้งวิถีชีวิต ความเชื่อศรัทธา และประเพณีวัฒนธรรม  การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลต่อศาสนาพุทธไปบ้างแล้ว ดังที่เห็นข่าวตามสื่อต่าง ๆ เสนอ ความเจริญในด้านชีวิตก็นำสู่ความเสื่อมในความเชื่อคงวามศรัทธา เมื่อช่วงเวลาแห่งวิทยาศาสตร์เข้ามาแทนที่ศาสนา ลัทธิความเชื่อ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูยังคงเอกลักษณ์ที่สำคัญอยู่ และดำรงอยู่อย่างยาวนานในสังคมไทย

                ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนตั้งแต่พุทธกาล เมื่อศาสนาพุทธกำเนิดขึ้น วิกฤติศรัทธาก็เกิดขึ้นแก่ศาสนา แต่เมื่อการปรินิพพานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ศาสนาพราหมณ์ดูเหมือจะฟื้นกลับคืนและตั้งต้นใหม่อย่างหนักแน่น การเข้ามาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในไทย เข้ามาผ่านระบอบกษัตริย์ที่ถือว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นองค์สมมุติเทพ การคงอยู่อย่างยาวนานของลัทธิความเชื่อนี้ จึงยังสามารถคงอยู่ ทั้งจากปัจจัยการเกี่ยวเนื่องจากความเชื่อดั้งเดิมที่ชาวไทยนับถือผี และศาสนาพราหมณ์ที่ไม่ปฏิเสธความมีอยู่แห่งภูตผี

                ในการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องจากระยะการเคารพในธรรมชาติสู่การรับนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูอย่างเป็นศาสนา สู่การรับนับถือพุทธศาสนา ตลอดระยะเวลาของประวัติศาสตร์ไทย ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูยังสามารถคงอยู่ได้อย่างเหนียวแน่น ดังนั้นผู้ศึกษาจึงสนใจที่จะศึกษาถึงปัจจัยต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นการคงอยู่ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในด้านอิทธิพลต่อประเพณี วัฒนธรรม และสังคมไทย เป็นสำคัญ


วัตถุประสงค์ของการศึกษา
๑. เพื่อศึกษาอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูต่อประเพณี
๒. เพื่อศึกษาอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูต่อวัฒนธรรมไทย
๓. เพื่อศึกษาอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูต่อ สังคมไทย

ขอบเขตของการศึกษา
ทำการศึกษาอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูต่อประเพณีวัฒนธรรมไทย และสังคมไทย ทั้งทางตรงและอ้อมโดยการอธิบายให้ทราบถึงความเป็นมาแห่งศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จากการเป็นศาสนาที่ชาวไทยนับถือ สู่การเป็นลัทธิที่ฝังรากลึก อิทธิพลที่มีต่อสังคมไทยทั้งด้านชนชั้นสูงจนถึงประชาชนทั่วไป

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
การศึกษาค้นคว้าอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูต่อประเพณีวัฒนธรรมไทย และสังคมไทย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑.      เป็นการขยายขอบเขตความรู้ในสาขาไทยศึกษา หมวดปรัชญาศาสนา  ให้กว้างขว้างและเป็นความรู้
๒.    ทำให้ทราบถึงความเป็นมาที่เกี่ยวเนื่องกับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูต่อประเพณีวัฒนธรรมไทย และสังคมไทยทั้งทางตรงและอ้อม
๓.     ทำให้ทราบถึงกระบวนการพิธีกรรมความเชื่อตลอดจนลัทธิประเพณีโดยการอธิบายอ้างอิงจาก อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูต่อประเพณีวัฒนธรรมไทย และสังคมไทยเป็นสำคัญ



-----------------------------------------------




การรายงานเอกสารทางประวัติศาสตร์
 “รวมพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จ-พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”


เอกสารที่ใช้อ้างอิงในการรายงานโดยหลัก
๑. หนังสือ พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมครั้งที่ ๕ .พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์ในโอกาสการบำเพ็ญพระกุศลพระชนมายุสมมงคล สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุฉาเจ้า เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๙     พิมพ์โดยโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร
๒. หนังสือ รวมพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง พระราชหัตถเลขาในพระบาท -สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว    จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาสที่วันพระบรมราชสมภพครบ ๒๐๐ ปี วันที่ ๑๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗     โดยคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอม-เกล้าเจ้าอยู่หัว
(-หนังสือที่อ้างอิงประกอบร่วม รวมรายชื่อในบรรณานุกรม-)

ขอบเขตเนื้อหาที่รายงาน

รายงานเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศ์จักรี โดยเอาเอกสารพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมครั้งที่ ๕ ที่กล่าวถึงคณะทูตานุทูตที่ออกเดินทางไปในการพระราชไมตรีกับประเทศอังกฤษ ในสมัยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พุทธศักราช ๒๔๐๐ หรือ คริสศักราช ๑๘๕๗ มากล่าวบรรยายว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงคณะทูตานุทูตในเรื่องราวใดบ้าง และมีเรื่องราวใดที่น่าสนใจเป็นพิเศษ  พระราชอุปนิสัยส่วนพระองค์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวปฏิบัติโดยแสดงออกมาในพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ถึงคณะทูตานุทูตบางคนเป็นการเฉพาะ  ทั้งนี้เนื่องด้วยพระราชนิพนธ์พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้นเป็นลักษณะการทราบความเพียงฝ่ายเดียวคือ ผู้ศึกษาจะรับรู้และทราบความเป็นไปเฉพาะด้านทางพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคิดและตรัสถึง แต่เราจะไม่ทราบว่าคณะทูตานุทูตที่ไปลอนดอนในครั้งนั้นมีพระราชสาสน์ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างไร ผู้รายงานจึงได้กำหนดขอบเขตเนื้อหาที่จะรายงานดังนี้

-                   พระราชประวัติโดยสังเขปของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว    พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับอื่น ๆ ที่ตรัสถึงพระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งในแง่สรรเสริญและน้อยพระราชหฤทัย

ด้านการต่างประเทศ
-                   รายงานเน้นหนักในพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จัดรวมขึ้นในครั้งที่ ๕ เป็นหลัก กล่าวคือรายงานให้ผู้ฟังทราบถึงความเป็นไปแห่งการส่งคณะทูตานุทูตไปยังลอนดอน รายงานรายชื่อคณะทูตานุทูต  บัญชีเครื่องราชบรรณาการ สิ่งของที่จัดเตรียมไว้ให้ทูตไป คำทูตถวายมอบพระราชสาสน์ และกล่าวถึงความสำคัญของอังกฤษว่าเหตุใดสยามจึงจะต้องส่งคณะทูตานุทูตไปยังอังกฤษเพื่อเจริญพระราชไมตรีต่อกัน
-                   การต่างประเทศกับเอกราชและอธิปไตยของสยามประเทศในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชกุศโลบายและทางออกของวิกฤติการณ์ความไม่มั่นคงของการต่างประเทศระหว่างราชอาณาจักร
-                   กล่าวถึงความสำคัญและบทบาทของทูตจากต่างชาติและชาวต่างชาติที่เข้ามามีบทบาทในพระราชอาณาจักรสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสนธิสัญญาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในรัชกาลและภายหลัง โดยกล่าวเน้นในสนธิสัญญาเบาว์ริงเป็นสำคัญ
-                   การเจริญพระราชไมตรีในฝรั่งเศส (กล่าวเพียงสังเขป)
-                   การถ่วงดุลอำนาจของมหาอำนาจชาติตะวันตก
ด้านศาสนา สังคม  วิทยาการ
-                   พระราชหัตถเลขาที่กล่าวถึงพระพุทธศาสนา และแสดงพระอริยภาพในด้านภาษาบาลี สันสกฤต และความเข้าพระทัยในคำสอน วินัย ทางพระพุทธศาสนา   และทัศนะด้านศาสนาส่วนพระองค์
-                   พระราชอุปนิสัยส่วนพระองค์ที่แสดงออกในพระราชหัตถเลขา โดยยกแสดงบางฉบับให้เห็นความชัดเจน
-                   พระราชไมตรีด้านการต่างประเทศทั้งกับเมืองประเทศราชและมหาชาติยุโรป
-                   ความสนพระทัยในด้านการแพทย์ และความเข้าใจการการแพทย์ตะวันออกและตะวันตกของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
-                   ขนบธรรมเนียมประเพณีราชสำนักในพระราชกระแสรับสั่ง ที่ปรากฏในพระราชหัตถเลขา
การพัฒนาประเทศ เศรษฐกิจ สังคม และชาติ
-                   การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงสกุลเงินไทย การปรับแปลงระบบการจัดทำเหรียญ 


พระราชประวัติโดยสังเขป  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระนามเดิมว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้ามงกุฎ” ทรงพระราชสมภพในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๓๔๗ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๔๓ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระบรมราชินี
                พระองค์ได้เสด็จออกผนวช เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๓๖๗ ขณะเจริญพระชันษาได้เกือบ ๒๐ พรรษา มีพระนามฉายาว่า “วชิรญาโน” แต่โดยทั่วไปเรียกขานพระองค์ว่า “พระวชิรญาณเถระ”  เมื่อผนวชได้ ๑๕ วัน พระราชชนกก็เสด็จสวรรคต โดยมิได้ตรัสมอบราชสมบัติให้แก่เจ้านายพระองค์ใด ที่ประชุมจึงได้ทูลเชิญกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระราชโอรสองค์ใหญ่ที่ประสูติแต่พระสนมเอกขึ้นครองราชย์ ด้วยเหตุนี้เจ้าฟ้ามงกุฎจึงตัดสินพระทัยดำรงอยู่ในสมณเพศต่อไปตลอดรัชสมัยรัชกาลที่ ๓ นับเป็นเวลาได้ ๒๗ วันการที่เจ้าฟ้ามงกุฎผนวชเป็นเวลานานนั้นได้ก่อประโยชน์ทั้งต่อพระองค์เองและประเทศชาติหลายประการ กล่าวคือได้มีโอกาสศึกษาภาษาต่างประเทศ เช่นภาษาละติและอังกฤษจากนักบวชสอนศาสนา จนพระองค์สามารถตรัสรับสั่ง ทอดพระเนตรอ่าน   ทรงพระอักษร ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี   และทั้งนี้ด้วยการครองเพศสมณะทำให้ให้พระองค์ต้องได้จาริกออกธุดงไปตามชนบทต่าง ๆ ได้ทอดพระเนตรเห็นราษฎรประสบความทุกข์ยากลำบาก เมื่อภายหลังพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์ พระองค์จึงได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และกำหนดนโยบายการปกครองประเทศใหม่
                เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนเสด็จสวรรคตได้ตรัสรับสั่งเวนคืนราชสมบัติให้เจ้านายตามที่ประชุมจะเห็นชอบ ที่ประชุมจึงได้ตกลงทูลเชิญเจ้าฟ้ามงกุฎขึ้นครองราชย์สมบัติสืบต่อมา ในวันที่  ๒  -เมษายน   พุทธศักราช   ๒๓๙๔ 
                เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จอยู่ในสิริราชสมบัติแล้วได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาเจ้าฟ้าชายจุฑามณี พระอนุชาร่วมพระชนนี โดยขณะนั้นดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าขุนอิศเรศรังสรรค์ ขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรงพระราชอิสริยยศเสมอพระเจ้าแผ่นดินทุกประการ ทำให้เป็นที่กล่าวกันว่าในรัชกาลที่ ๔ นี้ไทยมีพระมหากษัตริย์ถึง ๒ พระองค์
                หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จ ฯ กลับจากการทอดพระเนตสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ ได้ราว ๑๐ วัน ก็พระประชวรด้วยพระโรคไข้จับสั่นและเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งภานุมาศจำรูญ    เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๑๑ สิริพระชนมายุ ๖๔ พรรษา รวมระยะเวลาครองราชย์สมบัตินาน ๑๗ ปีเศษ
                พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชโอรสพระราชธิดา รวมทั้งสิ้น ๘๒ พระองค์ มีสมเด็จพระเทพศิรินทรา เป็นพระบรมราชินี

พระราชประวัติโดยสังเขป  พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ หรือเรียกขานพระองค์โดยย่อว่า “ทูลกระหม่อมฟ้าน้อย”  หรือ “เจ้าฟ้าน้อย”  ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๕๑  ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๕๐ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ครั้งต่อมาได้เสด็จขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สอง ร่วมกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีความสนพระทัยในการต่างประเทศเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงมีบทบาทในการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กล่าวกันว่าพระองค์เป็นเจ้านายที่ทูตต่างประเทศต่างยกย่องชมเชยและชื่นชมในพระบารมี
                นอกจากนั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยาหัวยังทรงมีส่วนร่วมในการพิจารณาและร่างพระราชสาส์นตราตั้งแต่งตั้งอัครราชทูตไปในการพระราชไมตรีอีกด้วย


พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมครั้งที่ ๑-๖ กล่าวถึงอะไร


                พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นี้เป็นเอกสารที่มีความสำคัญและมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการศึกษาหลากหลายแขนงด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ประวัติศาสตร์ โบราณคดี อักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ เป็นต้น จากพระบรมราชวินิฉัยเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ ทำให้ผ้ที่สนใจศึกษาทราบถึงสถานการณ์บ้านเมืองทั้งภายในและภายนอกประเทศ อันเป็นการเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงจากระบบเก่าเข้าสู่ระบบใหม่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงภูมิปัญญาอันประเสริฐอย่างยิ่ง ประกอบกับพระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาษาบาลี มคธ ลาติน อังกฤษ ความที่พระองค์มีความเชื่อมั่นในพระองค์สูง และทรงมีพระวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ประกอบกับในช่วงระยะเวลานั้น เป็นช่วงที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกท้าทายจากประเทศมหาอำนาจตะวันตก คืออังกฤษและฝรั่งเศส ทั้งสองประเทศต่างแข่งขันกันในการแสวงหาอาณานิคม โดยมีความสัมพันธ์ทางการค้าเป็นหลักในระยะต้น แต่ต่อมาก็ทวีความต้องการนำไปสู่การยึดครองอาณานิคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงตระหนักว่าประเทศไทยไม่สามารถดำรงอยู่ได้โดยปราศจากมิตรประเทศตะวันตกตลอดจนความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแห่งโลกตะวันตก จึงได้ดำเน้นพระวิเทโศบายทางการทูตติดต่อประสานสัมพันธ์กับประมุขของประเทศต่าง ๆ อีกทั้งพระองค์ยังได้ติดต่อทั้งประมุขทางศาสนา พ่อค้า ประชาชนสามัญ   กล่าวได้ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาติดต่อไปมากับพระสหายชาวต่างชาติอยู่อย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่ยังไม่เสด็จขึ้นครองราชย์ ไปจนตลอดรัชกาลของพระองค์ 

                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ยังพระราชทานบรมราชานุญาตให้ผู้สอนศาสนาเข้ามาเผยแผ่ศาสนาอย่างเสรีพร้อมกับนำวิทยาการทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาช่วยพัฒนาให้บ้านเมืองมีความเจริญยิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้ได้ช่วยปกป้องประเทศชาติมิให้ตกเป็นอาณานิคมของชาติมหาอำนาจทั้งยังอำนวยประโยชน์มาถึงปัจจุบัน

                นอกจากนี้พระราชหัตถเลขายังสะท้อนให้เห็นถึงพระราชจริยาวัตร พระราชกิจส่วนพระองค์  ความใส่พระราชหฤทัยต่อสิ่งต่าง ๆ ที่สังเกตเห็นได้จากพระราชหัตถเลขา ตลอดจนความห่วงอาทรต่อพระสหาย คณะทูต ข้าราชการ และประเทศชาติบ้านเมือง

                พระราชหัตถเลขารวมครั้งที่ ๑-ครั้งที่ ๖ รวมมีทั้งสิ้น ๑๙๖ ฉบับ

พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมครั้งที่ ๑
โดยยกมาแสดงเพียงบางพระราชหัตถเลขาที่มีความสำคัญในด้านต่าง ๆ
ด้านการศาสนา  
พระราชหัตถเลขา ฉบับที่ ๑๒
พระราชหัตถเลขา พระราชทานพระราชาคณะ
กล่าวโดยใจความถึง คาถาชุบตัวให้กล้า ในการทำพิธีทั้งปวง  คาถาต่าง ๆ แสดงให้ทราบถึงพระอัจฉาริยภาพส่วนพระองค์ในด้านภาษา ที่พระองค์มีความเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะภาษาบาลี ว่าพระองค์มีความแตกฉานในด้านภาษานี้มาก และใช้ได้อย่างถูกต้อง
พระราชหัตถเลขา ฉบับที่ ๑๗
พระราชนิพนธ์ ทรงขมาพระสงฆ์เมื่อจะสวรรคต
ใจความสำคัญโดยย่อ  เป็นพระราชนิพนธ์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ก่อนที่พระองค์จะเสด็จสวรรคต โดยมีใจความเป็นแปลเป็นภาษาไทย ๑ และภาษาบาลี ๑   รับสั่งให้พระศรีสุทรโวหารจดพระราชนิพนธ์ตั้งแต่ต้นจนจบ แล้วโปรดให้จัดเครื่องสักการบูชาให้เชิญไปกับหนังสือพระราชนิพนธ์นี้ไปยังที่ประชุมพระสงฆ์ราชาคณะ ที่วัดราชประดิษฐ์ ฯ
ด้านการต่างประเทศ
พระราชหัตถเลขา ฉบับที่ ๑๑   
พระราชหัตถเลขา ถึงองค์สมเด็จพระนโรดม เจ้ากรุงกัมพูชา
ใจความสำคัญโดยย่อ  ในข้างต้นกล่าวถึงการใช้สรรนานเรียกแทนพระองค์และสรรนามเรียกแทนองค์สมเด็จพระนโรดม เจ้ากรุงกัมพูชา  และช่วงกลางและท้ายกล่าวถึงสาเหตุว่าทำไมพระองค์จึงมีความกังวลพระราชหฤทัยที่ต้องกล่าวเรียกสรรพนามแทนพระองค์และองค์สมเด็จพระนโรดม เจ้ากรุงกัมพูชา อันเนื่องด้วยการที่ประเทศไทยยอมรับสัญญาของฝรั่งเศสรับอุปถัมภ์ให้กัมพูชาเป็นเอกราชไม่ขึ้นกับเมืองใด และประเทศไทยก็ยอมรับสัญญานั้น อันแสดงให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์สมเด็จพระนโรดม เจ้ากรุงกัมพูชา มีฐานะสูงส่งเทียมกัน ควรใช้คำกล่าวสรรพนามให้ถูกต้องตามฐานะที่ควรเป็น

เหตุใดจึงมีพระราชหัตถเลขาฉบับนี้ออกมา

                หากกล่าวก่อนหน้านี้ประเทศกัมพูชา และลาวล้วนตกเป็นเมืองประเทศราชของไทยทั้งสิ้น กัมพูชานนั้น เมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กัมพูชาแบ่งออกเป็นสองฝ่ายด้วยกัน กล่าวโดยสรุปคือแบ่งเป็นฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ สำหรับฝ่ายเหนือนั้นขึ้นกับไทย แต่ฝ่ายใต้ขึ้นกับญวน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ จึงได้ทำสงครามกับญวน ยาวนานถึง ๑๔ ปีจึงทำการสงบศึก โดยไทยได้ประกอบพิธีราชาภิเษกพระเจ้ากรุงกัมพูชา และให้กัมพูชาส่งบรรณาการแก่ไทยทุก ๆ ปี และให้แก่ญวน ๓ ปีครั้ง

                ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กัมพูชาตรงกับสมัยพระหริรักษ์รามาธิบดี ซึ่งมีความผูกพันกับไทยเป็นอย่างมาก เพราะองค์พระนโรดมนั้นเคยยู่กรุงเทพฯ เป็นเวลานานกว่า ๑๐ ปีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงชุบเลี้ยงอย่างพระราชบุตรบุญธรรม

                แต่เมื่อฝรั่งเศสเข้ามาทำพระราชไมตรีกับไทยแล้ว ก็ตระหนักได้ว่าไทยมีอำนาจต่อกัมพูชาเป็นอย่างมาก สาเหตุสำคัญที่ฝรั่งเศสต้องการให้กัมพูชามาเป็นอาณานิคมของตนเอง เนื่องจาก กัมพูชามีแม่น้ำโขง ที่ฝรั่งเศสหวังว่าแม่น้ำสายนี้อาจะเป็นทางนำฝรั่งเศสไปสู่ยูนนาน ประเทศจีน เพราะฝรั่งเศสคาดว่ายูนนานนั้นเป็นตลาดที่สำคัญ   ในประการต่อมา เพราะกัมพูชามีการประมงขนาดใหญ่ตามชายฝั่งทะเลสาบ ประการที่ ๓ กัมพูชาส่งเสริมให้ญวนใต้ตกเป้นของฝรั่งเศสได้ง่ายยิ่งขึ้น และอาจจะใช้เป็นหนทางในการไปสู่ภาคเหนือในเวลาต่อไปได้   ประการสุดท้าย กัมพูชาเป็นแหล่งเสบียงกรังที่สำคัญของฝรั่งเศสได้ 

                ในช่วงเวลาต่อมาฝรั่งเศสก็พัฒนาความมีอำนาจเหนือดินแดนกัมพูชามากขึ้นทุกขณะ จนในที่สุด ว่าที่นายพลเรือเอก เดอ ลา กรองดิแยร์ ได้เข้าไปในกัมพูชา โดยได้เข้าเฝ้าองค์พระนโรดม ทั้งนี้กรองดิแยร์ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี และร่วมเสวยด้วย  ในระหว่างมื้อพระกระยาหารนั้น กรองดิแยร์ได้ชี้ให้กัมพูชาเห็นว่ากัมพูชาจะได้อะไรถ้าทำสัญญากับฝรั่งเศส และแนะให้องค์พระนโรดมข้าใจว่าฝรั่งเศสอยากให้กัมพูชาเป็นรัฐในอารักขา   แม้ว่าในข้างต้นองค์พระนโรดมจะไม่เห็นด้วยในแบบร่างสัญญา เพราะพระองค์พิจารณาเห็นว่ามีจุดมุ่งหมายที่ไม่ดีต่อไทย แต่กระนั้น ในเวลาต่อมาเมื่อกรองดิแยร์ได้กลับไปแก้ไขร่างสัญญา คราวนี้กัมพูชาแสดงท่าทีเหยีบเรือสองแคม คือเมื่อทำสัญญากับฝรั่งเศสแล้วก็เกรงกลัวต่อราชภัยจากไทย จึงได้สังจดหมายมายังเจ้าพระยากลาโหมทันที เพื่อเล่าว่าพระองค์ถูกบังคับให้ลงนามในสัญญากับฝรั่งเศส

                แม้ว่าไทยจะทำสัญญาลับกับกัมพูชา แต่ก็หาได้สำเร็จสมประสงค์ไม่ เพราะก่อให้เกิดภาวะสงครามเย็นระหว่างไทยกับฝรั่งเศส จนในที่สุดแม้ว่าไทยจะพยายามที่จะทำการาชาภิเษกองค์พระนโรดม เพื่อยืนยันสิทธิของไทยตามสัญญาลับที่ทำ แต่ทางฝรั่งเศสก็เข้ามาขัดขวาง ในที่สุดไทยจึงยอมให้องค์พระนโรดมทำการราชาภิเษกโดยมีตัวแทนจากฝ่ายไทยและฝรั่งเศสทำร่วมกัน

ฉบับที่ ๑๔
พระราชหัตถเลขา ว่าด้วยพระอาการกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศประชวร
ใจความสำคัญโดยย่อ  กล่าวถึงพระอาการกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศประชวร  พร้อมทั้งยังแสดงให้ทราบถึงพระอัจฉารยิภาพในด้านการแพทย์แผนไทย ดังข้อความบางส่วนในพระราชหัตถเลขา ดังนี้
“... อาการที่คนเป็นวิงเวียนมืดหน้ามัวตาสวิงสวายเรียกว่าลมนั้น ข้าพเจ้าเห็นว่า เป็นเพราะเสมหะแลโลหิตแค่นข้นเข้า จนโลหิตสะอาดทางชีพจรก็ดี ลมที่จะหาวเรออ้วกฤาผายทางล่างโดยปรกติก็ดี ต้อนค้นต้องแหวกของที่ข้น ...”

พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รวมครั้งที่ ๒
ด้านการศาสนา

พระราชหัตถเลขา ฉบับที่ ๑
พระราชนิพนธ์ ว่าด้วยลักษณะการเคารพพระรัตนตรัย
ใจความสำคัญโดยย่อ    ข้างต้นเป็นคาถาภาษาบาลี  ตอนกลางกล่าวถึงการบูชาพระรัตนตรัยในคติการปฏิบัติต่าง ๆ ของแต่ละชาติ เช่นจีนมีคติการเคารพพระเจ้าอีกแบบหนึ่ง ไทยก็เป็นอีกแบบหนึ่ง   การเคารพผู้อาวุโสมากกว่า น้อยกว่า ก็ต่างกันไปอีกแบบหนึ่ง และยังให้ข้อมูลในคติการปฏิบัติของประชาชนที่ยึดคติปฏิบัติของการเฝ้าแห่นพระเจ้าแผ่นดินแล้วต้องหมอบลงกับพื้นและไม่สามารถเงยหน้าขึ้นได้  เป็นต้น ตอนท้ายกล่าวถึง คำในภาษาบาลีที่แปลเป็นไทย โดยอธิบายให้ชัดเจน
ด้านกาต่างประเทศ

พระราชหัตถเลขา  ฉบับที่ ๔
พระราชหัตถเลขา (เข้าใจว่าถึงทูตที่ไปประเทศอังกฤษ เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ.๒๔๐๐ )
อนึ่ง “พระราชหัตเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฉบับนี้ทรงด้วยดินสอไว้ในสมุดถือเฝ้า สมเด็จพระเจ้าบวรเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาณุพันธุวงศ์วรเดช ประทานหอพระสมุดวชิรญาณ เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ฑ.ศ.๒๔๖๓
                พิเคราะห์ดูเนื้อความตามพระราชหัตถเลขา เข้าใจว่าเป็นพระราชหัตถเลขาไปรเวตถึงพระยามนตรีสุริยวงศ์ ชุม ฤามิฉะนั้นก็เจ้าหมื่นสรรพเพธภักดี  เมื่อเป็นทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีที่กรุงลอนดอน เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๐๐ แต่จะมีพระราชหัตถเลขาฉบับนี้ไป ฤาจะเป็นแต่ร่างขึ้นแล้วมิได้ส่งไป อาจจะเป็นไปได้ทั้ง ๒ อย่าง
                เนื้อเรื่องพระราชหัตถเลขานี้ ทรงปรารภว่าพวกลังกาไม่นับถือพระทันตธาตุเหมือนเดิมแต่ก่อน บางทีอาจจะซื้อได้อย่างครั้งพวกลังกาโปรตุเกศเคยขายแก่พระเจ้าหงษาลิ้นดำครั้งที่ ๑ ให้ฟังลาดเลาดูที่รัฐบาลอังกฤษฯ”

ด้านประเพณี วัฒนธรรม  จารีต พระราชพิธี
พระราชหัตถเลขา ฉบับที่ ๑๐   
กระแสรับสั่งในงานพระศพ กรมหมื่นวิศณุนารถนิภาธร ปีกุน พ.ศ.๒๔๐๖
สรุปใจความสำคัญโดยย่อ   กล่าวถึงการทำการจารึกพระพุทธรูปฉลองพระองค์อุทิศถวายพระราชทาน    ว่าด้วยชั้นพระราชวงศ์ซึ่งสมควรทรงขาว  ว่าด้วยพระโกศทองใหญ่ 

พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รวมครั้งที่ ๓
มีข้อมูลซ้ำหลายแห่ง บางฉบับซ้ำ   ยกไม่กล่าวถึง

พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมครั้งที่ ๔
พระราชหัตถเลขา  ฉบับที่ ๕
พระราชหัตถเลขาภาษาอังกฤษ พระราชทานไปยัง เสอร ชยอน เบาว์ริง   ราชทูตอังกฤษ   ปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๙๘
กรมพระสวัสดิ แปลถวายใหม่ จากสำเนาในสมุดซึ่ง เสอร ชยอน เบาว์ริง ให้พิมพ์
สรุปใจความสำคัญโดยย่อ   กล่าวถึงการยิงสลุตตามประเพณีอังกฤษที่ต้องยิงเพื่อแสดงความเคาพต่อพระเจ้าแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชานุญาตให้ทำตามธรรมเนียมอังกฤษและข้างฝ่ายไทยก็จะยิงสลุตตอบจำนวน ๒๑ นัดเช่นเดียวกัน


พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รวมครั้งที่ ๕
คำอธิบาย   สำหรับการรายงานในครั้งนี้ ผู้รายงานจะเน้นรายละเอียดในพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมครั้งที่ ๕ นี้เป็นอย่างมาก เนื่องด้วยเป็นพระราชหัตถเลขาที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ มีไปถึงเหล่าคณะราชทูตที่ไปเจริญพระราชไมตรี   ณ กรุงลอนดอน

เหตุใด เหล่าคณะทูตานุทูตของไทย จึงต้องไปส่งสาส์นเจริญพระราชไมตรี ณ กรุงลอนดอน ?
               ในหนังสือ “รัตนโกสินทร์ยุคปรับปรุงประเทศ (พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๗๕)” ของภารตี มหาขันธ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน   ได้กล่าวถึงสาเหตุที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ต้องส่งเหล่าคณะทูตานุทูต ไปเจริญพระราชไมตรีกับประเทศอังกฤษ ใจความว่า

                ในตอนปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวความสัมระหว่างไทยกับประเทศตะวันตกนั้นมีความตึงเครียดมาก กล่าวกันว่าหากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่เสด็จสวรรคตแล้ว ปรากฏการณ์เรือปืนของประเทศตะวันตก ควรจะเกิดขึ้นในสยามประเทศเป็นแน่         เพราะทั้งทูตจากอเมริการและอังกฤษที่เข้ามาเจริญพระราชไมตรีกับประเทศไทย ได้รับการไม่ตอบรับจากราชสำนัก ทำให้ทั้งสองประเทศมหาอำนาจต่างมีข้อสรุปกันว่า จะต้องใช้กำลังกับสยามประเทศในการจัดการเรื่องความสัมพันธ์           ดังเช่นที่ เซอร์เจมส์ บรูค ทูตอังกฤษ ที่เข้ามาในสยามขณะนั้น ได้เสนอให้รัฐบาลอังกฤษใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดกับไทย

                แต่ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จสวรรคตแล้ว ที่ประชุมขุนนางได้อัญเชิญเจ้าฟ้ามงกุฏขึ้นเสวยราชสมบัติสืบต่อ ทำให้ความตึงเครียดกับประเทศมหาอำนาจตะวันตกลดน้อยลง  ดังจะเห็นได้ว่าเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๓๙๔ กระทรวงต่างประเทศได้ส่งทูตเข้ามายังประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง   ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้มีพระราชหัตถเลขาไปยังผู้สำเร็จราชการปีนัง มะละกา และสิงค์โปร์ ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และพระองค์ก็เห็นความสำคัญของการเจริญพระราชไมตรี แต่เนื่องด้วยติดงานพระราชพิธีพระบรมศพของรัชกาลที่ ๓ อยู่จึงใคร่ขอให้เลื่อนวันเวลาที่จะเข้ามาเจริญพระราชไมตรี เพราะจะเกิดความไม่สะดวกและทำการต้อนรับไม่สมพระเกียรติ

                ในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๙๗   ผู้สำเร็จราชการสิงคโปร์ ได้ส่งหนังสือกราบบังคมทูล เรื่อง เซอร์ จอห์น เบาริง ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลอังกฤษให้มีอำนาจมาเจริญพระราชไมตรีและเจรจาทำสนธิสัญญากับราชสำนักไทย   ในการครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่  ๔ จึงได้มีพระราชหัตถเลขาถึงเซอร์ จอห์น เบาริง แสดงความยินดีที่ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นเซอร์ และได้รับมอบอำนาจจากพระนางเจ้าวิคตอเรีย ที่จะเข้ามาทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับไทย
                การเข้ามาของเซอร์ จอห์น เบาวริง เป็นการเดินทางมาเพื่อจเริญพระราชไมตรีและมีข้อควรทราบที่สำคัญคือ เข้ามาเพื่อแก้ไขข้อสนธิสัญญาเพื่อผลประโยชน์ของประเทศอังกฤษ 

                สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์ไว้ว่า การพิจารณาทำสนธิสัญญาฉบับนี้เป็นไปด้วยความลำบาก   ดังปรากฏอยู่ในตอนหนึ่งในหนังสือ “ความทรงจำ”
“... แต่ทางภายนอกมีเหตุเป็นข้อวิตกอยู่ ด้วยเมื่อใกล้สิ้นรัชกาลที่ ๓ รัฐบาลอังกฤษให้มาขอทำหนังสือสัญญาใหม่ แต่ข้างฝ่ายไทยไม่ยอมทำ ... ข้างพวกสมัยเก่าเห็นว่าถ้าอังกฤษลดหย่อนผ่อนผันข้อความที่ปรารถนาลง อย่าให้ขัดกับประเพณีบ้านเมืองก็ควรให้ทำ มิฉะนั้นก็ไม่ควรยอมทำหนังสือสัญญา  ... อย่างไร ๆ ไทยก็คงต้องทำหนังสือสัญญาใหม่กับอังกฤษ ผิดกันแต่เวลาช้าหรือเร็ว ถ้าไม่ยอมทำก็คงเกิดภัยอัตราแก่บ้านเมือง ในพวกสมัยใหม่คิดเห็นกันอย่างนี้ทั้งนั้น แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นการไกลกว่าผู้อื่น ทรงพระราชดำริว่า ทางที่จะให้ปลอดภัยมีทางเดียว แต่ต้อนรับทำหนังสือสัญญาโดยดีให้เกิดจิตไมตรีต่อกัน...”

                แม้ว่ากลุ่มข้าราชการ ขุนนาง จะมีทัศนะความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป แต่กระนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงเห็นการณ์ไกลกว่านั้น และสรุปพระทัยว่าจะต้องทำไมตรีต่อประเทศฝ่ายยุโรป เพราะทรงตระหนักถึงความสำคัญและอำนาจของยุโรป

                ในข้างฝ่ายเซอร์ จอห์น เบาริง ได้บันทึกข้อความแสดงให้ทราบว่า ในการทำสัญญาครั้งนี้ก็เต็มไปด้วยความยากลำบาก ดังที่ปรากฏในบทความที่ยกมาจากหนังสือ “ ความทรงจำ” นั้นแล้ว  ในวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๓๙๘  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งคณะเสนาบดีทำหน้าที่พิจารณาทำหนังสือสัญญากับเซอร์ จอห์น เบาริง   โดยมีบุคคลสำคัญหนึ่งในนั้นคือ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์  และในที่สุดการเจรจาก็ประสบผลสำเร็จ อังกฤษและไทยได้ลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ต่อกันในวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ.๒๓๙๘ หรือก่อนคณะราชทูตของไทยเดินทางไปเจริญพระราชไมตรีที่กรุงลอนดอน ๒ ปี

                สรุปได้ว่า การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงเห็นการณ์ไกล สนพระทัยในความเป็นไปของโลกตะวันตก (ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนในพระราชหัตถเลขาบางฉบับที่ยกขึ้นมาแสดงประกอบ) การที่ทรงสามารถอ่านและเขียนภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี การที่ไทยรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนั้น ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญทำให้การเจรจาทำสนธิสัญญาครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

สรุปสาระสำคัญโดยย่อของสนธิสัญญาเบาว์ริง มีดังนี้  
๑. ไทยและอังกฤษจะเป็นมิตรไมตรีต่อกัน
๒. คนในบังคับของอังกฤษมีเสรีภาพในการศาสนา ได้รับอนุญาตให้ทำการค้า
๓. คนในบังคับซึ่งเข้ามาอยู่ในประเทศไทยจะต้องไปจดทะเบียนเป็นหลักฐานที่สถานกงสุลอังกฤษที่กรุงเทพ ฯ
๔.ไทยให้อังกฤษตั้งกงสุลที่กรุงเทพ ฯ ได้และให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขต แก่คนในบังคับของอังกฤษ
๕. ฝิ่น เงินแท่ง ทองแท่ง สามารถนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยได้ ยกเว้นฝิ่นต้องจำหน่ายให้กับเจ้าภาษีฝิ่นเท่านนั้น
๖. ไทยต้องยกเลิกภาษีปากเรือ และภาษีประเภทอื่น ๆ โดยให้เก็บภาษีขาเข้าได้ในอัตราร้อยละ ๓ ของราคาสินค้า
๗. รัฐบาลไทยสงวนสิทธิ์ที่จะห้ามนำข้าว เกลือ และปลาออกนอกประเทศ หากเกิดความขาดแคลน
๘.ไทยต้องปฏิบัติต่ออังกฤษเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์อย่างยิ่ง
๙. สนธิสัญญาจะบอกเลิกไม่ได้ การแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงข้อความใด ๆ ในสัญญาจะกระทำได้เมื่อเวลาผ่านไป ๑๐ ปีแล้ว
         
พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมครั้งที่ ๕
ในพระราชหัตถเลขารวมครั้งที่ ๕ นี้มีพระราชหัตถเลขารวมกันทั้งสิ้น  ๓๕ ฉบับ ยกมาแสดงบางฉบับที่เห็นว่าสำคัญ
พระราชหัตถเลขา  ฉบับที่ ๑
พระราชสาส์นจารึกในแผ่นพระสุพรรณบัฏ พระราชทานมอบเซอยอน โบวริง อัคราราชทูตอังกฤษเชิญไปถวายสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอริยาราชินี เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๙๘
สรุปใจความสำคัญโดยย่อ      เป็นพระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรัสถึงการเจริญพระราชไมตรีกับพระเจ้าแห่งกรุงอังกฤษ คือพระนางวิกตอริยาราชินี ให้ทรงทราบว่า มีความประทับพระราชหฤทัยในสัญญาไมตรีที่ เซอยอน โบวริงเข้ามา และแสดงพระทัยว่าการค้าขายจะมีความเจริญมากกว่าแต่ก่อน  และได้ตรัสว่าทรงได้พิจารณาโดยแต่งตั้งเสนาบดี ขุนนางร่วมการพิจารณาในสนธิสัญญาที่อังกฤษต้องการให้ประเทศไทยกระทำด้วย และผ่านพ้นไปด้วยดี ทั้งนี้อัคราชทูต เซอยอน โบวริง ได้ถวายเครื่องราชบรรณาการแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  โดยตรัสขอบพระทัย และขอให้ไมตรีของสองประเทศอยู่ตลอดกาลนาน จบท้ายด้วยการกล่าวถึงการถวายเครื่องราชบรรณาการทูลคืน แด่พระเจ้ากรุงอังกฤษ พระนางเจ้าวิกตอริยาราชินี

พระราชหัตถเลขา ฉบับที่ ๒
พระราชสาส์นกำกับพระสุพรรณบัฏ ซึ่งเซอยอน โบวริง อัคราราชทูตอังกฤษเชิญไปถวายสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอริยาราชินี เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๙๘
กล่าวสรุปใจความสำคัญโดยย่อ     เนื้อความนามเดียวกันกับพระราชหัตถเลขา ฉบับที่ ๑ แต่มีพิศดากว่าที่เขียนยืดยาว มีรายนานคณะผู้ร่วมพิจารณาในการทำสนธิสัญญากับเซอ ยอน โบวริง




แก้ไขอ่านเขียนไทยไม่ออก เรียนพิเศษภาษาไทย เรียนอ่านเขียนไทยประถม เรียนพิเศษส่วนตัวภาษาไทย หาที่เรียนภาษาไทย ครูสอนพิเศษภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทย  สอนอ่านภาษาไทย  สอนภาษาไทยเด็ก  สอนภาษาไทย  สอนพิเศษภาษาไทย  เรียนอ่านภาษาไทย  เรียนพิเศษสังคม  เรียนพิเศษภาษาไทย  เรียนพิเศษ ไทย สังคม   รับสอนพิเศษภาษาไทย  ติวภาษาไทย  ครูสอนภาษาไทย  ครูสอนพิเศษภาษาไทย ติวโอเน็ตสังคม แก้ไขอ่านเขียนไทยไม่ออก เรียนพิเศษภาษาไทย เรียนอ่านเขียนไทยประถม เรียนพิเศษส่วนตัวภาษาไทย หาที่เรียนภาษาไทย ครูสอนพิเศษภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทย  สอนอ่านภาษาไทย  สอนภาษาไทยเด็ก  สอนภาษาไทย  สอนพิเศษภาษาไทย  เรียนอ่านภาษาไทย  เรียนพิเศษสังคม  เรียนพิเศษภาษาไทย  เรียนพิเศษ ไทย สังคม   รับสอนพิเศษภาษาไทย  ติวภาษาไทย  ครูสอนภาษาไทย  ครูสอนพิเศษภาษาไทย ติวโอเน็ตสังคม แก้ไขอ่านเขียนไทยไม่ออก เรียนพิเศษภาษาไทย เรียนอ่านเขียนไทยประถม เรียนพิเศษส่วนตัวภาษาไทย หาที่เรียนภาษาไทย ครูสอนพิเศษภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทย  สอนอ่านภาษาไทย  สอนภาษาไทยเด็ก  สอนภาษาไทย  สอนพิเศษภาษาไทย  เรียนอ่านภาษาไทย  เรียนพิเศษสังคม  เรียนพิเศษภาษาไทย  เรียนพิเศษ ไทย สังคม   รับสอนพิเศษภาษาไทย  ติวภาษาไทย  ครูสอนภาษาไทย  ครูสอนพิเศษภาษาไทย ติวโอเน็ตสังคม 

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี

แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1

กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์